ReadyPlanet.com
dot dot
bulletซอกมาเว้าสู่ฟัง




ประเพณีการผูกเสี่ยว

                             คำสัญญาแห่งมิตรแท้และเพื่อนตาย “ประเพณีผูกเสี่ยว”

ประเพณีผูกเสี่ยว หรือพิธีผูกเสี่ยว จัดเป็นประเพณีเก่าแก่และดีงามพิธีหนึ่งของชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้ประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานานนับศตวรรษ โดยจังหวัดขอนแก่นได้เล็งเห็นความสำคัญของพิธีผูกเสี่ยวนี้ จึงได้นำพิธีผูกเสี่ยวผนวกเข้ากับงานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาด ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๙ พฤศจิกายนถึง ๑๐ ธันวาคม เป็นประจำทุกปี

    ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับคำว่า "เสี่ยว” ที่ถูกต้องกันก่อน เพราะหลายๆ คนที่อยู่ในภูมิภาคอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนอีสานจะเข้าใจไปในความหมายที่ไม่ถูกต้องกันเท่าไหร่ คำว่า "เสี่ยว” เป็นภาษาอีสานแท้ๆ ซึ่งชาวอีสานทุกคนต่างมีความซาบซึ้งกับคำๆ นี้เป็นอย่างดี และเป็นคำที่มีความหมายไปในทางที่ดีงาม แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ชาวภาคอื่นๆ ยังไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำว่า เสี่ยว และนำไปใช้ในทางที่ผิดๆ เช่น เข้าใจว่าเสี่ยว หมายถึงพวกบ้านนอกคอกนา พวกโง่เง่าเต่าตุ่น เป็นต้น แถมใช้คำพูดในเชิงดูหมิ่น ดูแคลน หนักไปกว่านั้น คือ เติมคำนำหน้าลงไปอีกว่า บักเสี่ยว ซึ่งถ้าพูดถึงบักเสี่ยวแล้วจะหมายถึง พวกเซ่อๆ ซ่าๆ ที่มาจากอีสานแต่อันที่จริงแล้วคำว่า "เสี่ยว” เป็นคำที่มีความหมายในทางที่ดีงามเพราะหมายถึง มิตรแท้ เพื่อนแท้ หรือเพื่อนตาย ซึ่งมีความซื่อสัตย์ ความจริงใจต่อกัน มีความผูกพันทางด้านจิตใจกันอย่างจริงใจและเต็มใจ และไม่มีอำนาจใดๆ จะมาพรากให้จากกันได้แม้แต่ความตาย ทั้งนี้ความผูกพันของเสี่ยวนี้ไม่มีเฉพาะกับเสี่ยวเท่านั้น หากมีความหมายผูกพันเชื่อมโยงไปถึงครอบครัว ญาติ พี่น้อง และหมู่บ้านของเสี่ยวด้วย ซึ่งการผูกเสี่ยวมีขั้นตอนดังนี้

  ๑.การหาคู่เสี่ยว ทำได้สองวิธีคือ

        ๑.๑ คู่เสี่ยวคบหากันเอง เมื่อชายหรือหญิงที่มีรุ่นราวคราวเดียวกัน มีความสนิทสนมกัน รักและถูกอัธยาศัยซึ่งกันและกัน ก็พร้อมใจตกลงจะเป็นเสี่ยวกันด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย จึงจัดพิธีผูกเสี่ยวเพื่อเป็นการประกาศให้ญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงทั้งสองฝ่ายมาร่วมเป็นสักขีพยาน

       ๑.๒ พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่หาให้ วิธีนี้เกิดจากเมื่อพ่อ แม่ ปู่ย่า ตายาย ตลอดจนญาติผู้ใหญ่ไปพบบุคคลที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับลูกหลานของตน และมีอายุอยู่ในวัยเดียวกัน เกิดความรักความเอ็นดูจึงทาบทามขอผูกเป็นเสี่ยวให้ลูกหลานของตน ถ้าอีกฝ่ายตกลง ผู้ทาบทามจะใช้ฝ้ายสีขาวผูกมัดมั่นหมายไว้ก่อน ซึ่งตอนนี้เรียกว่า "แฮกเสี่ยว" จากนั้นจึงจะหาโอกาสให้คู่เสี่ยวพบกัน แล้วจึงจะจัดพิธีผูกเสี่ยวให้ภายหลัง

      ในการหาคู่เสี่ยวไม่ว่าจะหาเองหรือพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่หาให้ ผู้ที่จะเป็นคู่เสี่ยวกัน ควรจะมีคุณสมบัติดังนี้ ๑.อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน ๒.มีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกัน ๓.มีนิสัยใจคอคล้ายหรือใกล้เคียงกัน ๔.มีเพศเดียวกันหรือต่างเพศก็ได้

        ๒.พิธีผูกเสี่ยว จัดให้มีอุปกรณ์ในพิธีเช่นเดียวกันกับการสู่ขวัญ โดยจัด "ขันหมากเบ็ง" และมี "หมอสูดขวัญ" (หมอพราหมณ์) เป็นผู้ทำพิธีให้ คู่เสี่ยวต้องนั่งหมอบหันหน้าเข้าหาขันหมากเบ็ง ซึ่งอีกด้านหนึ่งหมอสูดขวัญจะนั่งทำพิธีเฮียกขวัญ (เรียกขวัญ) ซึ่งห้อมล้อมด้วยญาติพี่น้องและผองเพื่อนทั้งสองฝ่าย ที่มาร่วมพิธีเพื่อเป็นสักขีพยาน หมอสูดขวัญ จะเริ่มพิธีโดยให้คู่เสี่ยวจุดเทียนที่ปักไว้ยอดขันหมากเบ็ง แล้วหมอจะนำไหว้พระจบแล้วหมอสูดขวัญจะกล่าวเชิญเทวดา จากนั้นจึงสวดคำสู่ขวัญจนจบ แล้วหมอสูดขวัญจะนำเอาข้าวเหนียวใส่มือให้คู่เสี่ยวคนละหนึ่งปั้น พร้อมไข่ต้มคนละฟอง กล้วยน้ำว้าคนละใบ และผูกแขน(ความจริงผูกที่ข้อมือ) ให้แก่คู่เสี่ยวเป็นครั้งแรก โดยใช้เส้นด้าย (หรือฝ้าย) ที่วางอยู่ในขันหมากเบ็งมาผูก ซึ่งตอนนี้เรียกว่า "การผูกเสี่ยว" จากนั้นพ่อแม่พี่น้องรวมทั้งเพื่อนฝูงของแต่ละฝ่าย ก็จะผูกแขนให้คู่เสี่ยวพร้อมทั้งให้ศีลให้พรและบางคนก็ให้โอวาทแก่คู่เสี่ยว ให้ทั้งสองรักกันเกื้อกูลกัน ตลอดจนเคารพนับถือญาติของแต่ละฝ่ายจนตราบเท่าวันตาย ซึ่งตอนนี้เรียกว่า "ขอดเสี่ยว" เสร็จแล้วก็นำข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดูผู้มาร่วมพิธีผูกเสี่ยวทุกคน

      ๓. การปฏิบัติตนต่อกันของคู่เสี่ยว คู่เสี่ยวมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตนต่อกันดังนี้

           ๓.๑ ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในกิจกรรมทุกอย่าง เมื่ออีกฝ่ายตกทุกข์ได้ยาก

     ๓.๒ ให้ฮักแพงกันและเคารพนับถือญาติผู้ใหญ่ของแต่ละฝ่าย เปรียบประหนึ่งเป็นญาติของตน

     ๓.๓ ให้เป็นดองกัน กล่าวคือ ให้ลูกสาว ลูกชายของแต่ละฝ่ายแต่งงานกัน

     ๓.๔ ร่วมเป็นร่วมตายทั้งในยามทุกข์ และยามสุข

      การผูกเสี่ยวนั้น นับว่ามีประโยชน์มากมาย ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครองฯ ทั้งนี้ เพราะการมีเสี่ยว หมายถึง การมีเพื่อนตายที่มีความรัก ความจริงใจ ความเข้าใจต่อกันเป็นอย่างดี นับตั้งแต่ตัวของเสี่ยวเอง ครอบครัวต่อครอบครัว หมู่บ้านต่อหมู่บ้าน หรือ อำเภอต่ออำเภอ เป็นต้น ซึ่งความรักความเข้าใจนี้จะช่วยให้บุคคลในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขฉันท์พี่น้อง มีอะไรก็สงเคราะห์เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เช่น ถ้าใครมีผักก็นำไปแลกเปลี่ยนกับคู่เสี่ยวที่มีสินค้าอย่างอื่น เช่นปลา ข้าว เป็นต้น การผูกเสี่ยวจึงเท่ากับเป็นการสร้างสรรค์ ความรัก ความเข้าใจ ความสามัคคีระหว่างชนในหมู่บ้าน และในชาติได้เป็นอย่างดี การผูกเสี่ยว จึงเป็นประเพณีอันดีงามของอีสานเรา ที่บรรพบุรุษของเราได้ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน สมควรอย่างยิ่งที่พวกเราชาวไทยทุกคน โดยเฉพาะชาวภาคอีสานจะได้ช่วยกันพิทักษ์รักษาไว้ให้เจริญพูนผลงอกงามยิ่งขึ้น เพื่อเป็นมรดกตกทอดไปยังอนุชนรุ่นหลังสืบไป

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.khonkaenjob.com/khonkaenjob7.html และ https://guru.sanook.com/2536/  กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

ประเพณีผูกเสี่ยวจังหวัดขอนแก่น ณ  คุ้มศิลปวัฒนธรรม  ขอนแก่น

     ความสำคัญของประเพณี  ประเพณีผูกเสี่ยว  เป็นประเพณีดั้งเดิมของคนกลุ่มวัฒนธรรมไทยลาว  หรืออีสานมาแต่อดีตสมัยนาน จนไม่สามารถจะสืบค้นได้ว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด 

      คําว่า  “เสี่ยว”  ในความหมายของชาวอีสานนั้น  หมายถึง  “เพื่อนรัก”  “เพื่อนตาย”  “ เพื่อนร่วม ชะตาชีวิต  ร่วมทุกข์ร่วมสุข” ถือเสมือนมีชีวิตเดียวกัน  คู่เสี่ยวจะติดต่อไปมาหาสู่และเกื้อกูลกันอยู่ตลอดเวลา   

       “การผูกเสี่ยว”  หมายถึง  การที่คนสองคน  ชายกับชาย  หญิงกับหญิง  หรือในอดีต  ชายกับหญิงก็ เคยมี  (ปัจจุบันไม่นิยมทําแล้ว)  ซึ่งรักใคร่สนิทสนมกัน  รักนิยมคล้ายกันเกิดปีเดียวกัน  มีบุคลิกคล้ายกัน  พ่อ แม่เห็นว่าเด็กรักกันอย่างนั้น  จึงนํามาผูกแขนต่อหน้าผู้ใหญ่  อบรมให้รักกันและกันแล้ว  ทั้ง 2 คนก็ได้ชื่อว่า เป็นเสี่ยวกันไปตลอดจนกว่าชีวิตจะหาไม่ 

         ประเพณีผูกเสี่ยวจึงเป็นประเพณีแห่งความรัก  ปลูกมิตรภาพ ระหว่างมวลมนุษย์ซึ่งเป็นประเพณีดีงามที่หาได้ยากในโลกปัจจุบัน ความเป็นมาของการผูกเสี่ยว การผูกเสี่ยวเริ่มมาแต่เมื่อใดไม่มีใครสืบทราบได้  คงเป็นของคู่กับสังคมโลกมานาน  เพราะทุกคน ต้องการมีมิตร  มีเพื่อนเช่นเดียวกัน  จึงมีการผูกมิตรกันในรูปแบบต่างๆ  ส่วนในอีสานสามารถค้นพบได้ใน 2 ลักษณะ คือ 1.ด้านวรรณคดี  ได้พบข้อมูลเป็นกลอน  วรรณคดีอีสาน  กล่าวคําว่าเสี่ยวอยู่หลายแห่ง  เช่น    อันว่า    บิดาพระพ่อพญาภายพุ้น  ฮ้อยว่า    จักไปหาเจ้าสหายแพงเป็นเสี่ยว (พระลักพระราม)  สังเล่า    มาล่วงม้าง  พญากล้าพ่อพระองค์กุมพลสุริวงเป็นเสี่ยว (สุริวง) นับเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่บอกว่า  การผูกเสี่ยวในอีสานปรากฏมานานแล้ว  แม้วรรณคดีในอีสานทั้ง 2 เรื่อง ดังกล่าว  2.  ในประวัติศาสตร์ชาติไทย  ท่านจาริบุตร  เรื่องสุวรรณ  ได้กล่าวไว้ว่า  ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  และในสมัยรัชกาลที่ 7  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ สํารวจประชาชนไทยที่มี  วัน  เดือน  ปี  เกิดตรงกับวันพระราชสมภพเพื่อขึ้นบัญชีเป็น “สหชาติ”  โดยเฉพาะ ในรัชกาลที่ 7  นั้นได้พระราชทานเหรียญมงคลเป็นที่ระลึกแก่  “สหชาติ”  คือเพื่อนร่วมวันเกิด   

           ในพงศาวดารล้านนาไทย  ปรากฏว่า  พ่อขุนรามคําแหง  พ่อขุนเม็งราย  พ่อขุนงําเมือง  ได้จัดให้มี พิธีกรรมปฏิญาณตนเป็นสหาย  หรือ “ เสี่ยว”  กันโดยการกรีดเลือดลงในจอกสุรา  แล้วทรงดื่มเลือดของกัน และกัน  พร้อมกับกราบไหว้เทพาอารักษ์ให้เป็นพยานด้วย  ซึ่งนับเป็นหลักฐานสําคัญอันหนึ่งของการผูกเสี่ยว  การผูกเสี่ยววิธีการต่างๆ  การผูกเสี่ยวทําให้เกิดมิตรภาพต่อเนื่องกันมายาวนาน  และไม่ขาดสาย  ต่างหมู่บ้านก็อาจมีวิธีผูก เสี่ยวที่แตกต่างกันไป  แต่ผลที่ต้องการก็เป็นอย่างเดียวกันคือ  “มิตรภาพ”  ในอีสานสามารถประมวลวิธีผูก เสี่ยวได้  5 วิธี  ดังนี้

     1.แบบที่ 1  เมื่อคู่เสี่ยวมาพร้อมกันแล้ว  ผู้เป็นประธานจะนํามีดสะนากคือ  มีดหนีบหมาก  มีดหนีบ สีเสียด  มาตั้งไว้กลางขันหมากและถือว่ามีดสะนากเป็นหลักเป็นตัวเปรียบเทียบว่า  มีดจะใช้ประโยชน์ได้ต้องมี  2  ขา  และจะต้องติดกันเหมือนคนเราจะมีชีวิตปลอดภัยต้องมีมิตร  เป็นมิตรกันในทุกแห่ง  คนจะต้องมีเพื่อน คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกันเหมือนมีดสะนาก  จะอยู่คนเดียวโดดเดี่ยวไม่ได้  แล้วทําพิธีผูกแขนให้คู่เสี่ยว

       2. แบบที่ 2  เมื่อคู่เสี่ยวมาพร้อมกันแล้ว  ก่อนจะผูกเสี่ยวผู้เป็นประธานจะนําเกลือ  พริก  มาวางไว้ ต่อหน้าในพิธี  โดยให้เกลือกับพริกเป็นตัวเปรียบ  เกลือมีคุณสมบัติคือเค็มไม่จืดจาง  พริกเผ็ดไม่เลือกที่  เสี่ยว จะต้องมีลักษณะรักษาคุณสมบัติคือรักกันให้ตลอดไป  เหมือนเกลือรักษาความเค็ม  แล้วจะทําพิธีผูกแขนให้คู่ เสี่ยว

        3 .แบบที่ 3 เป็นแบบที่ง่ายๆคือ  เมื่อคู่เสี่ยวพร้อมแล้ว  ผู้เป็นประธานก็จะผูกแขนให้คู่เสี่ยว  และ อวยชัยให้พร  ใช้คําพูดเป็นหลักในการโน้มน้าวให้คู่เสี่ยวรักกันและกัน

         4. แบบที่ 4   เป็นแบบที่มีการจองคู่เสี่ยวกันไว้ก่อน  หรือมีการพิจารณาดูเด็กที่รักกัน  ไปด้วยกัน  ทั้งๆที่เด็กไม่รู้ว่าจะเป็นคู่เสี่ยวกัน  จึงนําเด็กมาผูกเสี่ยวกันโดยการเห็นดีเห็นงามของผู้หลักผู้ใหญ่   โดยผู้เป็น ประธานจะนําฝ้ายผูกแขนมาผูกให้คู่เสี่ยวต่อหน้าบิดามารดาของคู่เสี่ยว  ให้รับรู้ความรักของเด็กทั้งสอง

           5. แบบที่ 5   เป็นพิธีผูกเสี่ยวแบบผู้ใหญ่  คือ  ผู้ใหญ่ที่รักกันมาตั้งแต่เด็กหรือมาชอบพอกันเมื่อโต แล้ว  รับราชการด้วยกัน  ทําธุรกิจด้วยกัน  หรือด้วยเหตุผลอื่นก็ตาม  มีใจตรงกันจะผูกเสี่ยวก็ขอให้ผู้หลัก ผู้ใหญ่ผูกแขนเป็นเสี่ยวกันให้  หรือผูกในพิธีผูกเสี่ยวที่จัดขึ้นเป็นกิจจะลักษณะก็ได้

              การผูกเสี่ยวที่ขอนแก่น  การผูกเสี่ยวที่ขอนแก่น  เกิดมีขึ้นเป็นทางการปี  2523  ในงานเทศกาลไหม  จังหวัดขอนแก่น  โดย การดําริของศูนย์วัฒนธรรมอีสานมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ซึ่งมีศาสตราจารย์วัยชัย  วัฒนศัพท์  อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น  เป็นประธานขณะนั้นมีชื่อว่า  ศูนย์วัฒนธรรมอีสาน  ได้ร่วมกับนายจรินทร์  กาญจ โนทัย  และท่านผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น  คือนายชํานาญ  พจนา  โดยได้ความคิดจากการจัดประเพณีผูกเสี่ยวที่  กิ่ง  อ.เปือยน้อย  จัดโดยนายเลื่อน  รัตนมงคล  หัวหน้ากี่งในขณะนั้น  และได้จัดเกือบทุก ปีจนทุกวันนี้  รวมแล้ว 16  ครั้ง  ปีนี้เป็นปีที่ 17   (มีงบจัดประเพณีผูกเสี่ยวอยู่หนึ่งปี)  

                 การจัดประเพณีผูกเสี่ยวที่ขอนแก่นนี้  ได้ประยุกต์เอาวิธีผูกเสี่ยว 5  วิธีดังกล่าว  มาจัดให้ยิ่งใหญ่และ เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน  โดยผนวกเอาพิธีกรรมต่างๆ  เข้ามาด้วย  ทําให้งานผูกเสี่ยวยิ่งใหญ่และมี ความหมายยิ่งขึ้นดังนี้

  1.มีการให้คู่เสี่ยวจองการผูกเสี่ยวโดยการหาคู่มาเอง

  2. ให้อําเภอต่างๆ  ในจังหวัดขอนแก่นส่งคู่เสี่ยวจากอําเภอเข้าร่วมผูกเสี่ยว

  3. มีพานบายศรีที่ใหญ่โตเป็นพานหลัก  มีพราหมณ์  หรือหมอสูตรขวัญ  มีการรําบายศรีก่อน จะทํา พิธี  และมีการมอบเกียรติบัตรคู่เสี่ยว

  4. มีการจัดประกวดพานบายศรี

  5 .มีการจัดเลี้ยงแบบ  “พาแลง”  ขึ้นในงานผูกเสี่ยว  เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองคู่เสี่ยว

  6. มีผู้หลักผู้ใหญ่  เช่น  รัฐมนตรี  หรือผู้แทนมาเป็นประธานในพิธี  และนําผูกแขนคู่เสี่ยว 

  7. มีพระสงฆ์มาร่วมประพรมน้ําพระพุทธมนต์  เพื่อสวัสดิมงคลต่อคู่เสี่ยว

      8. จัดให้มีแขกมงคลเป็นผู้ผูกแขนคู่เสี่ยว  และมีแขกผู้มีเกียรติร่วมอวยพรและเป็นสักขีพยาน

        จุดประสงค์สำคัญของประเพณีผูกเสี่ยว ในการจัดประเพณีผูกเสี่ยว  มีจุดประสงค์สําคัญอยู่ 4  ประการ  คือ

 1.  เพื่อให้คนในชาติเข้าใจคําว่า  “เสี่ยว”    อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง

 2. เพื่อฟื้นฟู  อนุรักษ์  ประเพณีอันดีงามของอีสานไว้เป็น  “มรดกทางวัฒนธรรม”

 3. เพื่อปลุกเร้าให้คนในชาติตระหนักถึงความเป็นมิตรกัน

 4. เพื่อนําค่าแห่งมิตรภาพ  ไปร่วมพัฒนาประเทศชาติ  และขยายผลการผูกเสี่ยวไปสู่คนในชาติให้มาก ยิ่งขึ้น จ านวนคู่เสี่ยว     การผูกเสี่ยวในปีแรกจํานวน 200  คู่   ปีต่อๆ มา  ได้ถือมา 100  คู่  เป็นหลักและถือเอาโอกาสอัน ควรเป็นตัวเลขกําหนด  เช่น  90  คู่  สําหรับปี  90  พรรษาสมเด็จย่า  60  คู่  สําหรับ  60  พรรษา  พระ เจ้าอยู่หัว  และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  เป็นต้น  ในปี  2537  มีคู่เสี่ยวมาร่วมผูกเสี่ยวในพิธี  50  คู่  มาร่วมผูกเสี่ยวในคุ้มวัฒนธรรมตอนกลางคืนตลอดงาน  148  คู่  รวมทั้งสิ้น  198  คู่  เฉลี่ยแล้วปีละ ประมาณ  100  คู่  14  ปี  ที่ผ่านมาจะได้คู่เสี่ยวไม่ต่ํากว่า  1400  คู่  สําหรับปี ( 2538 )  คณะกรรมการก็ถือโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขึ้นครองสิริราชย์สมบัติ ได้เป็นปีที่  50  จึงจัดคู่เสี่ยวจํานวน  50  คู่  โดยให้อําเภอต่างๆ  จัดหาคู่เสี่ยวให้อําเภอละ  2  คู่และคู่เสี่ยว จากสถาบันต่างๆ  อีก  รวมเป็น  50  คู่  เพื่อร่วมพิธีในวันที่  29  พฤศจิกายน  2538  นอกจากนั้น  ในเทศกาลไหมปี  2535  คณะกรรมการได้ริเริ่มให้มีการผูกเสี่ยวทุกคืนเป็นครั้งแรกมีคู่ เสี่ยวมาผูกเสี่ยวกันเป็นจํานวนมาก  เห็นว่าเป็นผลดี  จึงจัดให้มีการผูกเสี่ยวเช่นนั้นมาทุกปี  ปี  2538-2539 และ 2540  นี้จึงจัดให้มีการผูกเสี่ยวที่คุ้มศิลปวัฒนธรรมทุกคืนเช่นเดิม  คาดว่าจะมีผู้สนใจมาผูกเสี่ยวอย่างปีที่ แล้ว

       การผูกเสี่ยวเป็นมรดรทางวัฒนธรรม  เป็นการสร้างมิตรภาพที่จะหาที่ใดไม่ได้อีกแล้ว  นอกจากที่ อีสาน  ณ  จังหวัดขอนแก่น  ท่านที่สนใจจะผูกเสี่ยวก็แจ้งความจํานงได้ที่จังหวัดขอนแก่น  และหรือโครงการ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โทร.241331-9  ต่อ  2399  ทุกวันในเวลาราชการ   

ประเพณีการผูกเสี่ยว

       ความหมาย  คําว่า  “เสี่ยว”  เป็นภาษาไทยอีสานคนทั่วไปมักเข้าใจว่าเพื่อนแท้ที่จริงแล้ว “เสี่ยว”  มีความหมาย ลึกซึ้งยิ่งอยู่ในตัวเอง  เจ้าของภาษาเท่านั้นจึงจะเข้าใจดีและซาบซึ้งในคํานี้  คือหมายถึง  มิตรแท้  เพื่อนแท้  เพื่อนตาย  ซึ่งมีความซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน  มีความผูกพันด้านจิตใจอันละเอียดอ่อนลึกซึ้งยาวนาน  และอมตะ  ไม่มีอํานาจอันใดจะพรากให้จากกันได้แม้แต่ความตาย  คนที่จะเป็นเสี่ยวกันได้ต้องมีพ่อ  แม่  ญาติผู้ใหญ่  หรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ  ผูกให้เป็นเสี่ยวกัน  และคนที่เป็นเสี่ยวกันจะมีข้อผูกพันรักนับถือกันอย่าง แท้จริง  และแน่นแฟูนตลอดไป ความเป็นมาของประเพณีผูกเสี่ยว  การผูกเสี่ยวเป็นประเพณีของพี่น้องภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ที่สืบทอดกันมานาน  ปรากฏหลักฐาน ในหนังสือที่ถือว่า  เป็นวรรณคดีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายเรื่อง  เช่น  เรื่องรามเกียรติ์ตอนพญาครุฑ คิดถึงเสี่ยว  เป็นกลอนว่า  อันว่า  ปิตาพระ  พ่อพญาภายพุ้น  ฮ้อยว่า  จักไปหาเจ้า    “สหายแพงผู้เป็นเสี่ยว”  และในเรื่องผา แดงนางไอ่ตอน  สองพญานาคแบ่งเมืองกันปกครอง  และให้สัญญาต่อกันเป็นกลอนว่า  “สองก็ฮักขอดมั่นเหมือนฮวมเคหัง   การครองคุณเสี่ยวสหายหลายขั้น  จึงได้ขอด  มั่นหมายฮวม ไมตรี  เพื่อจักเป็นใจเดียวบ่ลอยมายม้าง”                                                                                        การปฏิบัติในการผูกเสี่ยว  เดิมเป็นประเพณีระหว่างบุคคลและบุคคล  หรือระหว่างครอบครัวกับครอบครัว  คือ  พ่อ  แม่  หรือญาติผู้ใหญ่  (ผู้เฒ่าผู้แก่)  เมื่อเห็นบุตรหลานของตน  มีรูปร่างลักษณะ  ผิวพรรณ  นิสัยใจคอ  หรือมีความสนิทชิดชอบ  กับบุตรหลานของอีกฝุายหนึ่งก็จะทาบทามขอผูกเป็นเสี่ยวกัน  ตอนทาบทามนี้เรียกว่า  “แฮกเสี่ยว”  เมื่อตกลงแล้วก็จะผูกให้เป็นเสี่ยวกัน  โดยใช้เส้นด้ายขาวผูกข้อมือของ แต่ละคน  เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่คู่เสี่ยวยิ่งขึ้น  บางแห่งก่อนจะผูกแขนเสี่ยวก็จัดพิธีสู่ขวัญบายศรีคู่เสี่ยว เสียก่อน  ตอนใช้ด้ายผูกแขนนี้เรียกว่า  “ผูกเสี่ยว”  เมื่อทําพิธีผูกเสี่ยวเสร็จแล้ว  พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่ เคารพนับถือให้โอวาท  ให้ศีลให้พรอบรมสั่งสอนให้คู่เสี่ยวรักนับถือกันตลอดพ่อแม่พี่น้อง  และวงศาคณาญาติ ของกันและกันให้การช่วยเหลือแก่กันตลอดไปตอนนี้เรียกว่า  “ขอดเสี่ยว”  หลังจากนั้นก็เลี้ยงข้าวปลาอาหาร กัน  ตามสมควรแก่ฐานานุรูป  การผูกเสี่ยวนี้ที่นิยมผูกเป็นเสี่ยวกัน  ก็เฉพาะชายกับชาย  หญิงกับหญิง และต้องมีอายุรุ่นราวคราว เดียวกัน  หรือใกล้เคียงกันเท่านั้น  ความผูกพันของเสี่ยว  การผูกเสี่ยวเป็นประเพณีและวัฒนธรรมของสังคม  ที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของพี่ น้องภาคตะวันออกเฉียงเหนือและได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน  เมื่อมีการผูกเป็นเสี่ยวกันทุกฝุาย ยอมรับสํานึกในภาระหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกันมีข้อผูกพันแนบแน่น  สนิทใจ  นับถือรวมไปจนถึงวงศาคณาญาติ ของกันและกัน  ประหนึ่งว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน  ซึ่งพอสรุปข้อผูกพันของเสี่ยวในเชิงพฤติกรรมได้ดังนี้             

          1. เสี่ยวต่อเสี่ยว  ตามประเพณีถือว่า  เสี่ยวต่อเสี่ยวมีฐานะคล้ายกับเป็นบุคคลเดียวกัน  จึงมีความสนิท สนมกัน  เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่สุด  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน  ช่วยเหลือเจือจุนกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้  ไว้ใจ บอกความลับแก่กันและปกปิดความลับของกันและกัน  ไม่ทอดทิ้งกันในยามมีภัย  และไม่ดูหมิ่นกันในยามฝ่าย ใดฝุายหนึ่งตกยาก  เมื่อฝ่ายใดมีเสี่ยวอีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องถือและปฏิบัติต่อกันเหมือนเสี่ยวของตนเช่นกัน

           เสี่ยวในเครือญาติ  มีประเพณีที่ยึดถือเป็นหลักแต่โบราณว่า  เมื่อเป็นเสี่ยวกันแล้ว  จะต้องพาคู่เสี่ยว ของตนไปรู้จักกับบิดามารดาญาติพี่น้องของตน  และให้ผูกแขนอีกครั้งหนึ่ง  ทั้งสองฝุายจะต้องยอมรับญาติ ของเสี่ยวเป็นญาติของตนด้วย  ดังนั้นจึงมีคําเรียกว่า  พ่อเสี่ยว  แม่เสี่ยว  น้าเสี่ยว พี่เสี่ยว  น้องเสี่ยว  เป็นต้น ไปมาหาต้อน  เสี่ยวต่อเสี่ยวจะต้องมีการติดต่อกันอยู่เสมอมิได้ขาด  โดยไปมาหาสู่กันซึ่งตามประเพณี ที่ถือกันมามักจะมีของฝาก  ของต้อนติดไปด้วย  เพื่อแสดงออกซึ่งไมตรีแม้แต่เพียงเล็กน้อยก็ยังดี ไปมาหาแวะ  หากมีธุระจําเป็นต้องเดินทางผ่านที่อยู่ของเสี่ยวอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องแวะเสี่ยวของตน เสียก่อน  หากได้รับการบอกกล่าวขอร้องให้เดินทางร่วมกันเป็นการติดตามโจรผู้ร้าย  หรือไปในเสี่ยงอันตราย แล้วจะต้องเสียสละหยุดงานส่วนตัวเดินทางไปกับเสี่ยวให้จงได้ ฮ่วมเป็นฮ่วมตาย  ถ้าเสี่ยวฝุายหนึ่งตกทุกข์ได้ยากหรือมีความเดือดร้อน  เช่น การเกิด  (มีบุตร)  การ เจ็บไข้ได้ปุวย  หรือปประสบอันตราย  เสี่ยวอีกฝุายหนึ่งวจะต้องเสียสละเข้าไปช่วยจนเต็มความสามารถ  จนถึงขั้นที่เรียกว่าอาจตายแทนกันได้

          ดังนั้นการผูกเสี่ยวเป็นประเพณีเก่าแก่ของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ทุก คนเข้าใจซาบซึ้งในความหมายดีอยู่แล้ว  การผูกเสี่ยวจึงเป็นการสร้างเพื่อนสนิทเพื่อนตาย  เพื่อนแท้  สร้าง ความรัก  ความสามัคคี  ความเข้าใจดี  สร้างสัมพันธ์ภาพ  และสร้างข้อผูกพันอันเหนียวแน่นให้เกิดขึ้นในหมู่ ประชาชนอย่างแท้จริงและตลอดไป  ประโยชน์ของเสี่ยว  การผูกเสี่ยวนับว่าเอื้ออํานวยประโยชน์กว้างขวางมาก  เพราะเป็นการสร้างความเป็นเพื่อน  สร้างข้อ ผูกพัน  สร้างความรัก  ความนับถือให้เกิดขึ้นในหมู่ชน  ข้อผูกพันและความรักดังกล่าวไม่จํากัดอยู่เฉพาะผู้เป็น เสี่ยวกันเท่านั้น  แต่แผ่กระจายไปถึงพ่อแม่  ญาติพี่น้องของทั้งสองฝุายด้วยผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากความรัก  ความนับถือ  การช่วยเหลือเจือจุนกัน  ซึ่งทุกฝุายจะแสดงออก ต่อกันในลักษณะของผู้มีความรัก  ความนับถือ กันอย่างมหาศาลทั้งในส่วนตัวและส่วนรวมขอกล่าวในที่นี้พอสังเขปดังนี้  1.ด้านสังคม  เป็นการสร้างสัมพันธภาพ  สร้างความรัก  ความสามัคคี  ความเข้าใจดีระหว่าง มนุษยชาติ  ให้ประชาชนมีความรักนับถือ   ช่วยเหลือเจือจุนซึ่งกันและกัน  มีข้อผูกพันต่อกัน  สามารถ แก้ปัญหาความขัดแงระหว่างมนุษย์ได้  นอกจากนี้ยังจะทําให้ประชาชนมีความรู้จักคุ้นเคยกันอย่างกว้างขวาง ไปมาหาสู่เยี่ยมเยือนกันฉันท์ญาติมิตร  ซึ่งจะทําให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีสันติสุข

       2. ด้านเศรษฐกิจ  เมื่อประชาชนมีความรักนับถือซื่อสัตย์ต่อกันถึงกับเป็นเพื่อนตายกันแล้ว  ย่อม ช่วยเหลืออนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน  ช่วยกันคิด  ช่วยกันทํางาน  ช่วยกันพัฒนาอาชีพให้ดีขึ้นเป็นการลด ช่องว่างระหว่างประชาชนอันเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ  เพราะประชาชนมีความสํานึกในการรับผิดชอบต่อกัน

3.ด้านพัฒนาท้องถิ่น  และให้ความร่วมมือ  เมื่อประชาชนเป็นเพื่อนตายกันมีความรัก  ความเข้าใจดี ต่อกัน  ย่อมมีความไว้วางใจกันจะร่วมกันคิดปรึกษาหารือกัน  การปฏิบัติงานทุกอย่างก็จะเป็นไปในลักษณะให้ ความร่วมมือและประสานงานกันซึ่งจะเป็นผลดีในด้านพัฒนาร่วมกันเสียสละ  สร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ เกิดขึ้นในท้องถิ่นและสังคมของตน

4.ด้านป้องกันอาชญากรรม  เมื่อประชาชนมีความรัก  นับถือรู้จักคุ้นเคยกันอย่างกว้างขวางแล้ว  การขัดแย้งก็จะไม่เกิดขึ้น  หรือหากเกิดขึ้นก็จะสามารถระงับลงได้ด้วยสันติวิธี  เรื่องนี้จะเห็นได้ชัดในสังคม ชนบท  ถ้าพวกวัยรุ่นไปเที่ยวงานในหมู่บ้านที่ไม่มีใครรู้จักเลย  มักจะเกิดการทะเลาะวิวาทกันด้วยข้อขัดแย้ง ต่างๆ  แต่ถ้าไปหมู่บ้านที่มีคนรู้จักจะไม่มีเกิดเรื่องอะไรหรือการลักโค  กระบือ  ตามชนบทผู้รู้จักคุ้นเคยก็จะ ช่วยกันติดตาม  ถ้าผู้ร้ายนําโค  กระบือมาทางหมู่บ้านที่มีคนรู้จักหรือเสี่ยวก็จะได้รับความร่วมมือบอกทิศทาง  หรือเบาะแสให้อย่างดี  โอกาสที่จะได้คืนก็มีมาก  และปรากฏเช่นกันว่าโจรผู้ร้ายเองจะไม่ไปลักสิ่งของของเสี่ยว  ของญาติของเสี่ยวหรือแม้คนในหมู่บ้านเดียวกับเสี่ยว  ดั้งนั้นการผูกเสี่ยวเป็นแนวทางปูองกัน อาชญากรรมได้ทางหนึ่ง

5.ด้านการเมืองและการสร้างความมั่นคงแห่งชาติ  การผูกเสี่ยวเป็นการฟื้นฟูอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดี งามไว้  เป็นการปฏิบัติการเพื่อสร้างมวลชนให้เป็นกลุ่มก้อนอีกรูปหนึ่ง  สร้างความรักความเข้าใจดีในหมู่ชนให้ ทุกคนมีความสามัคคีอยู่ร่วมกันโดยสันติ  ร่วมกันปูองกันรักษาประเทศชาติ  ซึ่งเป็นผลดีแก่การปฏิบัติทาง การเมือง  และสร้างความมั่นคงแก่ประเทศชาติด้วย นอกจากผลโดยสังเขปที่กล่าวมาแล้ว  การผูกเสี่ยวยังเอื้ออํานวยประโยชน์ที่บุคคลที่มีความรักนับถือ จะพึงปฏิบัติต่อกันเอนกประการ  ซึ่งจะเป็นผลดีแก่ส่วนตัว  หมู่คณะ  สังคม  รวมทั้งประเทศชาติด้วย การผูกเสี่ยวเป็นประเพณีเก่าแก่ดีงามของประชาชนชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เป็นวัฒนธรรมซึ่ง ทุกคนเข้าใจควายหมายลึกซึ้งดีอยู่แล้ว  ซึ่งเป็นการสร้างเพื่อนสนิท  เพื่อนแท้  เพื่อนตาย  สร้างความรัก  ความสามัคคี  ความเข้าใจดี  สร้างสัมพันธภาพและข้อผูกพันที่เหนียวแน่น  และอมตะให้แก่ประชาชนด้วย ความสํานึกในภาระหน้าที่และประเพณีวัฒนธรรมอันดีนี้คู่เสี่ยวจะให้ความรัก  ความนับถือต่อกัน  และญาติพี่ น้องของกันและกัน  ให้ความช่วยเหลือเจือจุนกันและกันไปชั่วนานแสนนาน  นับว่าเป็นประเพณีที่ดีมีคุณค่าทั้ง ด้านสังคมเศรษฐกิจ  การพัฒนา  การปกครอง  การเมืองและความมั่นคงแห่งชาติ   สมควรได้รับการฟื้นฟู อนุรักษ์ให้คงอยู่และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์  ปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง 

 

    ขอขอบคุณ  http://www.mcukk.com/buddhasilpa/files/siaw.pdf เจ้าของข้อมูล

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.