ReadyPlanet.com
dot dot




ประเพณีการลงข่วง

 

 พิธีกรรมลงข่วง ลงเเถน ความเชื่อของชาวอีสาน

         ลงข่วงเเถน

        การลงข่วงผีฟ้า หรือ ลงเเถน เป็นความเชื่อของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งในเเต่ล่ะพื้นที่ของภาคอีสานจะมีชื่อเรียกเเตกต่างกันไป เช่น  ลำอ้อ เเกลมอ เเกลออ สะเอง สะเอิง รำเเม่มด ลงเเถน รำผีฟ้า ลงข่วงผีฟ้า ลงข่วง

        ลักษณะของพิธีกรรมการรำผีฟ้าในเเต่ล่ะพื้นที่จะมีจะหวะดนตรี หรือ ทำนองดนตรีที่เเตกต่างกัน เเละจะมีการใช้ใบตองเย็บเป็นกรวยโดยจะมีดอกไม้อยู่ด้านในกรวย นำกรวยจำนวนมากใส่ในขันหรือถาด เเละจะมีข้าวสาร เหล้า นำ้หอม ไข่ไก่เพื่อใช้ในการเสี่ยงทาย มีไม้เเกะสลักเป็นรูปช้าง ม้า ดาบ ปืน เธนู เเละมีเทียนง่าม หรือเทียนเเหง่ม มีลักษณะเป็นง่ามสามเเฉก โดยพันเทียน2เล่มเข้ากันให้เป็นเเฉก เเละมีเทียนที่ใช้จุดอีก1คู่  มีหวี กระจกเเละเครื่องประดับคือ เเหวน ตุ้มหูหรือต่างหู กำไลข้อมือ เเละมีผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง ผ้าซิ้น นำใส่ถาดรวมกันเรียกว่าคาย

       ซึ่งในพิธีกรรมจะมีคาย2คาย คายที่1คือคายของหมอเฒ่า หรือครูบา เรียกง่ายๆคือเป็นร่างทรงของผญาเเถนที่มียศศักดิ์ยิ่งใหญ่ หรือเป็นพ่อเมือง เเม่เมือง หรือเจ้าเมือง ซึ่งเป็นคนที่จะนำประกอบพิธีกรรมโดยได้รับการสืบทอดการเป็นหมอเฒ่ามาจากบรรพบุรุษ คายที่2คือคายของคนที่ป่วยหรือได้รับการรักษาจากเเถนเเล้ว ต้องให้เเถนเข้ามาในร่าง หรือเรียกว่าขี่หรือเทียม เเล้วร่ายรำตามจังหวะของเพลง การที่จะลงเเถนได้นั่นมีคายอย่างเดียวไม่พอ จำเป็นต้องมีโฮง มีลักษณะเป็นเพิงที่ทำจากเสาไม้เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยม มีหลังคาทำด้วยใบมะพร้าว หรือวัสดุที่หาได้ในพื้นที่ บริเวณกลางโฮง จะมีหอหรือฮ้าน มีลักษณะสูงระดับเอวถึงหน้าอก เชื่อว่าเป็นบัลลังก์ให้ครูบาซึ่งเป็นทรงของหมอเฒ่านั่ง ซึ่งจะมีบันไดที่ทำจากก้านกล้วย เเละใช้ผ้าโสร่งพาดที่บันได

        ในฮ้านจะร้อยดอกจำปาสีขาวเป็นพวงมาลัยเพื่อประดับตกเเต่งให้สวยงาม เเละจะต้องใช้ระหว่างพิธี

       ในพิธีจะมีการร่ายรำเข้าจังหวะอย่างสนุกสนาน ท่ารำของเเต่ละคนจะเป็นเอกลักษณ์เเตกต่างกันไปซึ่งเชื่อว่าเป็นท่าทางที่เเถนถ่ายทอดออกมาทางความคิดเเละอารมณ์ของคนทรง ในระหว่างการร่ายรำ ก็จะมีการลำ ซึ่งไม่มีทำนองเเละกลอนลำที่ตายตัว เเล้วเเต่พื้นที่

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  https://intrend.trueid.net/north-east/ubon-ratchathani







Copyright © 2010 All Rights Reserved.