ReadyPlanet.com
dot dot
bulletซอกมาเว้าสู่ฟัง




ปราสาทหินในจังหวัดศรีสะเกษ

ปราสาทสระกำแพงใหญ่

อำเภออุทุมพรพิสัย  จังหวัดศรีสะเกษ

     ชื่อปราสาทสระกำแพงใหญ่ เป็นชื่อที่คนในสมัยปัจจุบันเรียกกัน ความจริงแล้วปราสาทหินเหล่านี้มีชื่อเรีกอันวิจิตรพิสดารซึ่งบรรพบุรุษผู้สร้างได้ตั้งขึ้น แต่เพราะเวลาที่ผ่านไปนาน และความรกร้างที่คืบคลานมาปกคลุมทำให้เราไม่อาจทราบชื่อที่แท้จริงของปราสาทได้ ดังนั้นจึงเรียกชื่อตามที่ตั้งหรือลักษณะทางกายภาพที่พบเห็น เช่น ปราสาทที่มีกำแพงสูงล้อมรอบ และมีสระน้ำอยู่ใกล้ๆก็เรียกว่าปราสาทสระกำแพงใหญ่ชื่อปราสาทสระกำแพงใหญ่ เป็นชื่อที่คนในสมัยปัจจุบันเรียกกัน ความจริงแล้วปราสาทหินเหล่านี้มีชื่อเรีกอันวิจิตรพิสดารซึ่งบรรพบุรุษผู้สร้างได้ตั้งขึ้น แต่เพราะเวลาที่ผ่านไปนาน และความรกร้างที่คืบคลานมาปกคลุมทำให้เราไม่อาจทราบชื่อที่แท้จริงของปราสาทได้ ดังนั้นจึงเรียกชื่อตามที่ตั้งหรือลักษณะทางกายภาพที่พบเห็น เช่น ปราสาทที่มีกำแพงสูงล้อมรอบ และมีสระน้ำอยู่ใกล้ๆก็เรียกว่าปราสาทสระกำแพงใหญ่

 

     ปราสาทหินทรายสีขาวแซมด้วยอิฐแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 500 ปีที่แล้ว เพื่อเป็นเทวาลัยถวายแด่พระศิวะ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นวัดในศาสนาพุทธนิกายมหายานเมื่อ 200 ปีต่อมา ลักษณะเป็นปรางค์ 3 หลัง ศิลปะบาปวน ปรางค์องค์กลางก่อด้วยหินทรายแซมด้วยอิฐ ส่วนปรางค์ องค์ที่ขนาบข้างเป็นปรางค์อิฐ ในสมัยโบราณจะตกแต่งปรางค์ทั้ง3ด้วยหินทรายแกะสลักความงดงามของ

ปราสาทหินแต่ละหลังมักหลงเหลืออยู่ที่ทับหลัง ปราสาทสระกำแพงใหญ่ก็เช่นกัน ที่นี่มีหน้าบัน 

และทับหลังหินทรายแกะสลักเรื่องราวของเทพเจ้าในศาสนาพรามหณ์อย่างละเอียดลอองดงาม บริเวณเดียวกันนั้นมีวัดสมัยปัจจุบันตั้งอยู่ด้วยปราสาทหินทรายสีขาวแซมด้วยอิฐแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 500 ปีที่แล้ว เพื่อเป็นเทวาลัยถวายแด่พระศิวะ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นวัดในศาสนาพุทธนิกายมหายานเมื่อ 200 ปีต่อมา ลักษณะเป็นปรางค์ 3 หลัง ศิลปะบาปวน ปรางค์องค์กลางก่อด้วยหินทรายแซมด้วยอิฐ ส่วนปรางค์ องค์ที่ขนาบข้างเป็นปรางค์อิฐ ในสมัยโบราณจะตกแต่งปรางค์ทั้ง3ด้วยหินทรายแกะสลักความงดงามของปราสาทหินแต่ละหลังมักหลงเหลืออยู่ที่ทับหลัง ปราสาทสระกำแพงใหญ่ก็เช่นกัน ที่นี่มีหน้าบัน และทับหลังหินทรายแกะสลักเรื่องราวของเทพเจ้าในศาสนาพรามหณ์อย่างละเอียดลอองดงาม บริเวณเดียวกันนั้นมีวัดสมัยปัจจุบันตั้งอยู่ด้วย 

 

 

ปราสาทโดนตรวล

อำเภอกันทรลักษฺ   จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ) 
          ปราสาทโดนตวล เป็นปราสาทขอมโบราณขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ริมหน้าผาสูง บนเทือกเขาพนมดงรัก สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 16 ประกอบด้วยปรางค์รูปสี่เหลี่ยมย่อมุม ก่อด้วยอิฐ ซุ้มประตูก่อด้วยศิลาแลง มีรูปสิงโตจำหลักอยู่หน้าปราสาท ตั้งอยู่ทิศตะวันนออกเฉียงใต้ ของบ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัยอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ติดชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งชาวบ้านตำบลเสาธงชัย และตำบลใกล้เคียงได้ร่วมกันจัดงานประเพณี ปีละ 2 ครั้ง คือพิธีเซ่นไหว้ในเดือนเมษายน และจัดพิธีบวงสรวงเมื่อถึงเดือน 10 หรือเดือนกันยายน ของทุกปีเพื่อแสดงความเคารพเทพยดาฟ้าดินและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่บริเวณปรางค์ปราสาทปกป้องคุ้มครองให้ตนเองและครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข นอกจากเป็น สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติแล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว ในพื้นที่ตำบลเสาธงชัย ตลอดจน เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของราษฎรในพื้นที่ตำบลเสาธงชัยอีกด้วย องค์การบริหารส่วนตำบลเสาธงชัย ได้ร่วมกับผู้นำชุมชนตำบลเสาธงชัยและประชาชนตำบลเสาธงชัย จึงมีมติเห็นชอบจัดงานสืบสานประเพณีบวงสรวงปราสาทโดนตวล ในวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 10 -ความเชื่อ เป็นพิธีเซ่นไหว้ บวงสรวงขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนในพื้นที่มีความเชื่อว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่สิงสถิตย์อยู่ในปราสาทโดนตวล ที่ดูแลและปกป้องคุ้มครองประชาชนในพื้นที่ให้อยู่ดีมีสุข ปราสาทโดนตวลเป็นปราสาทที่สร้างในสมัยขอมโบราณ ซึ่งมีความเชื่อมโยงระหว่างประเทศไทย และประเทศกัมพูชา ในปัจจุบัน ในความเชื่อและศรัทธาที่ประชาชนทั้ง 2 ประเทศ ที่มีพิธีเซ่นไหว้บวงสรวงปราสาทโดนตวล ได้ดำเนินการจัดพิธีในวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 10 ของทุกปีที่ประชาชนในพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์ และประชาชนในพื้นที่ประเทศกัมพูชา ที่มีความเชื่อและศรัทธาที่มาร่วมกันจัดพิธีเซ่นไหว้อย่างพร้อมเพียงกัน เพื่อให้เกิดสันติภาพของพี่น้องชายแดนไทย-กัมพูชา
อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น)
          -อัตลักษณ์ที่โดดเด่น ปราสาทโดนตวล เป็นปราสาทขอมโบราณ ขนาดเล็ก ตั้งอยู่ริมหน้าผาสูงบนเทือกเขาพนมดงรัก ถ้ามองมาจากประเทศกัมพูชา สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 16 ประกอบด้วย ปรางค์สี่เหลี่ยมย่อมุม ก่อด้วยอิฐ ซุ้มประตูก่อด้วยศิลาแลง และมีรูปสิงโตจำหลัก อยู่หน้าปราสาท ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านภูมิซรอล มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ประกอบด้วยปราสาทประธาน อาคารโถงโคปุระ บรรณาลัย ฐานศิลาแลงและสระน้ำ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ตามจารึกที่ขอบประตู ตรงกับปี พ.ศ.1545 ซึ่งอยู่ในยุคเดียวกับการก่อสร้างปราสาทเขาพระวิหาร ฐานปราสาทโดนตวล สร้างด้วยศิลาแลงหินทราย ผนังก่ออิฐ ปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม ซุ้มประตูก่อด้วยศิลา ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เนื้อที่ของปราสาทไม่ใหญ่นัก ประมาณ 200 ตารางเมตรv
ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ
          - ปราสาทโดนตวล มีตำนานที่กล่าวถึงและประชาชนทั้งชาวไทยและกัมพูชา ต่างก็มีเรื่องราวเล่าต่อกันมาให้เป็นที่เสื่อมและศรัทธาของประชาชนที่อยู่และอาศัยตามชายแดน มาอย่างยาวนาน และในปัจจุบันนี้ ปราสาทโดนตวล ยังคงเป็นสถานที่สำคัญให้เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและประเทศกัมพูชา และมีคุณค่าทางสังคม จิตใจ ให้กับประชาชนทั้ง 2 ประเทศได้ศึกษาเรียนรู้และไปมาหาสู่กันในการร่วมกันจัดพิธีเซ่นไหว้บวงสรวงปราสาท โดนตวล จึงทำให้วิถีการดำเนินของชุมชนมีการไปมาหาสู่กันและคงให้ความสำคัญมาโดยตลอดเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน และอีกนับหนึ่งสำหรับผู้ประกอบอาชีพทางการเกษตรกร ก็ช่วยให้การทำไร่ ทำนา ตลอดจนการประกอบสัมมาอาชีพต่าง ๆ เป็นไปด้วยความราบรื่น ซึ่งปัจจุบันทางรัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทุกหมู่เหล่าในพื้นที่ และผู้ที่มีความเชื่อความศรัทธาในปราสาทโดนตวล ต่างก็เข้าร่วมประกอบพิธีเซ่นไหว้บวงสรวง ทางอำเภอกันทรลักษ์ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลเสาธงชัย จึงกำหนดจัดให้มีพิธีเซ่นไหว้บวงสรวงประสาทโดนตวล ในวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 10 ของทุกปี เพื่อแสดงความเคารพเทพยดาฟ้าดิน และสิ่งศักดิ์สทธิ์ที่อยู่บริเวณปราสาทเพื่อปกป้องคุ้มครองให้ตนเองครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจราษฎรในพื้นที่และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ด้วย
 
 
 
 
ปราสาทบ้านปราสาท  อำเภอห้วยทับทัน  จังหวัดศรีสะเกษ
 
รายละเอียด
      ที่ตั้ง วัดบ้านปราสาท ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง เดินทางไปได้สองทาง ทางหนึ่งจากอำเภอห้วยทับทันไปทางทิศเหนือ ไปยังบ้านปราสาท ระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร

สภาพทั่วไป ปรางค์ก่อด้วยอิฐสามหลังเรียงตามแนวเหนือ-ใต้ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันมีลักษณะผิดแปลกไปจากปรางค์ขอม เนื่องจากมีการดัดแปลงให้เป็นธาตุเจดีย์ในสมัยหลัง ปรางค์องค์กลางยังคงสภาพสถาปัตยกรรมขอมเฉพาะส่วนที่เป็นประตูทางเข้าคือ มีทับหลังหินทรายตั้งอยู่บนกรอบประตู ทับหลัง ดังกล่าวจำหลักเป็นภาพหน้ากาล หรือเกียรติมุข ภาพเหนือเกียรติมุขภาพลบเลือน ด้านข้างทั้งสองของทับหลังเป็นภาพบุคคลยืนแยกเข่าอยู่ภายในซุ้มปรางค์ด้านข้างอีกสององค์ ถูกดัดแปลงโดยการก่ออิฐปิดประตูทึบทั้งสี่ด้าน แล้วทำพระพุทธรูปปูนปั้นไว้ด้านหน้า ส่วนยอดถูกดัดแปลงเช่นเดียวกัน คงทิ้งชิ้นส่วนทับหลังศิลาทรายตกกระจัดกระจาย ชิ้นส่วนบางชิ้นมีภาพจำหลัก ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นภาพเล่าเรื่องการกวนเกษียรสมุทรส่วนกำแพงก่อด้วยศิลาแลงล้อมทั้งสี่ด้าน มีโคปุระอยู่ทางทิศใต้ และทิศตะวันออกเท่านั้น

อายุปราสาท สร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ศิลปะแบบบาปวน สร้างต่อเติมในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตามลักษณะเห็นในปัจจุบัน ด้วยอิทธิพลวัฒนธรรมล้านช้างสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่เก็บกระดูกของผู้ครองเมือง ชาวบ้าน เรียกว่า "ธาตุ" บ้านที่ตั้งปราสาทชาวบ้านเรียกว่า บ้านโนนธาตุ อพยพมา ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๒
 
 
ปราสาทตำหนักไทร   อำเภอุนหาญ   จังหวัดศรีสะเกษ
 

        ที่ตั้ง  บ้านตำหนักไทร ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นปราสาที่ตั้งอยู่ต้นน้ำห้วยทา เชิงเขาพนมดงเร็ก ใกล้ชายแดนประเทศกัมพูชา และสามารถขึ้นลงเดินทางผ่านไปยังประเทศกัมพูชาได้โดยผ่านช่องพระพลัย
ระยะทาง  ถนนจากอำเภอขุนหาญ-สำโรงเกียรติ สภาพถนนลาดยาง ระยะทาง ๑๔ กิโลเมตร
สภาพทั่วไป
     ปราสาทตำหนักไทรเป็นปรางค์เดี่ยวรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยอิฐย่อมุมไม้สิบสองบนฐานศิลาทราย ขนาดกว้างยาวประมาณ ๔x๔ เมตร  มีประตูเข้าออกได้ทางเดียว คือ ทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นด้านหน้า อีกสามด้านเป็นประตูหลอกสลักเป็นรูปบานประตูลงในเนื้ออิฐ กรอบประตูด้านหน้าสร้างด้วยศิลาทราย 
ทับหลังเป็นภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์เหนือพระยาอนันตนาคราช๗ เศียร มีพระชายา คือ พระลักษมีนั่งอยู่ หลังพระชงฆ์ และพระพรหม ผุดมาจากพระนาภี สองข้างพระพรหมขนาบด้วยรูปฤาษีและบุคคลนั่งในซุ้มเรือนแก้ว ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
     ปัจจุบันมีรูปสิงห์ ๒ ตัว สลักด้วยศิลาทรายลอยตัวอยู่บริเวณทางเข้าหน้าปรางค์ มีบัวยอดปรางค์หล่นอยู่หน้าปราสาท เสาประดับกรอบประตูหายไป ส่วนแท่นฐานประติมากรรมตั้งอยู่ตรงกลาง ภายในองค์ปรางค์ มีบารายอยู่ด้านทิศตะวันออกของปรางค์ปราสาท
อายุของปราสาท     การพิจารณาอายุปราสาทตำหนักไทร นักโบราณคดีมีความเห็นแตกต่างกันเพราะปราสาทแห่งนี้มีประติมากรรมหลายชิ้น แต่ละชิ้นเป็นศิลปะขอมแต่แบบต่างกัน ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล เสนอความคิดเห็นว่าทับหลังบรรทมสินธุ์ของปราสาทแห่งนี้ พระนารายณ์บรรทสินธุ์
แบนเรียบไปกับพระยานาค มิได้ตั้งองค์ขึ้น อาจเก่าถึงพุทธศตวรรษที่๑๓  เมื่อดูใต้ภาพพระนารายบรรทมสินธุ์ มีแนวลายบัวคว่ำ แล้วจึงถึงลายพวงมาลัย มีอุบะคั่นอย่างสวยงาม ซึ่งเป็นศิลปะขอม
      ในระหว่าง พ.ศ.๑๔๐๐-๑๔๕๐ และจากลายบนเสาประดับกรอบประตูมีลายใบไม้สลับกับ
พวงอุบะ ซึ่งเป็นของเก่าในระหว่าง พ.ศ. ๑๔๐๐-๑๔๕๐ แต่เสานี้ก็เป็นเสา ๘ เหลี่ยม และมีลวดลายประดับ ทั้งที่กึ่งกลางของเสา ที่เสี้ยวและกึ่งกลางของเสี้ยวและยังรักษาลำดับความสำคัญลดหลั่นกันอยู่คงสลักขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ หลักฐานที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ อัฒจันทร์ศิลาที่สมภาร
วัดสำโรงเกียรติ ได้นำมาจากปราสาทตำหนักไทรมาเก็บไว้ที่วัด เมื่อพิจารณาจากรูปร่างเทียบเคียงกับอัฒจันทร์ขอม ก็เห็นว่ามีอายุอยู่ในระหว่างต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ จากหลักฐานดังที่ได้กล่าวแล้ว อาจกล่าวได้ว่าปราสาทตำหนักไทรสร้างราว พุทธศตวรรษที่ ๑๕ และ๑๖ หรือหลังจากนั้น 
จึงนับว่าเป็นปราสาทที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดศรีะเกษ

 

 
 
ปราสาทปรางค์กู่   อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ
       ปราสาทปรางค์กู่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ 70 กิโลเมตร สร้างด้วยอิฐเรียงแผ่นใหญ่เหมือนปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นศาสนสถานสมัยขอมที่เก่าแก่ มีอายุกว่าพันปี ด้านหน้าปรางค์กู่ มีสระน้ำขนาดใหญ่เป็นทำเลพักหากินของนกเป็ดน้ำ ซึ่งมีมากในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์
        ปรางค์กู่ เป็นศาสนสถานที่ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร ลักษณะเป็นปราสาท 3 หลัง สร้างเป็นแนวเรียงหน้ากระดานจากทิศใต้ไปทิศเหนือ ตั้งอยู่บนฐานที่สร้างด้วยหินศิลาแลงทั้งหมด
         ปราสาทปรางค์กู่ ภาษากูยเรียกว่า “เถียด เซาะโก” ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ลักษณะเป็นปราสาท 3 หลัง สร้างเป็นแนวเรียงหน้ากระดานจากทิศใต้ไปทิศเหนือ ตั้งอยู่บนฐานที่สร้างด้วยหินศิลาแลงทั้งหมด ปราสาทหลังที่ 1 และ 2 สร้างด้วยอิฐมอญขนาดใหญ่ เสาแกะสลักลวดลายติดขอบประตูเพื่อรองรับทับหลัง เสาและทับหลังสร้างด้วยหินทราย ส่วนปราสาทหลังทิศเหนือเป็นหลังเดียวที่สร้างจากหินศิลาแลง มีเสาแกะสลักลวดลาย และทับหลังที่สร้างจากหินทรายเช่นกัน ยอดปราสาทเป็นบัวตูมมีลักษณะเช่นเดียวกันกับปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

         ปัจจุบันยอดปราสาทได้พังทลายลง ทับหลังและเสาติดขอบประตูได้ถูกโจรลักขโมยไปวัตถุบางชิ้นก็ตามกลับคืนมาได้และเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีหลายชิ้นที่นำมาเก็บไว้ที่วัดบ้านกู่ ปราสาทปรางค์กู่สร้างเมื่อ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สมัยขอมเรืองอำนาจ สันนิษฐานว่าสร้างเพื่อใช้เป็นสถาน “อโรคยาศาล” หรือสถานีอนามัยเพื่อรักษาคนป่วย ในสภาพที่ล้อมรอบด้วยสระน้ำ ซึ่งสภาวัฒนธรรมตำบลกู่ได้มีการสร้างทับหลังจำลอง ความกว้างเท่าของจริงมาตั้งไว้บนฐานด้านหน้าตัวปราสาทเพื่อให้ผู้คนที่มาเที่ยวชมได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป และปราสาทปรางค์กู่นั้นยังเป็นสถานที่ที่ชุมชนชาวกูยให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง หากมีกิจกรรมในหมู่บ้าน หรือศาสนพิธีต่างๆ ก็จะมีการนำเครื่องเซ่นไหว้มาบอกกล่าวที่ปราสาทปรางค์กู่ให้รับทราบ ซึ่งชาวกูยบ้านกู่ได้สมมติชื่อวิญญาณที่สิงสถิต ณ ปราสาทกู่ว่า“ปู่พัทธเสน” และใช้เรียกขานชื่อนี้ในการเซ่นไหว้ตลอดมา

          ปรางค์กู่ เป็นศาสนสถานที่ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร ตั้งอยู่บริเวณบ้านกู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ โดยอยู่ห่างจากตัวอำเภอปรางค์กู่ประมาณ 5 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัด ศรีสะเกษ ประมาณ 65 กิโลเมตร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2478 และกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเป็นพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ 2 งาน 39 ตารางวา ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 155 วันที่ 21 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2525
 
 
 
 
ปราสาทเยอ ดำเภอไพรบึง  จังหวัดศรีสะเกษ
 
ปราสาทเยอ
         ตั้งอยู่ที่วัดปราสาทเยอ ตำบลปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ เป็นโบราณสถานในศิลปะเขมร ปัจจุบันอยู่ในสภาพชำรุดหักพัง มีลักษณะเป็นเนินโบราณสถาน มีชิ้นส่วนของหินทราย อิฐ ศิลาแลง กระจายอยู่โดยทั่วไป องค์ปราสาทก่อด้วยอิฐ หินทราย ตั้งอยู่บนฐาน ศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาว ประมาณ ด้านละ ๓ เมตร ความสูงในปัจจุบันประมาณ ๔.๕ เมตร ชิ้นส่วนอาคารที่หลงเหลืออยู่ได้แก่กรอบประตูหินทราย ที่เป็นทางเข้าด้านทิศตะวันออก ๒ ประตู มีทับหลังตกอยู่บนเนินดิน ๒ ชิ้น เป็นภาพบุคคล นั่งอยู่เหนือเกียรติมุขกำลังคายท่อนพวงมาลัยออกมาทั้งสองข้าง มีพวงอุบะและใบไม้ม้วนปราสาทแห่งนี้คงสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖–๑๗
 
 
 
ปราสาทสระกำแพงน้อย อำเภออุทุมพรพิสัย  จังหวัดศรีสะเกษ
 
        ตั้งอยู่ในวัดสระกำแพงน้อย บ้านกลาง ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากห้วยสำราญซึ่งไหลผ่านทางทิศใต้ ห่างออกไปประมาณ ๔.๕ กิโลเมตร และแม่น้ำมูลซึ่งไหลผ่านทางทิศเหนือ ห่างไปประมาณ ๙.๕ กิโลเมตร มี"อโรคยศาล” ลักษณะเป็นปราสาทก่อด้วยศิลาแลงทั้งหลัง ผังรูป สี่เหลี่ยมย่อมุม มีมุขยื่นออกไปทางตะวันออกเชื่อมต่อกับฐานมีวิหารผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า บรรณาลัยก่อด้วยศิลาแลงอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้โคปุระก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่ทางตะวันออกมีแนวระเบียงคดล้อมรอบองค์ปราสาททั้งสี่ด้านห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากรุด้วยศิลาแลงเป็นขั้นบันไดลงไปทั้งสี่ด้าน และมีบารายขนาดใหญ่อยู่ทางตะวันออกห่างกันประมาณ ๑๐๐ เมตร จากลักษณะศิลปกรรมที่ปรากฎบนทับหลังและลักษณะแผนผังของโบราณสถาน สันนิษฐานว่า อาจก่อสร้างขึ้นมาก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ต่อมาในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อาจมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้กลายเป็นโบราณสถานที่เชื่อว่าเป็น อโรคยาศาล ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โปรดให้สร้างขึ้น เนื่องจากลักษณะแผนผังและตำแหน่งของอาคารต่างๆมีลักษณะเหมือนกับโบราณสถานแหงอื่นๆ ที่เชื่อว่าเป็นอโรคยาศาล เช่น ปราสาทตาเหมือนโต๊ด จังหวัดสุรินทร์ ปรางค์กู่ จังหวัดชัยภูมิ และปราสาททามจาน จังหวัดศรีสะเกษ
 
ปราสาทภูฝ้าย  อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

สถานที่ตั้ง

            บ้านภูฝ้าย ตำบลภูฝ้าย อำเภออำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33150

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

             ประเภทที่ 1 อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน สถาน หลักเมือง

ความสำคัญ/ลักษณะ

 

            เป็นโบราณสถานที่ประชาชนเคารพนับถือและหวงแหนมาก  อยู่บนภูฝ้ายซึ่งเสมือนปากปล่องภูเขาไฟ มีกำแพงล้อมรอบเป็นหินทรายสร้างด้วยอิฐผสมศิลาแลง ปัจจุบันเป็นเนินดินและมีรอยขุดค้น เดิมขึ้นทะเบียนไว้มีจารึกเป็นภาษาสันสกฤต อยู่ที่กรอบประตูปัจจุบันไม่พบ ปราสาทซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือของสันเขายอดเขาภูฝ้าย ปรางค์ปราสาทจะมี สามหลังเรียงกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ ตั้งอยู่บนฐานหินเดียวกัน สภาพปรางค์ทั้งสามองค์ อยู่ในสภาพที่หักพังมาก ไม่ได้รับการบูรณะที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังถูกลักลอบขุดค้นทำลายเสียหายจนเหลือเพียงฐานปรางค์เศษอิฐดินเผาและหินที่เคยเป็นส่วนของปรางค์ปราสาทเกลื่อนกระจาย มีทับหลังรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่สมบูรณ์และสวยงามมาก คล้ายกับทับหลังของปราสาทตำหนักไทร ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดสุพรรณรัตน์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ อายุปราสาท พิจารณาจากพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่อยู่วัดสุพรรณรัตน์ อาจสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16 แต่หากพิจารณาประติมากรรม ทับหลังนารายณ์ บรรทมสินธุ์อีกชิ้นซึ่งอยู่ที่ปราสาทภูฝ้ายหลังเล็กตะวันออกวัดภูฝ้ายซึ่งพังหมดแล้ว ด้านนอกมีศิลาเรียงไว้เป็นกำแพง ขนาด 50x35 เมตร เป็นฝีมือช่างท้องถิ่น เครื่องประดับและชฎามงกุฎของพระนารายณ์ น่าจะมีอายุอยู่ในราว พ.ศ. 1500 ซึ่งเป็นศิลปะขอมแบบเกาะแกร์

 

 

 พระธาตุเมืองจันทร์  อำเภอเมืองจันทร์  จังหวัดศรีสะเกษ

“พระธาตุเมืองจันทร์” ตั้งอยู่บริเวณบ้านเมืองจันทร์ ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ โบราณสถานตั้งอยู่ภายในวัดบ้านเมืองจันทร์ ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดินรูปวงกลมล้อมรอบ 1 ชั้น ธาตุบ้านเมืองจันทร์ก่อด้วยอิฐสอปูน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อมุมขนาด 3.50 X 3.50 เมตร สภาพส่วนใหญ่ยังคงสมบูรณ์อยู่ส่วนฐานพังทลายไปเล็กน้อย ส่วนเรือนธาตุและส่วนยอดยังคงสมบูรณ์ โดยส่วนยอดมีการจำลองส่วนเรือนธาตุให้มีขนาดเล็กลงเรียงลดหลั่นกันขึ้นไปสามชั้น บนสุดทำเป็นยอดเรียวกลมตัวเรือนธาตุก่ออิฐทึบ ยังคงพบลวดลายปูนปั้นรูปกลีบบัวที่ประดับอยู่บนหัวเสาติดผนังที่รองรับกรอบหน้าบัน ใกล้ ๆ กับองค์ธาตุมีสิม หรืออุโบสถเก่าอยู่หลังหนึ่ง ปัจจุบันอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ส่วนหลังคาชำรุดหักพังหมดแล้ว สิมก่อด้วยอิฐฉาบปูนมีบันไดทางขึ้นทิศตะวันตก ภายในมีใบเสมาสลักเป็นลวดลายคล้าย ดอกบัวตูมปักเรียงตามแนวยาวทั้ง 8 ทิศ

 
                ความสำคัญและความเป็นมาของการจัดงานไหว้พระธาตุเมืองจันทร์
                ประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่น เป็นสิ่งที่เกิดจากการสั่งสมสืบทอดกันมาจากความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่กับชุมชนสืบไป ดังจะเห็นได้จากแต่ละท้องถิ่นจะมีมรดกทางภูมิปัญญาที่ได้ถ่ายทอดกันมา อาทิเช่น โบราณสถาน กิจกรรม ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ตำบลเมืองจันทร์เป็นอีกท้องถิ่นหนึ่ง ที่ได้รับการสืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีจากบรรพบุรุษ ที่สามารถสังเกตได้จากศิลปโบราณวัตถุคู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองจันทร์ คือ “พระธาตุเมืองจันทร์” ซึ่งประชนได้ให้ความเคารพสักการะและได้ร่วมกันจัดงานประเพณีไหว้พระธาตุในช่วงสงกรานต์ของทุกปี องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจันทร์เป็นองค์กรหนึ่ง ที่มีหน้าที่อนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีอันดีงามของชุมชนให้คงอยู่ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจศึกษาประวัติความเป็นมาของ “พระธาตุเมืองจันทร์” ตลอดจนประวัติศาสตร์ของชาวส่วย

          องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจันทร์จึงได้ร่วมกับชุมชนวัดบ้านเมืองจันทร์กำหนดจัดงาน “ประเพณีไหว้พระธาตุเมืองจันทร์” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 แต่เดิมทางวัดบ้านเมืองจันทร์ โดยชาวบ้านได้ร่วมกันจัดกิจกรรมไหว้พระธาตุกับชุมชนบ้านตาโกน ซึ่งถือปฏิบัติกันตลอดมาจนกระทั่งได้มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้น ชาวเมืองจันทร์จึงได้ร่วมกันจัดให้เป็นประเพณีไหว้พระธาตุเมืองจันทร์ โดยในแรกเริ่มนั้นจะมีแต่พิธีบวงสรวงพระธาตุเท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันได้มีกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรมเข้าร่วมด้วย เช่น การแต่งกายในชุดชาวส่วย การพูดภาษาส่วย การร้องเพลงกล่อมลูก การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับ เป็นต้น 


 
กู่สมบูรณ์  
อำเภอบึงบูรพ์  จังหวัดศรีสะเกษ

        ที่ตั้ง  กู่สมบูรณ์ตั้งอยู่ที่บ้านหนองคู ตำบลเป๊าะ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ  ระยะทาง เดินทางตามถนนสายศรีสะเกษ-ราษีไศล เลี้ยวซ้ายแยกบ้านหัวช้างไปตามถนนราดยางสายบึงบูรพ์  ประมาณ ๙ กิโลเมตร เลยหนองคูไป ๑๐๐ เมตร เลี้ยวขวาเข้าไป ๑๕๐ เมตร ก็ถึงกู่สมบูรณ์
สภาพทั่วไป
     ปรางค์ เป็นปรางค์ ๓ องค์ เรียงกันตามแนวทิศเหนือ-ใต้ อยู่ บนฐานศิลาแลงเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์ประธานองค์กลางก่อศิลาแลงหุ้มด้วยอิฐเป็นเปลือกนอก มีมุขยื่น ไปทางตะวันออก สภาพปัจจุบันเหลือ
เพียงส่วนเรือนธาตุ ส่วนยอดและมณฑปด้านหน้าพังทลายลงหมด พบชิ้นส่วนกลีบขนุนและยอดปรางค์สลักด้วยศิลาทรายที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกมีทับหลังภาพสลักทับหลังแบ่งภาพเป็น ๒ แนว  สลักเป็นรูปบุคคลและสิงห์แบก ภายในปรางค์มีแท่นฐานรูปเคารพศิลาทรายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตั้งอยู่ ๑ แท่น
     ปรางค์บริวารองค์เหนือและองค์ใต้ก่อด้วยศิลาแลงหันไปทางตะวันออก เช่นเดียวกัน  มีสภาพพังทลายลง คงเหลือ เรือนธาตุเพียงครึ่งองค์เท่านั้น  ภายในองค์ปรางค์ด้านทิศใต้มีแท่นฐานประติมากรรมทำด้วยศิลาทรายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๑ แท่น เจาะช่อง ๒ ช่อง สำหรับตั้งประติมากรรมรูปเคารพ และมี ร่องโสมสูตร และมีคูน้ำคันดินรูปเกือกม้าล้อมรอบปราสาท เว้นทางเข้าด้านปัจจุบัน มีการปรับสภาพใหม่ นำดินมาถมเป็นทางเข้าด้านทิศใต้ ประวัติความเป็นมา  เป็นโบราณสถานที่ไม่พบจารึก แต่จากการพิจารณาลักษณะศิลปกรรมการก่อสร้าง เป็นศิลปะเขมรแบบบาปวน สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗
 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.