ReadyPlanet.com
dot dot




ประเพณีแห่เทียนพรรษา

 

 

 กำเนิดเทียนพรรษา

       ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นับถือวัวเพราะถือว่า วัวเป็นพาหนะของพระอิศวร เมื่อวัวตาย จะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาพระผู้เป็นเจ้าที่ตนเคารพ

       แต่ชาวพุทธซึ่งนับถือศาสนาพุทธจะทำเทียนเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัย โดยการเอารังผึ้ง ร้างมาต้มเอาขี้ผึ้ง แล้วฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็ก ๆ มีความยาวตามต้องการ เช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็น ศอกแล้วใช้จุดบูชาพระ

       เทียนพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไป ถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน

 

วิวัฒนาการของเทียนพรรษา

       เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดใน โบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)

     การทำเทียนพรรษา มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่น เป็นเทียนนำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็ก ๆ หลาย ๆ เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายกับ ต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดกับฐาน ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกว่า ต้นเทียน หรือต้นเทียนพรรษา

กำเนิดเทียนพรรษา

       ต้นเทียนพรรษาประเภทแรก คือ "มัดรวมติดลาย" เป็นการเอาเทียนเล่มเล็ก ๆ มามัด รวมกันบนแกนไม้ไผ่ให้เป็นต้นเทียนขนาดใหญ่ แล้วตัดกระดาษเงิน กระดาษทองเป็นลายต่าง ๆ ติดประดับโดยรอบต้นเทียน ต่อมามีการคิดทำต้นเทียนเป็นต้นเดี่ยว เพื่อใช้จุดให้ได้นาน โดย การใช้ลำไม้ไผ่ที่ทะลุปล้องเป็นแบบหล่อ เมื่อหล่อเทียนเป็นต้นเสร็จแล้วจึงนำมาติดที่ฐาน และจัด ขบวนแห่เทียนไปถวายพระที่วัด

       การตกแต่งต้นเทียน เริ่มมีขึ้นโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้ขี้ผึ้งลนไฟหรือตากแดดให้อ่อน แล้วปั้นเป็นรูปดอกลำดวนติดต้นเทียน หรือเอาขี้ผึ้งไปต้มให้ละลาย แล้วใช้ผลมะละกอ หรือ ผล ฟักทองนำมาแกะเป็นลวดลาย ใช้ไม้เสียบนำไปจุ่มในน้ำขี้ผึ้ง แล้วนำไปจุ่มในน้ำเย็น แกะขี้ผึ้งออก จากแบบ ตัดและตกแต่งให้สวยงามนำไปติดที่ต้นเทียน

     พ.ศ. 2482 มีช่างทองชื่อ นายโพธิ์   ส่งศรี   เริ่มทำลายไทยไปประดับบนเทียน โดยมี การทำแบบพิมพ์ลงในแผ่นปูนซีเมนต์ซึ่งถือว่าเป็นแบบพิมพ์ หรือแม่พิมพ์ แล้วเอาขี้ผึ้งที่อ่อนตัว ไปกดลงบนแม่พิมพ์จะได้ขี้ผึ้งเป็นลายไทย นำไปติดกับลำต้นเทียน

     ต่อมา นายสวน คูณผล ได้คิดทำลายให้นูนและสลับสี จนเห็นได้ชัด เมื่อส่งเทียนเข้า ประกวดจึงได้รับรางวัลชนะเลิศ และในปี พ.ศ. 2497 นายประดับ ก้อนแก้ว คิดประดิษฐ์ทำหุ่นเป็น เรื่องราวพุทธประวัติ และเอาลวดลายขี้ผึ้งติดเข้าไปที่หุ่น ทำให้มีลักษณะแปลกออกไป จึงทำให้ เทียนพรรษาได้รับรางวัลชนะเลิศ และชนะเลิศมาทุกปี ในเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์

       ปี พ.ศ. 2502 มีช่างแกะสลักลงในเทียนพรรษาคนแรก คือ นายคำหมา แสงงาม และ คณะกรรมการตัดสินให้ชนะการประกวด ทำให้เกิดการประท้วงคณะกรรมการตัดสิน ทำให้ในปี ต่อๆ มามีการแยกประเภทต้นเทียนออกเป็น 2 ประเภทชัดเจนคือ

      1.ประเภทติดพิมพ์ (ตามแบบเดิม)

      2.ประเภทแกะสลัก

การทำเทียนพรรษามีวิวัฒนาการเรื่อยมาไม่หยุดนิ่ง ในปี พ.ศ. 2511 ผู้คนได้พบเห็น ต้นเทียนพรรษาขนาดใหญ่และสูงขึ้น มีการแกะสลักลวดลายในส่วนลำต้นอย่างวิจิตรพิสดาร ใน ส่วนฐานก็มีการสร้างหุ่นแสดงเรื่องราวทางศาสนา และความเป็นไปในสังคมขณะนั้น กลายเป็น ประติมากรรมเทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งช่างผู้ริเริ่มในการทำต้นเทียนยุคหลังคือ นายอุตส่าห์ และ นายสมัย จันทรวิจิตร สองพี่น้อง นับเป็นงานสร้างสรรค์ทางศิลปะอันเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน อย่างแท้จริง

กำเนิดงานแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี

       อุบลราชธานี ดินแดนแห่งปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา เป็นถิ่นกำเนิดของพระอาจารย์ทางวิปัสนา คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เป็นต้น กล่าวกันว่า เมือง อุบลราชธานีเป็นต้นรากแห่งการขยายพระพุทธศาสนาและวัดวาอาราม ให้แพร่หลายยิ่งกว่าในทุก หัวเมืองในภาคอีสาน

     เดิมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี มีจัดเฉพาะตามคุ้มวัดต่างๆ เท่านั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2444 เมืองอุบลราชธานีจัดงานบุญบั้งไฟ โดยทุกคุ้มจะนำบั้งไฟมารวมกันที่วัดหลวง ริมแม่น้ำมูล มีการแห่บั้งไฟไปรอบเมืองและจุดขึ้นไปบนท้องฟ้าทำให้เกิดอุบัติเหตุ บั้งไฟตกลงมา ถูกชาวบ้านตายในงาน มีการชกต่อย ตีรันฟันแทงกัน ก่อเหตุวุ่นวายไปทั้งงาน กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ สมัยนั้น ให้ยกเลิกงานประเพณีบุญบั้งไฟเสีย แล้วให้มาจัดงาน ประเพณีแห่เทียนพรรษาแทน ในสมัยแรกๆ นั้นไม่มีการประกวดเทียนพรรษา แต่ชาวบ้านจะกล่าว ร่ำลือกันไปว่า เทียนคุ้มวัดนั้นงาม เทียนคุ้มวัดนี้สวย

     ผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ จึงเห็นควรให้มีการประกวดเทียนพรรษาก่อน แล้วแห่รอบ เมือง ก่อนจะนำไปถวายพระที่วัด

จากงานประจำปีท้องถิ่นสู่งานประเพณีระดับชาติ

     การจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยชาวบ้านในแต่ละคุ้มวัด ก็จัดตกแต่งต้นเทียนของวัดตนให้สวยงาม นำมารวมกันที่บริเวณทุ่งศรีเมืองเพื่อประกวดแข่งขันกัน จากงานของชาวบ้าน ก็พัฒนามาสู่การสนับสนุนอย่างจริงจังจากส่วนราชการ พ่อค้า ห้างร้านเอกชน ร่วมกับประชาชน ทายกทายิกาคุ้มวัดต่างๆ และใน ปี พ.ศ. 2519 จังหวัดอุบลราชธานีได้เชิญ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท. ในขณะนั้น) มาสังเกตการณ์ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมาทางจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้งานประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นงานประเพณีระดับชาติ โดยเฉพาะในปีท่องเที่ยวไทย (Amazing Thailand 2541-2542) งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็น 1 ในงานประเพณีที่ถูกโปรโมตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชาวต่างชาติ

       เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนหลวงมาเป็นเทียนนำชัยขบวนแห่ แล้วจึงนำไปถวายยังอารามหลวงในจังหวัดอุบลราชธานี หมุนเวียนไปเป็นประจำทุกปี

       งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียนเอามาหลอม หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน

อานิสงส์ของการถวายเทียนพรรษา

การถวายเทียนพรรษานี้เป็นโบราณประเพณีที่ทำสืบๆ มาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา ภิกษุทั้งปวงต้องจำพรรษาในอาวาสของตน 3 เดือน พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงได้จัดทำให้เป็นกุศลพิธีขึ้น เมื่อได้นำเทียนไปถวายพระสงฆ์แล้ว ท่านก็จะได้จุดบูชาต่อหน้าพระประธานในพระอุโบสถ ส่งผลให้ผู้ถวายย่อมได้รับอานิสงส์ คือ

    1. ทำให้เกิดปัญญา ทั้งชาตินี้และชาติหน้า เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งเทียน

    2. ทำให้สว่างไสวรุ่งเรือง ผู้ถวายย่อมทำให้มีความรุ่งเรืองด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ

     3. ทำให้คลี่คลายเรื่องราวต่างๆ ที่มีปัญหาให้ร้ายกลายเป็นดี

     4. เจริญไปด้วยมิตรบริวาร

     5. ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย

     6. เมื่อจากโลกนี้ไปย่อมมีกายทิพย์อันสว่างไสว

    7. เมื่อลาลับโลกนี้ไปย่อมไปสู่สุคติสวรรค์

    8. หากบารมีมากพอ ย่อมทำให้เกิดดวงตาจักษุ คือปัญญารู้แจ้งเข้าสู่พระนิพพาน

อานิสงส์ถวายผ้าจำนำพรรษา

..    ..เมื่อสมัยครั้งพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี มีอุบาสกคนหนึ่ง

เป็นผู้มีศรัทธาต่อพระรัตนตรัย ชื่อว่าติสสะ ได้พร้อมใจกับภรรยาของตนเย็บและย้อม ซึ่งจีวรสบง

สังฆาฏิ ได้ถวายเสร็จแล้วก็ทูลลากลับไปสู่เคหาของตน

      ในกาลครั้งนั้นพระโมคคัลลานะ ผู้ประกอบ ด้วยฤทธานุภาพ

สามารถนำข่าวสารสวรรค์มาบอกมนุษย์นำข่าวมนุษย์ไปบอกสวรรค์ และนรกเป็นต้น

ครั้งแล้วพระโมคคัลลานะก็ขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้เห็นปราสาทมีความงามรุ่งเรืองกว่าปราสาทหลัง

อื่น ๆ และมีนางเทพกัญญา พันหนึ่งแวดล้อมปราสาทนั้น แต่ไม่มีเทพบุตรอยู่ในปราสาทหลังนั้น พระ

เถระเจ้าได้ไต่ถามกับนางเทพอัปสรนั้น ได้ทราบโดยตลอด จึงลงจากเทวโลกเข้าไปสู่สำนักพระบรม

ศาสดากำลังมีพุทธบริษัททั้ง ๔ แวดล้อมอยู่ พระเถระเข้าไปถวายอภิวาท แล้วก็ทูลถามถึงอานิสงส์

ถวายผ้าจำนำพรรษายังมีชีวิตอยู่ในเมืองมนุษย์ ว่าปราสาททิพย์ได้รอคอยอยู่ในเทวโลก เพราะเกิดจาก

ผลทานของการถวายผ้าจำนำพรรษา จะมีบ้างไหมพระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงตรัสว่า

ดูกรโมคคัลลานะ ผ้าจำนำพรรษาที่ติสสะอุบาสกได้กระทำไว้นั้น ก็ได้ปรากฏแก่เธอเองแล้วมิใช่หรือ

พระโมคคัลลานะ ทูลตอบว่าจริงแล้วพระเจ้าข้า

   สมเด็จภวันต์ตรัสต่อไปว่า โมคคัลลานะบุคคลผู้ใดมี ศรัทธา ได้ถวายผ้าจำนำพรรษาแก่ภิกษุสงฆ์

มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น บุคคลผู้นั้นเบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์ ไป

ย่อมมีสุคติเป็นที่ไป “ทานสคฺคโสปาณํ” ผลทานเป็นบันไดนำไปสู่สวรรค์

ปิดกันเสีย ซึ่งอบายภูมิ บุคคลผู้มีมืออันชุ่มไปด้วยการให้ทาน หมู่ทวยเทพทั้งหลายย่อมมีความยินดี

สรรเสริญรอคอยบุคคลผู้ให้ทานนั้นอยู่เสมอ ดุจนางอัปสรเทพกัญญารอคอยติสสะอุบาสกฉะนั้น เมื่อ

จบพระสัทธรรมเทศนาลง บริษัททั้ง ๔ มีความรื่นเริง ยินดีในพุทธพจน์นัก กลับเป็นผู้ตั้งอยู่ในกุศล

สัมมาปฏิบัติเป็นจำนวนมาก ฝ่ายติสสะอุบาสกครั้นทำลายขันธ์ลงก็นำตนไปอุบัติขึ้นใน

สัตตรัตนปราสาท เสวยสมบัติอันเป็นทิพย์ มีนางอัปสรแวดล้อมเป็นยศบริวาร

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ร้านบูชาสังฆภัณฑ์

จำหน่ายพระพุทธรูป เครื่องสังฆภัณฑ์ หรือของใช้ทำบุญ

สำหรับชาวพุทธ พระพุทธรูป พระประจำวันเกิด เครื่องอัฐบริขาร ฯ

 

                                        ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี

           เชิญร่วมงาน 123 ปี งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2567 ภายใต้ชื่องาน "เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เมืองเทียน เมืองธรรม งามล้ำเมือง 4 แสง" ระหว่างช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2567

ภายในงานพบกับกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น

 

วันที่ 1-18 กรกฎาคม 2567 : กิจกรรม "เยือนชุมชน ชมวิถีทำเทียน" 12 คุ้มวัด

วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 : พิธีอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานและผ้าอาบน้ำฝนพระราชทานฯ และวันรวมเทียน ณ บริเวณลานเทียนทุ่งศรีเมือง

วันที่ 20-21 กรกฎาคม 2567 : พิธีเปิดงานและปล่อยขบวนแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2567 ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง (2 วัน 2 คืน)

วันที่ 24 กรกฎาคม - 24 สิงหาคม 2567 : กิจกรรมงานเทียนอุบล ชมได้ตลอดเดือน







Copyright © 2010 All Rights Reserved.