ReadyPlanet.com
dot dot
bulletซอกมาเว้าสู่ฟัง




ปราสาทตำหนักไทร

 

 ปราสาทตำหนักไทร(ปราสาททามจาน)

ตั้งอยู่ที่บ้านตำหนักไทร ตำบลบักดอง ริมทางหลวงหมายเลข 2127 (ขุนหาญ-บ้านสำโรงเกียรติ) ห่างจากอำเภอขุนหาญ 20 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัด 81 กิโลเมตรปราสาทตำหนักไทร

ปราสาทตำหนักไทร หรือ ปราสาททามจาน เป็นปราสาทขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่บ้านตำหนักไทร ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 20 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นยุคสมัยที่มีความนิยมสร้างปราสาทแบบหลังเดี่ยว ตามคติความเชื่อในลัทธิ ไศวะที่บูชาพระศิวะในฐานะเทพเจ้าสูงสุดของศาสนาฮินดู ปราสาทตำหนักไทร เชื่อว่าเคยเป็นปราสาทประจำชุมชนมาก่อน เนื่องจากพื้นที่โดยรอบมีร่องรอยการปรับสภาพหน้าดินจนเป็นที่ราบ ซึ่งอาจเป็นที่ตั้งของชุมชนที่อยู่รายรอบศาสนสถานแห่งนี้ในยุคสมัยหนึ่ง ปราสาทตำหนักไทร มีลักษณะเป็นปราสาทหลังเดี่ยวบนฐานศิลาทราย ตัวปราสาทก่อด้วยอิฐเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้าง ยาวประมาณ 4 เมตร มีประตูเข้าออกเพียงด้านเดียวคือ ด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นด้านหน้า ส่วนอีก 3 ด้านที่เหลือทำเป็น ประตูหลอกโด

ผนังเป็นรูปหน้าบันและบานประตูลงในเนื้ออิฐ บริเวณด้านหน้าปราสาทมีสิงห์จำหลัก 2 ตัว มีหินทรายสลักเป็นกรอบประตู แต่เดิมเคยมีทับหลังเป็นภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ มีพระฉายาลักษมีนั่งอยู่ที่ปลายพระบาท และมีพระพรหมผุดมาจากพระนาภี สองข้างพระพรหมเป็นรูปฤๅษีและบุคคลนั่งในซุ้มเรือนแก้ว ปัจจุบันทับหลังดังกล่าวถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา การเดินทาง: จากตัวอำเภอขุนหาญ ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2127 (ขุนหาญ - บ้านสำโรงเกียรติ) ประมาณ 20 กิโลเมตร จะพบปราสาทตำหนักไทรตั้งอยู่ทางซ้ายมือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 4451 4447

       ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ททท.

   

องค์ความรู้เรื่อง...ปราสาทตำหนักไทร อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

    ปราสาทตำหนักไทร ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในวัดตำหนักไทร อยู่ห่างจากลำห้วยทา ซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักของตำบลบักดอง มาทางด้านทิศตะวันออก เพียง 300 เมตร โดยปรากฏร่องรอยการก่อสร้างและใช้ประโยชน์โบราณสถานในฐานะศาสนสถานต่อเนื่อง ถึง 3 ระยะ ด้วยกัน ดังนี้

      ระยะที่1 กำหนดอายุ อยู่ในช่วง ปลายพุทธศตรวรรษที่ 12 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 14 พบร่องรอยของส่วนฐานของปราสาทที่สร้างด้วยอิฐ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาวตามแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ 13.70 เมตร ขนาดกว้างตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก 11.70 เมตร พบร่องรอยการก่ออิฐเป็นช่องบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ด้านทิศตะวันออก เเละพบหลักฐานแผ่นหินทรายเป็นอัฒจันทร์วางอยู่ที่ด้านล่าง หลักฐานสำคัญของระยะที่ 1 คือ ฐานทางขึ้นก่อด้วยอิฐ, ฐานรูปเคารพในปราสาทประธาน, บัดยอดปราสาท, และอัฒจันทร์

     ระยะที่2 กำหนดอายุ อยู่ในช่วง ปลายพุทธศตรวรรษที่ 15 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 16 มีการสร้างฐานของปราสาทขึ้นใหม่ โดยใช้ศิลาแลงก่อวางเรียงปิดทับ ล้อมรอบฐานอิฐของปราสาทในระยะที่ 1 ฐานเขียงมีรูปแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดด้านละ 10 เมตร ก่อศิลาแลงสูง 3 ชั้น ถัดขึ้นมาเป็นฐานอีกชั้นหนึ่ง ก่อด้วยหินทราย 3 ชั้น แผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม ขนาดด้านละ 10 เมตร มีมุขยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน และก่อวางเรียงหินทรายเป็นช่องบันได ตัวเรือนธาตุก่ออิฐ อยู่ในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม เช่นเดียวกับส่วนฐาน มีขนาดด้านละ 4.2 เมตร มีประตูทางเข้าหลักเฉพาะด้านทิศตะวันออก ด้านอื่นเป็นปนะตูหลอก ถัดขึ้นไปเป็นเรือนชั้นซ้อน ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียง 2 ชั้น จากการขุดศึกษาโบราณสถานปราสาทตำหนักไทร ในปี 2554 เราพบบัวยอดปราสาทด้วย หลักฐานสำคัญของระยะที่ 2 คือ ทับหลังสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ และบัวยอดปราสาท

      ระยะที่3 พบหลักฐานการใช้ประโยชน์โดยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของปราสาท โดยมีการนำหินทรายและหินธรรมชาติมาเวียงเป็นแนวทางเดินบนผิวดิน มีความกว้าง 5 เเมตร ต่อเนื่องจากด้านหน้าปราสาทไปทางทิศตะวันออก กำหนดอายุ อยู่ในช่วง พุทธศตรวรรษที่ 23

 

     

     ไฮไลต์สำคัญ ของงปราสาทตำหนักไทร คือ #ภาพสลักคานกรอบประตูเป็นรูปวิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ หรือ นารายณ์บรรทมสินธุ์ แวดล้อมด้วยท่อนพวงมาลัยและพรรณพฤกษา กำหนดอายุให้อยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 16 ร่วมสมัยกับปราสาทประธาน ซึ่งของจริงนำไปเก็บรักษาและจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา แต่ได้มีการจำลองและติดตั้งไว้ตำแหน่งเดิม เพื่อให้ทุกๆคนได้รับชม

    เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการเอกสารอ้างอิง

     กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 4. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 2539.

   

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา. รายงานข้อมูลโบราณสถาน ปราสาทตำหนักไทร อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. นครราชสีมา: สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา. อัดสำเนา. 2561.




ลัดเลาะเล่นเมืองศรีสะเกษ

วัดสระกำแพงใหญ่
สระกำแพงน้อย
วัดสุพรรณหงส์
พระธาตุเรืองรอง
พระธาตุเรืองรอง
เกาะกลางน้ำ สวนเฉลิมพระเกียรติ
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
วัดมหาพุทธาราม(วัดพระโต)
ชายแดนไทย-กัมพูชา ช่องสะงำ
จุดชมวิวหน้าผาพญากูปรี
วัดไพรพัฒนา (วัดหลวงปู่สราง)
น้ำตกห้วยจันทร์
ว้ดป่ามหาเจดีย์อก้ว (วัดล้านขวด)
นำ้ตกสำโรงเกียรติ
น้ำตกวังใหญ่
น้ำตกภูละออ
ผามออีแดง
ปราสาทโดนตรวล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.