ReadyPlanet.com
dot dot
bulletซอกมาเว้าสู่ฟัง




ตำนานนายฮ้อยอีสาน

 ตำนานนายฮ้อยอีสาน

        นายฮ้อยก็คือพ่อค้านั่นเอง  จะเป็นคนทำอาชีพในการซื้อขายสินค้าในท้องถิ่นเพื่อนำไปขาย ผู้ใดซื้อขายอะไรชาวอีสานเราก็จะเรียกว่า นายฮ้อยนั่น อาทิ พ่อค้าที่ซื้อว้วควายก็จะเรียกว่า นายฮ้อยควาย   หากซื้อข้าวก็จะเรียกนายฮ้อยข้าว ฯลฯ

         แต่ขึ้นชื่อในบบรดานายฮ้อยอีสานก็คือ นายฮ้อยควาย นายฮ้อยวัวต่าง ซึ่งจะนำเอาว้วควายจากภาคอีสานลงไปขายเมืองหล่าง(ล่าง) ภาษาไทย คือ ใต้  หรือเมืองไทย ซึ่งเมืองหล่าง หรือเมืองไทย ของคนอีสานในสมัยนั้นก็คือภาคกลางของไทยในปัจจุบันนั่นเอง

           ผมนายประสม  บุญป้อง  เป็นคนจังหวัดศรีสะเกษ มีปู่สีลา บุญป้อง ซึ่งเป็นคนนหนึ่งในการร่วมขบวนการนำวัวควายลงไปขายทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคุมฝูงวัวควายเป็นลูกน้องของนายฮ้อยใหญ่  ปู่ของผมจะเป็นผู้ที่มีความสามารถมีคาถาอาคมในการจาด(ตวาด  ส่งเสียงให้ฝูงวัวควายที่แตกตื่นให้หยุดได้)  นี่เป็นคำบอกเล่าจากเพื่อนบ้านรุ่นเก่าแก่  ฝูงวัวควายที่ต้อนลงไปขายแต่ละครั้งจะมีจำนวนมากตั้งแต่ 800 ตัวถึง 1000 ตัว

             ผมได้รับคำบอกเล่าจากคุณพ่อหลึก  บุญป้อง  ซึ่งเป็นลูกของคุณปู่สีลา  บุญป้อง ซึ่งก็เป็นพ่อของผมเอง  ชาวบ้านบอกว่าปู่สีลา บุญป้อง นั่นไม่มีใครทราบว่าบ้านเกิดเมืองนอนของท่านอยู่ที่ใดท่านจะมาอาศัยอยู่ที่วัดบ้านโนนผึ้ง ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอกันทรารมย์  จังหวัดศรีสะเกษ แต่พอถึงฤดูกาลหลังเก็บเกี่ยวข้าวนายฮ้อยจะนำวัวควายลงไปขายเมืองหล่างก็จะมาหาท่านไปทำหน้าที่ต้อนวัวควายไปขายทุกครั้ง

              คุณเล่าว่าให้รับคำบอกเล่าจากปู่อีกที่หนึ่งว่า  คนอีสานเราจะมีการเลี้ยงวัวเลี้ยงควายเพื่อใช้งานในการทำนา และเป็นพาหนะในการเดินทาง เช่น ว้วก็จะนำมาลากเกวียนขนสิ่งของในการเดินทาง  เมื่อมีจำนวนมากก็จะขายเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว จึงเกิดอาชีพหนึ่งขึ้นมาก็คือมีคนมาหาซื้อวัวควายของชาวบ้านเพื่อนำปขายค่อเอากำไรอีกทีหนึ่งซึ่งเรียกกันว่า นายฮ้อย

               เมื่อนายฮ้อยซื้อวัวควายได้เป็นจำนวนมากแล้วก็จะนำไปขายในต่างแดนเพราะในอีสานต่างคนก็เลี้ยงวัวควายจะขายให้ใคร จึงเกิดการค้าขายนี้ว่า ขายวัวต่าง    ก็คือจะมีขบวนการค้อนฝูงวัวควายขบวนใหญ่นับพันตัวรอนแรมผ่านป่าเขานับเป็นสามสี่เดือนฝ่าฟันอุปสรรคนานาประการเพื่อให้วัวควายถึงจุดหมายในการค้าขาย

                พอนายฮ้อยใหญ่ซึ่งมีเงินทุนมากก็จะรวบรวมนายทุนรองหรือเพื่อนที่สนิทกันรวบรวมวัวควาย ตลอดจนชาวบ้านบางที่อยากนำวัวควายรวมชบวน แต่ขาดไม่ได้ก็คือผู้ควบคุมขบวนก็คือ ปู่สีลา บุญป้อง พร้อมคณะของท่านทำหน้าที่ควบคุม  เกวียนไม่สามารถจะนำไปได้ในสมัยนั้นเนื่องจากถนนหนทางคับแคบ หากนำไปก็ต้องใช้คนในการถางทำถนนยุ่งยาก พวกอาหารการกินข้าวสารอาหารแห้งต่าง ที่จำเป็นในการดำรงในการเดินทาง ก็จะนำใส่กระเป๋าที่นำผ้ามาเย็บเป็นทั้งสองข้างเพื่อใส่สิ่งของแล้วพาดใส่หลังของวัว ซึ่งเรียกว่าต่าง จึงเรียกว่าวัวต่าง วัวพวกนี้จะเป็นวัวที่มีความแข็งแรง 

          เมื่อทุกอย่างพร้อมวัวต่างถูกนำถุงมาพาดหลังครบทุกตัวก็เริ่มจัดขบวนนายฮ้อยที่เป็นหัวหน้าก็จะมีไถ่  (ถุงผ้า) ทำที่รัดเอว   ใส่เงินคาดเอวจะไปพร้อมกับขบวนวัวต่าง 5 หรือ 6 ตัว สะพายดาบเตรียมออกเดินทาง

             ส่วนขบวนต้องวัวควายก็จะสำรวจทำเครื่องหมายวัวควายให้ทราบว่าเป็นของผู้ใดและในการเดินทางคราวนี้มีวัวกี่ตัวควายกี่ตัว พอสำรวจเสร็จก็ต้อนรวมกันเข้าเป็นฝูง ผู่คุมการต้อนก็จะวางกำลังล้อมฝูงวัวควาย หากมีคนมากก็จะแบ่งแต่ละกลุ่มมาก 5 คน หากจำนวนน้อยก็จะจัดกลุ่มละ 3 คน ออกเป็น 4 กลุ่ม   ปู่สีลา บุญป้อง กลุ่มที่ 1 กับลูกน้อง 3 คนจะอยู่หน้า  อีก 2 กลุ่มคุมด้านซ้ายและขวา   อีกกลุ่มจะอยู่หลังฝูงวัวควาย และขวบวนวัวต่าง

           เมื่อทุกอย่างพร้อมนายฮ้อยใหญ่ให้สัญญาณเป่าปี่ที่ทำจากเขาควาย สามครั้ง พอจบลงกองหน้าก็จะเป่าปี่เขาควายตอบรับ แล้วเริ่มเคลื่อนขบวนกลุ่มด้านหลังฝูงวัวควายก็จะเริ่มไล่ให้วัวควายเดินไปทุกคนก็จะคุมไม่ฝูงวัวควายแตกออกจากฝูงต้อนไปเรื่อยตามเส้นทาง ผ่านป่าผ่านเขาไปเรื่อย หากฝูงวัวควายมันไปเจอเสือมันจะวิ่งแตกตื่นออกจากฝูงก็จะเป็นหน้าที่ปู่สีลาทำหน้าที่ส่งเสียง(จาด) ฝูงวัวควายก็จะหยุด  กองหน้าก็ไปสำรวจว่ามันเกิดจากอะไร หากเจอเสือก็จะไล่ให้มันออกไปจากฝูงวัวควายและวต้อนต่อไป

             พลบค่ำนายฮ้อยใหญ่ซึ่งหัวหน้าคุมขบวนวัวต่างก็จะเป่าปี่เขาควายพักแรมคืน กองหน้าก็จะเดินห้ามวัวควายให้หยุดเดิน ส่วนใหญ่การพักค้างคืนก็จะเลิกทำเลที่ทุ่งหรือลานกว้างไม่เป็นป่าใหญ่  แต่ละกองก็จะหาฟืนก่อก่อไฟจัดทำอาหารจัดเวรยาม บางทีตอนกลางคืนก็จะมีเสือจะเข้ากินวัวควายก็หาวิธีไล่ยิงปืน หรือบางครั้งก็จะมีพวกนักเลงหรือโจรจะเข้าปล้นเอาฝูงวัวควายก็ต้องป้องกันต่อสู้กันด้วยดาบหรือปืนยิง บางทีก็มีคนได้รับบาดเจ็บกัน     ตื่นเช้าหัวหน้าผู้คุมจะเดินสำรวจฝูงวัวควายว่าครบจำนวนหรือไม่ ขาดหายโดนขโมยไปกี่ตัวเหลือเท่าใด  แล้วไปรายงานต่อนายฮ้อยใหญ่   ก่อนออกเดินทางทำอย่างนี้ทุกวัน

              พอถึงปากช่อง โคราช ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะจะต้องต้อนฝูงวัวควายนับร้อยนับพันผ่านช่องเขาวัวบางตัวจะตื่นเตลิดทำให้เพื่อนแตกตื่นเตลิดไปด้วย หรือบางที่ก็จะมีพวกโจรมาดักขโมยต้อนเอาวัวควายที่แตกฝูงข้ามช่องเขาไปก่อนเพื่อน  บางที่ถูกปล้นเอาด้วย

                หลังจากพบอุปสรรคนานาตอนต้อนฝูงวัวควายข้ามช่องเขามาได้แล้วก็ต้องสำรวจอีกว่ามีวัวควายอยู่ครบหรือไม่  แล้วก็ต้อนไปเรื่อยๆจนถึงสระบุรีก็จะมีพ่อค้ามาดูและซื้อเอาวัวควายไปบ้าง  บางทีวัวควายก็อาจจะถูกซื้อจนหมดก็มี  หรือบางที่ก็จะต้อนไปจนถึงจังหวัดอยุธยา หรือกรุงเทพฯโน่นแหละ จึงขายหมด ใช้เวลาเดินทาง 3 เดือน 4 เดือน จึงจะได้กลับ

...............

นายฮ้อย คือเรื่องราวของกลุ่มพ่อค้า ที่มีบทบาทอย่างยิ่ง ในท้องถิ่นภาคอีสาน โดยเฉพาะนายฮ้อยวัว-ควาย นับเป็นตำนานอีกบทหนึ่ง ที่ไม่ได้มีเฉพาะบทบู๊ หากแต่เต็มไปด้วย การสะสมองค์ความรู้ และภูมิปัญญา เกี่ยวกับวัวควาย และการค้าขาย เบญจวรรณ วงศ์คำ เสนอเรื่องราวของนายฮ้อย ท่ามกลางกระแส การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน

      เมื่อเอ่ยคำว่า 'นายฮ้อย' หลายคนคงมีภาพ 'นายฮ้อยเคน' ในละครเรื่องดัง 'นายฮ้อยทมิฬ' ชายชาตินักเลงที่เป็นหัวหน้าขบวนต้อนวัว-ควายฝูงใหญ่ไปขายยังต่างถิ่น ต้องพบเจออุปสรรคต่างๆ ระหว่างทางมากมาย ซึ่งภาพในชีวิตจริงของพ่อค้าวัว-ควาย ภาคอีสานสมัยก่อนมีวิถีชีวิตไม่ต่างกันนัก เพียงแต่

ละครอาจมีการสอดแทรกเรื่องราวสีสันเพื่อเพิ่มความสนุกสนานตื่นเต้นเพื่อชวนให้ติดตามมากกว่าบ้างเท่านั้น

ตำนานของคนและสัตว์

อันที่จริงคำว่า 'นายฮ้อย' เป็นภาษาท้องถิ่นภาคอีสานที่เรียกกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในการค้าขาย และมักเรียกตามชื่อประเภทสินค้า ดังนั้นกลุ่มคนที่ค้าขายวัว-ควาย จะถูกเรียกขานว่า นายฮ้อยวัว-ควาย แต่อาจเพราะนายฮ้อยวัว-ควาย มีบทบาทสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนอีสานใกล้ชิดมากกว่ากลุ่มพ่อค้าสินค้าประเภทอื่นๆ เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ของชาวอีสานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ชาวบ้านมีการเลี้ยงวัว-ควาย เป็นอาชีพที่ควบคู่กันมากับการทำนา ทำไร่ วัว-ควาย จึงเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความสำคัญต่อชุมชน ทั้งในสถานะปัจจัยการผลิต คือแรงงานไถนา ผลิตปุ๋ยคอก เป็นพาหนะอำนวยความสะดวกในการเดินทางคมนาคมขนส่ง เป็นสิ่งแสดงถึงสถานะทางสังคม เป็น 'มูลมัง' (สมบัติ) สำหรับลูกหลานเวลาแต่งงานมีเหย้ามีเรือนแยกครอบครัวเป็นของตนเองและเป็นสินค้าที่สามารถขายสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

      นายฮ้อยเข้ามามีบทบาทมากใน 'การซื้อ-ขาย' นี้เอง เพราะสภาพสังคมแต่เดิม การขายวัว-ขายควาย ในท้องถิ่นเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ต่างก็เลี้ยงวัว-ควาย เหมือนๆ กัน 'ตลาดวัว-ควาย' ในขณะนั้นอยู่ในถิ่นภาคกลาง ซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินทางยาวนานรอนแรมหลายเดือน ดังนั้นการจะนำวัว-ควาย ไปขายจึงต้องอาศัยการรวมตัวเดินทางกันเป็นหมู่คณะเพื่อความปลอดภัย และจากการเดินทางในลักษณะนี้เองได้บ่มเพาะประสบการณ์ให้กับกลุ่มชาวบ้านที่นำวัว-ควาย ไปค้าขาย กลายเป็นตำนาน 'นายฮ้อย' ในเวลาต่อมา

     พ่อเฒ่าสัว อาสา วัย 73 ปี อดีตนายฮ้อยแห่งบ้านหาญฮี ตำบลดอนแรด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เล่าว่า ในช่วงที่เป็นนายฮ้อยจะต้อนวัว-ควายไปค้าขายที่จังหวัดชลบุรี โดยจะออกเดินทางภายหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว คือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ใช้เวลาในการเดินทางไป-กลับ แต่ละครั้งประมาณ 3 เดือน

 

ในกลุ่มนายฮ้อยจะมีการจัดลำดับของนายฮ้อย ตัวพ่อเฒ่าสัวเองเป็นนายฮ้อยที่อยู่กลุ่มของนายฮ้อยใหญ่ชื่อ 'นายฮ้อยดี นธีนาม' แต่ละครั้งจะรวมกลุ่มกันประมาณ 50 คน วัว-ควาย รวมๆ เป็นพันตัว จะมีการกำหนดจำนวนวัว-ควาย ที่แต่ละคนจะนำไป นายฮ้อยใหญ่จะนำไปได้ 20 ตัว นายฮ้อยลูกน้อง จะนำไปได้คนละ 14 ตัว

"ในช่วงนั้น นายฮ้อยเริ่มทำหน้าที่เป็นพ่อค้าแล้ว ต้องลงทุนซื้อวัว -ควายเอง ครั้งหนึ่งประมาณ 4,000-5,000 บาท ได้กำไรเที่ยวหนึ่งประมาณ 3,000 บาท ซึ่งก็ถือว่าเยอะ หากจะขาดทุนก็เพราะถูกขโมยวัว-ควาย ระหว่างทางเท่านั้น อดีตนายฮ้อยสัว บอก

       ความยากลำบากของการเดินทางและเพื่อให้การเดินทางแต่ละครั้งสามารถขายวัว-ควาย ได้เงินกลับมาบ้าน นายฮ้อย จึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในการดูลักษณะสัตว์ที่เป็นมงคล-อัปมงคล หรือลักษณะสัตว์ที่เลี้ยงโตเร็ว มีความรู้เทคนิคในการเลี้ยงสัตว์และการดูแลป้องกันรักษาโรคสัตว์ รวมทั้งการประเมินราคาและการต่อรองการค้าขายวัว-ควาย ด้วยบทบาทดังกล่าวคนในชุมชนจึงให้ความเชื่อถือเป็นภูมิปัญญาทางด้านนี้ของชุมชนตลอดมา

      ประสงค์ ยมนัตถ์ หัวหน้าโครงการวิจัย การศึกษาภูมิปัญญานายฮ้อยวัว-ควาย ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานภาค (สกว.ภาค) กล่าวว่า จากการศึกษาบทบาทของนายฮ้อยวัว-ควาย ในแถบ อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด พบว่าบทบาทของนายฮ้อยมีความเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมค่อนข้างมาก

       นายฮ้อยนักเลงโต เป็นรุ่นแรก ช่วงปีพ.ศ.2475-2505 นายฮ้อยรุ่นนี้ ภาษาชาวบ้านก็ต้องบอกว่า ติดจะเป็น 'นักเลงโต' อยู่ในตัวพอสมควร สูงด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิ มีประสบการณ์ในทางการค้า มีความเป็นผู้นำที่ผู้อื่นยอมรับและให้เครดิตการซื้อขายวัว-ควาย จากเจ้าของเป็นอย่างดี จะต้องคุมกองทัพวัว-ควาย ลูกน้องอีกจำนวนมากไปขายยังเมืองล่าง (ภาคกลาง) และยังเป็นผู้ที่มีเครือข่ายนายฮ้อยด้วยกันที่พึ่งกันและกันตลอด มีประเพณีการไปยามเสี่ยว (เยี่ยมเพื่อน) ที่ต้องปฏิบัติตลอดเวลากับเพื่อนเครือข่ายนายฮ้อยผู้ทำอาชีพค้าขายวัว-ควาย ด้วยกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แหล่งสินค้า ที่สำคัญที่สุดรู้จักเทคนิคการค้าขายการต่อรองราคา

 

รุ่นต่อมาถือเป็นนายฮ้อยรุ่นกลาง อยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2505-2520 เป็นยุคการเปลี่ยนแปลงการค้าขายวัว-ควาย เริ่มมีถนนหนทางการคมนาคมสะดวก จึงไม่จำเป็นต้องไล่ต้อนไปขายที่ภาคกลาง แต่มีการใช้รถบรรทุก หรือไม่ก็จะมีพ่อค้าจากภาคกลางขึ้นมาซื้อแล้วขนไปขายเอง ทำให้บทบาทนายฮ้อยวัว-ควาย จำกัดบทบาทอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก เปลี่ยนบทบาทเป็นการนำวัว-ควาย จากนอกพื้นที่เข้ามาขายในตลาดนัดวัว-ควาย และขายไปนอกพื้นที่ แต่เครือข่ายของนายฮ้อยด้วยกันเองก็ยังมีความจำเป็นและมีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องอยู่

       ในขบวนการค้าขายของนายฮ้อยรุ่นนี้ เมื่อมีการซื้อขายวัว-ควาย จะมีการกำหนดจุดนัดพบกัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นหรือที่มาของตลาดนัดวัว-ควาย ในท้องถิ่น นายฮ้อยรุ่นนี้ก็ยังเป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ทั้งการดูลักษณะสัตว์ การเลี้ยงดูและรักษาโรคสัตว์ การค้าขายเน้นวัว-ควายที่นำไปใช้งานเป็นหลัก

'ความเจริญ' ผลกระทบภูมิปัญญาดั้งเดิม

     แม้ว่านายฮ้อยจะสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนอีสานมาเนิ่นนาน แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป ภาพนายฮ้อยแบบเดิมดังนายฮ้อย 'เคน' หรือนายฮ้อยยุคแรกๆ ก็เริ่มเลือนหายไป มีภาพของนายฮ้อยรุ่นใหม่เข้ามาแทนที่ .........................

     ตามธรรมเนียมของพวกพ่อค้าควาย พ่อค้าวัว ต้องมีวัวต่างสำหรับบรรทุกสัมภาระบางอย่างไปด้วย ๒ - ๓ ตัว พ่อค้าแต่ละพวก จะต้องมีหัวหน้านำหมู่คณะหนึ่งคน เรียกกันว่า ?นายฮ้อย? สำหรับนายฮ้อยนั้น ต้องเป็นผู้รับผิดชอบของหมู่คณะทุกประการ ประกอบด้วยลักษณะดังนี้ คือ

๑ ) เป็นผู้ชำนาญทาง

๒ ) เป็นผู้พูดจาคล่องแคล่ว

๓ ) เป็นผู้รู้กฎหมายระเบียบและประเพณีของท้องถิ่นนั้น ๆ  เป็นผู้มีปัญญา ความฉลาดในการติดต่อสังคม ในการซื้อขาย ในการรักษาทรัพย์ ในการรักษาชีวิตเป็นต้น

 

๔ ) เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต โอบอ้อมอารี มีเมตตาจิต ไม่เห็นแก่ประโยชน์ตน ไม่คดโกง ฉ้อฉล เบียดบังเอาเปรียบในลูกน้องของตน

๕ ) เป็นผู้มีความแกล้วกล้าสามารถอาจหาญ มีการยอมเสียสละ ต่อสู้เหตุการณ์โดยไม่หวั่นไหว

๖ ) เป็นผู้เก่งทางอยู่ยงคงกระพัน ยิงไม่ออก ฟันแทงไม่เข้า ตีไม่แตก จับไม่อยู่ เป็นต้น

๗ ) เป็นผู้ฉลาดในการวางแผน เช่น จะออกเดินทางในเวลาใด ควรจะให้ใครออกก่อน อยู่ท่าม และอยู่ตามหลัง พักกลางวันและพักค้างคืนที่ใด จะให้น้ำให้หญ้าแก่สัตว์อย่างไร ไปช้าไปเร็วขนาดใด เป็นต้น

๘ ) เป็นผู้รู้จักสอดส่องมองรู้ทันท่วงทีต่อเหตุการณ์ที่จักเกิดขึ้น

       นี่คือ ลักษณะผู้เป็นนายฮ้อย ผู้ที่จะเป็นนายฮ้อยนั้น ไม่มีการหาเสียงอย่างผู้แทนราษฎร หรือนักการเมืองทั้งหลาย เป็นความเห็นดีเห็นชอบของเพื่อนฝูง หรือเฒ่าแก่บ้านเมือง โดยเพื่อนฝูงหากขอร้องให้เป็น และพร้อมกันยกยอกันขึ้น ครั้นแล้วก็ต้องเคารพนับถือเชื่อฟังกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ร่วมเป็นร่วมตายกัน

        สมัยนั้นพวกพ่อค้าวัว พ่อค้าควาย ต้องไล่ต้อนสัตว์ลงไป จะต้องผ่านเขตเขาใหญ่ ซึ่งมีมหาโจรเขาใหญ่คอยสกัดทำร้ายเป็นประจำ ด่านผู้ร้ายที่สำคัญขนาดเขตอันตรายสีแดง ก็คือ ?ปากช่อง? ?ช่องตะโก? พวกพ่อค้าทั้งหลายจะขี้ขลาดตาขาวลาวพุงดำไม่ได้ ต้องกล้าเก่ง ฮึกหาญ เตรียมต่อสู้ทุกคน ไม่เขาก็เรา ขึ้นชื่อว่าลูกผู้ชาย ต้องบุกให้ผ่านพ้นอันตรายให้จนได้ นายฮ้อยต้องมีปืนมีดาบติดตัวเสมอ เมื่อมีเวลาเหตุการณ์ ต้องออกหน้าออกตาในการต่อสู้ ถ้านายฮ้อยดีก็ปลอดภัยทั้งขาไปขากลับ

       เมื่อเวลาขากลับนั้น จวนจะถึงบ้านแล้ว ต้องพักแรมในสถานที่ใดที่หนึ่งก่อน แล้วส่งข่าวไปหาทางบ้าน ว่าพรุ่งนี้จะได้เดินทางกลับมาถึงบ้านเวลาประมาณเท่านั้น ก่อนจะถึงบ้านประมาณ ๒ - ๓ ก.ม. จะต้องจุดประทัดหรือยิงปืนเป็นเครื่องสัญญาณ ฝ่ายพี่น้องลูกเมียได้ยินสัญญาณแล้วก็เตรียมตัวออกไปต้อนรับห่างจากบ้านประมาณ ๑ ก.ม. ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีบรรณาการฝากต้อนกันโดยความร่าเริงบันเทิงใจ ฝ่ายภรรยาบางคนถึงกับน้ำตาคลอเลย เพราะความปลื้มปีติที่ได้พบหน้าสามีของตน พวกพ่อค้าทั้งหลายมักจะเตรียมเสื้อผ้า ขนม ประทัด มาแจกลูกหลานของตนในเวลานั้น พวกเด็ก ๆ เวลาได้รับของแจกก็ดีใจใหญ่ เดินจุดประทัดกลับบ้านสนั่นหวั่นไหว ข้าพเจ้าเองก็เคยไปต้อนรับลุงกับเพื่อน ๆ เหมือนกัน

    สำหรับการเอาวัวควายไปขายในสมัยนั้น ได้ยินผู้ที่เคยไป เล่าให้ฟังว่า การเดินไปกว่าจะถึงแหล่งขาย ลำบากมาก บางครั้งเกิดวัวควายเจ็บป่วยล้มตายจนขาดทุนป่นปี้ก็มี หรือวัวควายเกิดเจ็บป่วยแล้วรักษานานหาย ต้องขายขาดทุนก็มี บางครั้งเกิดโจรผู้ร้ายวางแผนแย่งชิงเอาไปก็มี บางครั้งเกิดการต่อสู้กับพวกผู้ร้าย ถูกบาดเจ็บไปก็มี เกิดต่อสู้กันถึงตายก็มี บางครั้งเกิดไปผ่านอหิวาตกโรค หรือ ฝีดาษ ซึ่งกำลังเกิดระบาดระหว่างทาง โดยมากมักเป็นบ่อยที่โคราช เกิดป่วยหรือตายด้วยโรคระบาดนั้นก็มี

      ฝ่ายพ่อแม่พี่น้องเพื่อนฝูงและลูกเมียที่อยู่ทางบ้าน เป็นห่วงในผู้ที่จากไปมากที่สุด คอยฟังข่าวคราวสุขทุกข์ของผู้จากไปอยู่ทุกวิถีทาง และคอยการกลับว่าวันไหนหนอจะโผล่หน้ามาถึงบ้าน คอยแล้วคอยเล่าจนเป็นจินตนาคติพังเพยว่า ?เหมือนนกยางคอยปลา เหมือนนกกะทาคอยปลวก เหมือนลูกรวกอยู่น้ำคอยท่าหมู่ฝน?

    คนสุดท้ายชอบครับ   เขาคือ  นายฮ้อยสิงห์ จาก หนังเรื่อง คนไฟบิน

     ซึ่งหนังเรื่องนี่ทำให้เรารู้ว่า นอกจากจะเก่งด้านต่างๆ รอบด้านแล้ว  นายฮ้อยยังต้องมีคาถาอาคม พอตัว

ขอขอบคุณ   https://www.ubonpra.com/board/index.php?topic=1736.0;wap2       เจ้าของข้อมูล

               







Copyright © 2010 All Rights Reserved.