ReadyPlanet.com
dot dot




ปราสาทปรางค์กู่

 ปราสาทปรางค์กู่

อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ

ประเภท สถานที่ท่องเที่ยว

      ศิลปะ วัฒนธรรม แหล่งมรดก และสถาปัตยกรรม/สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และอนุสาวรีย์

ตั้งอยู่บ้านกู่ ตำบลกู่ ในภาษากูยเรียกว่า “เถียด เซาะโก” ลักษณะคล้ายปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

ข้อมูลทั่วไป

     ปราสาทปรางค์กู่  ลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานที่สร้างด้วยหินศิลาแลงทั้งหมด ปราสาทหลังที่ 1 และ 2 สร้างด้วยอิฐมอญขนาดใหญ่ เสาแกะสลักลวดลายติดขอบประตูเพื่อรองรับทับหลัง เสาและทับหลังสร้างด้วยหินทราย ส่วนปราสาทหลังทิศเหนือเป็นหลังเดียวที่สร้างจากหินศิลาแลง มีเสาแกะสลักลวดลาย และทับหลังที่สร้างจากหินทรายเช่นกัน ปราสาทปรางค์กู่สร้างเมื่อสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สมัยขอมเรืองอำนาจ สันนิษฐานว่าสร้างเพื่อใช้เป็นสถาน “อโรคยาศาล” หรือสถานีอนามัยเพื่อรักษาคนป่วย ในสภาพที่ล้อมรอบด้วยสระน้ำ ทางสภาวัฒนธรรมตำบลกู่ได้มีการสร้างทับหลังจำลอง ความกว้างเท่าของจริงมาตั้งไว้บนฐานด้านหน้าตัวปราสาทเพื่อให้ผู้คนที่มาเที่ยวชมได้ศึกษาเรียนรู้ และปราสาทปรางค์กู่นั้นยังเป็นสถานที่ที่ชุมชนชาวกูยให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง หากมีกิจกรรมในหมู่บ้าน หรือศาสนพิธีต่าง ๆ ก็จะมีการนำเครื่องเซ่นไหว้มาบอกกล่าวที่ปราสาทปรางค์กู่ให้รับทราบ ซึ่งชาวกูยบ้านกู่ได้สมมติชื่อวิญญาณที่สิงสถิต ณ ปราสาทกู่ว่า “ปู่พัทธเสน” และใช้เรียกขานชื่อนี้ในการเซ่นไหว้ตลอดมา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ททท.

 

 

ปราสาทปรางค์กู่

ที่ตั้ง       ตำบล: กู่   อำเภอ: ปรางค์กู่   จังหวัด: ศรีสะเกษ   33170

ข้อมูลสถานที่

ปราสาทปรางค์กู่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ 70 กิโลเมตร สร้างด้วยอิฐเรียงแผ่นใหญ่เหมือนปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นศาสนสถานสมัยขอมที่เก่าแก่ มีอายุกว่าพันปี ด้านหน้าปรางค์กู่ มีสระน้ำขนาดใหญ่เป็นทำเลพักหากินของนกเป็ดน้ำ ซึ่งมีมากในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์

ประเภทแหล่งท่องเที่ยว

        แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์       แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

        แหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะวิทยาการ

 

ลักษณะเด่น

       ปรางค์กู่ เป็นศาสนสถานที่ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร ลักษณะเป็นปราสาท 3 หลัง สร้างเป็นแนวเรียงหน้ากระดานจากทิศใต้ไปทิศเหนือ ตั้งอยู่บนฐานที่สร้างด้วยหินศิลาแลงทั้งหมด

ประวัติ

          ปราสาทปรางค์กู่ ภาษากูยเรียกว่า “เถียด เซาะโก” ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ลักษณะเป็นปราสาท 3 หลัง สร้างเป็นแนวเรียงหน้ากระดานจากทิศใต้ไปทิศเหนือ ตั้งอยู่บนฐานที่สร้างด้วยหินศิลาแลงทั้งหมด ปราสาทหลังที่ 1 และ 2 สร้างด้วยอิฐมอญขนาดใหญ่ เสาแกะสลักลวดลายติดขอบประตูเพื่อรองรับทับหลัง เสาและทับหลังสร้างด้วยหินทราย ส่วนปราสาทหลังทิศเหนือเป็นหลังเดียวที่สร้างจากหินศิลาแลง มีเสาแกะสลักลวดลาย และทับหลังที่สร้างจากหินทรายเช่นกัน ยอดปราสาทเป็นบัวตูมมีลักษณะเช่นเดียวกันกับปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันยอดปราสาทได้พังทลายลง ทับหลังและเสาติดขอบประตูได้ถูกโจรลักขโมยไปวัตถุบางชิ้นก็ตามกลับคืนมาได้และเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีหลายชิ้นที่นำมาเก็บไว้ที่วัดบ้านกู่ ปราสาทปรางค์กู่สร้างเมื่อ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สมัยขอมเรืองอำนาจ สันนิษฐานว่าสร้างเพื่อใช้เป็นสถาน “อโรคยาศาล” หรือสถานีอนามัยเพื่อรักษาคนป่วย ในสภาพที่ล้อมรอบด้วยสระน้ำ ซึ่งสภาวัฒนธรรมตำบลกู่ได้มีการสร้างทับหลังจำลอง ความกว้างเท่าของจริงมาตั้งไว้บนฐานด้านหน้าตัวปราสาทเพื่อให้ผู้คนที่มาเที่ยวชมได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป และปราสาทปรางค์กู่นั้นยังเป็นสถานที่ที่ชุมชนชาวกูยให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง หากมีกิจกรรมในหมู่บ้าน หรือศาสนพิธีต่างๆ ก็จะมีการนำเครื่องเซ่นไหว้มาบอกกล่าวที่ปราสาทปรางค์กู่ให้รับทราบ ซึ่งชาวกูยบ้านกู่ได้สมมติชื่อวิญญาณที่สิงสถิต ณ ปราสาทกู่ว่า“ปู่พัทธเสน” และใช้เรียกขานชื่อนี้ในการเซ่นไหว้ตลอดมา ปรางค์กู่ เป็นศาสนสถานที่ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร ตั้งอยู่บริเวณบ้านกู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ โดยอยู่ห่างจากตัวอำเภอปรางค์กู่ประมาณ 5 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัด ศรีสะเกษ ประมาณ 65 กิโลเมตร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2478 และกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเป็นพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ 2 งาน 39 ตารางวา ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 155 วันที่ 21 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2525

ข้อมูลแนะนำ

      กลุ่มนักท่องเที่ยว          กลุ่มครอบครัว

      กลุ่มผู้สูงอายุ                กลุ่มวัยทำงาน

      กลุ่มนักเรียนนักศึกษา / เยาวชน / วัยรุ่น

      กลุ่มสตรี                       กลุ่มคู่รัก / คู่แต่งงาน

 

การเดินทาง

          รถยนต์    

หมายเหตุการเดินทาง: -

       รองรับที่จอดรถ   100 คัน

ราคาเข้าชม        ไม่มีค่าใช้จ่าย

สิ่งอำนวยความสะดวก

โรงแรม          บ้านพักรับรอง

ลานกางเต็นท์            อื่นๆ

ร้านขายสินค้าที่ระลึก        มัคคุเทศก์ท้องถิ่น

ป้ายสื่อความหมาย       ที่พักสัตว์เลี้ยง (อื่นๆ)

ศูนย์คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม    ศูนย์บริการสำหรับผู้พิการ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  Thailand tourismdirectory                            https://thailandtourismdirectory.go.th/attraction/21213 

 

   




เลาะเล่นแดนอีสาน

พระธาตุนาดูน article
พระธาตุพนม article
อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ article
ปราสาทบ้านเบญจ์
วัดทุ่งศรีเมือง
ปราสาทจอมพระ
ปราสาทกู่กาสิงห์ article
กู่โพนระฆัง article
ปราสาททองหลาง
ปราสาทบ้านพันนา
พระธาตุภูเพ็ก
ปราสาททามจาน
ปราสาทหนองหงส์
ปราสาทนางพญา
ปราสาทปรางค์กู่
พระธาตุบังพวน
ปราสาทตาเมือนธม
กู่สันตรัตน์ article
น้ำตกถ้ำบอน article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.