ปราสาทโดนตวล
บ้านภูมิซรอล ต.บึงมะลู อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
ปราสาทโดนตวล ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิซรอล ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยตั้งอยู่ริมหน้าผาสูง บนเทือกเขาพนมดงรัก ใกล้ชายแดนไทย – กัมพูชา ห่างจากตัวอำเภอกันทรลักษ์ 38 กิโลเมตร ปัจจุบันมีถนนลาดยางเข้าถึง และมีลานจอดรถบริเวณใกล้ๆ ตัวปราสาท
ปราสาทโดนตวล เป็นปราสาทขอมขนาดเล็กท่ามกลางต้นไม้ใหญ่ สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 15 – 16 มีลักษณะเป็นปรางค์เดี่ยว ผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง – ยาวประมาณ 7 เมตร ย่อมุมทั้ง 4 ด้าน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าตัวปรางค์ก่อด้วยอิฐครึ่งหนึ่ง และก่อด้วยศิลาแลงอีกครึ่งหนึ่ง โดยก่อศิลาแลงจากฐานถึงครึ่งผนังเรือนธาตุ จากนั้นก่อขึ้นไปด้วยอิฐฝนเรียบจนถึงยอดปรางค์ บริเวณด้านหน้าประตูปรางค์มีแนวเสาหินทราย 4 ต้น สันนิษฐานว่าเป็นเสารองรับหลังคามณฑป ถัดออกมาจะมีเสาหินทรายอยู่อีก 4 ด้าน คาดว่าเป็นโคปุระ (ซุ้มประตู) นอกจากนี้ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์ยังพบหินทรายเรียงต่อกันเป็นรูปผืนผ้า สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นบรรณาลัย (วิหาร) ส่วนสระน้ำซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของปราสาท มีลักษณะเป็นคันดิน อยู่ห่างจากปราสาทประมาณ 400 เมตร
ตำนาน ปราสาทโดนตวล
กล่าวถึงสตรีสูงศักดิ์ที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม แต่มีลักษณะอาภัพ คือหน้าอกใหญ่ ไปไหนมาไหนไม่สะดวก ต้องเอาสายสร้อยทองคำเป็นสาแหรกรองรับไว้ กิตติศัพท์เลื่องลือไปจนถึงกษัตริย์ขอม จึงให้เหล่าอมาตย์มารับนางไปเฝ้า แต่ขณะเดินทางได้พักที่ลานหินโดนตวล ขณะนั้นตาเล็งซึ่งเป็นคนบ้านเดียวกันกับนางนมใหญ่ ได้เข้าไปตามนางนมใหญ่กลับไป เกิดการต่อสู้กับเหล่าอำมาตย์จึงฆ่าตาเล็ง ทิ้งไว้ที่ป่า บริเวณที่สร้างปราสาทโดนตวล (http://www.sadoodta.com/node/6486)
ด้านสถาปัตยกรรม ปราสาทโดนตวล ที่ตั้ง
หมู่ที่ 2 บ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้สำรวจ
นาย ภิรสิน ชินตู้ ,นาย เจริญ เผือกพันธุ์ ,นาย อภิชัย ปลายชัยภูมิ
วันที่สำรวจ 9 ตุลาคม 2559
การศึกษาแหล่งโบราณสถาน
1. ปรางค์ประธาน เป็นปรางค์เดี่ยวก่อด้วยอิฐครึ่งหนึ่งและก่อด้วยศิลาแลงครึ่งหนึ่ง ดดยก่อด้วยศิลาแลงจากฐานขององค์ปรางค์จนถึงครึ่งผนังเรือนธาตุ และก่อต่อขึ้นไปด้วยอิฐฝนเรียบจนถึงยอดปรางค์ องค์ปรางค์มีผนังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาว ประมาณ 7 เมตร ย่อมุมทั้งสี่ด้านหันหน้าไปทางทิศตะวันออก บริเวณทางเข้าทำเป็นมุขยื่นออกไป ผนังของมุขเป็นอิฐ หลังคาคาดว่าน่าจะเป็นเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้อง ยาวประมาณ 5-7 เมตรสังเกตได้จากการเซาะร่องรูปโครงสร้างหลังคา และขอบกระเบื้อง ที่ผนังองค์ปรางค์ด้านหน้าต่อจากมุขมีแนวเสาหินทราย 4 ต้น สันนิษฐานว่าเป็นเสารองรับหลังคาห้องโถงหรือที่เรียกว่า มณฑป ทางเข้ามณฑปมีวงกบประตู 3 ช่อง วงกบประตูช่องกลางทั้งสองข้างมีศิลาจารึกปรากฏอยู่
2. เสาหินทราย ถัดจากประตูทางเข้าปราสาทออกมา มีเสาหินทรายอยู่ 4 ต้น สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นโคปุระ แต่ไม่ปรากฏว่ามีกรอบประตู พบแค่หินทรายลักษณะเป็นธรณีประตูตั้งไว้ระหว่างเสา และหน้าธรณีประตู มีอัฒจันทร์หินทรายวางอยู่
3. ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์ปรางค์ มีหินทรายวางเรียงต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวประมาน 3 X 5 เมตร สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นบรรณาลัย
4. สระน้ำ มีลักษณะของคันดินน้ำขังอยู่
อายุสมัย ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 16 (จารึกที่กรอบประตูระบุศักราชตรงกับ พ.ศ. 1545)