ReadyPlanet.com
dot dot
bulletซอกมาเว้าสู่ฟัง





ปราสาทเมืองต่ำ

 ปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่บริเวณบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากปราสาทพนมรุ้งมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร

              ปราสาทเมืองต่ำ เป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะ มีลักษณะเป็นศาสนสถานประจำเมืองหรือชุมชน จากการศึกษาทางโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณในละแวกนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่ เช่น ชุมชนบ้านโคกเมือง โคกยายคาน โคกสลองตอง เป็นต้น โบราณวัตถุที่ขุดพบ ได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ภาชนะดินเผาเนื้อดิน เครื่องถ้วยชามเคลือบสีน้ำตาลและเคลือบสีเขียว เป็นจำนวนมาก

   

หลักฐานเหล่านี้แสดงถึงการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่มีอายุใกล้เคียงกับการสร้างปราสาท ซึ่งเป็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบคลัง และบาปวน กำหนดอายุประมาณครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 หรือราว 1,000 ปีมาแล้ว

 

   ตำแหน่งที่ตั้งของปราสาทเมืองต่ำ อยู่บนเส้นทางอารยธรรมขอมจากเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา ขึ้นสู่ทางเหนือผ่านเทือกเขาพนมดงรัก ผ่านกลุ่มปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์ ผ่านปราสาทเมืองต่ำสู่ปราสาทพนมรุ้ง ไปยังปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อาจกล่าวได้ว่าชุมชนโบราณที่ปราสาทเมืองต่ำมีความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณใกล้เคียง บนเส้นทางอารยธรรมขอมจากเมืองพระนคร สู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

 

  

 

           ปราสาทหินเมืองต่ำ  ตั้งอยู่ที่ตำบลจระเข้มาก  เป็นปราสาทขอมที่มีสถาปัตยกรรมสวยงามโดดเด่นน่าชมอีกแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์  ประวัติความเป็นมาของปราสาทหินเมืองต่ำยังไม่ทราบชัดเพราะไม่พบหลักฐานที่แน่นอนว่าสร้างขึ้นเมื่อใด หรือใครเป็นผู้สร้าง มีลักษณะของศิลปะขอมแบบบาปวน ซึ่งมีอายุอยู่ในราว พ.ศ. 1550-1625 และมีลักษณะของศิลปะขอมแบบคลังซึ่งมีอายุราว พ.ศ. 1508-1555 ปะปนอยู่ด้วย ภาพสลักส่วนใหญ่เป็นภาพเทพในศาสนาฮินดู จึงอาจกล่าวได้ว่า ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-17 เพื่อใช้เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู 

             ตัวปราสาท ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างหลัก คือ ปรางค์อิฐ 5 องค์ สร้างอยู่บนฐานเดียวกัน ก่อด้วยศิลาแลง องค์ปรางค์ทั้ง 5 ตั้งเรียงกันเป็น 2 แถว แถวหน้า 3 องค์ แถวหลัง 2 องค์ ปรางค์ประธานซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ตรงกลางแถวหน้า ปัจจุบันคงเหลืออยู่เพียงส่วนฐาน ส่วนองค์อื่น ๆ ที่เหลืออยู่ก็มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ ปรางค์ทุกองค์มีประตูเข้าสู่ภายในปรางค์ได้ด้านเดียว คือ ด้านทิศตะวันออก ด้านอื่นทำเป็นประตูหลอก แต่ปรางค์ประธานมีมุขหน้าอีกชั้นหนึ่ง การขุดแต่งบริเวณปรางค์ประธานได้พบทับหลังประตูมุขปรางค์ สลักเป็นภาพเทพถือดอกบัวขาบประทับนั่งเหนือหน้ากาล แวดล้อมด้วยสตรีเป็นบริวาร หน้าบันสลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ส่วนทับหลังประตูปรางค์สลักเป็นเทพนั่งชันเข่าเหนือหน้ากาล และยังได้พบชิ้นส่วนลวดลายปูนปั้นประดับฐานอีกด้วย แสดงว่าปรางค์เหล่านี้ได้เคยมีปูนฉาบและปั้นปูนเป็นลวดลายประดับตกแต่งอย่างงดงาม สำหรับปรางค์บริวารอีก 4 องค์นั้นยังคงมีทับหลังติดอยู่เหนือประตูทางเข้า 2 องค์ คือ องค์ที่อยู่ทางทิศเหนือของแถวหน้า และองค์ทิศใต้ของแถวหลัง สลักภาพพระศิวะอุ้มนางอุมาบนพระเพลา ประทับนั่งอยู่บนหลังโคนนทิ และภาพพระวรุณทรงหงส์ ตามลำดับ จากการขุดแต่งได้พบยอดปรางค์ทำด้วยหินทรายสลักเป็นรูปดอกบัว ตกอยู่ในบริเวณฐานปรางค์ หน้ากลุ่มปรางค์ยังมีวิหารเป็นอาคารก่ออิฐ 2 หลัง ตั้งหันหน้าตรงกับปรางค์ที่อยู่ด้านข้างทั้งสององค์ สิ่งก่อสร้างดังกล่าว ล้อมรอบด้วยกำแพงสองชั้น กำแพงชั้นในก่อด้วยหินทรายเป็นห้องแคบ ๆ ยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม ที่เรียกว่า ระเบียงคด กำแพงชั้นนอกเป็นกำแพงศิลาแลง กำแพงทั้งสองชั้นมีซุ้มประตูอยู่ในแนวตั้งตรงกันทั้ง 4 ด้าน ซุ้มประตูทั้งหมดยกเว้นซุ้มประตูของประตูชั้นในด้านทิศตะวันตกก่อด้วยหินทราย สลักลวดลายในส่วนต่าง ๆ อย่างงดงาม ตั้งแต่หน้าบัน ทับหลัง เสาติดผนัง ฯลฯ เป็นภาพเล่าเรื่องในศาสนาฮินดูและลวดลายที่ผูกขึ้นจากใบไม้ ดอกไม้ที่มักเรียกรวม ๆ ว่า ลายพันธุ์พฤกษา

 ระหว่างกำแพงชั้นในและกำแพงชั้นนอก เป็นลานกว้างปูด้วยศิลาแลง มีสระน้ำขุดเป็นรูปหักมุมตามแนวกำแพงอยู่ทั้ง 4 มุม กรุขอบสระด้วยแท่งหินแลงก่อเรียงเป็นขั้นบันไดลงไปยังก้นสระ ขอบบนสุดทำด้วยหินทรายเป็นลำตัวนาคซึ่งชูคอแผ่พังพานอยู่ที่มุมสระ เป็นนาค 5 เศียรเกลี้ยง ๆ ไม่มีเครื่องประดับศีรษะ  ปราสาทหินเมืองต่ำ เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา 06.00-18.00  น. ค่าเข้าชม คนไทย 20 บาท  ชาวต่างประเทศ 100 บาท สอบถามรายละเอียด โทร. 0 4478 2715 โทรสาร 0 4478 2717

 การเดินทาง  จากบุรีรัมย์ใช้ทางหลวงหมายเลข  219  จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข  24  และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหมายเลข  2117  ก็จะสังเกตเห็นปราสาทเมืองต่ำ (อยู่ห่างจากปราสาทพนมรุ้งประมาณ  8  กิโลเมตร)

 

สมาชิก Travel MThai ทราบกันดีว่า บนที่ราบสูงของปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เป็นหนึ่งจุดท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในจังหวัดบุรีรัมย์ แต่ ณ บริเวณอีกฝากของเขาพนมรุ้ง ยังมีแดดอุ่นนวลทาบไล้ลวดลายจำหลักบนหินทรายอันวิจิตรตระการตาของ ปราสาทหินเมืองต่ำ ที่รอให้นักท่องเที่ยวไปสัมผัสความงดงามอยู่เช่นกันครับ

 

  



สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่3

          สะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 3 

         ข้ามลำน้ำโขง ที่จังหวัดนครพนม

วัดล้านขวด

 

วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว(วัดล้านขวด)

อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ

              ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านดอน ต.โนนสูง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ได้ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยมีพระครูวิเวกธรรมจารย์ (รอด) ถิรคุโณ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกจนถึงปัจจุบัน พื้นที่บริเวณวัด 18 ไร่ พระภิกษุ 8 รูป สิ่งปลูกสร้างมีอุโบสถ (ริมน้ำ) 1 หลังศาลาการเปรียญ  1 หลัง กุฎิ 8 หลัง  ศาลาเอนกประสงค์ 1 หลังเป็นศาสนสถาน และสิ่งก่อสร้าง ในบริเวณวัดประดับตกแต่งด้วยขวดแก้ว หลากสีหลายแบบนับล้าน ๆ ขวด ในแต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม และร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก

 

 

Headlinearticle

ผาชะนะได

อำเภอโขงเจียม   จังหวัดอุบลราชธานี

        ผาชะนะได เป็นหน้าผาที่มีความสูงชัน ซึ่งเป็นจุดที่เห็นตะวันขึ้นเป็นจุดแรกของประเทศไทย ทิวทัศน์เบื้องล่างจะเป็นแม่น้ำโขงกั้นแบ่งเขต ไทย - ลาว เบื้อง หน้าเป็นภูเขาแดนลาว ที่สลับซับซ้อนมองดูสวยงาม ฤดูหนาว นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับความสวยงามของทะเลหมอก เหนือลำน้ำโขง และด้วยเหตุที่เป็นจุดที่เห็นตะวันขึ้นเป็นจุดแรก การรายงานข่าวของสำนักข่าวแห่งประเทศไทยได้เอาเป็นจุดรายงานดวงอาทิตย์ขึ้น เป็นแห่งแรกของประเทศ ผาชะนะได จะมีความหมายว่า การลงชื่อด้วยฝ่ามือ (ชะนะ เป็นคำเพี้ยนมาจากภาษาถิ่นโบราณ ว่า ซะนาม แปลว่าการลงชื่อ ส่วน คำว่าได แปลว่า มือ หรือ ฝ่ามือ ซึ่งจะปรากฏหลักฐานจากสถานที่ใกล้เคียง เช่น ถ้ำฝ่ามือแดง โหง่นแต้ม

Headline
สมุนไพรน่าฮู้
เว้านัวหัวหม่วน

เว้าอีสานสัปดาห์ละควม

                                                                                      อ.ประสม  บุญป้อง

          “เมื่อยังมีชีวิต ก็ยังมีความหวัง” สวัสดีครับพบกันอีกครั้ง  แต่ก็ยังต้องสู้อดทนต่อไป ไหนๆก็เกิดมาแล้ว ท้อไปก็ไร้ความหมายไม่มีอะไรจะดีขึ้น มาสู้กันดีกว่า มีชีวิตก็ต้องสู้ สู้เท่านั้นจึงจะได้ในสิ่งที่คาดหวัง ปัญหาก็คือปัญหา ทุกชีวิตเกิดเพื่อแก้ปัญหาไม่ใช่หนีปัญหา  ข้าวของราคาแพงในวันนี้ดีที่ทำให้ได้ฝึกความอดทนและปรับตัว ขอเป็นเพื่อนร่วมสู้ชีวิตและเป็นกำลังใจกับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันหนึ่งต้องไปถึงจุดหมายแน่ อขเพียงแต่อย่าท้อ

            ครับทิ้งปัญหาไปมาพบคำอีสานใหม่ในสัปดาห์นี้    คำว่า “เต๊ะเซะ”

คำว่า “เต๊ะเซะ” เป็นคำที่บอกลักษณะของการหย่อนหรือยานของสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ห้อยย่อนยานลง  เช่นเชือกเส้นหนึ่งมีขนาดใหญ่ปลายเชือกทั้งสองข้างพาดอยู่บนราวไม้และเชือกส่วนกลางหย่อนยานลงมา เรียกว่า ยานเต๊ะเซะ หรือลักษณะหน้าอกผู้หญิงที่มีขนาดใหญ่หย่อนยาน เรียกว่า นมยานเต๊ะเซะ หากขนาดเล็ก เรียกว่า ยานแต๊แซะ

             วันนึ่งหนุ่มเจ้าสาวอีสาน ออกจากบ้านไปเที่ยวทุ่งนา ขณะที่ทั้งคู่กำลังเดินเคลียร์คลอกันไปตามถนนที่สองข้างทางล้อมรอบด้วยต้นไม่น้อยใหญ่ ได้มองไปเห็นเถาวัลย์ขนาดใหญ่ทอดหย่อนยานข้ามช่องทางจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่งอยู่เบื้องหน้า สาวเจ้าจึงชี้มือไปข้างพร้อมพูดกับหนุ่มขึ้นว่า  “นั่นเคืออี่หยังยานเต๊ะเซะขวางทางอยู่นั่น ไผมาดึงลงหนอ”  นั่นเถาว์อะไรหย่อนยานลงมาขวางถนน ใครมาดึงมันลงมาหนอ  สัปดาห์หน้าพบกันใหม่ครับ.

             

          สัปดาห์นี้ก็เช่นเคยมารู้คำอีสาน กับคำว่า  “เซกเลก”

      เซกเลก    หมายถึง  ขี้เหร่, ลักษณะรูปร่างไม่สมส่วน ผอมสูง ใบหน้าเหลี่ยมเบี้ยว คางแหลมยื่นยาว ฟันเยิ่น เก้งก้าง สรุปก็คือลักษณะของความขี้เหร่ ใช้ทั้งผู้หญิงผู้ชาย อีสานเรียกว่า “ขี้ล้ายแฮง” ขี่เหร่มากๆ

      วันหนึ่งหนุ่มหน้ามลเห็นสาวเดินผ่านก็แซวออกไปว่า “สาวๆเจ้าสิไปไสข่อยไปนำได้บ่” สาวจะไปไหนขอไปด้วยได้ไหม ?   สาวไม่ยอมพูดด้วย หนุ่มโมโหบ่นตามหลังว่า “เพิ่นหว่าเพิ่นงามคักตี๊นอ   แหนมเบิ่งเฮ็ดเซกเลก สูงปานเสาโทรเลขพู้น” คิดว่าตนเองสวยสิท่า มองดูแล้วขี้เหร่ สูงเหมือนเสาโทรเลขก็ไม่ปาน  สัปดาห์หน้าพบกันใหม่ครับผม.

 

ก่อนหน้า1ถัดไป
[Go to top]



Copyright © 2010 All Rights Reserved.