ReadyPlanet.com
dot dot
bulletซอกมาเว้าสู่ฟัง




ประเพณีอีสาน article

 

ประเพณีกินดอง(แต่งงาน)

การสู่ขอ ภาษาพื้นเมืองเรียกกันว่า การขอเมียคือนับตั้งเเต่เมื่อชายหญิงรักใคร่ตกลงปลงใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขเป็นสามีภรรยากัน ฝ่ายชายก็จะบอกกล่าวพ่อแม่ให้จัดญาติผู้ใหญ่เป็นเถ้าแก่และพ่อล่ามอีกคนหนึ่ง ถือดอกไม้ธูปเทียนไปร้องขอต่อพ่อแม่ของฝ่ายหญิงที่บ้าน เพื่อให้เป็นที่ตนลงกันแต่ในกรณีที่กำหนดงานวันแต่งงานเนิ่นนานออกไป ก็อาจจะทำพิธีหมั้นกันไว้ก่อนก็ได้ ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจในตัวกันและกันทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายชายจะต้องหาทองหมั้นมาวางประกันไว้ คือจะเป็นทองรูปพรรณหรือเงินตามจำนวนที่ตกลงกันก็ได้ การเลี้ยงดูแขกจะแยกกันเลี้ยงคนละฝ่าย หรือจะเลี้ยงรวมกันก็ได้ หรือให้ฝ่ายใดเลี้ยงแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ได้ วันแต่งงานตามที่นิยมกัน ก็คือวันใดวันหนึ่งในเดือนคู่ข้างขึ้นคือ วันที่ ๒๔ และ ๖ เดือนยี่ ๔๖ และ ๑๒ เว้นแต่เดือนในระหว่างเข้าพรรษา คือ เดือน ๘-๑๑ ไม่มีธรรมเนียม แต่งงานกัน

เมื่อได้ฤกษ์กำหนดนัด หากเป็นที่ตกลงในเรื่องสินสอดทองหมั้นซึ่งเรียกว่าค่าดองแล้วก็กำหนดวันแต่งงานกันเลยทีเดียว แต่ถ้าตกลงในเรื่องสินสอดกันไม่ได้ ก็จะต้องเพียรต่อรองกันอีก ในรายที่ตกลงกันเรียบร้อยแล้วก็จะมีการหมั้นหรือไม่ต้องหมั้นก็ได้ นั่นคือ ในระหว่างที่รอพิธีการแต่งงาน ฝ่ายหญิงก็จะเตรียมเครื่องที่นอนหมอนมุ้งและเครื่องไหว้ผู้ใหญ่ให้พร้อมเพรียง ส่วนฝ่ายชายก็จะต้องเตรียมเงินทองเอาไว้ ระยะนี้ชายจะไปมาหาสู่หญิงบ่อยๆ ได้

พิธีแต่งงานนั้น จะต้องเริ่มก่อนวันกำหนดแต่งจริงที่บ้านหญิงโดยกำหนดวันมื้อเต้าเป็นวันเตรียมสิ่งของถัดไปอีกวันหนึ่งเป็น วันมื้อโฮมบางแห่งเรียกมื้อสุกดิบวันนี้ญาติพี่น้องจะมาพร้อมกันและช่วยกันเตรียมงานโดยในตอนเย็นมีพระสงฆ์มาทำพิธีสวดมนต์ มีการฟังเทศน์ร่วมกันทั้งเจ้าบ่าว และจ้าสาวเพื่อนำหลักธรรมไปปฏิบัติในการครองเรือนกัน เช้าวันรุ่งขึ้นเป็นวันแต่งงาน

อนึ่งในกรณีที่มีอุปสรรคของการแต่งงานจะเกิดขึ้นเช่นไม่มีเงินค่าสินสอดก็ดี พ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมก็ดี หากหญิงรักและเป็นใจกับชายแล้ว ชายก็จะนัดแนะเข้าหาหญิงการกระทำเช่นนี้เรียกว่า ภารซูตกกลางคืนเมื่อชายเข้าหาหญิงแล้ว ฝ่ายหญิงก็จะต้องระมัดระวังไม่ให้ฝ่ายชายหนีได้ จนจวนสว่างฝ่ายหญิงก็จะต้องรีบไปบอกพ่อแม่ของตน

เมื่อบิดามารดาของฝ่ายหญิงทราบ ก็จะต้องรีบไปปิดประตูขังฝ่ายชายไว้ แล้วให้หาเถ้าแก่ฝ่ายชายไปตกลงพูดจากัน ถ้าฝ่ายชายตกลงมั่นเหมาะยอมรับเลี้ยงดูฝ่ายหญิงเป็นภรรยาแล้ว ฝ่ายหญิงก็จึงจะปล่อยให้ฝ่ายชายกลับบ้าน แล้วการสู่ขวัญวันแต่งงานจึงจะเกิดขึ้นในภายหลังพิธีแต่งงาน ถ้าเจ้าบ่าวไปอยู่บ้านเจ้าสาว เขาเรียกว่าดองสู้ตรงกับภาคกลางที่เรียกว่าวิวาหมงคล โดยทำพิธีแต่งงานที่บ้านหญิง ถ้าเป็นดองต้านก็เรียกว่าอาวหมงคลคือฝ่ายหญิงไปอยู่กับฝ่ายชาย คือทำพิธีที่บ้านของหญิงก่อนแล้วไปทำพิธีที่บ้านของฝ่ายชายอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อถึงวันงาน พวกญาติพี่น้องบ้านใกล้เรือนเคียงก็จะมาช่วยเหลือกันตั้งแต่เช้า พร้อมกับนำข้าวปลาอาหาร สุราสิ่งของหรือเงินทองติดไม้ติดมือไปช่วยตามแต่ฐานะของตนนอกจากจะช่วยด้วยสิ่งของแล้ว พวกเขาอาจจะช่วยด้วยแรงอีกด้วย เช่น ช่วยกันตักน้ำ ทำอาหาร ทำพาขวัญจีบหมาก และมวนบุหรี่ ฯลฯ ตามถนัด

เมื่อได้ฤกษ์ พิธีแห่ตามที่อาจารย์ได้กำหนดไว้แล้วก็จัดเป็นขบวนแห่ไปยังบ้านเจ้าสาวทันที ขบวนแห่เจ้าบ่าวซึ่งเพรียบพร้อมไปด้วยพาขวัญ โดยการนำขันหมากและสินสอดไปด้วย อนึ่งพิธีแห่ของเจ้าบ่าวได้จัดเป็นขบวนแบ่งออกไว้เป็นอย่างๆดังนี้

กลุ่มหน้าเป็นพวกดนดรีพื้นเมือง พวกร้องพวกรำสนุกสนานรื่นเริงกันเต็มที่ ต่อมาเป็นเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าบ่าว ถัดไปเป็นพาขวัญ ขันหมาก เครื่องบริวารและติดตามด้วยญาติพี่น้อง เถ้าแก่ พ่อล่าม ฯลฯ ครั้นในเมื่อถึงประตูบ้านเจ้าสาว ญาติฝ่ายหญิงจะปิดประตูบ้านไม่ยอมให้เข้าไปได้ง่าย จะมีการซักถามเพื่อเอาเคล็ดเอาฤกษ์ตามธรรมเนียมพร้อมกับมีการถามว่า

มาทำไม?”    มาแต่ไส  มาหยังนอหลายคนแท้

มาขอลูกสาวบ้านนี้ เขาว่าเป็นคนดีคนร่ำรวย และ

คนขยันทำมาหากิน….”  มาแต่บ้านมั่นเมืองคง  มาขอลูกสาวบ้านนี้  เขาเล่าลือว่าเป็นคนดี มั่งมีดีได้  ร่ำรวยเงินทอง ดุหมั่นขยันในการเฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน บ่อึดบ่อยากแนวได๋ ฯลฯ พวกญาติฝ่ายชายตอบไป

เออช่างสมกันเหลือเกินเน้อ”   เออ  มาคือสมกันแท้  คักหลายได้กันสิมั่งมีศรีสุข  ญาติทางฝ่ายเจ้า

สาวรีบตอบเพื่อให้สิริมงคลแก่งานด้วย และพูดต่อไปอีกว่า

ขอให้รวยทั้งคู่ เงินทองไหลมาเทมา เชิญเชิญ ข้างในบ้าน ฤกษ์งามยามดีเหลือเกิน…”  ขอให้เทิงสองคนมั่งมีดีได้ มีเงินมีทอง บ่อึดบ่อยาก   ข้าวของเงินทองไหลมาเทมา ล้นเหล้าล้นเยีย    เชิญ..เชิญ ขึ่นมาเทิงเฮือนได้ฤกษ์งามยามดีแล้ว

 

     ครั้นแล้วฝ่ายหญิงก็จะรีบเปิดประตูยอมให้ฝ่ายชายเข้าไป ในการนี้ฝ่ายชายจะต้องให้รางวัลแก่ฝ่ายหญิงด้วยมีธรรมเนียมอยู่ว่า เจ้าบ่าวก่อนจะขึ้นเรือนต้องล้างเท้าของตนบนใบตองกล้วยตีบและบนแผ่นหินซึ่งถือเคล็ดว่าให้ฝ่ายชายมีใจหนักแน่นเหมือนแผ่นหิน และให้มีความสนิทเสน่หากันเหมือนผลกล้วยตีบซึ่งชิดกันมาก) จากนั้นญาติผู้หญิงที่มีการครองเรือนดี ก็จะมารับพร้อมกับจูงมือเขยขึ้นบ้าน นำไปนั่งรอที่พาขวัญของตน ซึ่งตั้งเคียงคู่กับของหญิงท่ามกลางญาติมิตรสหาย ระหว่างนี้เถ้าแก่และพ่อแม่ก็จะนำขันหมากไปมอบให้แก่เถ้าแก่ฝ่ายหญิง เมื่อตรวจดูสินสอดว่าครบถูกต้องแล้วก็จะรีบนำเจ้าสาวมาเข้าพาขวัญ เจ้าสาวจะต้องนั่งทางซ้ายของเจ้าบ่าวเสมอ

ต่อจากนี้ ก็ทำพิธีสู่ขวัญแต่งงาน โดยใช้วิธีแบบ ประเพณืสู่ขวัญซึ่งได้กล่าวมาแล้วเป็นหลัก แต่ไม่มีการพายเหล้า โดยหมอสูตรหรือพราหมณ์ชาวบ้านจะกล่าวคำสวดคำขวัญอวยพร เสร็จแล้วหมอสูตรได้ป้อนไข่ คือนำไข่ต้มจากพาขวัญมาปอกแบ่งครึ่ง ให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาวกินคนละครึ่งใบ โดยใช้มือขวาป้อนไข่ท้าว มือซ้ายป้อนไข่นาง เสร็จแล้วก็ใช้ฝ้ายผูกข้อมือของคู่บ่าวสาวพร้อมกับอวยพร

ด้วยพวกญาติๆ และแขกที่มาร่วมในงานทุกคนจะต้องผูกข้อมืออวยพรให้ทุกคน ต่อจากนี้ทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวก็นำขันดอกไม้ ธูปเทียน ไปกราบไหว้พ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ทุกๆฝ่ายและพร้อมกันนี้ท่านก็จะอวยพรให้คู่สมรสจงมีความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไป

      เสร็จพิธีตอนนี้แล้ว ญาติฝ่ายหญิงก็จะจูงมือเจ้าบ่าวไปยังห้องที่เตรียมไว้ให้สำหรับคู่บ่าวสาวเป็นการบอกว่านับแต่คืนนี้เป็นต้นไปเจ้าบ่าวจะต้องมานอนกับเจ้าสาวที่ห้องนี้ ส่วนญาติฝ่ายชายที่เป็นผู้หญิงก็จะจูงมือเจ้าสาวไปยังอีกห้องหนึ่งเพื่อเป็นการสู่พิธีรับขวัญต่อไป

ต่อมาอีก ๒-๓ วัน คู่สมรสจะต้องนำดอกไม้ ธูป เทียนไปไหว้ญาติพี่น้องวงศาคณาญาติชั้นผู้ใหญ่ที่เคารพนับหน้าถือตาทั้งสองฝ่าย พิธีไหว้ระยะนี้ชาวพื้นเมืองเรียกว่า ไหว้สมาซึ่งพวกญาติผู้ใหญ่ก็จะให้ทรัพย์สินเงินทองและอวยพรคู่สมรสให้มีความสุขความเจริญและยั่งยืนตลอดไป

อนึ่ง คู่สมรสเมื่ออยู่นานวันเข้าถ้าเกิดทะเลาะวิวาทกัน ก็จะมีประเพณีอย่างหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า เขิง-ขอบแปลว่า ร่อนและมัดหมายถึงการพิจารณาตัดสิน โดยจะเชิญญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายมาพิจารณาและปรึกษากันว่าการบกพร่องในรื่องนั้นๆ เป็นความผิดของผู้ใดเมื่อพิจารณาได้ความเป็นประการใดแล้ว ก็ให้ผู้อาวุโสที่สุดเป็นผู้ว่า

กล่าวให้ประนีประนอมคืนดีกัน ตลอดจนแนะนำกลอุบายที่จะประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องเข้าใจกันต่อไป เช่น ถ้าภรรยาผิดต่อสามี ผู้น้อยผิดต่อผู้ใหญ่ก็ให้นำดอกไม้ธูปเทียนมากราบไหว้ขอโทษขอโพย และรับรองที่จะไม่ประพฤติเช่นนั้นอีกต่อไป

ในกรณีถ้าพ่อแม่ทำผิด ก็จะต้องรับที่จะแก้ไขไม่ให้ผิดซ้ำอีก บางทีก็จะมีการสู่ขวัญเลี้ยงดูเถ้าแก่พ่อแม่ก็ได้เพื่อผูกน้ำใจซึ่งกันและกัน และถ้าปรากฏว่ายังมีการแตกร้าวกันอยู่อีก ก็จะมีการพิจารณาดังนี้ทุกๆคราวไป ถ้าไม่อาจที่จะระงับได้ก็ให้ออกเหย้าออกเรือนหย่าขาดกันไปแล้วแต่กรณี ดังนี้การหย่าร้างจึงเกิดขึ้นน้อยมาก เว้นแต่ว่าจำเป็นจริงๆเพราะ เขิง-ขอบกันหลายครั้งหลายหนแล้วไม่ได้ผลหรือคู่สมรสบกพร่องมีปมด้อยต่าง ๆ เช่นไม่มีลูกด้วยกัน และเกียจคร้านต่อการงานเช่นนี้เป็นต้น

อนึ่ง ทุกคราวที่ให้ผู้ใหญ่ทำการเขิง-ขอบนี้จะต้องมีดอกไม้ธูปเทียนไปขมาท่าน ถ้ามีการปรับไหมสู่ขวัญเลี้ยงดูก็จะฟ้องให้ท่านรู้เห็นเป็นพยานด้วยทุกครั้งไป

 

งานประเพณีแห่เทียนพรรษา

     ก่อนสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ชาวอุบลไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชา จำพรรษา ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่ เมืองอุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดี จึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทนการแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป็นชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยมใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนานในระยะเวลาประมาณ พ.ศ.2480

 

        การทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น ถึงขั้นใช้การหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่ายๆ เช่น ประจำยาม กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ช่างผู้มีชื่อเสียงในทางนี้คือ นายโพธิ์ ส่งศรี ลายที่พ่อใหญ่โพธิ์ทำขึ้นเป็นลายง่ายๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำบัวหงาย พ่อใหญ่โพธิ์เป็นช่างทำต้นเทียน ให้กับวัดทุ่งศรีเมือง ต่อมา นายสวน คูณผล ได้นำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ และประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปปั้นสัตว์และลายไม้ฉลุ ทำให้ดูสวยงามมากขึ้น ผลงานทำต้นเทียน ของนายสวน คูณผล จึงมักจะได้รางวัลชนะเลิศอยู่เป็นประจำในช่วงปี พ.ศ.2494 ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและเห็นความสำคัญ ในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้น เมื่อทางจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี แต่ต้นเทียนในขณะนั้นยังมีการจัดทำอยู่เพียง 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสีและประเภทพิมพ์ลายติดลำต้นใน พ.ศ.2495 ได้มีการฟื้นฟูศิลปะการทำต้นเทียน และการแห่เทียนพรรษาของ จังหวัดอุบลราชธานี มีการประกวดเทียนพรรษา 2 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย และประเภท ติดพิมพ์

        ครั้น พ.ศ.2497 ช่างฝีมือรุ่นเยาว์ อันได้แก่ นายอารีย์ สินสวัสดิ์ นายประดับ ก้อนแก้ว ได้พัฒนาวิธีทำขึ้นใหม่ โดยใช้ปูนพลาสเตอร์แกะเป็นแม่พิมพ์ลายต่างๆ แล้วหล่อด้วยเทียนออกมาเป็นดอกๆ ผึ้งที่ใช้หล่อดอกไม้คนละสีกับลำต้น จึงทำให้มองเห็นเป็นส่วนลึกของลายอย่างชัดเจน นายประดับ ก้อนแก้ว ได้ทำต้นเทียนติดพิมพ์ และตกแต่งขบวนต้นเทียนของวัดมหาวนารามได้อย่างสวยงาม จนได้รับรางวัลชนะเลิศ

        ประมาณปี พ.ศ.2500 มีการจัดงานกึ่งพุทธกาลทั่วประเทศ งานด้านศาสนาจึงเฟื่องฟูมาก การแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการสนับสนุนให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น ทั้งด้านการจัดขบวนแห่ และการจัดหาสาวงามสำหรับต้นเทียน

        พ.ศ.2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างสูงอายุคนหนึ่งได้คิดและแกะสลักต้นเทียนโดยไม่ต้องพิมพ์ดอกมาติด เหมือนเช่นที่ช่างรุ่นก่อนทำมา ทำให้ต้นเทียนแกะสลักที่นายคำหมาทำให้กับบ้านกุดเป่ง อำเภอวารินชำราบ มีความแปลกใหม่สวยงาม ดังนั้น ในปีต่อมา จึงได้มีการเสนอให้จัดประกวดต้นเทียน 3 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ระยะต่อมา จึงตัดต้นเทียนประเภทมัดรวมติดลายที่เป็นต้นเทียนแบบ เก่า ออกจากการประกวด ช่างแกะสลักต้นเทียนที่มีฝีมือในรุ่นต่อมา ได้แก่ นายอุตส่าห์ จันทรวิจิตร และนายสมัยจันทรวิจิตร ซึ่งเป็นพี่น้องกัน

       นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร มีการประกวดต้นเทียนประเภทต่างๆ ประกวด ขบวนแห่ และนางฟ้า โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนอย่างรัดกุม มีการประชาสัมพันธ์งานกันอย่างกว้างขวาง ทำให้มีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติมาเที่ยวและชมงานเ ป็นจำนวนมาก

      การทำต้นเทียนประเภทแกะสลัก

      ต้นเทียนประเภทแกะสลัก เป็นต้นเทียนสมัยใหม่ ทำเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2502 โดยนายคำหมา แสงงาม ต้นเทียนต้นหนึ่งจะใช้ขี้ผึ้งประมาณ 70-100 กิโลกรัม โดยใช้ขี้ผึ้งดีผสมกับขี้ผึ้งชนิดไม่ดี ในอัตราส่วน 5 ต่อ 1 หลังจากหล่อและกลึงต้นเทียนแล้ว จะเริ่มแกะสลักต้นเทียนด้วยขั้นตอน ดังนี้

      ออกแบบลายที่จะแกะสลัก โดยการ่างทั้งส่วนฐานลำต้นและยอดเทียน ใช้เครื่องมือแกะสลักซึ่งจะมีการเซาะ เจาะ ขีด และขูด ให้เป็นรูปสามมิติ เหมือนของจริง หรือรูปที่ร่างไว้ตามจินตนาการ แก้ไขส่วนที่บกพร่องในระหว่างการแกะสลัก อาจมีการผิดพลาดได้ เช่น รูปที่แกะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป หรือบางส่วนแตกหัก ก็ต้องแก้ไขปรับปรุงให้เรียบร้อย

     เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักต้นเทียน

       1. มีด มีรูปแบบและขนาดต่างๆ กันตามความต้องการใช้งานของช่างทำต้นเทียน เช่น มีดปลายแหลมชนิดคมเดียว มีดปลายแหลมชนิดสองคม มีดปลายแหลมชนิดคมเดียวและโค้งงอ มีดอีโต้ปลายแหลมคมเดียว

       2. สิ่ว เช่น สิ่วใบใหญ่ปลายตัดตรง สิ่วใบใหญ่ปลายตัดเฉียง สิ่วใบใหญ่ปลายปากโค้ง สิ่วใบเล็กปลายตัดตรง สิ่วใบเล็กปลายตัดเฉียง สิ่วใบเล็กปลายปากโค้ง

       3. ตะขอเหล็กและเหล็กขูด เช่น ตะขอเหล็กมีคมคล้ายเคียวแต่ปลายงอน ตะขอเหล็กเป็นห่วงโค้งเป็นวงรีหรือรูปน้ำเต้า และเหล็กขูดมีคมทั้งสองด้าน

       4. แปรงทาสีชนิดดี

      การทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์

      การหล่อต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ มีขั้นตอนและวิธีการคล้ายกันกับการหล่อต้นเทียนประเภ ทแกะสลักทุกขั้นตอน แต่มีความแตกต่างกัน 2 ประการ คือ

        การหล่อต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ ใช้ขี้ผึ้งคุณภาพพอใช้ได้ซึ่งมีราคาถูก แต่การหล่อต้นเทียนประเภทแกะสลัก ใช้ขี้ผึ้งคุณภาพดี และราคาแพงกว่า ทั้งนี้ ก็เพราะว่า หากขี้ผึ้งคุณภาพไม่ดี เมื่อแกะสลักลึกและซับซ้อนหลายขั้น ขี้ผึ้งจะแตกหัก

        ต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ มักหล่อให้มีขนาดเล็กกว่าต้นเทียนประเภทแกะสลัก เพราะการหล่อต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ จะต้องนำไปกลึงให้เป็นรูปและขนาดเล็กลงบางส่วน แล้วจึงติดดอกเสริมโดยรอบให้หนาขึ้น ส่วนต้นเทียนประเภทแกะสลัก ต้องทำให้มีขนาดใหญ่เอาไว้ เพื่อที่จะแกะสลักหรือขูดออก

         งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี นอกจากจะเป็นงานที่แสดงออกถึง การยึดมั่นสืบสานงานบุญทางพระพุทธศาสนา อย่างเคร่งครัดของชาวเมืองอุบลฯ แล้ว ยังเป็นงานที่แสดงออกถึงวิวัฒนาการด้านศิลปะของสกุลช่างเมืองอุบลฯ อีกด้วย ทั้งนี้ เนื่องจาก บรรดาช่างศิลป์เมืองอุบลฯ ที่มีอยู่มากมายหลากหลายแขนง และผลิตงานด้านศิลปะอย่างต่อเนื่องตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะร่วมสมัย งานหัตถกรรมพื้นบ้าน และงานก่อสร้างตกแต่งโบสถ์วิหารต่างๆ จะใช้โอกาสในช่วงเทศกาลนี้กลับมาทดสอบ ทดลอง และประลองฝีมีเชิงช่าง โดยผ่านต้นเทียนพรรษา ดังนั้น ผู้ที่มาร่วมงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี จึงสามารถชื่นชม และศึกษากิจกรรมของงาน ทั้งในด้านการสืบสานจารีตประเพณีพื้นเมือง และในด้านศิลปะการตกแต่งต้นเทียนกิจกรรมภายในงานที่สำคัญ ๆ ได้แก่

       1.เยือนชุมชน ชมวิถีวัฒนธรรมการตกแต่งต้นเทียน

          การไปเยือนชุมชน หรือ คุ้มวัดต่าง ๆ ในช่วงที่กำลังเตรียมการตกแต่งต้นเทียน คือในช่วงประมาณ 2-3 วัน ก่อนวันแห่นั้น นอกจากผู้มาเยือนจะได้ศึกษากรรมวิธีและขั้นตอน การตกแต่งเทียนอันเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นแล้ว ยังจะได้สัมผัสบรรยากาศการร่วมแรงร่วมใจ ของชุมชนในการทำกิจกรรมทางพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นวิถีวัฒนธรรมพื้นบ้านที่สำคัญของชาวอุบลฯ สำหรับคุ้มวัดที่น่าสนใจ เช่น วัดบูรพา วัดหนองบัว วัดสว่างอารมณ์ วัดศรีประดู่ทรงธรรม วัดสุทัศวนาราม วัดทุ่งศรีเมือง และวัดผาสุการาม เป็นต้น

        2. การเวียนเทียนวันอาสาฬหบูชาที่วัดงามในเมืองอุบลฯ

            การเวียนเทียนเนื่องในวันอาสาฬหบูชาจัดขึ้นในช่วงค่ำ ของ ตามวัดต่างๆ โดยทั่วไปกิจกรรมนี้ นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่สำคัญ ของพุทธศาสนิกชนแล้ว ยังเป็นโอกาสอันดีของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ที่จะได้ชื่นชมเอกลักษณ์ ทางสถาปัตยกรรมพื้นเมือง อันงดงามตามวัดต่างๆ ในอีกมิติหนึ่ง

      3. การตั้งแสดงต้นเทียนรอบทุ่งศรีเมือง

           ในช่วงค่ำของวันอาสาฬหบูชา จะเป็นเวลาที่ต้นเทียน พรรษาจากคุ้มวัดต่างๆ กว่า 30 ต้น จะถูกเคลื่อนย้ายมาตั้งไว้ ณ บริเวณถนนรอบๆ ทุ่งศรีเมือง เพื่อเตรียมการเข้าร่วมขบวนแห่ในเช้าวันรุ่งขึ้น ในช่วงนี้ ต้นเทียนจะได้รับการตกแต่งอย่างสมบูรณ์ ประกอบกับสถานที่ตั้ง จะได้รับการจัดเตรียมไว้อย่างดี เช่น การเตรียมแสงไฟ ไว้สาดส่องต้นเทียน การประดับประดาบริเวณงาน อย่างเป็นระเบียบ ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็น ช่วงเวลาที่ดีที่สุด ในการชื่นชมศิลปะการตกแต่งเทียนอย่างละเอียดละออ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลา และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการแสดงศิลปะตกแต่งเทียนที่งดงาม และสมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย

       4. กิจกรรมขบวนแห่เทียนพรรษา

            จะจัดขึ้นในวันรุ่งขึ้น คือวันเข้าพรรษา ตั้งแต่เวลา ประมาณ 08.00 น. เป็นต้นไป โดยจะเคลื่อนขบวนไปตามถนนอุปราช ผ่านหน้าศาลากลาง ไปถนนชยางกูร เป็นระยะทางประมาณ2-3 กม. จึงสลายขบวน รูปแบบของการจัดขบวนประกอบด้วย ขบวนเทียนหลวงพระราชทาน ขบวนต้นเทียนของคุ้มวัดต่าง ๆ ซึ่งแต่ละขบวนจะประกอบด้วยการแสดง การละเล่น การฟ้อนรำ การบรรเลงดนตรีในรูปแบบของศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง การเข้าชมขบวนแห่ ่คณะกรรมการจัดงาน จะจัดเตรียมอัฒจันทร์นั่งชมไว้บริการ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด อัตราค่าบริการประมาณท่านละ200 บาท ส่วนการเข้าชมขบวนตามจุดอื่นๆ นั้นสามารถชมได้ตามอัธยาศัยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ขบวนดังกล่าวปกติจะเสร็จสิ้นในช่วงบ่าย

                                                        ประเพณีถวายเทียนพรรษา

         เทียนพรรษาในปัจจุบันใช้ประโยชน์เพียงจุดบูชาพระพุทธปฏิมา ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาพระธรรมเหมือนในอดีตอีกแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันเริ่มมีชาวพุทธนำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างไปถวายแก่พระสงฆ์แทนเทียนพรรษาซึ่งจะให้ประโยชน์มากกว่าใช้จุดบูชาเท่านั้น

มีประเพณีหนึ่งที่เนื่องด้วยวันเข้าพรรษาและจัดเป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา สำหรับให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด 3 เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นงานประเพณี "ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

การถวายเทียนเพื่อจุดตามประทีปเป็นพุทธบูชานั้น มาจากอานิสงส์การถวายเทียนเพื่อจุดเป็นพุทธบูชา ที่ปรากฏความในพระไตรปิฎกและในคัมภีร์อรรถกถา ว่าพระอนุรุทธะเถระ เคยถวายเทียนบูชาทำให้ได้รับอานิสงส์มากมาย รวมถึงได้เป็นผู้มีจักษุทิพย์ (ตาทิพย์) ด้วยด้วยการพรรณาอานิสงส์ดังกล่าว อาจทำให้ชาวพุทธนิยมจุดประทีปเป็นพุทธบูชามานานแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าการทำเทียนพรรษาในประเทศไทยถวายเริ่มมีมาแต่สมัยใด แต่ปรากฏความในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ที่พรรณาการบำเพ็ญกุศลในช่วงเข้าพรรษาว่ามีการถวายเทียนพรรษาด้วย

ในประเทศไทย การถวายเทียนเข้าพรรษาจัดเป็นพิธีใหญ่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยรัตนโกสินทร์การถวายเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญ โดยจะเรียกว่าพุ่มเทียนมีการพระราชทานถวายพุ่มเทียนรวมพึงโคมเพื่อจุดบูชาตามอารามต่าง ๆ ทั้งในพระนครและหัวเมือง ซึ่งพิธีนี้ยังคงมีมาจนปัจจุบัน

การถวายเทียนพรรษาโดยแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ นั้น มีมาแต่โบราณ เดิมเป็นประเพณีราชสำนักดังที่ปรากฏในเทียนรุ่งเทียนหลวงตามพระอารามต่าง ๆ สำหรับเทียนแกะสลักที่ปรากฏว่ามีการจัดทำประกวดกันเป็นเรื่องราวใหญ่โตในปัจจุบันนั้น พึ่งเริ่มมีเมื่อปี พ.ศ. 2483 ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยนายโพธิ์ ส่งศรี ได้เริ่มทำแม่พิมพ์ปูนซีเมนต์เพื่อหล่อขี้ผึ้งเป็นทำลวดลายไทยไปประดับติดพิมพ์บนเทียนพรรษา นับเป็นการจัดทำเทียนพรรษาแกะสลักของช่างราษฏร์เป็นครั้งแรก และนายสวน คูณผล ได้ทำลวดลายนูนสลับสีต่าง ๆ เข้าประกวดจนชนะเลิศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 จึงเริ่มมีการทำเทียนพรรษาติดพิมพ์ประกวดแบบพิสดารโดยนายประดับ ก้อนแก้ว คือทำเป็นรูปพุทธประวัติติดพิมพ์จนได้รับรางวัลชนะเลิศติดต่อกันมาหลายปี จนปี พ.ศ. 2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างแกะสลัก ได้ทำเทียนพรรษาแบบแกะสลักมาประกวดเป็นครั้งแรกจนได้รับรางวัลชนะเลิศ จากนั้นจึงได้มีการแยกประเภทการประกวดต้นเทียนเป็นสองแบบคือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก จนในช่วงหลังปี พ.ศ. 2511 นายอุตสาห์ และนายสมัย แสงวิจิตร ได้เริ่มมีการจัดทำเทียนพรรษาขนาดใหญ่โต ทำเป็นหุ่นและเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของเทียนพรรษาขนาดใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบัน

ในอดีต การหล่อเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพิธีสำคัญที่ชาวพุทธจะมารวมตัวกันนำขี้ผึ้งมาหลอมรวมเป็นแท่งเทียนเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ แต่ในปัจจุบันชาวพุทธส่วนใหญ่จะนิยมการซื้อหาเทียนพรรษาจากร้านสังฆภัณฑ์ โดยบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนไปซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างถวายแก่พระสงฆ์แทนด้วย ซึ่งนับเป็นการปรับเปลี่ยนที่ได้ประโยชน์แก่พระสงฆ์โดยตรง เพราะปัจจุบันไม่ได้มีการนำเทียนมาจุดเพื่ออ่านหนังสืออีกแล้ว พระสงฆ์คงนำเทียนไปจุดบูชาตามอุโบสถวิหารเท่านั้น

ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน (ก่อนเข้าพรรษา)

ผ้าอาบน้ำฝน หรือ ผ้าวัสสิกสาฏก คือผ้าเปลี่ยนสำหรับสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ เป็นผ้าลักษณะเดียวกับผ้าสบง โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบงจีวรสังฆาฏิเข็มบาตรรัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น พระสงฆ์ที่มีเพียงสบงผืนเดียวจะอาบน้ำฝนจำเป็นต้องเปลือยกาย ทำให้ดูไม่งามและเหมือนนักบวชนอกศาสนา นางวิสาขามหาอุบาสิกาจึงคิดถวาย "ผ้าวัสสิกสาฏก" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยนกับผ้าสบงปกติ จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยปรากฏสาเหตุความเป็นมาของการถวายผ้าอาบน้ำฝนในพระไตรปิฎกดังนี้

ครั้งหนึ่งสมัยพุทธกาล พระศาสดาประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร นางวิสาขาได้มาฟังธรรม แล้วทูลอาราธนาพระศาสดาและหมู่สงฆ์ไปฉันที่บ้านของนางในวันรุ่งขึ้น เช้าวันนั้น เกิดฝนตกครั้งใหญ่ ตกในทวีปทั้ง 4 พระศาสดาจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายสรงสนานกาย พระสงฆ์ทั้งหลายที่ไม่มีผ้าอาบน้ำฝนจึงออกมาสรงน้ำฝนโดยร่างเปลือยกายอยู่

พอดีกับนางวิสาขามหาอุบสิกาสั่งให้นางทาสีไปนิมนต์ภิกษุมารับภัตตาหารที่บ้านของตน เมื่อนางทาสีไปถึงที่วัดเห็นภิกษุเปลื้องผ้าสรงสนานกาย ก็เข้าใจว่า ในอารามมีแต่พวกชีเปลือย (อาชีวกนอกพระพุทธศาสนา) ไม่มีภิกษุอยู่จึงกลับบ้าน ส่วนนางวิสาขานั้นเป็นสตรีที่ฉลาดรู้แจ้งในเหตุการณ์ทั้งปวง เมื่อถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในวันนั้นแล้ว จึงได้โอกาสอันควรทูลขอพร 8 ประการต่อพระศาสดา

พระศาสดาทรงอนุญาตพร 8 ประการคือ

ผ้าอาบน้ำฝนมีเพื่อใช้ผลัดกับผ้าสบงปกติ เพื่อปกปิดความเปลือยกายในเวลาสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ (ปกติตามพระวินัย พระสงฆ์จะมีไตรจีวรได้เพียงรูปละ 1 สำรับเท่านั้น)

1.       ขอถวายผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่พระสงฆ์เพื่อปกปิดความเปลือยกาย

2.       ขอถวายภัตแต่พระอาคันตุกะ เนื่องจากพระอาคันตุกะไม่ชำนาญหนทาง

3.       ขอถวายคมิกภัตแก่พระผู้เตรียมตัวเดินทาง เพื่อจะได้ไม่พลัดจากหมู่เกวียน

4.       ขอถวายคิลานภัตแก่พระอาพาธ เพื่อไม่ให้อาการอาพาธกำเริบ

5.       ขอถวายภัตแก่พระผู้พยาบาลพระอาพาธ เพื่อให้ท่านนำคิลานภัตไปถวายพระอาพาธได้ตามเวลา และพระผู้พยาบาลจะได้ไม่อดอาหาร

6.       ขอถวายคิลานเภสัชแก่พระอาพาธ เพื่อให้อาการอาพาธทุเลาลง

7.       ขอถวายยาคูเป็นประจำแก่สงฆ์

8.       ขอถวายผ้าอุทกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่ภิกษุณีสงฆ์เพื่อปกปิดความไม่งามและไม่ให้ถูกเย้ยยัน

โดยนางวิสาขาได้ให้เหตุผลการถวายผ้าอาบน้ำฝนว่า เพื่อให้ใช้ปกปิดความเปลือยกายในเวลาสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ที่ดูไม่งามดังกล่าว ดังนั้น นางวิสาขาจึงเป็นอุบาสิกาคนแรกที่ได้รับอนุญาตให้ถวายผ้าอาบน้ำฝน (วัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์

ผ้าอาบน้ำฝน จึงถือเป็นบริขารพิเศษที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระสงฆ์ได้ใช้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำให้ถูกต้องตามพระวินัยปิฎก มิเช่นนั้นพระสงฆ์จะต้องอาบัตินิคสัคคิยปาจิตตีย์ คือ ต้องทำผ้ากว้างยาวให้ถูกขนาดตามพระวินัย คือ ยาว 6 คืบพระสุคต กว้าง 2 คืบครึ่ง ตามมาตราปัจจุบันคือ ยาว 4 ศอก 3 กระเบียด กว้าง 1 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว 1 กระเบียดเศษ ถ้าหากมีขนาดใหญ่กว่านี้ พระสงฆ์ต้องตัดให้ได้ขนาด จึงจะปลงอาบัติได้

นอกจากนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงวางกรอบเวลาในการแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนไว้ด้วย หากพระสงฆ์แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนมาได้ภายนอกกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องอาบัติ โดยพระพุทธเจ้ายังได้ทรงวางกรอบเวลาในการแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนไว้ว่า หากพระสงฆ์แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนมาใช้ได้ภายนอกกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ กล่าวคือ ทรงวางกรอบเวลาหรือเขตกาลไว้ 3 เขตกาล คือ

  • เขตกาลที่จะแสวงหา ช่วงปลายฤดูร้อน ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 7 ถึงวันเพ็ญเดือน 8 รวมเวลา 1 เดือน
  • เขตกาลที่จะทำนุ่งห่ม ช่วงกึ่งเดือนปลายฤดูร้อน ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันเพ็ญเดือน 8 รวมเวลาประมาณ 15 วัน
  • เขตกาลที่จะอธิษฐานใช้สอย ช่วงเข้าพรรษา ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันเพ็ญเดือน 12 รวมเวลา 4 เดือน

ด้วยกรอบพระพุทธานุญาตและกรอบเวลาตามพระวินัยดังกล่าว เมื่อถึงเวลาที่พระสงฆ์ต้องแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน พุทธศานิกชนจึงถือโอกาสบำเพ็ญกุศลด้วยการจัดหาผ้าอาบน้ำฝนมาถวายแก่พระสงฆ์ จนเป็นประเพณีสำคัญเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษามาจนปัจจุบัน

ประเพณีถวายผ้าจำนำพรรษา (หลังออกพรรษา)

ผ้าจำนำพรรษา หรือ ผ้าวัสสาวาสิกสาฎกเป็นผ้าไตรจีวรที่ถวายแก่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ที่ผ่านวันปวารณาไปแล้ว หรือที่ผ่านวันปวารณาและได้กรานและอนุโมทนากฐินแล้ว ซึ่งผ้าจำนำพรรษานี้พระสงฆ์สามารถรับได้ภายในกำหนด 5 เดือน ที่เป็นเขตอานิสงส์กฐิน คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4

แต่สำหรับพระสงฆ์ที่จำพรรษาครบ 3 เดือน และผ่านวันปวารณาไปแล้ว ซึ่งไม่ได้กรานและอนุโมทนากฐิน ก็สามารถรับและใช้ผ้าจำนำพรรษาได้เช่นกัน แต่สามารถรับได้ในช่วงกำหนดเพียง 1 เดือน ในเขตจีวรกาลสำหรับผู้ไม่ได้กรานกฐินเท่านั้น

การถวายผ้าจำนำพรรษาในช่วงดังกล่าว เพื่ออนุเคราะห์แก่พระสงฆ์ที่ต้องการจีวรมาเปลี่ยนของเก่าที่ชำรุด พุทธศาสนิกชนจึงนิยมถวายผ้าจำนำพรรษามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ในประเทศไทยก็ปรากฏว่ามีพระราชประเพณีการถวายผ้าจำนำพรรษาแก่พระสงฆ์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ตามความที่ปรากฏในหนังสือพระราชนิพนธ์พระราชพิธี 12 เดือน ซึ่งปัจจุบันแม้ทางราชสำนักได้งดประเพณีนี้ไปแล้ว แต่ประเพณีนี้ก็ยังคงมีอยู่สำหรับชาวบ้านทั่วไป โดยนิยมถวายเป็นผ้าไตรแก่พระสงฆ์หลังพิธีงานกฐิน แต่เป็นที่สังเกตว่าปัจจุบันจะเข้าใจผิดว่าผ้าจำนำพรรษาคือผ้าอาบน้ำฝน ซึ่งความจริงแล้วมีความเป็นมาและพระวินัยที่แตกต่างกันสิ้นเชิง

ประเพณีถวายผ้าอัจเจกจีวร (ระหว่างเข้าพรรษา)

ผ้าอัจเจกจีวร แปลว่า จีวรรีบร้อน หรือผ้าด่วน คือผ้าจำนำพรรษาที่ถวายล่วงหน้าในช่วงเข้าพรรษา ก่อนกำหนดจีวรกาลปกติ ด้วยเหตุรีบร้อนของผู้ถวาย เช่น ผู้ถวายจะไปรบทัพหรือเจ็บไข้ไม่ไว้ใจว่าจะมีชีวิตรอดหรือไม่ชีวิต หรือเป็นบุคคลที่พึ่งเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา ควรรับไว้ฉลองศรัทธา

อัจเจกจีวรเช่นนี้ พระวินัยอนุญาตให้พระสงฆ์รับเก็บไว้ได้ แต่ต้องรับก่อนวันปวารณาไม่เกิน 10 วัน (คือตั้งแต่ขึ้น 6 ค่ำ ถึง 15 ค่ำเดือน 11) และต้องนำมาใช้ภายในช่วงจีวรกาลผ้าอัจเจกจีวรนี้ เป็นผ้าที่มีความมุ่งหมายเดียวกับผ้าจำนำพรรษา เพียงแต่ถวายก่อนฤดูจีวรกาลด้วยวัตถุประสงค์รีบด่วนด้วยความไม่แน่ใจในชีวิต ซึ่งประเพณีนี้คงมีสืบมาแต่สมัยพุทธกาล ปัจจุบันไม่ปรากฏเป็นพิธีใหญ่ เพราะเป็นการถวายด้วยสาเหตุส่วนตัวเฉพาะรายไป ส่วนมากจะมีเจ้าภาพผู้ถวายเพียงคนเดียวและเป็นคนป่วยหนักที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า

วันเข้าพรรษาในปฏิทินสุริยคติไทย

อย่างไรก็ตาม บางประเทศที่นับถือพุทธศาสนาอาจกำหนดวันไม่ตรงกับของไทยในบางปี เนื่องจากประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งบนโลกที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไป

ปี

วันที่

วันที่

วันที่

ปีชวด

30 กรกฎาคมพ.ศ. 2539

18 กรกฎาคมพ.ศ. 2551

6 กรกฎาคมพ.ศ. 2563

ปีฉลู

20 กรกฎาคมพ.ศ. 2540

8 กรกฎาคมพ.ศ. 2552

25 กรกฎาคมพ.ศ. 2564

ปีขาล

9 กรกฎาคมพ.ศ. 2541

27 กรกฎาคมพ.ศ. 2553

14 กรกฎาคมพ.ศ. 2565

ปีเถาะ

28 กรกฎาคมพ.ศ. 2542

16 กรกฎาคมพ.ศ. 2554

2 สิงหาคมพ.ศ. 2566

ปีมะโรง

17 กรกฎาคมพ.ศ. 2543

3 สิงหาคมพ.ศ. 2555

21 กรกฎาคมพ.ศ. 2567

ปีมะเส็ง

6 กรกฎาคมพ.ศ. 2544

23 กรกฎาคมพ.ศ. 2556

11 กรกฎาคมพ.ศ. 2568

ปีมะเมีย

25 กรกฎาคมพ.ศ. 2545

12 กรกฎาคมพ.ศ. 2557

30 มิถุนายนพ.ศ. 2569

ปีมะแม

14 กรกฎาคมพ.ศ. 2546

31 กรกฎาคมพ.ศ. 2558

19 กรกฎาคมพ.ศ. 2570

ปีวอก

1 สิงหาคมพ.ศ. 2547

20 กรกฎาคมพ.ศ. 2559

7 กรกฎาคมพ.ศ. 2571

ปีระกา

22 กรกฎาคมพ.ศ. 2548

9 กรกฎาคมพ.ศ. 2560

26 มิถุนายนพ.ศ. 2572

ปีจอ

11 กรกฎาคมพ.ศ. 2549

28 กรกฎาคมพ.ศ. 2561

16 กรกฎาคมพ.ศ. 2573

ปีกุน

30 กรกฎาคมพ.ศ. 2550

17 กรกฎาคมพ.ศ. 2562

5 กรกฎาคมพ.ศ. 2574

การประกอบพิธีทางศาสนาในช่วงพรรษากาลในประเทศไทย

แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญ รักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส โดยการจัดเตรียมสิ่งของเพื่อนำไปถวายแก่พระสงฆ์ที่จะจำพรรษา การตั้งใจรักษาศีล 5 หรือศีล 8 และตั้งใจบำเพ็ญความดี เข้าวัดฟังธรรมตลอดพรรษากาล ซึ่งไม่เฉพาะแต่ชาวบ้านทั่วไปเท่านั้น สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ให้ความสำคัญกับการเข้าพรรษาของพระสงฆ์เป็นอย่างมากเช่นกัน

                พระราชพิธี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจิมเทียนพรรษาที่จะทรงอุทิศพระราชทานไปจุดบูชาพระรัตนตรัยและพุทธเจดีย์สถาน ตามพระอารามหลวงต่าง ๆ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

การพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันเข้าพรรษานี้มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา   ซึ่งเดิมก่อน พ.ศ. 2501 เรียกเพียง การพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันเข้าพรรษา แต่หลังจากที่ทางคณะสงฆ์มีการกำหนดให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง (ก่อนหน้าวันเข้าพรรษา 1 วัน) ในปี พ.ศ. 2501 แล้ว สำนักพระราชวังจึงได้กำหนดเพิ่มการบำเพ็ญพระราชกุศลในวันอาสฬหบูชาเพิ่มเติมขึ้นมาด้วยอีกวันหนึ่ง   รวมเป็นสองวัน

การพระราชพิธีนี้โดยปกติมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นองค์ประธานในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล     และบางครั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทน[ โดยสถานที่ประกอบพระราชพิธีหลักจะจัดในวัดพระศรีรัตนศาสดารามวัดบวรนิเวศวิหาร และภายในพระบรมมหาราชวัง การสำคัญของพระราชพิธีคือการถวายพุ่มเทียนเครื่องบูชาแก่พระพุทธปฏิมาและพระราชาคณะ รวมทั้งการพระราชทานภัตตาหารแก่พระราชาคณะ ฐานานุกรมเปรียญ ซึ่งรับอาราธานามารับบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวังจำนวน 150 รูป ในวันเข้าพรรษาทุกปี    เป็นต้น ซึ่งการพระราชพิธีนี้เป็นการแสดงออกถึงพระราชศรัทธาอันแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนา ขององค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

         พิธีสามัญ

ประเพณีแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี

เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตร ถวายเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน โดยมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุสามเณร หรือมีการช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ โดยนิยมไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น ซึ่งพอสรุปกิจที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในพรรษากาลได้ดังนี้

1.       ร่วมกิจกรรมทำเทียนพรรษาหรือหลอดไฟถวายแก่พระสงฆ์

2.       ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร

3.       ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล ตลอดพรรษากาล

4.       อธิษฐานตั้งใจทำความดี หรืองดการทำชั่วอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น งดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นต้น

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเรียกเทียนพรรษา,ผ้าจำนำพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน

ในปัจจุบันปรากฏว่ามีการเรียกสิ่งของที่ถวายทานเนื่องด้วยการเข้าพรรษา โดยใช้คำเรียกที่ผิดอย่างกว้างขวางเช่น เรียกเทียนที่ถวายแก่พระสงฆ์ว่า เทียนจำพรรษา หรือเทียนจำนำพรรษา หรือเรียกผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าสบง) ที่ถวายแก่พระสงฆ์ว่าเป็นผ้าจำนำพรรษา ซึ่งทั้งสองคำข้างต้นเป็นคำเรียกที่ผิด โดยสาเหตุอาจมาจากการเรียกสับสนกับผ้าจำนำพรรษา ที่ปรากฏความในพระวินัยปิฎก มหาวรรค ซึ่งผ้าจำนำพรรษานั้นเป็นผ้าจีวรที่ปกติจะถวายแก่พระสงฆ์ที่อยู่จำครบพรรษาและออกพรรษาแล้ว โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับผ้าอาบน้ำฝนและเทียนพรรษาแต่ประการใด

อย่างไรก็ดี คำว่าจำนำนั้น สามารถหมายถึง ประจำ หรือก็คือสิ่งของที่ถวายเป็นประจำเฉพาะการเข้าพรรษา ซึ่งก็คือ ผ้าอาบน้ำฝนและเทียนพรรษาก็ได้เช่นกัน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การใช้คำเรียกผ้าจำนำพรรษาโดยหมายถึงผ้าอาบน้ำฝนนั้น อาจสร้างความสับสนกับผ้าจำนำพรรษาตามพระวินัยปิฎกได้ ซึ่งควรเรียกให้ถูกต้องว่า ผ้าอาบน้ำฝน (วัสสิกสาฎก), ผ้าจำนำพรรษา (วัสสาวาสิกสาฏก) และเทียนพรรษา ตามลำดับ

การถวายเทียนพรรษา

ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำ ทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูป เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็น การกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงส์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา ๓ เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมี การแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้านนั้น

    กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา

๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา

๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร

๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล

๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ

คำถวายเทียนพรรษา

ยัคเฆ ภันเต,สังโฆ ปะฏิชานาตุ , มะยัง ภันเต, เอตัง ปะทีปะยุคัง, สะปะริวารัง, เตมาสัง, พุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ, อิมัสสะหมิง อะโปสะถาคาเร, นิยยาเทมะ, สาธุ โน ภันเต, อะยัง เตมาสัง , พุทธัสสะ , ปูชะนัตถายะ, ปะทีปะยุคัสสะ,ทานัสสะ , อานิสังโส , อัมหากัญเจวะ,มาตาปิตุอาทีนัญจะ,ปิยะชะนานัง, ทีฆะรัตตัง,หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ.

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์โปรดรับทราบ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอมอบถวายเทียนคู่นี้ พร้อมกับของบริวาร ไว้ ณ อุโบสถนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชาตลอดพรรษา ขออานิสงส์แห่งการถวายคู่ เทียน เพื่อเป็นพุทธบูชา ตลอดพรรษนี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ปิยชนทั้งหลายมีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย ตลอดกาลนานเทอญ

อานิสงส์ถวายเทียนพรรษา

การ ถวายเทียนพรรษานี้เป็นโบราณประเพณีที่ทำสืบๆ มาเป็นเวลาช้านาน

เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา ภิกษุทั้งปวงต้องจำพรรษาใน

อาวาสของตน 3 เดือน พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงได้จัดทำให้เป็นกุศลพิธีขึ้น

เมื่อได้นำเทียนไปถวายพระสงฆ์แล้ว ท่านก็จะได้จุดบูชา

ต่อหน้าพระประธานในพระอุโบสถ ผู้ถวายย่อมได้รับอานิสงค์ คือ

1.ทำให้เกิดปัญญา ทั้งชาตินี้และชาติหน้า เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งเทียน

2.ทำให้สว่างไสวรุ่งเรือง ผู้ถวายย่อมทำให้มีความรุ่งเรืองด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ

3.ทำให้คลี่คลายเรื่องราวต่างๆ ที่มีปัญหาให้ร้ายกลายเป็นดี

4. เจริญไปด้วยมิตรบริวาร

5.ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย

6.เมื่อจากโลกนี้ไปย่อมมีกายทิพย์อันสว่างไสว

7.เมื่อลาลับโลกนี้ไปย่อมไปสู่สุคติสวรรค์

8.หากบารมีมากพอ ย่อมทำให้เกิดดวงตาจักษุ คือปัญญารู้แจ้งเข้าสู่พระนิพพาน

ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน

           ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นประเพณีมาตั้งแต่โบราณกาล ในครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสให้พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 7 ไปจนถึงเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ และทรงอนุญาตนุ่งหุ่มได้ตั้งแต่ แรม 1 ค่ำเดือน 8 ไป และห้ามมิให้พระภิกษุสงฆ์แสวงหาผ้านุ่งห่มเลยไปจากทรงอนุญาตไว้

            เมื่อทรงกำหนดไว้ดังนี้แล้วครั้งถึงเวลาบรรดาพุทธศาสนิกชน จึงชวนกันบริจาคทรัพย์ของตน และจัดหาผ้าอาบน้ำฝนนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ที่วัด ทั้งนี้เพื่อมิให้พระภิกษุสงฆ์ต้องกังวลในเรื่องการแสวงหา จะได้ตั้งหน้าประพฤติสมณธรรมโดย มิต้องกังวลจึงเป็นอานิสงส์อย่างหนึ่งที่ควรจะประกอบ เพื่อจรรโลงศาสนาให้รุ่งเรืองถาวรสืบไป

           ผ้าอาบน้ำฝน เป็นอุปกรณ์สำคัญในการดำรงชีพของสมณะทั้งหลาย ดังนั้น ผู้ที่นำไปถวายจึงได้ชื่อว่าได้เกื้อกูลพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง

ในอดีตกาลก็มีเรื่องเล่าว่า

เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะประทับอยู่ที่พระเชตวนารามที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายในนครสาวัตถี

กาลครั้งนั้น นางวิสาขามหาอุบาสิกา อัครสาวิกาได้ไปเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดาถวายอภิวาทแล้วนั่งในที่อันสมควรข้างหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้นางวิสาขาฟังพอสมควรแล้ว นางวิสาขาได้กราบทูลพระพุทธเจ้า พร้อมพระภิกษุสงฆ์ให้เข้าไปรับบิณฑบาตที่บ้านของนางในวันรุ่งขึ้นเช้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์

ครั้นแล้วนางวิสาขา จึงลุกจากที่นั่งถวายบังคมกลับออกไป

เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว พอรุ่งขึ้นก็เกิดฝนตกหนัก สมเด็จพระบรมศาสดาจึงทรงตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝนที่ได้ตกในพระเชตวันวิหารนี้เช่นใด ก็ได้ตกตลอดไปจนทั่วถึงในทวีปใหญ่ทั้ง 4 เช่นนั้นเหมือนกัน พวกเธอจงเปลือยกายอาบน้ำเถิดเพราะมี เม็ดใหญ่ จะยังฝนให้ตกตลอดทั่วถึงทวีปใหญ่ๆ ทั้ง 4 เช่นนี้เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว

พระภิกษุทั้งหลาย ได้รับอนุญาตจากพระพุทธองค์เช่นนี้แล้ว ก็ได้พากันเปลื้องผ้าจีวร และสบงออกแล้วอาบน้ำฝนในบริเวณพระเชตวนารามนั่นเอง

เมื่อนางวิสาขามหาอุบาสิกา ได้ตกแต่งโภชนียาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงใช้ให้นางทาสีไปกราบทูลนิมนต์พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ว่า ถึงเวลาภัตตาหารแล้ว เมื่อนางทาสีได้ไปถึงบริเวณพระเชตวนารามวิหาร ได้เห็นพระภิกษุสงฆ์พากัน เปลือยกายอาบน้ำฝนกันอยู่ นางทาสีมีความสำคัญว่าไม่ใช่พระภิกษุสงฆ์ เพราะเคยเห็นแต่พวกอาชีวกนิครนถ์เท่านั้นที่ได้เปลือยกาย นางจึงกลับมาแจ้งแก่นางวิสาขามหาอุบาสิกา

นางวิสาขาจึงคิดว่า ชะรอยพระภิกษุทั้งหลายคงจะเปลือยกายอาบน้ำฝนเป็นแน่ จึงให้นางทาสีกลับไปนิมนต์อีก

เมื่อนางทาสีไปถึงก็เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์อาบน้ำกลับที่อยู่ของตนแล้ว นางทาสีไม่เห็นพระภิกษุที่พระอารามเห็นแต่พระอารามว่างเปล่าจึงกลับมาบอก นางวิสาขาอีก นางวิสาขาจึงคิดว่าชะรอยพระภิกษุจะอาบน้ำเสร็จเเล้ว จึงแยกย้ายไป สู่ที่อยู่ของตน นางจึงให้นางทาสีไปอีกวาระหนึ่ง

ครั้งนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนพระภิกษุทั้งหลายว่า พวกเธอจงพากันตระเตรียมบาตรจีวรไว้ให้พร้อม เวลานี้เป็นเวลาภัตตาหารแล้ว สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงทรงห่มพระสุคตจีวร ทรงถือเอาบาตรและพุทธบริขารมีพระภิกษุสงฆ์แวดล้อมเป็นบริวาร เสด็จโดยพุทธานุภาพถึงประตูบ้านนางวิสาขามหาอุบาสิกาในเวลาชั่วพริบตาเดียว โดยพระบาทมิได้เปียกน้ำซึ่งกำลังนองอยู่โดยทั่วไป

เมื่อเสด็จไปถึงแล้ว ก็ประทับบนพุทธอาสน์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย นางวิสาขาจึงคิดในใจว่า

โอ้หนอ พระพุทธานุภาพของพระพุทธเจ้านี้ช่างเป็นที่อัศจรรย์จริง เมื่อห้วงน้ำท่วมพื้นแผ่นดิน เพียงเข่าบ้างเพียงสะเอวบ้าง เท้าหรือจีวรของพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้แต่สักรูปหนึ่งก็มิได้เปียกเลย

เมื่อนางวิสาขาได้เห็นพุทธานุภาพเช่นนั้น ก็มีความปลาบปลื้มเป็นที่ยิ่ง จึงถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์จนอิ่มแล้ว นางวิสาขาจึงทูลขอพร 8 ประการ ต่อสมเด็จพระพุทธองค์เจ้า

นางวิสาขาจึงกราบทูลว่า

เมื่อหม่อมฉันได้ให้นางทาสีไปนิมนต์พระภิกษุสงฆ์นั้น นางทาสีได้เห็นพระภิกษุสงฆ์เปลือยกายอาบน้ำในพระเชตวนาราม หม่อมฉันได้ทรงทราบก็เกิดสลดใจ และคิดว่าพระภิกษุสงฆ์อัตคัดขัดสนนัก แม้แต่ผ้านุ่งอาบน้ำฝนก็มิได้มีจึงเป็นที่ไม่สะอาดตาแก่ผู้ได้พบเห็น หม่อมฉันจึงกราบทูลขอ

พรข้อที่ 1 ว่า

ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝน แก่ภิกษุจนตลอดชีวิต

พรข้อที่ 2 ว่า

เมื่อพระภิกษุมาจากที่อื่น ยังไม่รู้จักทางที่จะเที่ยวบิณฑบาต ย่อมจะเป็นที่ลำบากในเรื่องอาหารบิณฑบาต ขอให้ภิกษุพระอาคันตุกะนั้นได้ฉันอาคันตุกภัตรอยู่ พอได้รู้ว่ามีที่จะโคจรบิณฑบาตแล้ว ก็จักไม่มีความเดือดร้อน จักได้เที่ยวบิณฑบาตได้โดยสะดวก หม่อมฉันเห็นประโยชน์เช่นนี้จึงได้ทูลขอพรข้อที่ 2 เพื่อให้พระพุทธองค์ทรงอนุญาตอาคันตุกภัตรแก่ภิกษุบริษัทให้ได้บริโภคตามเวลาอันเหมาะสม

พรข้อที่ 3 ว่า

พระภิกษุที่จะไปยังประเทศไกล เมื่อมากังวลด้วยเรื่องการที่จะหาเสบียงอยู่ ภิกษุนั้นก็จะไปไม่ทันหมู่พวกเดินทาง หรือจักไปถึงสถานที่ที่ตนมุ่งหมายในเวลาวิกาล เมื่อขาดอาหารร่างกายก็จะบวมช้ำในการที่ต้องเดินทางไกล ครั้นเมื่อภิกษุนั้นได้รับคมิกภัตรแล้วก็จะได้ไปทันหมู่พวกเดินทาง และจะได้ไปถึงสถานที่ที่ตนมุ่งหมายจะไปทันกับกาลเวลาจักไม่ลำบากในการเดินทางหม่อมฉันได้เล็งเห็นอำนาจประโยชน์เช่นนี้ จึงได้ทูลขอพรข้อที่ 3 เพื่อให้พระองค์ทรงอนุญาตคมิกภัตรให้แก่ภิกษุบริษัทได้บริโภคในเวลากาลอันสมควร

พรข้อที่ 4 ว่า

เมื่อภิกษุผู้เป็นไข้ ถ้าไม่ได้บริโภคโภชนะอันเป็นที่สบาย อาพาธความป่วยไข้ของภิกษุนั้นก็จักกำเริบขึ้นหรือจักถึงซึ่งกาลมรณภาพได้ เมื่อภิกษุนั้นได้บริโภค คิลานภัตร อันเป็นที่สบายแล้วอาพาธของภิกษุนั้นก็จะเสื่อมคลายหายได้ง่าย หม่อมฉันได้เห็นอำนาจประโยชน์ประจักษ์เช่นนี้จึงได้ทูลขอพรข้อที่ 4 เพื่อให้พระองค์ทรงอนุญาตคิลานภัตรเพื่อให้ภิกษุเป็นไข้บริโภคในเวลาอันสมควร

พรข้อที่ 5 ว่า

ภิกษุผู้เป็นคิลานุปัฏฐาก เมื่อมัวแต่กังวลด้วยการแสวงหาอาหารบิณฑบาตเพื่อตนจะได้บริโภคอยู่ ภิกษุไข้ก็จะได้บริโภคภัตรในเวลาสายบ้างหรือไม่ได้บริโภคบ้าง เมื่อภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ได้บริโภคคิลานุปัฎฐากภัตร์ ภิกษุไข้ก็จักได้บริโภคแต่ในเวลาเช้ามิได้ขาด หม่อมฉันจึงเล็งเห็นประโยชน์เช่นนี้ จึงได้ทูลของพรข้อที่ 5 ขอให้ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตคิลานุปัฏฐากภัตรเพื่อให้ภิกษุผู้ปฏิบัติภิกษุไข้ได้บริโภคในเวลาอันสมควร

พรข้อที่ 6 ว่า

เมื่อภิกษุไข้ไม่ได้บริโภคเภสัชที่สบาย อาการของภิกษุไข้นั้นก็จะกำเริบ อาจทำให้ภิกษุไข้นั้นทำกาลกิริยาตายได้ เมื่อภิกษุไข้นั้นได้บริโภคคิลานเภสัช อันเป็นที่สบายอาพาธก็จักเสื่อมคลายหายได้ หม่อมฉันได้เห็นอำนาจประโยชน์เช่นนี้จึงได้ทูลขอพรข้อที่ 6 ขอให้พระพุทธองค์ทรงอนุญาตคิลานเภสัชเพื่อให้ภิกษุได้บริโภคในเวลาอันสมควร

พรข้อที่ 7 ว่า

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จประทับอยู่ที่อันธกวินทวิหารทรงเห็นอานิสงส์ 10 ประการ จึงได้ทรงอนุญูาตข้าวยาคูแก่ภิกษุสงฆ์ให้รับบริโภคได้ หม่อมฉันเห็นอนิสงส์เหล่านี้เห็นประจักษ์ด้วยตนแล้ว หม่อมฉันจึงขอถวายข้าวยาคูเป็นนิตย์แก่ภิกษุสงฆ์ตลอดชีวิตของหม่อมฉัน

พรข้อที่ 8 ว่า

ครั้งหนึ่งนางภิกษุณีทั้งหลายได้พากันเปลือยกายอาบน้ำที่ท่าน้ำแห่งเเม่น้ำอจิรวดีแห่งเดียวกับหญิงแพศยา หญิงแพศยาเหล่านั้นก็ได้พากันเยาะเย้ยพวกภิกษุณีเหล่านั้นว่า พระแม่เจ้าทั้งหลายก็เพิ่งจะเเรกรุ่นเจริญวัยไหนจึงได้พากันมาประพฤติพรหมจรรย์อดกลั้นกิเลสอยู่ฉะนี้เล่า ควรที่พระแม่เจ้าทั้งหลายจะบริโภคกามารมณ์มิใช่หรือ เมื่อแก่แล้วจึงค่อยพากันประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อนางภิกษุณีทั้งหลายเหล่านี้ถูกพวกหญิงแพศยากล่าววาจาเยาะเย้ยเช่นนั้นก็มีความละอายเก้อเขิน ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขึ้นชื่อว่ามาตุคามเปลือยกายอาบน้ำฉะนี้เป็นสิ่งที่ดูไม่งามช่างปฏิกูลนัก หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แจ้งประจักษ์ฉะนี้ จึงได้ทูลขอพรที่ 8 เมื่อหม่อมฉันจะถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุณีสงฆ์จนตลอดอายุของหม่อมฉัน

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามว่า ดูก่อนวิสาขา ก็เธอได้เห็นอานิสงส์อย่างไรเล่าจึงได้ทูลขอพร 8 ประการต่อเรา

นางวิสาขาจึงกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาอยู่ในทิศต่างๆ เมื่อออกพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็จะพากันมาสู่สาวัตถีเพื่อจะเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วภิกษุเหล่านั้นก็จะพากันกราบทูลพระพุทธองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อนี้ทำกาลกิริยาลง คติและสัมปรายภพของเธอจักเป็นไฉน แล้วพระองค์ก็จักทรงพยากรณ์ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคตมิผล หรือในพระอรหันต์ฯ หม่อมฉันก็จะเข้าไปถามภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นว่า ท่านที่ได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้นนั้น เคยมายังประเทศสาวัตถีบ้างหรือไม่ ภิกษุทั้งหลายจะกล่าวว่าเคยมา หม่อมฉันก็จักตกลงใจว่าพระผู้ เป็นเจ้านี้คงจะได้รับผ้าอาบน้ำฝน และฉันอาคันตุกภัตรเป็นต้นของเราแล้วเป็นแน่แท้เมื่อหม่อมฉันระลึกถึงกุศลอันนี้แล้ว ก็จะบังเกิดความปราโมทย์ เมื่อได้บังเกิดความปราโมทย์ขึ้นแล้ว ปีติความอิ่มกายอิ่มใจก็จะบังเกิดขึ้น เมื่อใจประกอบด้วยปกติแล้ว กายก็จะสงบระงับ ผู้ที่มีกายสงบระงับก็จักได้เสวยความสุข ก็จักตั้งมั่นแน่วแน่ในสมาธิ ต่อแต่นั้นอินทรีย์ภาวนา การอบรมอินทรีย์และโพชฌงค์ ก็จักบังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันเป็นลำดับไป หม่อมฉันได้เล็งเห็นประโยชน์ดังนี้ จึงได้กราบทูลขอพร 8 ประการต่อพระพุทธเจ้า พระเจ้าข้า

เมื่อนางวิสาขามหาอุบาสิกากราบทูลฉะนี้จบลงแล้ว สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสรรเสริญว่า ดีแล้ววิสาขาฯ เธอได้แลเห็นอานิสงส์อย่างนี้ จึงได้ขอพร 8 ประการต่อเราตถาคตเราตถาคตอนุญาตพร 8 ประการนี้แก่เธอ

ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน หรือผ้าจำนำพรรษานี้จึงมีประวัติและทำสืบเนื่องกันมาตั้งแต่โบราณกาลจนกระทั่งทุกวันนี้

การถวายผ้าอาบน้ำฝนนั้นไม่มีกำหนดแน่ลงไปว่าต้องถวายวันไหน เพียงแต่ให้อยู่ในระยะ 1 เดือนก่อนเข้าพรรษา เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องแล้วแต่ทายกจะพึงกำหนดวันถวายพร้อมกัน การถวายผ้าอาบน้ำฝนตามวัดต่างๆ จึงไม่ตรงกัน ซึ่งอยู่ในระหว่างเดือน 7 ข้างแรม จนถึงวันเพ็ญเดือน 8 โดยมากมักถวายกันในวันพระ เพราะเป็นวันที่ได้ประชุมพร้อมเพรียงกัน บางวัดถวายในวันเข้าพรรษา คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8

พิธีถวายผ้าอาบน้ำฝน

1 . เมื่อถึงวันกำหนดแล้ว พึงประชุมพร้อมกันตามสถานที่ที่ได้กำหนดไว้ จะเป็นพระอุโบสถ หรือศาลาการเปรียญ นำผ้าอาบน้ำฝน 1 ผู้นำและของถวายอย่างอื่นเป็นบริวาร เช่น ร่ม พุ่มเทียน ไม้ขีด สบู่ ยาสีฟัน กระดาษชำระ ฯลฯ

2 . เมื่อพระสงฆ์ลงประชุมเรียบร้อยแล้ว ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวคำถวาย

3 . เมื่อกล่าวคำถวายเสร็จแล้ว เจ้าของผ้าประเคนผ้าแก่พระภิกษุผู้จับได้ฉลากของตนเป็นราย ๆ ต่อไป

4 . เสร็จการประเมินแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา ทายกกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไป แล้ว

การกรวดน้ำและรับพรพระ

ในการกรวดน้ำให้ปฏิบัติดังนี้

1 . จัดเตรียมภาชนะใส่น้ำ และภาชนะรองรับน้ำ

2 . เมื่อพระเริ่มอนุโมทนาว่า ยถา ... ให้ยกภาชนะที่ใส่น้ำมันลงในภาชนะที่รองรับ อย่าให้น้ำขาดสายพร้อมทั้งกรวดน้ำ

เมื่อพระขึ้น สัพพีให้รินน้ำให้หมดและประนมมือตั้งใจรับพร (การกรวดน้ำนี้ใช้ได้ในทุกพิธี)

 

                                                 อานิสงส์ถวายผ้าอาบน้ำฝน

 

    ....การถวายผ้าอาบน้ำฝนมีผลานิสงส์อย่างไร เป็นใจความว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ณ กรุงสาวัตถีในวันนั้นเป็นวัน ๘ ค่ำ นางวิสาขาได้ถือเครื่องสักการะ พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมากไปสู่สำนักพระพุทธเจ้าถวายเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัยแล้ว บังเอิญฝนตก พระภิกษุทั้งหลายได้เปลือยกายอาบน้ำฝนกันมากมาย นางวิสาขาเห็นเช่นนั้นแล้วก็เกิดความละอาย และคิดในใจว่าพระภิกษุไม่มีผ้าสำหรับอาบน้ำฝน ก็บังเกิดมีจิตศรัทธา คิดจะสร้างผ้าอาบน้ำฝนถวายเป็นทานแล้วก็กลับไปสู่กรุงสาวัตถี จัดแจงหาผ้าได้พอสมควรแล้วพอตอนเย็นก็พาบริวารและผ้านั้นมาสู่สำนักพระพุทธองค์แล้วถวายผ้าอาบน้ำฝนนั้น แก่องค์พระศาสดาพร้อมทั้งภิกษุทั้งหลายแล้วกราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การถวายผ้าอาบน้ำฝนนี้มีผลานิสงส์เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า

      พระองค์ได้ตรัสเทศนาว่า ดูกรนางวิสาขา ถ้าบุคคลใดมีจิตศรัทธานำผ้าอาบน้ำฝนมาถวายแก่พระภิกษุ ในพุทธศาสดาจะมีผลานิสงส์เป็นอเนกประการแล้วพระองค์ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงต่อไปว่าในศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีหญิงเข็ญใจคนหนึ่ง มีนามว่า อมัยทาสีอยู่มาวันหนึ่งนางได้เห็นคนทั้งหลาย นำผ้ากาสาวพัตรไปสู่สำนักภิกษุสงฆ์ให้เป็นทาน โดยกระทำให้เป็นผู้อาบน้ำฝน นางอมัยทาสีก็มีศรัทธาอยากจะทำบุญกับเขาบ้าง นางก็คิดว่าจะทำอย่างไรดีหนอ ที่เราจะได้ทำบุญในคราวนี้บ้าง พิจารณาผ้าที่จะให้ทานก็ไม่มี รีบไปหามารดา แล้วบอกความจำนงของตนให้มารดา มารดาก็ตอบว่า เราจะเอามาแต่ที่ไหน เราก็เป็นทาสเขาอยู่ นางอมัยทาสี เมื่อได้ยินดังนี้น้ำตาก็ไหลด้วยความเสียใจ มารดาของนางก็มีจิตสงสาร จึงแนะนำให้นางอมัยทาสีไปขึ้นค่าตัวกับนายนางได้รับคำแนะนำเช่นนั้นแล้วก็มีความยินดีจึงรีบไปหานายของนาง ฝ่ายเศรษฐีผู้เป็นนายก็ปฏิเสธไม่ยอมให้นางอมัยทาสีขึ้นค่าตัว นางไม่มีความสบายใจนางมาคิดว่าเมื่อชาติก่อนนี้เราไม่ทำบุญให้ทาน มาชาตินี้เราจึงได้ตกระกำลำบาก ถึงเวลาจะทำบุญกับเขาบ้างก็จะไม่ทำกับเขาคราวนี้จะเป็นตายอย่างไรจะต้องขอทำบุญให้ได้ในครั้งนี้ ด้วยจิตศรัทธาแรงกล้านางอมัยทาสีทนความอับอาบขายหน้า ได้สละผ้าห่มแล้วนำใบไม้มาเย็บกลัดพอปกปิด บรรเทาความอายแล้วเอาผ้าซักฟอกให้หมดความสกปรกแล้วนำดอกไม้ธูปเทียนพร้อมด้วยผ้าไปสู่ธรรมศาลาถวายผ้าอาบน้ำฝนนั้นในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ ก่อนเข้าพรรษาพร้อมกับมหาชนทั้งหลาย แล้วตั้งความปรารถนาว่า ด้วยอานิสงส์ที่ตนได้กระทำบุญในคราวครั้งนี้ ขึ้นชื่อว่าความยากจนเข็ญใจไร้ทรัพย์อย่าได้มีในชาติต่อ ๆ ไป จนถึงพระนิพพาน และขอให้พบพระศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย์ เมื่อคำปรารถนาของนางจบลงแล้ว เทวดาทั้งหลายก็ซ้องสาธุการสนั่นหวั่นไหว

        ด้วยอานิสงส์ของนางอมัยทาสีทำบุญในคราวครั้งนั้น อยู่มาได้ ๗ วัน พระเจ้าพันธุมหาราช ได้เสด็จไปพบนางกำลังหาบฟืนมาในระหว่างทางก็เกิดความปฏิพัทธ์รักใคร่ในตัวนางมาก จึงตรัสปราศรัยไต่ถามความตลอดแล้วจึงยกนางขึ้นราชรถนำเข้าไปสู่พระนคร อภิเษกนางให้อยู่ในตำแหน่งอัครมเหสี ครั้นทำลายขันธ์แล้วนางได้ไปเกิดบนสวรรค์มีวิมานทองสูง ๑๕ โยชน์ มีนางฟ้าเป็นบริวาร ๓ พัน

          ครั้นเสวยทิพย์สมบัติแล้วจนในชาติสุดท้ายนางจะได้เกิดในศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย์ได้บรรลุธรรมพิเศษดังนี้แล พระองค์ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว ชนทั้งหลายก็ได้ดวงตาเห็นธรรมส่วนนาง
วิสาขาก็ตั้งอยู่ในพระรัตนตรัย

 

 

 

 

คำถวายผ้าอาบน้ำฝน

 

...........อิมานิ มะยัง ภันเต วัสสิกะสาฏิกานิ ภิกขุสังฆัสสะโอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อังหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล

...........ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง

 

 

อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร

 

 

 

 

 

 

 

ปราสาทผึ้งแบ่งเป็นยุคต่างๆดังนี้

 

    1. ยุคต้นผึ้ง - หอผึ้ง

ชาวอีสาน ในบางท้องถิ่นที่เชื่อกันว่า การทำต้น ผึ้ง ดอกผึ้ง ทำเพื่อเป็นพุทธบูชาให้กุศลแก่ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ดังนั้นเมื่อมีญาติพี่ น้อง เพื่อฝูงในหมู่บ้านถึงแก่วายชนม์ลง จึงพากันไปช่วยงานศพ (งานเฮือนดี ) เท่าที่จะช่วยงานได้ ดังมีคำกล่าว ว่า

"ผู้หญิงห่อข้าวต้ม ตัดตอก บีบข้าว ปุ้น ผู้ชายหักหอผึ้ง" คำว่า หัก หอผึ้ง ก็คือ การหักตอกทำต้นผึ้งนั่น เอง กล่าวกันว่าในการไปช่วยงานศพ หรือ งานบุญแจกข้าวนั้นผู้ชายจะต้องนำพร้า ติดตัวมาด้วย ทั้งนี้เพราะใช้ทำงานทุกอย่าง นับแต่ ถากไม้ตัดฟืนและจักตอกทำต้น ผึ้ง หอผึ้ง

ต้นผึ้ง ทำจากต้นกล้วยขนาด เล็ก ตัดให้ยาวพอสมควร แต่งลำต้น ก้าน ทำขาหยั่งสามขาให้ยึดต้นกล้วยเข้าไว้ เมื่อตั้งได้ จากนั้นจะนำขี้ผึ้งมาเคี่ยวให้ หลอมเหลวเพื่อใส่ลงในแม่พิมพ์ แม่พิมพ์ทำ จากผลไม้ เช่น ผมสิมลี (สิมพี, ส้มพอดี,โพธิสะเล) นอกจาก นี้ยังอาจให้ผลมะละกอขนาดเล็กคว้านภายใน แต่งให้เป็นดอกเป็นแฉกตามต้องการ จากนั้นก็ นำมาพิมพ์จุ่มขี้ผึ้งแล้วยกขึ้น นำไปแช่ น้ำ ขี้ผึ้งจะหลุดออกจากพิมพ์เป็นดอกดวงตาม แบบแม่พิมพ์

ก่อนนำดอกผึ้งไปติดที่ ก้านกล้วย ต้นกล้วย ช่างทำต้นผึ้งจะหั่นหัว ขมิ้นให้เป็นแว่นกลมใช้ไม้กลัดเสียบแว่นขมิ้น รองดอกผึ้ง เพื่อมิให้ดอกผึ้งอ่อนตัวจน เสียรูปทรง

การทำต้นผึ้ง จำทำให้ เสร็จก่อนวันเก็บอัฐิธาตุผู้ตาย ในวันเก็บ อัฐิ ญาติพี่น้องจะนำต้นผึ้งไปด้วย หลัง จากใช้ก้านกล้วยคีบอัฐิมาทำเป็นรูปคน กลับธาตุ ก็จะนำต้นผึ้งมาวางที่กอง อัฐิ พระสงฆ์ชักบังสุกุลกลบธาตุ ก่อนที่จะนำ อัฐิไปบรรจุในสะานที่อันเหมาะสมต่อไป ต้นผึ้งจึงให้เพื่อพิธีกรรมดังกล่าว

หอผึ้งมีความเกี่ยวพันกับต้นผึ้งอย่างใกล้ชิด และ เป็นต้นกำเนิดของการแห่ปราสาทผึ้งในปัจจุบัน หอผึ้งมีลักษณะเป็นทรงตะลุ่ม ทำโครงด้วยไม้ ไผ่ จักตอกผู้เสริมด้วยกาบกล้วย ก้านกล้วย โครง หอผึ่งจะทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม 2 ชั้นต่อ กัน คล้ายเอวขันธ์หรือเอวพานภายในโครงไม้ จะโปร่ง เพื่อให้บรรจุเครื่องอัฐบริขารได้ทั้ง 2 ชั้น เป็นที่สังเกตว่าหอผึ้งจะมี 2 รูปแบบ ต่างกันเล็กน้อย คือ บางแห่งทำหอ 2 ชั้น มีขนาดไล่เลี่ยกันแต่บางแห่งทำชั้นล่าง ใหญ่ กว้าง ชั้นบนเหนือเอวขันธ์ทำทรงขนาดเล็ก ให้รับกับฐานล่าง ให้ดูพองาม

การ ประดับหอผึ้ง ยังนิยมประดับดอกผึ้งตามโครงกาบ กล้วย ก้านกล้วยแม้จะมีการแทงหยวกเป็นลวด ลายบ้างแล้ว ก็ยังไม่เน้นความงดงามของลาย หยวกกล้วยเป็นสำคัญ หอผึ้งดังกล่าวจะทำให้ เป็นคานหาม เพื่อใช้แห่ไปถวายวัด ส่วนประกอบ สำคัญยังเป็นโครงซึ่งทำด้วยตอกไม้ไผ่อยู่ จึงยังเรียกการทำหอผึ้ง แต่เดิมก็ยัง คงทำควบคู่ไปกับการทำต้นผึ้ง กล่าว คือ ประเพณีชาวอีสาน ถือว่า เมื่อถึงวันทำบุญ ถวายทานแก่ผู้ตายในงานแจกข้าว เมื่อถวาย ภัตตาหารแก่พระสงฆ์แล้ว ก็ถวายหอผึ้งเพื่ออุทิศ ส่วนกุศลแก่ผู้วายชนม์ ดังมีคำถวายถึง ปราสาทผึ้งตอนหนึ่งว่า

"…อิมานะ มะยัง ภัณเต มธุบุปผะ ปะสาทัง"

แม้ว่าการถวายหอผึ้ง จะกระทำอยู่ในงานแจก ข้าว แต่ชาวอีสานในหมู่บ้านต่าง ๆ ก็ยัง ถือว่า ควรจัดงานอุทิศส่วนกุศลให้ผู้วาย ชนม์ ในช่วงวันนออกพรรษาดังนั้นจึงนิยม หากิ่งไม้ หนามไผ่ มาสุมบริเวณที่เผาศพ มิให้สัตว์มาขุดคุ้ย พร้อมปักไม้กั้นรั้ว คอกไว้ เมื่อออกพรรษา วันมหาปวารณาจึงทำบุญ แจกข้าว โดยเลือกเอาวันขึ้น 15 ค่ำ หรือ แรม 1 ค่ำ ในเวลาเย็นจึงทำพิธีแจกข้าว

พอถึงเวลาเย็น ชาวบ้านจึงแห่หอผึ้งไป ยังวัดที่กำหนดตำบลหนึ่งมักกำหนดวัดสำคัญ ๆ เป็นที่หมาย ชาวบ้านจะสร้างตูบผาม ปะรำ พิธีไว้รับขบวนแห่ ซึ่งประกอบด้วย

1.ขบวนฆ้อง กลองนำหน้า

2.ขบวนกองบัง (บังสุกุล) หรือขบวนอัฐิผู้ตาย

3.ขบวนหอผึ้ง

4.ขบวนตั้นกัลปพฤกษ์

การถวายหอผึ้ง แก่ภิกษุสงฆ์ไม่มีกฎเกณฑ์ตาย ตัว ว่าจะทำหอผึ้งจำนวนกี่หอ บางแห่ง ลูกหลานผู้ตายก็จะทำเป็นของตนเอง คนละ 1 หอ บางแห่งถือว่าจะต้องช่วยกัน ทำถวาย ถวายพระสงฆ์ให้ครบทุกวัดที่นิมนต์ มาสวดมนต์เย็น

การฉลองหอผึ้งหลังจาก สวดมนต์เย็น มีเทศนาให้เกิดบุญกุศล แล้วมี การฉลองสนุกสนานรื่นเริง วันรุ่งเช้าจึงถวาย อาหารพระสงฆ์ แล้วถวายหอผึ้งเป็นเสร็จพิธี

จะเห็นว่า ประเพณีแห่ต้นผึ้งดังกล่าว เป็น เรื่องราวที่มีคติความเชื่อมาจากงานบุญ แจกข้าวโดยเฉพาะ แต่ต่อมาประเพณีดังกล่าวได้ ถูกจัดขึ้นให้ใหญ่โต ในกลุ่มชาวเมืองสกลนคร ที่มีคุ้มวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ - ไกล วัดพระธาตุเชิงชุมด้วยเหตุหลายประการ เช่น

1.พุทธศาสนิกชน เชื่อกันว่า การทำ บุญในวันออกพรรษาหรือวันเทโวโลหนะ (วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก) เป็นวันที่ พระพุทธเจ้าตรัสว่าโลกทั้งสาม (มนุษย์โลก เทวโลกยมโลก) จะมองเห็นความเป็นอยู่ซึ่ง กันและกัน และโดยพุทธานุภาพแห่งพระสัม มาสัมพุทธเจ้า ชาวบ้านได้เห็นหอผึ้งที่ ตนทำถวาย ชาวคุ้มต่าง ๆ จึงได้พากัน จัดทำมาถวายเป็นประเพณีทุกปี

2. วัดพระธาตุเชิงชุมเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็น ที่พระพุทธเจ้ามาประชุมรอยพระพุทธบาทถึง 4 พระองค์ การนำหอผึ้งมาถวายเป็นพุทธ บูชารอยพระพุทธบาทย่อมเป็นศิริมงคลแก่ ตนเอง

3.เป็นการทำบุญกุศลใน ช่วงเทสกาลออกพรรษา บรรดาญาติพี่น้อง ที่อยู่ ห่างไกลได้มาพบกัน หลังจาก หว่านกล้า ปัก ดำแล้ว อีกได้จัดประเพณีแข่งเรือของคุ้มวัด ต่าง ๆ ให้สนุกสนาน จึงได้มีโอกาสทำบุญ ร่วมกัน
     2. ยุคปราสาทผึ้งทรงหอ

ปราสาท ผึ้งทรงหอเล็ก ๆ มี 2 รูปแบบ คือ ทรง หอมียอดประดับหลังคาและปราสาททรงสิม หรือ ศาลพระภูมิ ที่มีขนาดเตี้ย ป้อมกว่าชนิดแรก แต่ไม่มีหลังคาเรียงขึ้นเป็นยอดปราสาทชนิด หลังนี้พบเห็นในสกลนคร เมื่อไม่นานมานี้

2.1 ปราสาททรงหอ มียอดประดับหลัง คาแหลมสูง

ปราสาทผึ้งแบบนี้ได้พัฒนาการทำ โครง ให้เป็นโครงไม้ โดยใช้ไม้เนื้ออ่อนทำเป็น 4 เสา ทาสีหรือพันด้วยกระดาษสี เครื่องบนทำ เป็นหลังคาคล้ายหมากแต่งหน้าจั่วด้วยหยวกกล้วย ประดับดอกผึ้ง ปลายสุดหลังคามีไม้ไผ่เหลาให้ แหลมประดับหยวกกล้วยติดดอกผึ้งลดหลั่นขนาดตาม ลำดับ

แม้ชาวอีสานจะเรียก "ต้นผึ้ง" แต่รูปทรงที่ทำขึ้นก็เป็นทรงปราสาทดังป รากฎในพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวไว้เมื่อเสด็จ มาถึงพระธาตุพนม เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2450 ว่า

"มีราษฎรตำบลใกล้เคียงพากันมา หามากต่อมาก เหมือนอย่างมีนักขัตฤกษ์สำหรับปี และตระเตรียมกันแห่ปราสาทผึ้ง และจุดดอกไม้เพลิง ให้อนุโมทนาด้วยเวลาบ่าย 4 โมง ราษฎรแห่ปราสาท ผึ้งและบ้องไฟเป็นกระบวนใหญ่เข้าประตูชานชาลา พระเจดีย์ด้านตะวันตก แห่ประทักษิณองค์พระธาตุสาม รอบกระบวนแห่นั้น คือ ผู้ชายและเด็กเดินข้าง หน้าหมู่หนึ่ง แล้วมีพิณพาทย์ต่อไปถึงบุษบก แล้วมีรถบ้องไฟ ต่อมามีปราสาทผึ้งคือ แตกหยวกกล้วยเป็นรูปทรงปราสาทแล้วมีดอกไม้ ทำด้วยขี้ผึ้งเป็นเครื่องประดับ มีพิณพาทย์ ฆ้องกลอง แวดล้อมแห่มาและมีชายหญิง เดินตามเป็น ตอน ๆ กันหลายหมู่และมีกระจาดประดับประดาอย่าง กระจาดผ้าป่า ห้อยด้วยไส้เทียนและไหมเข็ด เมื่อ กระบวนแห่เวียนครบสามรอบแล้วได้นำปราสาทผึ้ง ไปตั้งถวายพระมหาธาตุ ราษฎรก็ยังนั่งประชุมกัน เป็นหมู่ ๆ ในลานพระมหาธาตุ คอยข้าพระพุทธ เจ้าจุดเทียนนมัสการ แล้วรับศีลด้วยกันพระสงฆ์ มีพระครูวิโรจน์รัตโนบลเป็นประธานเจริญพระพุทธ มนต์ เวลาค่ำมีการเดินเทียนและจุดบ้องไฟ ดอกไม้พุ่ม และมีเทศน์กัณฑ์หนึ่ง …" 2.2 ปราสาทผึ้งทรงสิมหรือทรงศาลพระภูมิ

ปราสาทผึ้งทรงนี้ ลดความสูงลงไม่สูง เท่าชนิดแรก หลังคาเปลี่ยนไป มีเจ้าจั่วสี่ ด้านคล้ายเป็นทรงจตุรมุขเหมือนสิมของวิหารทั่ว ไป สันนิษฐานว่า ปราสาทชนิดนี้จะออกแบบตามลักษณะ ของสิมพื้นบ้านในภาคอีสาน การประดับตกแต่ง ยังใช้วิธีการแทงหยวกประดับป้านลม ช่อฟ้าใบระกา พร้อมดอกผึ้งตัดหยวกตามส่วนต่าง ๆ ทั้งส่วน บนและส่วนล่าง เช่น เสาฐาน ภายในตัวประสาท นอกจากนี้ยังวางเครื่องธรรมทานภายในปราสาท ช่างพื้นบ้านบางรายแทงกาบกล้วยเป็นพระธรรมจักร ประดับดอกผึ้งติดไว้แทนสัญลักษณ์พุทธศาสนา
     3. ยุคปราสาทผึ้งเรือนยอด

พระมหาวารีย์ กล่าวใน "ประวัติการทำปราสาทผึ้ง" ตอนหนึ่งสรุปความ ว่าแต่เดิมเมื่อมีชุมชนเกิดขึ้น รอบ ๆ วัดพระธาตุเชิงชุม ประชาชนบางตำบล เช่น ตำบล งิ้วด่อน ได้รับหน้าที่เป็นผู้รักษาปฏิสังข รองค์พระธาตุเชิงชุม ที่เรียกว่า "ข้าพระ ธาตุ" ครัวเหล่านี้ไม่ต้องเสียเงินส่วนให้ หลวง ต่อมาพระเถระผู้เป็นเจ้าคณะตำบลงิ้ว ต่อนมีลูกศิษย์และประชาชนในตำบลใกล้เคียง เลื่อมใสมากขึ้น จึงได้รับชวนเจ้าอาวาสและประชา ชนที่อยู่ในตำบลใกล้เคียง คือ ตำบลดงชน ตำบลดงมะไฟ ตำบลห้วยยาง ตำบลโดนหอม ตำบลบึง ทะวาย ตำบลเต่างอย เข้ามาร่วมเป็นข้าพระธาตุ ด้วย และแม้ว่าในเวลาต่อมาได้มีการ ยกเลิกหมู่บ้านข้าพระธาตุให้ทุกคนเสีย ภาษีแก่ท้องถิ่นแล้วก็ตาม แตะชาวบ้านรอบ นอก ๆ ก็ยังมีประเพณีทำบุญถวายพระธาตุ ในช่วงข้างขึ้น เดือน 11ของทุกปี ในช่วง วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เป็นช่วง นำข้าวเม่าและต้นผึ้งมาถวายองค์พระธาตุเชิง ชุม โดยมีความหมายถึงการขอลาองค์พระ ธาตุไปอยู่ในนาเก็บเกี่ยวข้าว

ในช่วง เวลาเดียวกันที่กลุ่มชาวนาคุ้มรอบนอก เทศ กาลทำต้นผึ้งถวายองค์พระธาตุ กลุ่มชาวเมือง ในเขตเทศบาลก็ทำปราสาทผึ้งเป็นทรงปราสาท ถวายเช่นเดียวกัน โดยกำหนดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันถวายปราสาทผึ้ง จึงดูคล้ายกับ เป็นการแข่งขันกัน จนถึงราว พ. .2495-2496 จึงได้มีการประชุมที่วัด พระธาตุเชิงชุมให้จัดปราสาทผึ้งโครงไม้จตุร มุขแทนปราสาทผึ้งแบบเดิม และต้นผึ้งแบบโบราณ จึงทำให้การแข่งขันระหว่างชาวเมืองในเขต เทศบาลกับนอกเขตเทศบาลยุติลง

ลักษณะรูปทรงปราสาทหรือยอด

รูปแบบปราสาทผึ้งที่ทำ ด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นเส้น หรืออาจทำด้วยโครง ไม้ระแนงมีดอกผึ้งประดับตามกาบกล้วย ซึ่งใช้ ศิลปะการแทงหยวกได้เปลี่ยนไปจากเดิมในราว พ.. 2495-2496 โดยคณะกรรมการจัด งานประกวดปราสาทผึ้งเทศบาลสกลนคร เห็นว่าไม่สามารถ พัฒนารูปแบบลวดลายองค์ประกอบให้วิจิตรพิสดารได้ จึงได้เปลี่ยนเป็นการทำปราสาทผึ้งโดยทำปราสาท เป็นโครงไม้ เป็นทรงปราสาทจตุรมุขมีเรือนยอด เรียหรือที่เรียกวา "กุฎาคาร" ตัวอาคาร ทั้งสี่ด้านต่อเป็นมุขยี่นออกไปมี ขนาดเท่ากัน บางแห่งสร้างปราสาท 3 หลัง ติดกัน นอกจากนี้ยังเน้นความประณีต ในการตกแต่ง ลวดลายการทำปราสาทผึ้งโดยทำปราสาทเป็นโครง ไม้ เป็นทรงปราสาทจตุรมุขมีเรือนยอดเรียว หรือ ที่เรียกว่า "กุฎาคาร" ตัวอาคารทั้งสี่ ด้านต่อเป็นมุขยื่นออกไปมีขนาดเท่ากัน บางแห่งสร้างปราสาท 3 ปลังติดกัน นอกจากนี้ ยังเน้นความประณีต ในการตกแต่งลวดลายส่วน ประกอบตัวปราสาท เช่นกำแพงแก้ว หน้าบัน ช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง โดยใช้ศิลปกรรมไทย หรือศิลปะผสมระหว่าง ลายไทยและลวดลายในท้องถิ่นอีสาน

การทำ ปราสาทผึ้ง

การทำปราสาทผึ้งชนิด กุฎาคาร หรือ ปราสาทเรือนยอดนั้น คือการสร้างปราสาทเลียนแบบที่ ประอับสำหรับพระมหากษัตริย์ ด้วยถือว่าเป็นของ สูงที่บุคคลธรราดาสามัญไม่พึงควรจะ สร้างเป็นที่อยู่อาศัย แต่พึงสร้างถวายเป็นกุศล แห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ด้วยเหตุ นี้ จึงได้หารูปแบบอาคารปราสาทพระที่นั่ง ในพระบรมมหาราชวังพระที่นั่งบางปะอิน หรือแม้แต่พระพุทธบาทสระบุรี มากเป็นแนวการ สร้างโดยคุ้มวัดต่าง ๆ หรือสาบันการศึกษา จะรับเป็นผู้ดำเนินการ กล่าวโดยย่อขั้นตอน ในปราสาทผึ้ง ประกอบด้วย

1. การทำโครง ไม้ โดยการเลือกรูปแบบ ออกแบบ ให้โครงไม้ มีสัดส่วนสวยงามทั้งนี้โดยใช้ช่างไม้ ที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ โครงไม้เหล่านี้ มักใช้เพียง 4 - 5 ปีก็จะเปลี่ยนหรือ ขายให้ผู้อื่น

2. การออกแบบลวด ลายที่ใช้ประดับส่วนต่าง ๆ พร้อมทั้งการใช้ สีซึ่งจะต้องคิดไว้อย่างพร้อมมูล

3. การแกะลวดลาย และการพิมพ์จากดินน้ำมัน หรือวัสดุทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ก่อนทำแม่พิมพ์

4. การหล่อขี้ผึ้ง - การแกะขี้ผึ้งตามแบบ ที่กำหนดไว้ในขั้นตอนนี้ อาจใช้ทั้งขี้ผึ้ง แท้ ขี้ผึ้งผสม หรือสารวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้แล้วแต่ ความชำนาญของช่างแต่ละแห่งแต่โดยทั้ง ๆ ไปมักใช้การหล่อขี้ผึ้งอ่อนลงในแม่พิมพ์ แล้วลอกออก ตกแต่งให้ขี้ผึ้งมีลวดลายเด่น ชัดหรือตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก

5. การประดับตกแต่งตามด้วยอาคารปราสาทด้วยการใช้ เข็มหมุด ให้หัวแร้งไฟฟ้าเชื่อมให้ยึดติด กัน

ปัจจุบันการทำปราสาทผี้ง เป็นงานใหญ่ ที่มีการเตรียมการจัดไม่น้อยกว่า 3 เดือน สำหรับคุ้มวัดที่ลงมือทำทุกขั้นตอน แต่ ความสับสนวุ่นวายทางเศรษฐกิจทำให้ประกอบเอง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาที่เปลี่ยนไปจากเดิม ที่คุ้มวัดเป็นศูนย์รวมการทำปราสาทผึ้ง หรือ งานบุญต่าง ๆ
พิธีกรรม

พิธีกรรมในประเพณี ปราสาทผึ้งของชาวจังหวัดสกลนคร กล่าวได้ว่า ขึ้นอยู่ กับ ความเชื่อของการทำปราสาทผึ้งแต่ละชนิด แต่ละยุคสมัย กล่าวคือ ในยุคที่มีการ ทำหอผึ้งทรงตะลุ่มด้วยโครงไม้ไผ่ กาบกล้วย ก้านกล้วยประดับดอกผึ้งนั้น เมื่อนำไปเพื่อถวาย พระสงฆ์ ตลอดจนการทำปราสาทผึ้งทรงหอผี และปราสาทผึ้งทรงจตุรมุข เมื่อนำไปถวายพระ สงฆ์ จะกล่าวคำถวายเป็นภาษาบาลีดังนี้

"อิมานิ มะยังภัณเต มธุบุปยะ ปะ สาทัง"

หลังจากนั้นจึงทิ้งปราสาทผึ้งไว้ ที่วัด 3 วัน 7 วัน แล้วจึงนำกลับ บาง แห่งก็มอบถวายทิ้งไว้ที่วัด ในปัจจุบันเมื่อ มีการทำปราสาทผึ้งจตุรมุขขนาดใหญ่ลงทุน มากเมื่อพระสงฆ์รับถวายปราสาทผึ้งแล้วจะตั้ง ไว้ให้ประชาชนชมระยะสั้น ๆ 1 คืน แล้ วจะนำกลับคุ้มวัดของตน

อย่างไรก็ ดีในสมัยโบราณกล่าวว่า ประเพณีของชาวคุ้มวัด ก่อนทำปราสาทผึ้ง 3 วัน จะนิยมนิมนต์พระสงฆ์ มาสวดชัยมงคลคาถาที่หมู่บ้านบริเวณที่จะ ทำปราสาทผึ้ง 3 คืน เมื่อทำปราสาทผึ้งเสร็จก่อน นำไปถวายวัดจะฉลองคบงันอีก 1 วัน 1 คืน จึงนำไปถวายวัด ปัจจุบันพิธีกรรมดัง กล่าวไม่เหลือปรากฏให้เห็น แต่หากเริ่มทำปราสาท ผึ้งไปทีละขั้นตอนกว่าจะเสร็จใช้เวลา นานนับ 1 เดือนขึ้นไป ซึ่งต่างจากสมัยโบราณ ที่ชาวคุ้มช่วยกันทำภายในเวลา 3 วัน 7 วันก็เสร็จเรียบร้อย

สาระ

ประเพณีปราสาทผึ้ง มีเนื้อหาสาระสำคัญอยู่ที่ความรู้สึก จิตใจที่ ได้ปฏิบัติงานตามจารีตประเพณีเกิดความมั้นคงทาง จิตใจเป็นสำคัญ ส่วนเนื้อหาสาระในด้านต้องการ ให้เกิดบุญกุศล ก็ถือว่าเป็นเรืองสำคัย เช่นเดียวกับในการทำปราสาทผึ้งถวายวัด ถือ ว่าได้บุญสูงสุดเพราะผึ้งเกี่ยวพันกับพระ พุทธศาสนา ดังปรากฏในพุทธประวัติตอนปาลิไลย กะเลิง นำรวงผึ้งมาถวายสมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้าตอนเทโวโลหนะ ที่พระพุทธเจ้า แสดงปาฏิหาริยะเปิดโลกให้แลเห็นซึ่ง กันและกันทั้ง 3 โลก ทำให้มนุษย์เห็นความ ทุกข์สุขของเทวดามนุษย์และใต้บาดาลตลอดจนตอ นอทิสทาน ซึ่งท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ มเหสี กษัตริย์ แข่งขันกันสร้างปราสาทหรือแม้แต่พระมาลัยก็ กล่าวดังปราสาทในสวรรค์ชั้นฟ้า

อย่างไรก็ ดีในสาระของความต้องการบุญกุศลส่วนตัวดัง กล่าวมาแล้วยังมีสาระที่ต้องการอุทิสส่วนกุศลให้แก่ฟู้วายชนม์ ซึ่งอาจได้มา จากคติของชาวจีนที่ทำมาหากินใน สกลนคร ที่ทำการตักเป็นรูปทรงบ้านเรือนอาคาร เผาอุทิศให้ผู้ตาม แต่หากดัดแปลงเป็นการ สร้างอาคารเป็นทรงหอผี ประดับด้วยดอกผึ้งถวาย พระสงฆ์อุทิศให้ผู้วายชนม์

                                                                                                         คัดจากเวปไซด์ จังหวัดสกลนคร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครพนม โทร. 0 4251 3490 -1 TAT Call Center โทร . 1672

 

 

 

 

 

 

พิธีบายศรีสู่ขวัญ

        พิธีสู่ขวัญ บางทีเรียกว่าพิธีบายศรีหรือ บายศรีสู่ขวัญเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสาน ประเพณีสู่ขวัญทำกันแทบทุกโอกาส ทั้งในมูลเหตุแห่งความดีและไม่ดี ชาวอีสานถือว่าเป็นประเพณีเรียกขวัญ ให้มาอยู่กับตัว พิธีสู่ขวัญนี้เป็นได้ทั้งการแสดงความชื่นชมยินดี และเป็นการปลอบใจให้เจ้าของขวัญจากคณะ ญาติมิตรและบุคคลทั่วไป

 

ผู้ได้ดีมีโชคหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือมาเยี่ยมเราก็ยินดีจัดพิธีสู่ขวัญให้ ประเพณีสู่ขวัญจึงเป็น ประเพณีทำกันอย่างกว้างขวาง คำว่าขวัญนั้นเชื่อว่าเป็นสิ่งไม่มีตัวตนคล้ายกับจิตหรือวิญญาณแฝง อยู่ในตัวคนและสัตว์ ตั้งแต่เกิดมาทุกคนมีขวัญกันทั้งนั้นและในบางแห่งเรามักแปลว่ากำลังใจก็มีคำว่า ขวัญยังมีความหมายอีกว่าเป็นที่รักที่บูชา เช่นเรียกเมียที่รักว่า เมียขวัญหรือ จอมขวัญเรียกลูกรักหรือลูกแก้วว่าลูกขวัญสิ่งของที่ผู้เคารพรักใคร่นับถือกันนำมาฝาก นำมาให้เพื่อเป็นการทะนุ ถนอมน้ำใจกันเราก็เรียกว่า ของขวัญ

 

การทำพิธีสู่ขวัญต้องเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ หลายอย่างดังนี้…

 

 

 

 

ขวัญตามความเชื่อชาวอีสาน

ขวัญอีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ขน หรือผม ที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย พิธีสู่ขวัญเป็นพิธีเก่า แก่ของชาวไทยเราแทบทุกภาค การทำพิธีก็ผิดเพี้ยนกันไปบ้างแต่ก็ยังยึดหลักใหญ่อยู่เหมือนกัน พิธีสุ๋ขวัญในบทความนี้ จะกล่าวถึงพิธีของชาวอีสานเป็นส่วนใหญ่ การทำพิธีสู่ขวัญเราอาจทำได้ถึง ๒ วิธีพร้อม ๆ กัน คือวิธีทางพุทธศาสนาและวิธีทางพราหมณ์ศาสนา

วิธีทางพุทธศาสนา โดยการนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย ๕ รูป มาเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งบาตรน้ำมนต์ เสร็จแล้วประพรมน้ำมนต์ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาถ้ามีศรัทธาพอจะถวายภัตตาหารเช้า หรือเพลพระสงฆ์ด้วยก็ได้ ส่วนพิธีทางพราหมณ์ ก็คือการสู่ขวัญซึ่งจะได้อธิบายให้ละเอียดต่อไป

 

 

 

พาขวัญหรือพานบายศรี
คำว่าบายศรีนี้น่าจะมาจากภาษาเขมร คือคำว่า บาย + ศรีข้าว (สุก) ที่เป็นมงคลข้าวนี้จะ เป็นส่วนประกอบของการจัดพานบายศรี จะขาดไม่ได้ การจัดพาขวัญนี้ ปกติต้องจัดด้วยพาน ทองเหลืองและมีสัมฤทธิ์ (ขันลงหิน) หลาย ๆใบ ซ้อนกัน มีใบตอง ดอกไม้สด ด้ายสำหรับผูกข้อมือ (ผูกแขน) ปัจจุบันเริ่มมีการนำเอากระดาษสีต่างๆ แต่ก็ผิดธรรมเนียมของท้องถิ่นไป

พาขวัญอาจจัดเป็นชั้นๆ จะเป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น แล้วแต่ความสามารถ แต่คนเก่าคนแก่ของเมืองอุบล ฯ กล่าวว่าพาขวัญ ๓ ชั้น ๕ ชั้น เป็นของบุคคลธรรมดา ส่วน ๗ ชั้น และ ๙ ชั้นนิยมจัดเฉพาะสำหรับเชื้อพระวงศ์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ชั้นล่างของพาขวัญจะเป็นพานมีบายศรี (ทำด้วยใบตอง) ดอกไม้ ข้างต้ม ไข่ต้ม ขนม กล้วย อ้อย ปั้นข้าว เงินฮาง มีดด้ามแก้ว ชั้น ๒ , , ๔ จะได้รับการตกแต่งด้วยใบศรี และ ดอกไม้ซึ่ง มักจะเป็นดอกฝาง ดอกดาวเรือง ดอกรัก ใบเงิน ใบคำ ใบคูณ ใบยอป่า อย่างสวยงาม ส่วนชั้นที ๕ จะมีใบศรี และด้ายผูกข้อมือ เทียนเวียนหัว (ทำด้วยขี้ผึ้ง) ของเจ้าของขวัญ นอกจากพาขวัญแล้วจะมีเครื่องบูชาและอื่นๆ เช่น ขันบูชา มีพานขนาดกลางสำหรับวางผ้า ๑ ผืน แพร ๑ วา หวี กระจกเงา น้ำอบ น้ำหอม สร้อย แหวน ของผู้เป็นเจ้าของขวัญ

ด้ายสำหรับผูกข้อมือ (ด้ายผูกแขน) นั้นต้องเป็นด้ายดิบนำมาจับเป็นวงยาวพอที่จะพันรอบข้อมือได้ โบราณถือว่า คนธรรมดา วงละ ๓ เส้นผู้ดีมีศักดิ์ตระกูล ๕ เส้น (อาชญา ๕ ขี้ข้า ๓)เมื่อวงแล้วให้เด็ดหรือดึงให้ขาด เป็นเส้นๆห้ามใช้มีดตัดจะใช้มีดตัดได้เฉพาะด้ายที่มัดศพเท่านั้น ถ้าเป็นพาขวัญงานแต่ง คนจะเริ่มจัดพาขวัญต้อง เป็นคนบริสุทธิ์ (ปลอด) คือเป็นคนดีผัวเดียวเมียเดียว ถ้าจัดไม่เป็นเพียงมาจับพอเป็นพิธีแล้วให้คนอื่นๆจัดต่อ ไปจนเสร็จต้องจัดทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง พาขวัญฝ่ายชายจะให้หญิงบริสุทธิ์ (เด็กหญิงยังไม่มีประจำเดือน) หาบด้วยไม้ม้วนผ้าทอหูกเพราะถือเคล็ดเอาความสามัคคีรักใคร่ของผ้าและไม้ และการสูตรขวัญต้องสูตรเวลา ค่ำประมาณ ๓ ทุ่มหลังรับประทานอาหารค่ำเสร็จถือว่าเป็นเวลาหนูเข้ารู (ยามหนูเข้าฮู) พาขวัญงานแต่ง จะต้องมีอาหารคาวหวานเป็นส่วน ประกอบอีกด้วย

พาขวัญแต่งเสร็จแล้วจะตั้งวางไว้ในที่อันเหมาะสมก่อนพอได้เวลาสูตรขวัญ คือจะทำพิธีจึงให้ยกไป ตั้งท่ามกลางญาติมิตรบนผ้าห่มหรือผ้าเช็ดตัวของเจ้าของขวัญ ข้างๆพาขวัญนอกจากจะมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ยังต้องมีแก้วน้ำเย็น แก้วใส่น้ำส้มป่อย (กระถินป่า) และแก้วเหล้าสำหรับหมอสูตรขวัญจะได้ดื่ม หรือพ่นหรือจุ่ด้วยดอกไม้สลัดใส่พาขวัญซึ่งเรียกว่า ฮดฟาย

การสวดหรือการสูตรขวัญ
เจ้าภาพผู้จัดพิธีสู่ขวัญจะต้องจัดหาหมอนวดหรือสูตรขวัญซึ่งมักเรียกว่าพราหมณ์หรือพ่อพราหมณ์ไว้ล่วงหน้า ปกตินี้พ่อพราหมณ์มักจะเป็นผู้ที่ทราบประเพณีสู่ขวัญเป็นที่นับถือของ ชาวบ้านในหมู่บ้านนั้น หมอสูตรขวัญสมัยก่อนๆ นุ่งห่มธรรมดาเพียงให้มีผ้าขาวหรือให้มีผ้าขาวม้าพาดบ่า ก็พอปัจจุบันนิยมนุ่งขาวห่มขาว นับว่าเป็นการพัฒนาให้เหมาะ สมกับสังคมสมัยใหม่

ก่อนลงมือสวด เจ้าภาพต้องเตรียม ด้ายผูกแขนพราหมณ์ไว้เป็นด้ายผูกข้อมือธรรมดาเป็นแต่เพียง มัดธนบัตรเป็นค่าบูชาพราหมณ์จำนวนมากหรือน้อยแล้วแต่เจ้าภาพจะเห็นสมควร และเจ้าภาพจะเป็นคนผูกข้อ มือพราหมณ์ด้วยด้ายผูกแขนพิเศษนี้

พราหมณ์จะจัดให้เจ้าของขวัญนั่งให้หันหน้าไปในทิศทางต่างๆ ตามตำรา เจ้าของขวัญนั่งลงแล้วยกมือไหว้ พราหมณ์เสร็จแล้วใช้มือขวาจับพาขวัญตั้งจิตรอธิฐานขอให้เทวดาบันดาลให้เป็นไปดังหมอขวัญหรือพราหมณ์สูตร ญาติพี่น้องจะนั่งล้อมเป็นวงด้านหลังตั้งจิตรอธิฐานให้เจ้าของขวัญมีความสุขความเจริญ จงเกิดแก่เจ้าของขวัญแล้ว อ้อนวอนเทวดาเป็นภาษาบาลีว่า สัค เค กา เม จ รูเป” ? จบแล้วว่านโม ๓ จบแล้วกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย ครั้นจบแล้วจะสู่ขวัญอะไรก็เลือกว่าเอาตามต้องการให้เหมาะกับงาน การสวดต้องให้เสียงชัดเจน สละสลวย ไพเราะฟังแล้วเกิดความดีใจ ศรัทธาอุตสาหะ ในการทำความดียิ่งขึ้นจึงจะเป็นสิริมงคลแก่เจ้าตัวถ้าป่วยไข้ ไข้จะหาย ถ้าได้ดีได้เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่งก็จะรักษาความดีไว้ให้คงทนไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมจนลืมตัวเมื่อสวดเสร็จ จะว่า สัพพพุทธานุภาเวน สัพพธัมมานุภาเวน สัพพสังฆานุภาเวนสัพพโสตถี ภวันตุ เต ยถา สัพพี ภวตุ สัพ ฯลฯ การเข้านั่งล้อมพาขวัญถ้าเป็นการแต่งงานคู่บ่าวสาวพร้อมด้วยเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะเข้าร่วมพิธีด้วย จะจัดให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวนั่งชิดกันเวลาจับพาขวัญให้แขนเจ้าบ่าวทับแขนเจ้าสาวเพื่อนๆ เจ้าบ่าวจะ พยายามเบียดให้เจ้าสาวนั่งชิดกับเจ้าบ่าวให้มากๆ จะมีการแกล้งเจ้าบ่าวต่างๆ นานาเป็นที่สนุกสนาน

การมาร่วมพิธีสู่ขวัญนี้คนโบราณได้เล่าว่าเมื่อครั้ง ๗๐ ปีก่อนบ้านเมืองอุบลฯ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยการเลี้ยงไหมของขวัญผู้มาร่วมพิธีขวัญจึงเป็นไหมเส้นเป็นไจๆนับว่าเป็นของขวัญที่พอ เหมาะพอควรและไม่เคยมีการนำเอาเงินมาเป็นของขวัญไหมที่เจ้าของขวัญรับไว้ก็จะนำไปทอเป็นผ้าได้ภายหลัง

การเชิญขวัญ ก่อนสูตรขวัญถ้ามีเวลาพอก็ให้ว่าคำเชิญขวัญเสียก่อนทุกครั้งการเชิญขวัญเป็นพิธีที่ดีอย่าง หนึ่งคือเราขอความสำเร็จความศักดิ์สิทธิ์จากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทวดา อินทร์ พรหม ผู้มีอิทธิฤทธิ์มาประสิทธิ์ประสาทพรให้จะได้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์เพราะผู้สวดและผู้ฟังไม่ใช่คนมีอิทธิฤทธิ์เมื่อ เราขอท่านท่านก็คงเมตตาประทานให้ตามคำขอ

คำเชิญขวัญ คำเชิญขวัญนั้นมีหลายสำนวนไม่มีแบบตายตัว ต่างหมอต่างสรรหาสำนวนที่เห็นว่า เหมาะกับเหตุการณ์เช่น คำเชิญขวัญสำหรับบุคคลธรรมดา ก็อีกสำนวนหนึ่ง สำหรับเชื้อพระวงศ์ก็อีกสำนวน หนึ่งเป็นต้น

การผูกแขนหรือข้อมือ
เมื่อพราหมณ์สูตรขวัญจบแล้วญาติพี่น้องจะเอาข้าว ไข่ กล้วย ใส่มือเจ้าของขวัญมือซ้ายหรือมือขวา ก็ได้ให้พราหมณ์ผูกข้อมือให้ก่อนปกติจะผูกข้อมือซ้ายเพราะแขนซ้ายถือเป็นแขนขวัญ เป็นแขนที่อ่อนแอใช้งาน หนักไม่ได้ เป็นแขนที่น่ารักทะนุถนอม ในเวลาผูกข้อมือนั้นทุกคนยื่นมือขวาออกไปพยุง (โจม) แขนของเจ้าของ ขวัญที่พราหมณ์กำลังทำพิธีผูกข้อมือให้ถ้าอยู่ห่างก็ยื่นมือจับแขนหรือแตะตัวกันต่อๆ มาเป็นเส้นสายเหมือน เชือกส่อแสดงถึงความสัมพันธ์ทางกายและใจเป็นอย่างยิ่ง แล้วตั้งจิตอธิฐานขอให้เจ้าของขวัญมีความสุขความเจริญเมื่อผูกข้อมือเสร็จแล้วให้ผู้เป็นเจ้าของขวัญมีความ สุขความเจริญเมื่อผูกข้อมือเสร็จแล้วให้ผู้เป็นเจ้าของขวัญประนมมือไหว้ผู้ให้พร เป็นการรับเอาพร เมื่อพราหมณ์ผูก เสร็จแล้ว ต่อไปก็เป็นโอกาสของญาติมิตรทั่วๆไปจะเข้ามาผูกข้อมือให้กับเจ้าของขวัญ

ด้ายผูกแขน (ด้ายผูกข้อมือ) ถือเป็นของดี ของศักดิ์สิทธิ์ควร รักษา ไว้อย่าพึ่งดึงทิ้ง ให้ล่วง ๓ วันเสียก่อนจึงดึงออกเวลาทิ้งอย่าทิ้ง ลงที่สกปรก เพราะด้ายผูกแขนเป็นของขาวของบริสุทธิ์ เป็นจุดรวมแห่งจิตใจบริสุทธิ์หลาย ดวงจึงควรรักษาไว้ให้ดี ผู้เฒ่าผู้แก่เคยเล่าให้ฟังว่าด้ายผูกแขนที่เก็บรักษา ไว้เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ป้องกันอันตรายได้เช่น มีโจรมาปล้น อธิฐานขอให้จิต ทุกดวงช่วยก็ปลอดภัยจากอันตรายได้และเป็นเสน่ห์ดึงดูดจิต ใจให้คนรัก-ใคร่ชอบ พอได้

การผูกแขน (ผูกข้อมือ) การผูกแขนที่จะอำนวยประโยชน์สุขให้แก่เจ้าของ ขวัญควรประกอบ
ด้วยองค์ ๔ คือ :-

- ผู้ผูก หรือพราหมณ์
- ผู้รับผูก หรือเจ้าของขวัญ
- ผู้เกี่ยวข้อง คือญาติมิตร
- คำกล่าวขณะที่ผูก

คำกล่าวขณะที่ผูกเป็นคำเรียกร้องเชิญขวัญซึ่งเป็นคำที่ไพเราะ อ่อนหวาน สุภาพ เรียบร้อยมีความหมาย ไปในทางที่ดีงาม

โอกาสจัดพิธีสู่ขวัญ มีหลายโอกาสเช่น คารวะพระพุทธรูป บายศรีพระสงฆ์ สู่ขวัญแม่ออกกรรม (คลอดบุตรออกไฟ) สู่ขวัญเด็กน้อย สู่ขวัญเฮือน สู่ขวัญคนธรรมดา สู่ขวัญแต่งงาน สู่ขวัญหลวง สู่ขวัญเกวียน สู่ขวัญขึ้นเล้า (ยุ้ง) สู่ขวัญน้อยก่อนแต่งงาน สู่ขวัญคนป่วย สู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่ สู่ขวัญวัวขวัญควาย

จะเห็นได้ว่าพิธีสู่ขวัญนี้เป็นประเภท ขนบประเพณีคือประเพณีชาวอีสานได้เคยตั้งหรือร่างเป็นระเบียบแบบ แผนขึ้นไว้เป็นธรรมดาของประเพณีที่อาจมีส่วนปลีกย่อย แปลก แตกต่างกันออกไปบ้างในลักษณะของการพัฒนาเป็นลักษณะของความเจริญให้เหมาะสมกับกาลสมัยแต่ส่วนสำคัญ อันเป็นมูลฐานของประเพณีนี้ก็ยังคงอยู่และเป็นหน้าที่ของพวกรุ่นต่อไปจะเป็นผู้รับช่วงระวังรักษาไว้ให้มรดก อันสำคัญนี้ยั่งยืนสืบไป เพื่อแสดงความเก่าแก่ของชาติบ้านเมืองเรา

                                        คำสูตรขวัญคู่บ่าวสาว

ศรี ศรี มื้อนี้แม่นมื้อดี มื้อเศรษฐีอะมุตตะโชค โตกใบนี้แหม่นโตกไม้จันทน์ ขันอันนี้ แหม่นขันวิเศษ ผู้เหนือเกษป่อนลงมา เทวดาเอามาสู่ เอามาอยู่ในเคหา สองสามีภรรยาจักได้เกิด พระอินทรเปิดส่องพระแจ พระพรหมแลเผยพระโอษฐ์ ว่ามื้อนี้หายโทษทั้งมวล บรบวรทุกอย่าง ผู้เป็นช่างแต่งพาขวัญ มีทั้งมวนหมากเหมี่ยง พาขวัญเที่ยงใบศรี งามแสนดีเจ็ดชั้น แถนพ่อปั้น แต่งมานำ มีเงินคำพันไถ่ เอามาใส่พาขวัญ บรบวรถ่วนถี่ งามเอาหนี่จั่งเมืองแมน

ฝ้ายผูกแขนห้อยระย้า
มาจากฟ้าเมืองพรหม มาเชยชมสององค์อ่อน เข้าบ่อนนอนหมูน หมอน สองเนานอนแขนก่าย ทั้งสองฝ่ายตกลง สองอนงค์ลูกของแม่ มาแหนแห่เฮือนหอ โคตรวงศ์ ยอขันโตก ถึกโฉลกเหลือตา ยกลงมาตั้งใส่ ขันโตกใหญ่ทองคำ เพชรมานำพลอยต่อ นิลมาก่อ ประดับนำ เงินและคำเต็มถาด หลายแสนบาทสินดอง เอามาฮองตกแต่ง บ่ได้แบ่งปันไผ สองหัวใจ มาอยู่ฮ่วม มาอยู่ร่วมเป็นหนึ่งแผ่นทอง คนทั้งสองสมเผ่า เป็นคู่เก่านำมา สองขวัญตามาพบพ้อ จั่งให้พ่อมาขอ จั่งได้ยอขันหมาก ไขคำปากว่าตกลง สมประสงค์ทั้งสองฝ่าย เอาขาก่ายเมียแพง


ผู้เป็นผัวอย่าแข็งคำเว้า
เห็นพ่อเฒ่าแม่เฒ่าให้ยำเกรง ผู้เป็นเขยอย่าเสงเสียงปาก อย่า ไปถากคำจา คันไปไฮ่กะให้มา คันไปนากะให้ต่าว ฝั้นเชือกข่าวงัวควาย อยาตื่นสายลุกยาก อย่าได้ ปากเกินตัว ผู้เป็นผัวให้ฮักเมียจนแก่ ให้คือแม่ของโต อย่าพาโลเลาะบ้าน อย่าขี้คร้านนอนเว็น อย่า ไปเห็นสาวแก่ อย่าไปแก่กว่าวงศ์ อย่าไปโกงใส่โคตร อย่าเว้าโพดคันเห็น เฮ็ดบ่เป็นให้ถามไถ่ อย่า ไปใหญ่กว่าลุง อย่าไปสูงกว่าป้า อย่าไปด่าวงศ์วาน อย่าไปพาลพี่น้อง อย่าไปฟ้องซุมแซง

ผู้เป็นเมียอย่าแข็งปากเว้า ตื่นแต่เช้าก่อนผัวโต
อย่าเสียงโวสุยเสียด อย่าไปเคียดไววา คันไปไฮ่กะ ฮีบมา คันไปนากะฮีบต่าว เห็นผู้บ่าวอย่าแซนแลน แซนแลน ยินเสียงแคนอย่าไปฟ้อน อย่าไปย้อนใส่เสียง กลอง อย่าจองหองใส่ปู่ย่า อย่าไปด่าอาวอา คันไปมาให้คมเขี่ยม อย่าให้เสื่อม ซุมแซง อย่าไปแฮงฟืดฟาด อย่า ประมาทปู่ย่าโต อย่าไปโสความเก่า อย่าไปเล่าความเดิม อย่าไป เสริมผู้อื่น อย่าไปตื่นเสียงคน อย่าไปวนของ เผิ่น คันเผิ่นเอิ้นจั่งขาน คันเผิ่นวานจั่งส่อย


ให้ไปค่อยมาค่อย เห็นโคตรเห็นวงศ์
อย่าไปโกงเถียงพ่อเถียงแม่ เห็นคนแก่ปากเว้าจาไข อย่าจัญไร ป้อยผีป้อยห่า อย่าไปด่าพี่น้องทั้งผัว อย่าเมามัวสุราเบี้ยโบก ยามขึ้นโคกหาฟืนหาตอง อย่าเสียงหองร้องเพลง แอ๋นแอ่น อย่าได้แล่นป๋าหมู่ป๋าฝูง คันเห็นลุงให้ว่ากะบาด อย่าได้ขาดความ เว้าขานไข ไปทางได๋อย่าได้ช้า คันเห็นป้าให้ว่าคือลุง อย่าหัวสูงไปหมอบมาหมอบ อย่าว่าปอบผีห่า ผีภู อย่าซูลูเอาของบ่อบอก อย่ากลับกลอกปู่ ย่าวงศา ยามไปมาให้วนเวียนแว่ ฮักคือพ่อคือแม่ปู่ย่า ของโต อย่าพาโลต๋อแหลหลอนหลอก อย่าไปบอกใช้สิ่งเอาของ ผิดูธรรมนองครองของลูกใภ้ กว่าสิได้ลูกเผิ่นมาแยง อย่าเว้าแข็งคำหวานโอนอ่อน

ว่ามาเยอขวัญเอย ขวัญสองเจ้าให้มาถ่อนมาอยู่นำกัน
อย่าไปปนคนธรรพ์ในป่า อย่าไป ท่าน้ำหลากไหลแฮง อย่าไปแยงผาชันพันยอด ว่ามาเยอขวัญเอย สองเจ้าจ่งมากอดเป็นมิ่งสาย แนน เอาสองแขนจับกันไว้แน่น ขวัญเจ้าแล่นไปไกล ขวัญเจ้าไปในป่า ขวัญเจ้าหนีลงท่าไปเฮือ ขวัญเจ้าไปเมืองเหนือและเมืองลุ่ม ขวัยเจ้าไปอยู่พุ่มเฟือยหนาม ขวัญเจ้าไปนาทามนาฮ่อง ขวัญ เจ้าไปหลงป่องทางมา ขวัญเจ้าไปตามหาสาวบ่าว ขวัญบ่ต่าวคืนมา ขวัญไปคาอยู่ในเงื้อม อยู่ใน เหลื่อมผาชัน กะให้มาสามื้อนี้วันนี้


ขวัญเจ้าไปอยู่ลี้เมืองหงสา ขวัญบ่มาอยู่พม่า ขวัญไปค้าอยู่เมาะลำเลิง
ขวัญไปเหิงบ่ต่าว กะให้มาสามื้อนี้วันนี้ ขวัญเจ้าไปอยู่ถ้ำเมืองแกวไม้ล้มแบ่ง ขวัญเจ้าไปแห่งแห้งทางก้ำฝ่ายเขมร กะให้มาสามื้อนี้วันนี้ ขวัญเจ้าไปทางก้ำเมืองเชียงตุงจีนตาด ขวัญเจ้าไปชมตลาดกว้างกวางตุ้ง ให้ดุ่งมา ขวัญเจ้าไปหาค้นแพรลาย ๆ พายถงย่าม เห็นงาม ๆ อย่าได้ใกล้ไปแล้วให้ต่าวมา ว่ามา เยอขวัญเอย ขวัญเจ้าไปทางใต้เมืองสุไหงตัดท่ง เมืองเบตงอยู่หย่อน ๆ อย่านอนค้างให้ต่าวมา

ว่ามาเยอขวัญเอย ขวัญแข่งให้เจ้าย่างลีลา
ขวัญขาให้เจ้ามาลีล้าย ๆ มานอนนำอ้าย ผู้เป็นผัว มากินนัวจ้ำป่น ผัวพาก่นขุดตอ ผัวพายอเงินล้าน มาอยู่บ้านดอมกัน ว่ามาเยอขวัญเอย ขวัญสองเจ้าเฮ็วพะลันมาด่วน พากันชวนฮ่วมห้องนอนซ้อนหน่วยหมอน มาอยู่ซ้อนซอนห่มลม หนาว ว่ามาเยอขวัญเอย เมียนอนต่ำ ผัวให้นอนสูง เตียงไม้ยูงพ่อแม่แต่งไว้ เผิ่นแต่งให้ม่านใส่ทั้ง สอง หมอนมาฮองเฮียงกันเป็นคู่ เผิ่นให้อยู่นำกันอย่าหนี หลายนานปีจนแก่จนเฒ่า ขวัญหมู่เจ้าให้ แล่นมาเยอ


ว่ามาเยอขวัญเอย มาอยู่เฮือนหลังใหญ่
เผิ่นปลูกใส่เป็นเฮือนหอ เผิ่นปลูกยอเป็นของ อ่อน ปลูกไว้ก่อนคอยบุตตา พากันมาอย่าชักช้า มาอยู่ห่มเฮือนงาม มาอยู่ผามหลังอาจ แม่ปูสาด ทั้งหมอนลาย ของกินหลายเหลือหลาก บ่อึดอยากแนวใด๋ ว่ามาเยอขวัญเอย มาไว ๆ มาหาพ่อ มาหาแม่ พวกเฒ่าแก่อาวอาเผิ่นกะมาคอยอยู่ มาฮอดปู่คอยหลาน ว่ามาเยอขวัญเอย ขวัญเจ้าไป อย่าอยู่นาน อย่าไปพาลกับหมู่ จงมาอยู่ดอมกัน จวงจันท์หอมตกแต่ง กาบบัวแบ่งอยู่ซอนลอน ตาออนซอนเตียงตั่ง มีบ่อนนั่งเซามีแฮง คอยจอมแพงสองหน่อ ปานแถนหล่อแถนลอ มาโฮงหอ อย่าได้ช้า ทั้งช้างม้าแลงัวควาย ตาเว็นสวยมันสิฮ้อน ให้มาก่อนอย่าไปไกล อย่าไปใสตาเว็นค่ำ ตกใต้ต่ำมัวเมา

ว่ามาเยอขวัญเอย
จงมาเซานำพ่อ จงมาก่อแบ่งสาน มาอยู่ซานอย่าห่าง อยู่ตะหล่าง เฮือนโต ว่ามาเยอขวัญเอย มาเชยชมในห้องเตียงทองบ่อนเผิ่นแต่ง สองจอมแพงให้ต่าวโค้ง มา ถ่อนอย่าสุนาน จงสำราญด้วยคาถาว่า อเนกเตโช ไชยะตุ ภะวัง ไชยะมังคะลัง สุขังพะลัง อาวาหะ วิวาโห สุมังคะโล โหตุ สาธุฯ

 

คำผูกแขนแต่งงาน

ผูกแขนฝ่ายชาย ศรี ศรี วันเดือนปีข้ามล่วงแล้ว จนลูกแก้วใหญ่สูง ฝูงป้าลุงและพ่อแม่ ทั้งเฒ่าแก่และตายาย มากันหลายพร่ำพร้อม มาโอบอ้อมจัดแต่งงาน ตามกาลเวลาแถน กำหนดไว้ แต่งแล้วให้ประพฤติธรรม จั่งสินำครอบครัวไปม้มฝั่ง ให้มีใจดุจดังแม่น้ำในนที อันมีคุณสมบัติ 4 ข้อ
ข้อ 1. นั้น น้ำสะอาดบริสุทธิ์ คันแม่นเฮาลงมุด สะอาดดีโดยแท้
ข้อ 2. นั้น น้ำหากปรับโตได้ เป็นหยังได้ทุกอย่าง ฮูเล็ก ๆ น้อย ๆ ไหลเข้าได้สู่แจ
ข้อ 3. นั้น น้ำหากเย็นแท้ แก้หอดหิวกระหาย กินลงไปหอดหิวหายจ้อย
ข้อ 4. นั้น น้ำหากสามัคคีแท้รวมกันโดยง่าย เอามีดตัดซ๊วบแล้วประสานเข้าได้ ง่ายดาย
ทั้ง 4 ข้อ ดีงามยอดยิ่ง ขอให้ใจพวกเจ้าคือน้ำจั่งแม่นครอง อุ อะ มุ มะ มูล มา มหา มูลมัง สะวาหุมฯ
ผูกแขนฝ่ายหญิง โอมแม่คนดียอดแก้ว ผู้เลิศแล้วชื่อว่าแม่ธรณี เป็นผู้มีฤทธีอานุภาพ แม่ หากปราบพญามาร ได้ร่วมบุญสมภารของพระพุทธเจ้า มื้อพระเจ้าตรัสส่องสรญาณ ฮีดผม เป็นน้ำท่วมพญามารจมจุ่ม น้ำทุ่มท่วมมารล้มท่าวตาย
อันหนึ่งนั้นแม่หากมีใจกว้างเปรียบแผ่นธรณี แม่นสิมีผู้ขี้ผู้ขุดผู้ก่น เหยี่ยวใส่พร้อม น้ำลายซ้ำถ่มแถม แม่บ่ได้เคียดคล้อยชังเกลียดคนใด ขอให้เจ้าคือแม่ธรณี จั่งสิเป็นคนดี ครอบครองสมบัติได้ จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลังฯ สาธุ

คำผูกแขนบ่าว ขันติโก เมตะวา ลาภี ยะสะสี สุขะสีละวาปิโย เทวะมะนุสสานัง มะนาโป โหติ ขันติโก ฝ้ายอันนี้บ่อแม่นฝ้ายเมืองคน พระอินทร์โยนมาแต่ฟากฟ้า เผิ่นบอกว่าผูก แขนชาย ผู้เป็นนายของหมู่ ทุกคนอยู่ในครอบครัว หวังเผิ่งผัวผู้ออกหน้า เจ้าอย่าได้ตามหลังเมีย เฮ็ดเอียเคีย เอียเคียคือผู้แม่ ชายบ่แท้ครอบครัวจน ให้เจ้าเป็นคนชายแท้ ให้ผาบแพ้ทุกประการ ใจห้าวหาญคือจอมปราชญ์ สร้างเคหาสน์ให้ฮุ่งเฮือง สิบหัวเมืองมาช่วยค้ำ ทุกค่ำเช้าให้เจ้าอยู่ สวัสดี เป็นเศรษฐีบ่ไฮ้ ให้เจ้าได้ดังคำปรารถนา ชะยะสิทธิ ชะยะสิทธิ ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง อุ อะ มุ มะ มูลมา มะหามูลมัง สะวาหุมฯ

คำผูกแขนสาว สะขี ภะริยา สะทา โหตุ สัพพะ โภคา จะระตะนา สัพพะทา ภะวันตุ โว ฝ้ายอันนี้แม่นฝ้ายอินทร์แปลง เผิ่นแบ่งมาแต่ภูเขากาด เอามาพาดแขนเจ้าทั้งสอง สมบัตินองไหลมาบ่อขาด อย่าประมาทชายที่เป็นผัว ให้เกรงกลัวคือพ่อคือแม่ อย่าข้องแหว่ชายอื่น บ่ดี หน้าที่มีให้เจ้าตกให้แต่ง ให้เจ้าแต่งภาชน์แลงภาชน์งาย อย่าเบิ่งดายนิสัยขี้คร้าน ให้ชาวบ้าน ติฉินนินทา สมบัติมาหนีไปเหมิดจ้อย ให้เจ้าค่อยสู้อดสู้ทน อยู่บ่ดนเจ้าสิเฮืองสิฮุ่ง ให้เจ้าเฮืองฮุ่ง คือแสงตาเว็น เคราะห์อย่าได้เห็น เข็ญอย่าได้พ้อ ให้มีอายุมั่นขวัญยืน ฮ้อยขวบ

 

 

 

 

 

 

ประวัติวันสงกรานต์

 เรื่องราวเกี่ยวกับวันสงกรานต์ที่เล่ากันว่าบุตรนาวทั้งเจ็ดที่จะต้องถือพานใส่ศีรษะพ่อไว้ในแต่ละปี

                 ประวัติความเป็นมาของวันสงกรานต์นั้นมีนิทานเก่าก่เล่าสืต่อกันมาว่ามีเศรษฐีคนหนึ่งที่ประเทศอินเดียร่ำรวยแต่ไม่มีบุตรอาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่หรูหรา ใกล้กับบ้านของนักเลงสุราคนหนึ่งที่มีบุตรถึง 2 คน    อยู่มาวันหนึ่งนักเลงสุราดื่มสุราจนเมามายและได้เข้ามาเอ่ยวาจาหยาบคายดาทอเศรษฐีว่า  เศรษฐีนั้นมีงเนทองเสียเปล่าแต่ไม่มีทายาทสืบสกุล เมื่อตายไปทรัพย์สมบัติมากมายก็จะสูญหายไปอย่างไร้ค่า  แต่ข้านักเลงสุราแม้จะไม่มีเงินทองมากล้น ยากจนเข็ญใจแต่ก็ยังมีบุตรไว้สีบสกุลถึงสองคน จึงถือว่าดีกว่าเศรษฐีเป็นร้อยเท่าพันเท่า

                 เมื่อเศรษฐีได้ฟังและคิดตามเกิดความละอาย จึงคิดอยากจะมีบุตรไว้สืบสกุล  จึงได้ไปบวงสรวงต่อพระอาทิตย์ และพระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานให้ได้บุตรสมปรารถนาแต่ก็ไม่เป็นผลตามที่ตนต้องการ อดทนรอมานานถึงสามปี  วันหนึ่งในเดือนสี่ (ฤดูคิมหันต์จิตรมาสคนทั้งหลายในประเทศอินเดียได้งานละลเนรื่นเริง เศรษฐีจึงได้นำบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ เอาข้าวสารล้างน้ำเจ็ดครั้ง แล้วนำข้าวมาหุง พร้อมเตรียมและกับข้าวคาวหวานบูชารุกขเทวดา บรรเลงด้วยดนตรีดุริยางค์ก่อนที่จะตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร

เทพเจ้าเบื้องบนเล็งเห็นความต้องการของเศรษฐีว่าต้องการมีบุตรอย่างแรงกล้าจึงได้ให้ธรรมบาลเทพบุตรลงมาจุติปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาของเศรษฐี  เมื่อคลอดออกมาให้ชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร”  เมื่อเจริญวัยได้ศึกษาศิลปศาสตร์ต่างๆจนครบถ้วน สามารถฟังเข้าใจภาษาสัตว์ต่างๆที่พูดคุยกันได้เป็นอย่างดี  ความเฉลียวฉลาดที่มีนั้นเป็นที่ร่ำลือระไกลไปทั่วทุกสารทิศ ทั่วโลก จนการร่ำลือระบือไกลไปจนถึงหูของท้าวกบิลพรหม หรือท้าวมหาสงกรานต์

 

 เมื่อท้าวกบิลพรหมทราบข่าวก็อยากประลองเชาว์ปัญญากับธรรมบาลกุมารว่าจะมีความเฉลียวฉลาดตามคำร่ำลือจริงหรือไม่ จึงเสด็จลงมาท้าประลองโดยถามปัญหา 3 ข้อ  คือ ข้อที่  1 ถามว่า เวลาเช้าราศรีอยู่ที่ใด    ข้อที่ 2 ถามว่า เวลาเที่ยงราศรีนั้นอย่ที่ใด และข้อที่ 3 ถามว่า  ตอนค่ำราศรีอยุ่ที่ใด   ถ้าหากธรรมบาลกุมารตอบปัญหาได้ครบทั้งสามข้อตนก็จะยอมตัดศีรษะของตนเพื่อบูชาธรรมบาลกุมาร  หากแม้นว่าธรรมบาลกุมารตอบไม่ได้ก็จะตัดเอาหัวเพื่อนำไปบูชาตนเช้นเดียวกัน

           เมื่อธรรมบาลกุมารได้รับคำท้าของท้าวกบิลพรหมแล้วได้รัทราบปัญหาทั้งสามข้อก็ได้พลัดกับท้าวกบิลพรหมว่าขอเวลา 7 วันจะให้คำตอบหากตนตอไม่ได้ก็ยอมที่จะถวายศีรษะบูชาในวันนั้น  ท้าวกบิลพรหมตกลงตามข้อเสนอแล้วก็เหาะหนีไปกำชับว่าอีกเจ็ดวันจะมาฟังคำตอบพร้อมรับศีรษะของธรรมบาลกุมารไปด้วยหากไม่สามารถตอบปัญหาทั้งสามข้อได้   ส่วนธรรมบาลกุมารก้ได้มาครุ่นคิดหาคำตอบคิดเท่าไรก็ไม่สามารถคิดออกได้จนเหลือเวลาอีกเพียงหนึ่งวันคือคิดอยู่ได้  6 วัน วันรุ่งขึ้นก็จะถึงกำหนดนัดหมายแต่คิดอยางไรก็ยังไม่ทราบคำตอบ คิดว่าตนจะต้องตัดศีรษะถวายท้าวกบิลพรหมเป็นแน่แท้ ด้วยความรักตัวกลัวตาย  จึงคิดที่หนีไปไม่ให้ถูกตัดศีรษะ เดินออกจากบ้านมาอย่างเลื่อนลอยจนมาถึงที่แห่งหนึ่งซึ่งมีต้นตาล 2 ต้น จึงได้ตัดสินใจพักอยู่ใต้ต้นตาลนั้น   ขณะที่นอนพักอยู่นั้นหูแว่วไปได้ยินเสียงนกพูดคุยกัน จึงได้มองขึ้นไปดูพบนกอินทรีย์ผัวเมียคุยกันอยู่บนต้นตาล

              นกอินทรีย์ตัวภรรยาถามสามีว่าวันพรุ่งนี้พวกเราจะออกไปหากินที่ใด   นกตัวที่เป็นสามีตอบภรรยาไปว่านี่เธอไม่ทราบหรือไงว่าวันพรุ่งนี้เช้าท้าวกบิลพรหมได้ถามปัญหาแก่ธรรมบาลกุมารเอาไว้ 3 ข้อ  หากธรรมบาลกุมารตอบไม่ได้ก็จะถูกตัดศีรษะไปบูชาเราก็ไปกินเนื้อหนังของธรรมบาลกุมารพรุ่งนี้สิ   นกตัวภรรยาเอ่ยถามนกสามีไปว่าแล้วปัญหาสามข้อนั้นมีว่าอย่างไร  นกสามีก็บอกภรรยาไปว่า  ข้อที่หนึ่งถามว่าเวลาราศรีอยู่ที่ใด ข้อที่สองถามว่าเวลาเที่ยงราศรีอยู่ที่ใดและตอนค่ำราศรีอยู่ที่ใด   ภรรยานกถามสามีต่อไปว่า ว่าแต่คำตอบมันคืออะไร พี่ทราบไหมล่ะ

                  นกสามีก็ตอบไปว่าทำไมจะไม่ทราบล่ะปัญหาง่ายๆแบบนี้  นกภรรยาก้เลยถามต่อว่าไหนพี่ว่าง่ายตอบได้ไหมล่ะบอกฉันหน่อย   นกสามีก็เลยบอกแก่นกภรรยาว่า เรื่องราศรีจะเปลี่ยนไปตามเวลาในแต่ละวัน เวลาเช้าราศรีจะอยู่ที่ใบหน้า คนทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างหน้า และประแป้ง แต่งหน้าในยามเช้า  ตอนเที่ยงราศรีจะย้ายลงมาอยู่ที่หน้าอก คนทั้งหลายจึงเอาแป้งและของหอมมาประพรมที่บริเวณหน้าอกทำให้มีความสดชื่นขึ้น และราศรีจะเลื่อนต่ำลงมาอยู่ที่เท้าในเวลาตอนค่ำ  คนทั้งหลายจึงจึงเอาน้ำมาล้างเท้าในตอนค่ำและก่อนเข้านอนเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

              เมื่อธรรมบาลกุมารได้ยินดังนั้นก็ดีใจเป็นที่ยิ่งรีบออกจากร่มต้นตาลในทันทรีบกลับบ้านอาบน้ำแต่งตัวเข้านอนอย่างเป็นสุข พอรุ่งเช้าตามเวลานัดหมายท้าวกบิลพรหมก็ลงมาทวงถามสัญญาให้ธรรมบาลกุมารตอบปัญหา พอธรรมบาลได้ฟังก็ตอบปัญหาตามที่ได้ยินมาจากนกสองตัวผัวเมีย  ทำให้ท้าวกบิลพรหมแพ้การประลองเชาว์ปัญญาในครั้งนี้และยอมกระทำตามที่ได้สัญญาไว้โดยยอมตัดศีรษะของตนเพื่อถวายให้กับธรรมบาลกุมาร  แต่ทว่าศีรษะของท้าวกบิลพรหมหรือท้าวมหาสงกรานต์หากตกลงสู่พื้นดินศีรษะจะเกดเป็นไฟไหม้ไปทั่วพื้นผิวโลก หากโยนขึ้นบนอากาศก็จะทำให้ฟ้าฝนแห้งแล้ง  หากทิ้งลบมหาสมุทรก็จะเหือดแห้งลุกเป็นไฟ   ท้าวกบิลพรหมหรือท้าวมหาสงกรานต์เล็งเห็นความเดือดร้อนของชาวโลกที่เกิดจากศีรษะของตน จึงได้เรียกให้ธิดาทั้งเจ็ดซึ่งเป็นหยิงรับใช้ของพระอินทร์ให้มาพลัดเปลี่ยนกันใช้พานมารองรับศีรษะของตนในแต่ละวันในหนึ่งปี

         ธิดาทั้งเจ็ดของท้าวมหาสงกรานต์ก็คือนางสงกรานต์ในแต่ละปีที่รู้จักกันในปัจจุบันนั่นเอง ซึ่งธิดาจะผลัดเปลฃี่ยนกันนำพานมารองรับศีณลรษะของบิดาใส่พานแห่รอบเขาพระสุเมรุและในปีนั้นทั้งปีจะต้องถือไว้ในพานตลอดเวลาทั้งปี   ปีใดจะเป็นหน้าที่ของใครขึ้นอยู่กับว่าในปีนั้นสงกรานต์ตรงกับวันใด หากวันสงกรานต์ตรงกับวันอาทิตย์นางสงกรานต์ชื่อว่า นางทุงษะทำหน้าที่ วันจันทร์คือนางโคราด  วันอังคาร นางรากษศ วันพุธนางมัณฑนา วันพฤหัสบดี นางกิริณี วันศุกร์ นางกิมิทา และวันเสาร์นางมโหทา โดยในแต่ละปีนางสงกรานต์จะมาในเวลาและอากัปกิริยาบนยายพาหนะชนิดต่างๆที่แตกต่างกันไป   อันที่จริงแล้วศีรษะของท้าวกบิลพรหมก็คือพระอาทิตย์นั้นเอง ส่วนนางทั้งเจ็ดก็คือวันทั้งเจ็ดในหนึ่งรอบสัปดาห์นั่นเอง.

 

ประเพณีการลำผีฟ้า

 

 

 

 

 

                ประเพณีการลำผีฟ้า เป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติกันโดยทั่วไปในตำบลสระกำแพงใหญ่ โดยเฉพาะที่บ้านหนองม้า จะมีการจัดอย่างยิ่งใหญ่ มีความสวยงามและน่าเชื่อถือมาก การลำผีฟ้าชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าการลำข่วง มูลเหตุในการจัดพิธีก็เนื่องจากการลำบวงสรวงบูชาเพื่อความเป็นศิริมงคลและเพื่อปัดเป่าอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ดังนั้นในการที่จะจัดพิธีในแต่ละครั้งจึงไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ดังนั้นจึงเป็นการยากการที่จะได้มีโอกาสชมการลำผีฟ้าจริง แต่หากนักท่องเที่ยวมีความต้องการที่จะชมการลำผีฟ้าจริงก็จะต้องมีการพูดคุยติดต่อกับชาวบ้านในพื้นที่ หรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลสระกำแพงใหญ่ก็จะเป็นการง่ายขึ้น
              ลำผีฟ้า หรือ หมอธรรมผีฟ้า หรือ ลำข่วง ลำผีฟ้า เป็นพิธีกรรมเพื่อให้ผู้มีความเชื่อถือดำรงชีวิตด้วยความเชื่อมั่น และเพื่อการรักษาโรค ตามความเชื่อที่ว่ามนุษย์ทุกคนต้องมีผีฟ้า (เทวดา) ปกปักรักษา โดยมีผู้ที่สามารถติต่อกับผีฟ้าได้คือ หมอธรรม จึงมีการประกอบพิธีเข้าธรรมหรือขึ้นธรรมเพื่อให้หมอธรรมครอบหรือฝากตัวผู้ นั้นเป็นสานุศิษย์ของหมอธรรมตลอดชีวิต การลำผีฟ้าจะจัดเป็นประจำปีหรือทุกปีหรือจักขึ้นเพื่อรักษาผู้ป่วยเป็นคราวๆ ไป การลำผีฟ้าเริ่มจาการกำหนดวัน การจัดสร้างปะรำ มีที่บวงสรวงบูชาผีฟ้าพร้อมกับมีผู้เป่าแคน ตีฉิ่ง ประกอบการลำ ผู้ที่ลำผีฟ้ามีพวงมาลัยดอกจำปาหลายสายสวมไว้ที่คอ
             ชาวศรีสะเกษในอดีตนิยมปลูกต้นจำปา (ลั่นทม-ยางใช้รักษาแผลที่ถูกสุนัขกัดได้) ไว้เกือบทุกบ้านเพื่อนำดอกมาร้อยมาลัยจำปาสำหรับคล้องคอผู้ลำผีฟ้า การลำผีฟ้าเริ่มด้วยการอัญเชิญผีฟ้ามาเข้าทรง ผู้ถูกเข้าทรงจะมีอาการสั่นเทิ้ม มือที่พนมอยู่จะขยับขึ้นลงอย่างรวดเร็ว ในที่สุดจะลุกขึ้นฟ้อนรำตามจังหวะแคน มักเรียกผู้เป่าแคนว่าม้า ซึ่งจะเป่าทำนองเร็วหรือช้าตามที่ผีฟ้าต้องการ การอัญเชิญผีฟ้า (เทวดา) แต่ละองค์มาเข้าทรงพกดาบไม้สมมติเป็นอาวุธประจำตัว ทำเรือไม้จำลองเป็นพาหนะ เมื่อผีฟ้าหรือเทวดามาเข้าทรงมีชื่อเพราะของผีฟ้าหรือเทวดาองค์นั้น ผู้ลำผีฟ้าฟ้อนและร้องรำด้วยทำนองที่โหยหวนโต้ตอบกันระหว่างผีฟ้าทั้งวันทั้งคืน หรือติดต่อกันหลายวันหลายคืน ผีฟ้าบางคนดื่มสุราพร้อมทั้งเคี้ยวหมากไปด้วย เชื่อกันว่าผีฟ้าจะมารักษาผู้ลำผีฟ้าให้มีความสุขความเจริญ หรือทำให้ผู้ป่วยนั้นหายป่วยหรือเพื่อความสุขในชีวิต ต่อมาเมื่อวัฒนธรรมภาคกลางแผ่ขยายเข้ามา จึงมีการโค่นต้นจำปา (ลั่นทม) ในบริเวณบ้านทิ้งเพราะมีความเชื่อใหม่จากวัฒนธรรมภาคกลางว่าจะทำให้เกิดความทุกข์ระทมความเชื่อในประเพณีเก่าๆที่ยังเหลืออยู่ในความทรงจำของชาวสณีสะเกษอีกอย่างหนึ่งคือของรักษา โดยชื่อว่าคนเราต้องมีของรักษาตัวอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ยึดเป็นหลักในการดำรงชีวิต เพื่อให้ชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย ไม่ปล่อยชีวิตอยู่อย่างเลื่อนลอย ของรักษาต่างกับปู่ตาคือไม่เกี่ยวกับผีสาง แต่หากเกี่ยวกับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ คนโบราณสอนกันว่าชีวิตคนๆหนึ่งต้องมีผู้คุ้มครองผู้คุ้มครองนั้นเรียกว่าธรรม สามารถคุ้มครองป้องกันความวิบัติได้ เหมือนกับเทวดาประจำถิ่นอย่างที่ชาวบ้านรู้จักกันทั่วไป
               ของรักษาแบ่งเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งเรียกว่า ธรรม อีกพวกหนึ่งเรียกว่าผีฟ้า ผู้ที่ขี้นอยู่กับธรรมก็มีหมอธรรมเป็นผู้คุ้มครอง เจ็บไข้ได้ป่วยก็ให้หมอธรรมรักษา หมอธรรมจะทำพิธีต่างๆเช่น รดน้ำมนต์ แต่งแก้ เสียเคราะห์ (สะเดาะเคราะห์) ปราบผี มีทั้งกันและแก้ ผู้ที่เป็นหมอธรรมโดยมากมาจากนักบวช แต่ต้องเรียนวิธีรักษาคนป่วยอีกต่างหาก มีทั้งหมอธรรมที่อยู่ในบ้านเดียวกันและอยู่หมู่บ้านหรืออำเภออื่นที่อยู่ ห่างออกไป แล้วแต่ความศักสิทธิ์ของผู้เป็นหมอธรรมจะมากน้อยเพียงใด คนศรัทธาเพียงใด หมอธรรมเป็นบุคคลจำพวกหนึ่งที่ปฏิบัติธรรมในศาสนาได้เป็นอย่างดี ถือศีลห้าอย่างเคร่งครัดมิฉะนั้นแล้วจะรักษาธรรมไว้ไม่ได้ และอาจเป็นผู้มีเมตตาอารีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน รักษาคนโดยไม่หวังลาภผลตอบแทน เป็นที่พึ่งของชาวบ้านได้ดี ธรรมที่ใช้ทำน้ำมนต์รักษาคนไข้ก็เป็นพุทธพจน์ ปราบผีก็ใช้พุทธมนต์น่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก แต่ปัจจุบันจิตใจหมอธรรมเปลี่ยนไปจากที่เป็นมาแต่เดิมคือ เป็นหมอธรรมที่แสวงหาโชคลาภมากเกินไป กลายเป็นนั่งธรรมขึ้นธรรมเพื่อบอกหวยบอกเลข สร้างเครื่องรางของขลังอยู่ยงคงกะพันไว้ขายผู้ป่วยที่ไปรักษา เรียกค่ายกครูเป็นเงินจำนวนพัน แล้วบอกผู้ป่วยว่า ผีต้องการเงินเท่านั้น ผ้าขาว ดอกไม้ ธูปเทียน ผลไม้ต่างๆ ผู้ป่วยอยากหายก็ยอมหาให้จึงทำให้หมอธรรมยึดเป็นอาชีพโดยผีแต่งตั้ง หมอธรรมบางคนรวยจนแปลกตาขึ้นเป็นจำนวนมาก และปรากฏว่ามีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากหมู่บ้านที่ไกลความเจริญ เพื่อหลอกลวงชาวบ้านด้วยวิธีการต่างๆโดยอ้างว่าผีบอกแล้วก็แสดงเลียนแบบกัน ในที่สุดก็ยึดเป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัวอย่างสบาย ดังปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ
                พวกที่สองคือ ผีฟ้า จะมีส่วนคล้ายกับหมอธรรม แต่จะแปลกออกไปคือ จะมีการลำล่อง (คือ ปากร้องรำพันไป มือทั้งสองข้างก็ฟ้อนไปด้วย) คนที่ลำเป็นหญิง ถ้าเป็นชายก็จะแต่งตัวเป็นหญิง จะมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประกอบด้วย ใช่ลำล่องรักษาผู้ป่วย บางคนฟ้อนรำไม่เป็น เมื่อผีฟ้าเข้าทรงก็จะรำได้เอง ผีที่มาเข้าทรงนั้นมาจากไหนไม่ทราบชัด เรียกกันแต่ว่าผีฟ้า แท้จริงแล้วเป็นพวกผีเชื้อ คือผีในตระกูลของหมอผีนั่นเอง บางครั้งหมอผีจะเรียกวิญญานของญาติผู้ป่วยที่ตายแล้วมาถามถึงอาการป่วยก็ได้ ผีฟ้าใช้รักษาผู้ป่วยด้วยการบนบานอ้อนวอนผีให้ช่วยให้หายป่วย ผีฟ้าไม่ค่อยมีคนศรัทธามากนักเพราะคนที่นับถือผีฟ้าส่วนมากจะเป็นญาติของผี ฟ้าที่เคารพนับถือมาแต่บรรพบุรุษ พวกนี้มักเป็นคนขวัญอ่อน เมื่อรักษาหายแล้วก็ต้องเป็นผีฟ้าสืบต่อไปอีก

 

 

 

แคนดนตรีพื้นเมืองอีสาน

 

       แคน เป็นชื่อเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ แคนเป็น เครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป่าให้เป็นเพลง ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้ แต่ก็มีประวัติที่เล่า เป็นนิยายปรัมปราสืบต่อกันมา ดังต่อไปนี้

หญิงหม้ายผู้คิดประดิษฐ์ทำแคน

     กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพรานคนหนึ่งได้ไปเที่ยวล่าเนื้อในป่า เขาได้ยินเสียงนกกรวิก (นกการเวก) ร้องไพเราะจับใจมาก เมื่อกลับมาจากป่าถึงบ้าน จึงได้เล่าเรื่องที่ตัวเองไปได้ยินเสียง นกกรวิกร้องด้วยเสียงไพเราะนั้นให้แก่ชาวบ้านเพื่อนฝูงฟัง ในจำนวนผู้ที่มาฟังเรื่องดังกล่าวนี้ มีหญิงหม้ายคนหนึ่ง เกิดความกระหายใคร่อยากจะฟังเสียงร้องของนกกรวิกยิ่งนัก จึงได้พูดขอร้องให้นายพรานล่าเนื้อ อนุญาตให้ตนติดตามไปในป่าด้วย เพื่อจะได้ฟังเสียงร้องของนก ตามที่นายพรานได้เล่าให้ฟังในวันต่อมา

      ครั้นเมื่อนายพรานล่าเนื้อได้พาหญิงหม้ายดั้นด้นไปถึงในป่า จนถึงถิ่นที่นกกรวิก และนกเหล่านั้นก็กำลังส่งเสียงร้องตามปกติวิสัยของมัน นายพรานก็ได้กล่าวเตือน หญิงหม้ายให้เงี่ยหูฟังว่า

"นกกรวิกกำลังร้องเพลงอยู่ สูเจ้าจงฟังเอาเถอะ เสียงมันออนซอนแท้ แม่นบ่"

หญิงหม้ายผู้นั้น ได้ตั้งใจฟังด้วยความเพลิดเพลิน และติดอกติดใจในเสียงอันไพเราะ ของนกนั้นเป็นยิ่งนัก ถึงกับคลั่งไคล้ใหลหลง รำพึงอยู่ในใจตนเองว่า

"เฮ็ดจั่งได๋นอ จั่งสิได้ฟังเสียงอันไพเราะ ม่วนชื่น จับใจอย่างนี้ตลอดไป ครั้นสิคอยเฝ้า ฟังเสียงนกในถิ่นของมัน ก็เป็นแดนดงแสนกันดาร อาหารก็หายาก หมากไม้ก็บ่มี" จึงได้คิดตัดสิน แน่วแน่ในใจตนเองว่า

"เฮาสิต้องคิดทำเครื่องบังเกิดเสียง ให้มีเสียงเสนาะ ไพเราะออนซอนจับใจ ดุจดังเสียง นกกรวิกนี้ให้จงได้"

เมื่อหญิงหม้ายกลับมาถึงบ้าน ก็ได้คิดอ่านทำเครื่องดนตรีต่าง ๆ ทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า หลาย ๆ อย่าง ก็ไม่มีเครื่องดนตรีชนิดใด มีเสียงไพเราะวิเวกหวานเหมือนเสียงนกกรวิก ในที่สุดนาง ได้ไปตัดไม้ไผ่น้อยชนิดหนึ่ง เอามาประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง แล้วลองเป่าดูก็รูสึก ค่อนข้างไพเราะ จึงได้พยายามดัดแปลงแก้ไขอีกหลายครั้งหลายครา จนกระทั่งเกิดเป็นเสียงและ ท่วงทำนองอันไพเราะเหมือนเสียงนกกรวิก

แคน เสียงจากลมไผ่

       จนในที่สุด เมื่อได้แก้ไขครั้งสุดท้ายแล้วลองเป่าก็รู้สึก ไพเราะออนซอนดีแท้ จึงคิดที่จะไปทูลเกล้าถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้ทรงทราบ ก่อนที่จะได้เข้าเฝ้า นางก็ได้เพียรพยายามปรับปรุงแก้ไขเสียงดนตรีของนางให้ดีขึ้นกว่า เดิม และยังได้ฝึกหัดเป่าเป็นท่วงทำนองต่าง ๆ จนมีความชำนาญเป็นอย่างดี

         ครั้นถึงกำหนดวันเข้าเฝ้า นางก็ได้เป่าดนตรีจากเครื่องมือที่นางได้คิดประดิษฐ์ขึ้นนี้ ถวาย เมื่อเพลงแรกจบลง นางจึงได้ทูลถามว่า "เป็นจั๋งได๋ ม่วนบ่ ข้าน้อย"    พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ตรัสตอบว่า "เออ พอฟังอยู่"นางจึงได้เป่าถวายซ้ำอีกหลายเพลง ตามท่วงทำนองเลียนเสียงนกกรวิกนั้น เมื่อจบถึง เพลงสุดท้าย พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงตรัสว่า "เทื่อนี่ แคนแด่" (ครั้งนี้ ดีขึ้นหน่อย)หญิงหม้าย เจ้าของเครื่องดนตรี จึงทูลถามว่า "เครื่องดนตรีอันนี่ ควรสิเอิ้นว่าจั่งได๋ ข้าน้อย" (เครื่องดนตรีนี้ ควรจะเรียกว่าอย่างไร พระเจ้าข้า)

        พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงตรัสว่า "สูจงเอิ้นดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำเว้าของเฮา อันท้ายนี้ สืบไปเมื่อหน้าเทอญ" (เจ้าจงเรียกดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำพูดของเราตอนท้ายนี้ ต่อไปภายหน้าเถิด)

ด้วยเหตุนี้ เครื่องดนตรีที่หญิงหม้ายประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ไม้ไผ่น้อยมาติดกันใช้ปากเป่า จึงได้ชื่อว่า "แคน" มาตราบเท่าทุกวันนี้

               นี่เป็นเพียงนิทานปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมา ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน

      บางท่านก็สันนิษฐานว่า คำว่า "แคน" คงจะเรียกตามเสียงเครื่องดนตรีที่ดังออกมาว่า "แคนแล่นแคน แล่นแคน แล่นแคน" ซึ่งเป็นเสียงที่ดังออกมาจากการเป่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ แต่ บางคนก็มีความเห็นว่า คำว่า "แคน" คงเรียกตามไม้ที่ใช้ทำเต้าแคน กล่าวคือ ไม้ที่นำมาเจาะใช้ ทำเต้าแคนรวมเสียงจากไม้ไผ่น้อยหลาย ๆ ลำนั้น เขานิยมใช้ไม้ตะเคียน ซึ่งภาษาท้องถิ่นทางภาค อีสานเรียกว่า "ไม้แคน" แต่บางท่านก็ให้ความเห็นที่แตกต่างกันออกไป

แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าคิดอยู่บ้างคือ "แคน" นี้น่าจะทำขึ้นโดยผู้หญิง ซ้ำยังเป็น "หญิงหม้าย" เสียด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่า ส่วนประกอบที่ใช้ทำแคนอันสำคัญคือส่วนที่ใช้ปากเป่า ยังเรียกว่า "เต้า แคน" และมีลักษณะรูปร่างเป็นกระเปาะคล้าย "เต้านม" ของสตรีอีกด้วย ทั้งการเป่าแคนก็ใช้วิธี เป่าและดูด จนสามารถทำให้เกิดเสียงอันไพเราะ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลสนับสนุนอีกข้อคือ คำที่เป็นลักษณะนามเรียกชื่อ และจำนวนของแคนก็ใช้คำว่า "เต้า" แทนคำว่า อัน หรือ ชิ้น ฯลฯ ดังนี้ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เสียงของแคนเป็นเสียงที่ไพเราะอ่อนหวาน ซาบซึ้งเหมือนเสียงนกการเวก ตาม นิทานเรื่องดังกล่าว เหมือนเสียงของหญิงหม้ายที่ว้าเหว่เดียวดาย ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่า "หญิงหม้าย" เป็นผู้ประดิษฐ์คิดทำแคนขึ้นเป็นคนแรก จึงเป็นเหตุผลที่น่ารับฟังได้มากพอสมควรทีเดียว

ลักษณะของแคนมีสองชนิด คือ แคนน้อย (ยาวศอก คืบ ยาวสองศอก ยาวสองศอกคืบ) และแคนใหญ่ (ยาวสามศอก ยาวสามศอกคืบ สี่ศอก สี่ศอกคืบ) ที่เคยใช้ในปัจจุบัน แต่ที่เคยมี ยาวถึงหกศอก แคนสองขนาดนี้แบ่งเป็นสองอย่าง คือ แคนเจ็ด และแคนแปด แคนเจ็ดนั้นมีลูกเจ็คู่ ส่วนแคนแปดนั้นมีลูกแปดคู่


แคนเจ็ด


แคนเจ็ด
แคนแปด
แคนแปด

ส่วนแคนของเผ่าลาวลุ่มนั้นมีหกคู่ และแคนของเผ่าลาวสูงมีแค่สามคู่เท่านั้น และใช้ท่อต่อเต้าสำหรับการเป่าตามธรรมดา

 

แคนลาว
แคนลาวสูง ลาวลุ่ม ลาวเทิง

 

"แคน" ทำด้วยไม้อ้อ หรือไม้เหี้ยน้อย แต่เดี๋ยวนี้ไม้อ้อหาได้ยาก เขาจึงทำแคนด้วยไม้เหี้ยน้อย และจะต้องหาให้ได้ขนาดเท่านิ้วมือจึงจะใช้ได้ นอกจากไม้เหี้ยน้อย ซึ่งทำเป็นลูกแคนยาวลดหลั่นกันตามลำดับ 7 คู่ หรือ 8 คู่ ประกอบเข้ากันกับเต้า ติดสูด (ขี้สูด) ข้างบนและข้างล่างเต้า เพื่อไม่ให้ลมเป่าเข้าสูบออกรั่ว แล้วยังมีลิ้นแคน รูแพว และรูนับเสียงเป็นสิ่งสำคัญด้วย ข้างในของแต่ละลำไม้ลูกแคนประกอบด้วยลิ้นแคนหนึ่งอันที่มีหนึ่งเสียง และจะต้องเจาะรูแพวให้ถูกตามเสียงเสมอ วิธีเป่าแคนลาวลุ่มก็เหมือนกับการเป่าแคนลาวเทิง หรือ ลาวสูง คือจะต้องใช้อุ้งมือทั้งสองข้าง อุ้มเต้าแคนไว้แล้ว เป่าหรือดูดสูบลมที่รูเต้า ส่วนนิ้วมือก็นับไล่ตามเสียงไปด้วย

 

คำสู่ขวัญข้าว

 

          (ร่าย)  ศรีศรีมื้อนี้แหม่นมื้อดี  ปีนี้แหม่นปีเฮ้า ปู่พระเจ้าให้ข่อยคูณขวัญ  กะหว่ามื้อนี้วันนี้  วันนี้หมอสร้างไฮ่ได้ข้าวฮวงหนา  กะหว่ามื้อนี้  หมอสร้างนาได้ข้าวฮวงก้อน กะหว่ามื้อนี้วันนี้  เอาบ่าวขึ้นเฮือนสาว กะหว่ามื้อนี้วันนี้  ฟันดาวให้มารแพ้ กะหว่ามื้อนี้วันนี้ เอาช้างเข้ามาโฮง กะหว่ามื้อนี้วันนี้  ท้าวบุญเฮืองขึ้นปราสาท กะหว่ามื้อนี้วันนี้  ผู้ฉลาดเข้าฟังธรรม กะหว่ามื้อนี้วันนี้  ผู้เป็นเจ้าได้เงินแสน กะหว่ามื้อนี้วันนี้  ท้าวผู้ไฮ้ปลูกแตงหน่วยงาม  กะหว่ามื้อนี้วันนี้ เศรษฐีเข้าเบิกเงินคำ  กะหว่ามื้อนี้วันนี้

         ศรีศรีมื้อนี้แหม่นมื้อดี  วันดิถีอุตตมะโชค  โตกใบนี้แหม่นโตกไม้จันทน์  ขันใบนี้แหม่นขันไม้แก้ว  ขุนนางดาตกแต่งแล้วจึงยอมา ชยตุ ภะวัง ชัยยะมังคะลัง

         กาสะ โอกาสะ เถิงฤดูกาลเดือนห้า  ฟ้าฮ้องฮ่ำเดือนหก  ฝนตกฟ้าฮ่ำฮ้อง  ฝนนองหลั่งลงมา ชาวนาจึงหาพร้าแลขวาน  ด้ามคมบางเข่นใหม่ แบกไปใส่ป่าไม้ไพรหนา ฟันพะเนียงไถนา เถิงเคหาไว้ไต้หล่าง  ฝูงหมูช่างเขาจึงมาดู  มีทังง่อนไถใหญ่ใบผะเนียงหนา  นำเอามาดาแต่งแล้ว เป็นไถแก้วเกิดคูณมา  แบกไปไถนาไปแฮก  มีทั้งแอกอันงอ  พาดคอความเชือกอ้อง  ไถข้องเพื่อความแฮง  ถือดินแข็งเพื่อฮากไม้  ไถลวดไว้หลายวัน  คาดยายไปทั่วไฮ่  หว่านเข้าใส่ในตม  พระบุรมตกแต่ง ฮากออกแบ่งเป็นใบ พร้อมกันไปหลกออก  หาตอกมากิ้ว   ปิดปาดลิ้วไปเสีย เขาจึงเอาไปตั้งไว้เป็นสุม  ชุมนุมกันไว้เหลือหลายเดียรดาษ  คาดไว้แล้วเอากล้ามาดำ  ปักใส่ตมถมใส่ผง ก็จึงได้หลายต้น ดำหันหน้าหันหลังไปมา  ตามภาษาไทยนาและไทยนอก  ดำขอกแลดำกลาง  ดำเหิงนานก็จึงได้หลายต้น หลายมื้อพันข้าวจึงป่งใบวี  เขียวขจีหอมฮ่วงเฮ้า  ลมฟัดจ้าวอยู่ไปมา  ทารกาหมู่เด็กน้อย ไปคอยเฝ้าเช้าและเย็น   ฝูงนกเต็นนกจิบนกจาบ  อย่าได้มาคาบจิกกิน ในดินแลในน้ำ  ก้ำนอกแลดอนกลาง หมู่กวางฟานอย่าได้มากินใกล้  ฮอดมื้อได้พอประมาณ เจ้าจึงมานท้องแก่ แผ่ออกได้เป็นฮวง เถิงเดือนสิบสองเจ้าจึงเหลืองกกเหี่ยว  เขาเกี่ยวเจ้าตากไว้สู่ไฮ่สู่คันสองสามวันจึงกู้เจ้าแหล้ว  คันหลาวแก้วเขาจึงหาบเจ้าไป  ฮวมในลานเหมือนกองหาด  ฮอดมื้ออาดแสนดีเขาจึงหม้างเจ้าลี่ลงมา ฆ้นอสั้นเขาก็ตี ค้อนฮีเขาก็ฟาด  เขาจึงเอาเจ้าตั้งไว้ในลานดูสะพาด  เดียรดาษเหลือหลาย บางผ่องเอาความมาเหยีบหย่ำ   หย่ำแล้วผงธุลีกั้วไหง่เวีนไปเบื้องซ้ายซีหว่า  เวียนไปเบื้อขวาซีซ้าย มือเบื้อซ้ายถือเชือควาย  มื้อเบื้องขวาถือขอคีตีเตะและตีต่อย  ตีข่อยและตีแฮง  ตีปักปักตีแป๊กแป๊ก   ยีแหลกแล้วจึงเอาควายออก  เขาจึง้เอาหนามคองแลหนามไผ่มากวาดว้ายเฟืองหมุ่นอันเสีย  แล้วจึงบอกเมียแก้วแก่นให้ฟ้าวแหล่นหาเหล้าดองยา หาลุงตาและพี่น้อง เอาใส่ก้องกองขึ้นเป็นกอง  แล้วจึงปองไปศิลาและเหมี่ยงหมาก มีทั้งตองอ่อนและตองเขียว ยอดคูณเพียวอันงามอ่อนกระจอนจันทน์คู่หอมงาม  ตามภาษาของชาวโลก มีทังต้มไก่โอกบรบวร  สามสมควรปูอาสน์ ขอดีพาดคันหลาว  ปลายแหลมยาวซาดลาด  มีทั้งเสื้อผ้าอาดขาวดี  มีทังทองเทียนสีติดไต้  มีทังฝ้ายอ่อนไว้มุงคุล มีทังบายศรีตั้งไว้สวยลวย  เดียดาษขึ้นไขว่ข้วงเหลือตา แหลวหน้างัวปักไว้สี่แจเล้า ดูแลงามองอาจ  จึงไปอาราธนาอาจารย์ผู้ฉลาด มานั่งสูตรขวัญ  หว่า ศรีศรีมื้อนี้แหม่นมื้อหมั้น  ให้หมั้นเหมือนหินผาแอ่น ให้เจ้าหมั้นแก่นปานผาจวงผาจันทน์  ให้เจ้าหมั้นเหมือนผาหลวงไกรลาศ  ให้เจ้าหมั้นปานอากาศและตาเว็น  หว่ามาเยอขวัญเอย.......

        นางข้าวเจ้าแลข้าวเหนียว ต้นเขียวเขียวข้าวก่ำ  ก็ให้มสสามื้อนี้วันนี้  ต้นต่ำต่ำข้าวหมากเขือก็ให้มาสามื้อนี้วันนี้  ฮวงเฝือข้าวป้องแอ้ว  ใสดังแก้วข้าวแข้วงู  สะก่พร้อมเหนียวดี  ฮวงฮีฮีข้าวอั้วน้อย ฮวงยาวห้อยนั้นข้าวขี้ควาย เม็กสวยลวยนั้นข้าวงวงช้าง เม็ดโค้งข้างนั้นข้าวลาดเทียน  ลายเวียนนั้นข้าวหมากแหย่งเขาจึงแบ่งไว้ให้หมู่ทางไกล  ก็ให้มาสามมื้อนี้วันนี้ เอาแต่ข้าวกระเชิญฮวงหนุ่ย อุ้ยลุ่ยนั้นข้าวคอแดง  เม็ดแดงนั้นข้าวเลือดแฮด เม็ดแลบนั้นข้าวเหมี้ยงเป็ด เม็ดถี่ข้าวหมากกอก เม็ดหมอกนั้นแหม่นข้าวมัน หอมนันท์นัวข้าวปาด  สะพาดพร้อมนั้นแหม่นข้าวหมากโพธิ์  หอมพาโลข้าวฮวงช้างสุกเต็มไฮ่ ก็ให้มาสามื้อนี้วันนี้  ว่ามาเยอขวัญเอย  ให้เจ้ามาจากปากหมั่งขนลาย   ให้เจ้ามาจากปากควายโตเขาหย่อง   ให้เจ้ามาจากปากช้างตัวงางง   ให้เจ้ามาจากปากโองและกระต่าย  ให้เจ้ามาจากปากช้างตัวงาตัน  ให้เจ้ามาจากปากหมูซันแลปูคาบ  ให้เจ้ามาจากปากนกจิบนกจาบ ควบเจ้าคว่าบินบน  ให้เจ้ามาจากปากนกเขาเขียว  คาบเจ้าไปจับเฮียวแลปลายผุ่ม  ก็ให้มาสามื้อนี้วันนี้ ให้เจ้ามาเยียและเต็มเล้า  ให้เจ้าอยู่สวัสดี  กินสิบปีอย่าได้บก  จกสิบปีอย่าได้ลง  หว่ามาเยอขวัญเอย  ให้เจ้ามาจากหมั่งโตคอแดง ให้เจ้ามาจากปีกแมมงแคงตัวปีกอ้า  กระซ้าขาดกระบุงแดง  คันหลาวแทงหักคาบ่า ขวัญเจ้าอย่าได้ตกใจเนอนางเนอ ต้นอ้อยใหญ่ลำถ่อขา ก็ได้มานี้แล้ว อ้อยตาปลาลำถ่อแข่ง ก็ได้มานี้แล้ว ต้นข้างแข่งใสพาขวัญ ก็ได้มานี้แล้ว  มีทังพลูพันแลหมากอ่อน  มีทังกระจอนจันทน์คู้หอมงาม ตามภาษาของโลก  มีทังไก่ผู้โอกโตถ่อนกยูง มีทังไก่ตัวเมียโตถ่อห่านฟ้า มีทังเผือกหัวชัน มีทังมันหัวส่อง  พวกพี่น้องแวนหลาย ฝูงตายายมวลมาก ว่ามาเยอขวัญเอย......

        ให้เจ้าอยู่เล้าแผ่นสะนอนเฟือง  เจ๊กเอิ้นชื่อเจ้าอย่าได้แซว แกวเอิ้นชื่อเจ้าอย่าได้ตื่น  เด็กน้อยหลื่นตักไปขายเจ้าอย่าได้เคียด  หยังมาเบียดเจ้าอย่าได้โมโห  คนพาโลเอาเจ้าและเหล้า ก้อย่าได้ท้วง  เจ้าจงห่วงหมู่โลกา  เลี้ยงสัตว์สาหลายส่ำ  จงได้ค้ำศาสนา  ให้ธรรมาเฮืองฮุ่งแจ้ง  เป็นไต้แต่งตื่มตามไฟ   ให้สัตว์ดำเนินไปทางอันชอบ ประกอบด้วยสุจริตธรรม  ตามคำสอนของพระบาท เลี้ยงหมูอาจสังฆคุณ  ให้ค้ำจุนมูลหมู่โลก  บริโภคเจ้าอยู่สวัสดี เพิ่นตักเจ้าไปตำอย่าได้หัก  สักกะลันเจ้าอย่าฟัง เทใส่กระด้งเจ้าอย่าได้ปังบินหนี ให้เจ้าดึงกันมาเหมือนดังฟันสาด ให้เจ้ากวาดกันมาคือก้าวสาวหนุ่ม ให้เจ้าตู้มกันมาคือตู้มเงินเลียง เม็ดหนึ่งตักไปทานค่ำเช้าเหลือหลาย

      เม็ดหนึ่งตักไปซื้อควายโตเขาหย่อง  เม็ดหนึ่งตักไปซื้อฆ้องเก้ากำ  เม็ดหนึ่งตักไปซื้อคำได้เก้าหมื่น เม็ดหนึ่งตักไปซื้อกล้าให้ได้ข้าวหมื่นเยีย  เม็ดหนึ่งตักเอาผู้เฒ่าให้เล่าขายของ มาเยอขวัญเอย......

      เพิ่นตักใส่ดังอย่าได้บินหนี  เพิ่นตักไปสีเจ้าอย่าได้ตื่นเต้น  ข้าวเหนียวให้มาอยู่เล้า

ข้าวเหนียวองอาจ  ข้าวเจ้าให้มาอยู่ลาดเยียคำ เขาตักตำไปใส่เหล้าเจ้าอย่าได้ป้อย หมู่เด็กน้อยเหยียบยีเฟือง เจ้าอย่าเคืองคำเคียด เขาเอาเจ้าแลกสีเสียดแลปูนพลู  แลกปลาทูแลเสื้อผ้า เจ้าก็อย่าได้เคือง  หมู่เจ้าเมืองเกณฑ์เก็บเจ้าเข้าฉางหลวงไปซ่อยชาติ  ก้อย่าได้ตื่นท้วง เจ้าอขงป่วงนำหวยเบอร์สาระเพอเอาเจ้าขายเล่นเลขก็อย่าได้ฮ้อน ให้เจ้าเต็มดีดังเก่า  อย่าได้บกเป็นหาด  อย่าได้ขาดเขินวัง สัพพะกำลัง  ยังบริบูรณ์ดีคือเก่า อาคัจฉามะ  โภชะนัง พีชังมะมะ  หะทะยัง ชะยะตุ ภะวัง ชะยะมังคะลัง ชะยะมหามุงคุล อุอะ มุมะ มูลมา สวาหะมะฯ

 

                                                 

                      ประเพณีการผูกเสี่ยวชาวอีสาน
              การผูกเสี่ยวจัดเป็นประเพณีอันดีงามของไทยที่มีมานานับศตวรรษ

        เสี่ยว   หมายถึง  การเป็นมิตรแท้  เพื่อนเเท้   เพื่อนตาย  มีความซื่อสัตย์สุจริตและจริงใจต่อกัน 
       เสี่ยว   สามารถตายเเทนกันได้   เพื่อนที่มีคุณลักษณะเช่นนี้เรียกว่า "เสี่ยว"
          เกณฑ์การผูกเสี่ยว  ปกติเสี่ยวต้องเป็นเพศเดียวกันชายมีเสี่ยวชาย  หญิงมีเสี่ยวเป็นหญิง และต้องมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน

         ประเภทของการผูกเสี่ยว   แต่ก่อนมีเสี่ยวประเภทเดียว   คือเสี่ยวฮักเสี่ยวแพง  ต่อมาทางการได้จัดให้มีการผูกเสี่ยวขึ้น   จึงเรียกเสี่ยวประเภทนี้ว่าเสี่ยวทางการ  ดังนั้นการผูกเสี่ยวจึงมี  2  ประเภท   คือ

     1. การผูกเสี่ยวแบบดั้งเดิม
     2. การผูกเสี่ยวแบบทางการ

          การผูกเสี่ยวเเบบดั้งเดิม   เรียกว่า  "เสี่ยวฮักเสี่ยวแพง"
แบบพิธีการการผูกเสี่ยวแบบดั้งเดิม
   มีหลายรูปแบบด้วยกันขอยกตัวอย่างเพียงย่อ ๆ

            แบบที่ 1    ในวันที่ทำพิธีการผูกเสี่ยวนั้น   จะเริ่มด้วยการนำเซี่ยนหมากมาวางไว้ต่อหน้าสักขีพยานแล้วผู้ทำพิธีปกติมักจะเป็นพ่อแม่คนใดคนหนึ่งของคู่เสี่ยว  หรืออาจเป็นพราหมณ์   ผู้อาวุโสในหมู่บ้านที่เคยทำพิธีผูกเสี่ยวตรงไหนก็ได้  โดยจะนำเอามีดสะนาก  ( มีดชนิดหนึ่งที่มีขาสองขา  คล้ายกรรไกร  แต่ปลายมีดเชื่อมติดกัน  ปกติใช้สำหรับหนีบ  หรือผ่าผลหมาก  จึงใช้ประจำเซี่ยนหมาก)  มาตั้งไว้กลางเซี่ยนหมาก   แล้วหงายมีดทั้งสองด้านขึ้น  ซึ่งมีความหมายว่า  มีดจะใช้ประโยชน์ได้ก็เพราะมีขาอยู่ติดกันตลอดไป  หากขามีดสะนากสองข้างแยกออกจากกันหรือหลุดจากกันเมื่อใด  เมื่อนั้นมีดสะนากก็จะใช้ประโยชน์ต่ออีกไปไม่ได้ 
          ดังนั้น  ในวันทำพิธีผูกเสี่ยวนี้  ผู้ทำพิธีจะให้ โอวาทแก่เสี่ยว  ซึ่งนั่งกันอยู่ต่อหน้าผู้ทำพิธี  และพยานทั้งหลายว่า  ขอให้คู่เสี่ยวมีความรักใคร่  สามัคคีปองดองกัน  ประดุจมีดสะนากที่เป็นคู่ติดกัน  เมื่อมีปัญหามีเรื่องทุกข์ร้อนก็ช่วยกันคิด  ช่วยกันแก้  และให้เป็นเพื่อร่วมตายกันตลอดไป

             แบบที่  2   ใช้ถ้วยน้ำพริกกับเกลือมาวางไว้ต่อหน้าคู่เสี่ยว     เกลือมีความเค็มฉันใด  ขอให้คู่เสี่ยวมีความรัก  ความจริงใจเหมือนเกลือที่รักษาความเค็ม  สำหรับพริกนั้นเพื่อแสดงถึงน้ำใจที่เเน่วแน่  มีความรัก   ความสามัคคีอย่างแน่นแฟ้นไม่มีวันเสื่อมคลายเหมือนพริกที่มีความเผ็ดร้อนฉันใด  เสี่ยวฮักเสี่ยวแพงต้องมีความจริงใจต่อกันถ้าเสี่ยวคนใดคนหนึ่งคิดทรยศต่อกัน  ก็ให้มีอันเป็นไป  ถ้าทำในสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม  ก็ให้ได้รับสิ่งไม่ดีไม่งามสนองตอบ              ตัวอย่าง  ผญาคำคมที่ใช้สั่งสอนเสี่ยว

            " มุดน้ำอย่าให้แขนฟู  จกฮูอย่าให้แขนสั้น "  แปลว่าเวลาดำน้ำอย่าให้ก้นลอยขึ้นมา  และเวลาล้วงมือเข้าไปในรูเพื่อหาหอยหาปู  ก็ให้ได้หอยได้ปูในรูนั้นตามประสงค์

            " ให้นับถือลือหากันเด้อลูกเด้อ  ไปพุ้นกินปลา  มาพี้กินข้าว " หมายความว่าให้เสี่ยวรักใคร่นับถือกันเเละเอื้อเฟื้อจุนเจือกัน

            "  สู   สู   มื้อนี้เป็นมื้อสันต์วันดี  อมตโชค  ปัดโชคฮ้ายอย่าพาล  มารฮ้ายอย่ากรายมีสหายมาแวะโอม    สหายเพิก  "  หมายความว่า  วันนี้เป็นวันดี  ขอให้มีโชคดีอย่าได้มีเคราะห์มีภัย  ถ้ามีเพื่อนมาเยี่ยมก็ให้ต้อนรับดี ๆ

            การผูกเสี่ยวอย่างเป็นทางการ   เสี่ยวทางการคือการผูกเสี่ยวที่ทางราชการ  กิ่งอำเภอเปือยน้อย  ( ๒๕๒๓ )  จังหวัดขอนแก่น   จัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรกของจังหวัดขอนแก่น  หรือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย  ตรงกับวันวิสาขบูชา  จัดบริเวณวัดพระธาตุกู่ทอง กิ่งอำเภอเปือยน้อย  นายเลื่อน  รัตนมงคล  ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอเปือยน้อยสมัยนั้น  เป็นผู้ริเริ่มโครงการให้มีขึ้น  และได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการ  "วันผูกเสี่ยว"

 

 

 

สู่ขวัญแบบอีสาน

       การสู่ขวัญ  ชาวอีสานของเราจะมีความเชื่อว่าในร่างกายของคนเรานั้นประกอบด้วยอวัยวะครบ 32 ส่วน  และแต่ละส่วนก็จะมีขวัญอยู่ประจำ หากเกิดเหตุเภทภัยอะไรขึ้นที่ได้รับความกระทบกระเทือนตกใจไม่ว่าดีใจหรือเสียใจก็จะทำให้ขวัญนั้นออกไปจากร่างกาย จะเกิดให้มีการเจ็บป่วยบางครั้งก็จะถึงกับเสียชีวิตในที่สุด

        ดังนั้นเพื่อเป็นการเรียกขวัญให้กลับคืนมาสู่ร่างกาย ชาวอีสานจึงได้มีพิธีกรรมโดยญาติพี่น้องจะจัดทำพานบายศรขึ้นซึ่งประกอบด้วยข้าวตอกดอกไม้ อาหารการกิน ฝ้ายผูกแขน ประดับตกแต่งให้สวยงาม  และจะเชิญหมอขวัญหรืบางพื้นถิ่นเรียกว่าพราหมณ์มาทำพิธีกล่าวคำเชิญขวัญหรือคำสู่ขวัญ   ซึ่งเรียกกันว่าสูตรขวัญ เป็นทำนองร่าย กาพย์  เนื้อหาก็จะเป็นการกล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวเหตุนั้นๆพร้อมให้กำลัง ตลอดจนเป็นอบรมสั่งสอนการปฏิบัติตนของผู้ที่ทำพิธีให้หรือเรียกว่า  เจ้าขวัญ หลังจากนั้นก็จะมีการผูกแขนโดยจะมีญาติพี่น้องมาร่วมพิธีนำฝ้ายผูกแขนนำมาผูกที่ข้อมือทั้งข้างซ้ายหรือข้างขวา

       เจ้าขวัญก็จะรับพรจากคนผูกแขนโดยจะยกมือข้างหนึ่งขึ้น  แบมือไว้ด้านหน้าระดับเหนืออก เหมือนกับไหว้แต่ปล่อยมือลงข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างหนึ่งก็จะยื่นออกไปข้างหน้าแบมือ  ส่วนใหญ่ก็จะเป็นมือด้านขวาและมือนั้นก็จะข้าวเหนียวนึ่ง ไข่ไก่ ข้าวต้ม ไก่ ฯลฯ มาวางบนมือที่แบรับ  ลำดับแรกก็จะให้หมอเชิญขวัญผูกก่อน ตาด้วยผู้อาวุโสในหมู่บ้าน หรือญาติผู้ใหญ่ที่มาร่วมพิธี แล้วก็ตามด้วยญาติมิตรคนอื่นๆต่อไป

       การรับขวัญหรือรับพรของญาติพี่น้องที่สนิทของเจ้าขวัญ อาจจะเป็นพ่อแม่ ลุงป้าน้า อา สามี ภรรยา หรือทุกคนที่มาร่วมพิธีพอคนหนึ่งผูกแขนก็จะยื่นมือข้างขวาแบโดยหงายฝ่ามือขึ้น จับด้านล่างแขนของเจ้าขวัญเหนือข้อแขนเรื่อยไปจนถึงข้อศอกในกรณีหลายคน  หรือคนที่อยู่ห่างออกไปจะจับต่อคนที่จับเจ้าขวัญต่อกันไปก็ได้

 

           มีบางพื้นถิ่นปฏิบัติยังคลาดเคลื่อนในการรับขวัญโดยคิดว่า ถ้าสู่ขวัญกินดองคนที่เป็นสามี หรือเจ้าบ่าวเวลาญาติพี่น้องผูกผู้รับพรที่เป็นเจ้าบ่าวต้องคว่ำมือจับข่มแขนเจ้าสาวไว้ด้านบน หากจับรับด้านล่างจะเป็นคนที่หมดอำนาจ ภรรยาจะข่ม ซึ่งข้อนี้เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง  เพราะผู้เขียนได้สอบถามท่านผู้รู้หลายๆท่านแล้ว

การสู่ขวัญไม่ใช่การจะมาแข่งขันอำนาจซึ่งกันและกันเป็นพิธีมงคลเป็นสิริมงคลให้กับคู่บ่าวสาว    การรับขวัญหรือรับพรก็ต้องแสดงถึงความเคารพรับเอาพรที่ผู้ผูกแขนมอบให้โดยการ หงายฝ่ามือขึ้นรับ เพื่อให้พรนั้นเข้าไปสู่ตัวเรา   การจับคว่ำมือเป็นการไม่ให้ความเคารพต่อผู้ให้พร เป็นการข่ม ไม่ให้เกียรติ หรือเป็นการไม่ยอมรับคำอวยพรของผู้ให้พร ไม่มีความอ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นการเสียมารยาทอย่างยิ่งจึงห้ามกระทำโดยเด็ดขาด

         สำหรับการสู่ขวัญตามประเพณีภาคอีสานนั้น เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งของชาวอีสานที่ต้องการสร้างขวัญกำลังใจ และเป็นการเตือนสติอบสั่งสอนฮีตคลองของชาวอีสานในเหตุการณ์ต่างๆในช่วงชีวิตของแต่คละคน อาทิ  เมื่อเติบโตขึ้นถึงอายุที่จะบวชก็จะมีพิธีกรรมการสู่ขวัญก่อนจะนำไปบวชเรียกว่าสู่ขวัญนาค ซึ่งคำสู่ขวัญก็จะกล่าวถึงการกำเนิด การเลี้ยง ความรักของพ่อแม่ก็คือสร้างจิตสำนึกให้คนที่จะบวชได้รับรู้เรื่องราวความรัก การเอาใจใส่ ความเพียรพยายาม ความยากลำบากของพ่อแม่ที่เฝ้าเลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่ จึงอยากให้ลูกตั้งใจศึกษาเล่าเรียนหลักธรรมคำสอนเพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีวิตให้อยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข โดยจะมีญาติพี่น้อง ผู้อาวุโสในหมู่บ้านจะอวยพรและนำมาว่ากล่าวให้ในขณะผูกแขน

        พอหลังจากบวชเสร็จก็จะมีการสู่ขวัญพระใหม่ซึ่งก็เป็นการปฐมนิเทศพระที่บวชใหม่ให้ประพฤติปฎิบัติตนให้เหมาะสมตามจารีตประเพณีตามกิจของสงฆ์นั่นเอง   จึงนับได้ว่าการสู่ขวัญของชาวอีสานนั้นผูกพันตลอดชีวิตในแต่ละช่วงตอนของชีวิต  หากเกิดการเจ็บป่วยก็จะให้กำลังใจ  ดีใจได้รับตำแหน่งใหม่ เลื่อนยศตำแหน่ง แม้แต่การแต่งงาน  ตกอกตกใจก็จะจัดพิธีสู่ขวัญให้ สรุปก็คือเป็นการแสดงความปรารถนาต่อกันในชุมชน ให้มีกิจกรรมร่วมกัน สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันของญาติพี่น้อง  รวมทั้งการแสดงถึงความห่วงใย ความผูกพันหวังดีของผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสในหมู่บ้านเดียวกัน หรือหมู่บ้านใกล้เคียงที่มีต่อลูกหลาน หวังให้เป็นคนดีเป็นศักดิ์ศรีแก่วงศ์ตระกูล ตลอดจนเป็นชื่อเสียงของหมู่บ้าน ชุมชน   ตลอดจนเป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชนและประเทศชาติในระดับต่อไป.

           ประเพณีการสู่ขวัญจึงเป็นพิธีที่มีความสำคัญอย่างมาก จึงควรที่จะนำมาศึกษาถึงวัตถุประสงค์ ขั้นตอนพิธีกรรม ให้เป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์  นำมาเผยแผ่ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับทราบเข้าใจอย่างถ่องแท้ลึกซึ้งในการปฏิบัติตามพิธีกรรม ไม่ใช่เป็นการกระทำเล่นๆมักง่ายไม่ได้ให้ความสำคัญ  ขาดการสืบสานอนุรักษ์ก็จะทำให้ผิดวัตถุประสงค์เป้าหมายของบรรพบุรุษที่ได้อุตส่าห์พยายามค้นคิดแนวปฏิบัติสิ่งที่ดีงามไว้ให้ลูกหลาน แต่ลูกหลานกลับไปหลงระเริงในสิ่งที่เป็นเรื่องบันเทิงเริงรมย์ ความสะดวกสบาย มักง่าย เห็นแก่ตน จนลืมนึกถึงความเป็นและเหตุผลในการดำรงชีวิตซึ่งก็จะนำความหายนะมาสู่ตนเองในที่สุด

หมายเหตุ  คำสู่ขวัญจะได้หามานำเสนอในโอกาสต่อไป   ขอบคุณครับ

 

คำให้พรเวลาผูกแขน

 

คำให้พรเวลาผูกแขนผู้หญิง

         ให้ขวัญเจ้าอยู่เฮือนแผ่นแป้นหญ้าแฝกมุงหนา   ให้ขวัญเจ้าอยู่เฮือนแผ่นแป้นหญ้าคามุงถี่

ให้ขวัญเจ้านุ่งซิ่นหมี่ใส่ฟืมซาวฯ

คำให้พรเวลาผูกแขนผู้ชาย

        ผูกแขนซ้ายให้ขวัญมา   ผูกแขนขวาให้วัดถังยืนย้อน   ค่าคำพรพอแสน  หัวแหวนทองเทศน์

ทุกขอบเขตหงสา    ให้ทรัพย์ไหลมาเทมาอย่าให้ขาด   เหมือนดังน้ำอโนมานที   กินอย่าได้บก

จกอย่าได้ลง  นอนหลับให้ได้เงินพัน  นอนฝันให้ได้เงินหมื่น  นอนตื่นให้ได้เงินแสน  แบนมือไปให้เจ้าได้แหวนค่าล้าน  ครันเจ้าย้ายจากบ้านให้เจ้าพบแต่ขุมเงินขุมคำฯ

คำให้พรเวลาผูกแขนคนทั่วไป

       เอ้อ.....มาเดอขวัญเอย  ขวัญนาง  ขวัญนาย..... ขวัญแขแข้ง  ขวัญขา ขวัญตา  ขวัญเนื้อ ไปไฮ่กะให้มา  ขวัญไปนากะให้มาอยู่บ้าน  ขี้คร้านนอนอยู่เฮือน  ให้เจ้าอยู่ดีมีแฮง  ใหญ่เพียงตออย่าหัก  ใหญ่เพียงหลักอย่าโค่น  อย่าได้หม่นเมืองตอง  อย่าได้หมองเมืองเก่า  อย่าได้เศร้าเสียศรี  ให้เจ้าอายุมั่นขวัญยืน  ให้พ่อแม่ได้เพิ่งได้พิง  สาธุ อายุ วัณโณ  สุขัง  พลังฯ

คำให้พรเวลาผูกแขนคนทั่วไป

      สิทธิชะโย  สิทธิชะโย  ขอให้มีชัยชนะผาบแพ้(ชนะ) ข้าเศิกศัตรู  ผู้หลักให้เอาสินมาให้  ผู้ใบ้ให้เอาเงินมาปัน เจ้าเนอ  นอนหลับให้ได้เงินพัน  นอนฝันให้เจ้าได้เงินหมื่น  นอนตื่นให้เจ้าได้เงินแสน แบนมือไปให้เจ้าได้แก้วมณีโชติ  โทษฮ้ายให้หายเสีย  ทางใต้ให้มีผู้ซ่อยเฮือเจ้าเนอ          ทางเหนือให้มีผู้ซ่อยช้างเจ้าเนอ  สองฟากข้างให้มีผู้มาซ่อยดอกไม้เงินคำ อุอะ  มุมะ  มูลมา   มูลัง โหตุ ฯ

หมายเหตุ  คำอีสานคำว่า “แพ้” หมายถึงชนะ   คำว่า”ผาบ” หมายความว่า “ปราบ, กำหราบ”

 

 

 

 

 

 

 

 

 




ประเพณีอีสาน

ซอกหามาเว่า article
เลาะเบิ่งพระธาตุแดนอีสานเหนือ article
เลาะเบิ่งแดนอีสาน article
ผาชะนะได
ประเพณีเข้ากรรม



ก่อนหน้า1ถัดไป

ความคิดเห็นที่ 1 (133373)
ขอบคุณมากค่ะน่าจะมีตัวอย่างมากกว่านี้นะคะ
ผู้แสดงความคิดเห็น นคพนม (jenny-dot-cbw-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-01-26 18:11:28


ความคิดเห็นที่ 2 (133607)

-ขอบคุณมากรับที่แวะเยี่ยมชม อยากได้ตัวอย่างเกี่ยวกับอะไรครับ จะพยายามค้นหามาให้ครับหากไม่เกินความสามารถ  หวังว่าคงได้มีโอกาสได้รับคำติชมในโอกาสต่อไป ขอบคุณมากครับ

           ประสม บุญป้อง

ผู้แสดงความคิดเห็น ประสม วันที่ตอบ 2010-02-20 21:23:16


ความคิดเห็นที่ 3 (134266)

เรียน คณุประสม ขออณุญาต เรียกคุณครู เพราะว่าได้ให้ความรู้ต่อทุกคนที่ได้เข้ามาหาความรู้ความเข้าใจในweb ดิฉันต้องการเพียงขอบคุณคุณครูมากในการช่วยเหลือหาหมอสูตรสู่ขวัญแต่งงานให้ดิฉันในกรุงเทพจะได้หรือไม่ ไม่เป็นอะไรแต่รู้สึกขอบคุณที่ช่วยหาคะ ขอบคุณคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น อิ๋ว ผู้ที่ตามหาหมอสูตรสู่ขวัญแต่งงาน วันที่ตอบ 2010-06-07 09:08:15


ความคิดเห็นที่ 4 (134420)

   ถึง   คุณอิ๋ว

            ก่อนอื่นต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้แจ้งข่าวให้ทราบหลังที่ได้รับปากว่าจะหาให้ พอดีติดต่อไปหาญาตคิที่อยู่กรุงเทพฯก้ได้ติดต่อคนที่เคยทำพิธีที่มาอาศัยอยู่ทีวัดใกล้ๆกับเขาทำงาน แต่มันติดขัดตรงที่ไม่ด้ทำพิธีย้ายมาคิดว่าคงจะไม่มีใครทำพิธีนี้และมันกระชั้นชิดมากไม่มีเวลาและคิดว่าจะโทร.ไปบอกแต่ดันหาเบอร์ดทรศัพท์ไม่เห็นก้เลยไม่แจ้งให้ทราบใจก็เป็นห่วงมากๆ เป็นอย่างไรงานคงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีนะพิธีเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นสิริมงคลจุดหมายสูงสุดของการแต่งงานคือการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างเป็น มีความเข้าใจซึ่งกันถือว่าเป็นหุ้นส่วนของชีวิตทุกฝ่ายต้องปรับตนเข้าหากันหาให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องปรับหาและทนอยู่กับอีกฝ่ายหนึ่งมีอะไรให้เปิดใจเข้าหาและคุยกันอย่าปล่อยปัญหาให่หมักหมมจนมันระเบิดขึ้นปัญหาครอบครัวเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนหมั่นพูดหมั่นคุยหมั่นปรึกษาหารือกันหาเห็นสิ่งผิดปกติรีบหาทางร่วมกันแก้ไขปัญหาให้ดำรงชีวิตด้วยหลักการมีเหตุมีผลพยายามหาจุดบกพร่องของตนเองแล้วปรับปรุงก็ขออ้างเอาคุรพระศรีรตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์และสิ่งที่ท่านเคารพนับถือจงดลบันดาลให้ชีวิตคู่ของท่านประสบความสุข สมหวังมีชีวิตคู่ที่ราบรื่นมีความสุขเป็นสถาบันครอบครัวที่มีคุณภาพเอื้อประโยชน์เป็นพลังสร้างสังคมให้เป็นสุขตลดชั่วนิจนิรันดร์

                       ประสม   บุญป้อง

 หมายเหตุ  ผมชอบมากกับคำว่า คุณครู มกากว่าเรียกว่า อาจารย์หรืออื่นๆหากมีอะไรจะให้รับใช้หากไม่เหนือบ่ากว่าแรงก็บอกมาได้และขอฝากให้ประชาสัมพันธ์เวปไซด์ให้คนอื่นๆทราบด้วยบางทีอาจจะพอมีประโยชน์กับคนที่ได้รับข่าวสารจากเวปนี้ ขอบคุณมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ประสม (prasom99-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-07-07 09:12:13


ความคิดเห็นที่ 5 (144825)
การทำบุญแจกข้าวที่เขาเรียกว่า กองบุญมีอะไรบ้างค่ะช่วยบอกทีค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น คนอิสาน วันที่ตอบ 2012-10-24 19:28:40



ก่อนหน้า1ถัดไป


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.