ReadyPlanet.com
dot dot




ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง

 ปรเพณีแห่ปราสาทผึ้ง

 

 

ปราสาทผึ้งแบ่งเป็นยุคต่างๆดังนี้

    1. ยุคต้นผึ้ง - หอผึ้ง

ชาวอีสาน ในบางท้องถิ่นที่เชื่อกันว่า การทำต้น ผึ้ง ดอกผึ้ง ทำเพื่อเป็นพุทธบูชาให้กุศลแก่ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ดังนั้นเมื่อมีญาติพี่ น้อง เพื่อฝูงในหมู่บ้านถึงแก่วายชนม์ลง จึงพากันไปช่วยงานศพ (งานเฮือนดี ) เท่าที่จะช่วยงานได้ ดังมีคำกล่าว ว่า "ผู้หญิงห่อข้าวต้ม ตัดตอก บีบข้าว ปุ้น ผู้ชายหักหอผึ้ง"

    คำว่า หัก หอผึ้ง ก็คือ การหักตอกทำต้นผึ้งนั่น เอง กล่าวกันว่าในการไปช่วยงานศพ หรือ งานบุญแจกข้าวนั้นผู้ชายจะต้องนำพร้า ติดตัวมาด้วย ทั้งนี้เพราะใช้ทำงานทุกอย่าง นับแต่ ถากไม้ตัดฟืนและจักตอกทำต้น ผึ้ง หอผึ้ง

    ต้นผึ้ง ทำจากต้นกล้วยขนาด เล็ก ตัดให้ยาวพอสมควร แต่งลำต้น ก้าน ทำขาหยั่งสามขาให้ยึดต้นกล้วยเข้าไว้ เมื่อตั้งได้ จากนั้นจะนำขี้ผึ้งมาเคี่ยวให้ หลอมเหลวเพื่อใส่ลงในแม่พิมพ์ แม่พิมพ์ทำ จากผลไม้ เช่น ผมสิมลี (สิมพี, ส้มพอดี,โพธิสะเล) นอกจาก นี้ยังอาจให้ผลมะละกอขนาดเล็กคว้านภายใน แต่งให้เป็นดอกเป็นแฉกตามต้องการ จากนั้นก็ นำมาพิมพ์จุ่มขี้ผึ้งแล้วยกขึ้น นำไปแช่ น้ำ ขี้ผึ้งจะหลุดออกจากพิมพ์เป็นดอกดวงตาม แบบแม่พิมพ์

    ก่อนนำดอกผึ้งไปติดที่ ก้านกล้วย ต้นกล้วย ช่างทำต้นผึ้งจะหั่นหัว ขมิ้นให้เป็นแว่นกลมใช้ไม้กลัดเสียบแว่นขมิ้น รองดอกผึ้ง เพื่อมิให้ดอกผึ้งอ่อนตัวจน เสียรูปทรง

     การทำต้นผึ้ง จำทำให้ เสร็จก่อนวันเก็บอัฐิธาตุผู้ตาย ในวันเก็บ อัฐิ ญาติพี่น้องจะนำต้นผึ้งไปด้วย หลัง จากใช้ก้านกล้วยคีบอัฐิมาทำเป็นรูปคน กลับธาตุ ก็จะนำต้นผึ้งมาวางที่กอง อัฐิ พระสงฆ์ชักบังสุกุลกลบธาตุ ก่อนที่จะนำ อัฐิไปบรรจุในสะานที่อันเหมาะสมต่อไป ต้นผึ้งจึงให้เพื่อพิธีกรรมดังกล่าว

     หอผึ้งมีความเกี่ยวพันกับต้นผึ้งอย่างใกล้ชิด และ เป็นต้นกำเนิดของการแห่ปราสาทผึ้งในปัจจุบัน หอผึ้งมีลักษณะเป็นทรงตะลุ่ม ทำโครงด้วยไม้ ไผ่ จักตอกผู้เสริมด้วยกาบกล้วย ก้านกล้วย โครง หอผึ่งจะทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม 2 ชั้นต่อ กัน คล้ายเอวขันธ์หรือเอวพานภายในโครงไม้ จะโปร่ง เพื่อให้บรรจุเครื่องอัฐบริขารได้ทั้ง 2 ชั้น เป็นที่สังเกตว่าหอผึ้งจะมี 2 รูปแบบ ต่างกันเล็กน้อย คือ บางแห่งทำหอ 2 ชั้น มีขนาดไล่เลี่ยกันแต่บางแห่งทำชั้นล่าง ใหญ่ กว้าง ชั้นบนเหนือเอวขันธ์ทำทรงขนาดเล็ก ให้รับกับฐานล่าง ให้ดูพองาม

     การ ประดับหอผึ้ง ยังนิยมประดับดอกผึ้งตามโครงกาบ กล้วย ก้านกล้วยแม้จะมีการแทงหยวกเป็นลวด ลายบ้างแล้ว ก็ยังไม่เน้นความงดงามของลาย หยวกกล้วยเป็นสำคัญ หอผึ้งดังกล่าวจะทำให้ เป็นคานหาม เพื่อใช้แห่ไปถวายวัด ส่วนประกอบ สำคัญยังเป็นโครงซึ่งทำด้วยตอกไม้ไผ่อยู่ จึงยังเรียกการทำหอผึ้ง แต่เดิมก็ยัง คงทำควบคู่ไปกับการทำต้นผึ้ง กล่าว คือ ประเพณีชาวอีสาน ถือว่าเมื่อถึงวันทำบุญ ถวายทานแก่ผู้ตายในงานแจกข้าว เมื่อถวาย ภัตตาหารแก่พระสงฆ์แล้ว ก็ถวายหอผึ้งเพื่ออุทิศ ส่วนกุศลแก่ผู้วายชนม์ ดังมีคำถวายถึง ปราสาทผึ้งตอนหนึ่งว่า

      "…อิมานะ มะยัง ภัณเต มธุบุปผะ ปะสาทัง"

    แม้ว่าการถวายหอผึ้ง จะกระทำอยู่ในงานแจก ข้าว แต่ชาวอีสานในหมู่บ้านต่าง ๆ ก็ยัง ถือว่า ควรจัดงานอุทิศส่วนกุศลให้ผู้วาย ชนม์ ในช่วงวันนออกพรรษาดังนั้นจึงนิยม หากิ่งไม้ หนามไผ่ มาสุมบริเวณที่เผาศพ มิให้สัตว์มาขุดคุ้ย พร้อมปักไม้กั้นรั้ว คอกไว้ เมื่อออกพรรษา วันมหาปวารณาจึงทำบุญ แจกข้าว โดยเลือกเอาวันขึ้น 15 ค่ำ หรือ แรม 1 ค่ำ ในเวลาเย็นจึงทำพิธีแจกข้าว

    พอถึงเวลาเย็น ชาวบ้านจึงแห่หอผึ้งไป ยังวัดที่กำหนดตำบลหนึ่งมักกำหนดวัดสำคัญ ๆ เป็นที่หมาย ชาวบ้านจะสร้างตูบผาม ปะรำ พิธีไว้รับขบวนแห่ ซึ่งประกอบด้วย

   1.ขบวนฆ้อง กลองนำหน้า

   2.ขบวนกองบัง (บังสุกุล) หรือขบวนอัฐิผู้ตาย

   3.ขบวนหอผึ้ง

   4.ขบวนต้นกัลปพฤกษ์

     การถวายหอผึ้ง แก่ภิกษุสงฆ์ไม่มีกฎเกณฑ์ตาย ตัว ว่าจะทำหอผึ้งจำนวนกี่หอ บางแห่ง ลูกหลานผู้ตายก็จะทำเป็นของตนเอง คนละ 1 หอ บางแห่งถือว่าจะต้องช่วยกัน ทำถวาย ถวายพระสงฆ์ให้ครบทุกวัดที่นิมนต์ มาสวดมนต์เย็น

     การฉลองหอผึ้งหลังจาก สวดมนต์เย็น มีเทศนาให้เกิดบุญกุศล แล้วมี การฉลองสนุกสนานรื่นเริง วันรุ่งเช้าจึงถวาย อาหารพระสงฆ์ แล้วถวายหอผึ้งเป็นเสร็จพิธี

     จะเห็นว่า ประเพณีแห่ต้นผึ้งดังกล่าว เป็น เรื่องราวที่มีคติความเชื่อมาจากงานบุญ แจกข้าวโดยเฉพาะ แต่ต่อมาประเพณีดังกล่าวได้ ถูกจัดขึ้นให้ใหญ่โต ในกลุ่มชาวเมืองสกลนคร ที่มีคุ้มวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ - ไกล วัดพระธาตุเชิงชุมด้วยเหตุหลายประการ เช่น

    1.พุทธศาสนิกชน เชื่อกันว่า การทำ บุญในวันออกพรรษาหรือวันเทโวโลหนะ (วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก) เป็นวันที่ พระพุทธเจ้าตรัสว่าโลกทั้งสาม (มนุษย์โลก เทวโลกยมโลก) จะมองเห็นความเป็นอยู่ซึ่ง กันและกัน และโดยพุทธานุภาพแห่งพระสัม มาสัมพุทธเจ้า ชาวบ้านได้เห็นหอผึ้งที่ ตนทำถวาย ชาวคุ้มต่าง ๆ จึงได้พากัน จัดทำมาถวายเป็นประเพณีทุกปี

     2. วัดพระธาตุเชิงชุมเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็น ที่พระพุทธเจ้ามาประชุมรอยพระพุทธบาทถึง 4 พระองค์ การนำหอผึ้งมาถวายเป็นพุทธ บูชารอยพระพุทธบาทย่อมเป็นศิริมงคลแก่ ตนเอง

     3.เป็นการทำบุญกุศลใน ช่วงเทสกาลออกพรรษา บรรดาญาติพี่น้อง ที่อยู่ ห่างไกลได้มาพบกัน หลังจาก หว่านกล้า ปัก ดำแล้ว อีกได้จัดประเพณีแข่งเรือของคุ้มวัด ต่าง ๆ ให้สนุกสนาน จึงได้มีโอกาสทำบุญ ร่วมกัน

     2. ยุคปราสาทผึ้ง  ทรงหอปราสาท ผึ้งทรงหอเล็ก ๆ มี 2 รูปแบบ คือ ทรง หอมียอดประดับหลังคาและปราสาททรงสิม หรือ ศาลพระภูมิ ที่มีขนาดเตี้ย ป้อมกว่าชนิดแรก แต่ไม่มีหลังคาเรียงขึ้นเป็นยอดปราสาทชนิด หลังนี้พบเห็นในสกลนคร เมื่อไม่นานมานี้

     2.1 ปราสาททรงหอ มียอดประดับหลัง คาแหลมสูง  ปราสาทผึ้งแบบนี้ได้พัฒนาการทำ โครง ให้เป็นโครงไม้ โดยใช้ไม้เนื้ออ่อนทำเป็น 4 เสา ทาสีหรือพันด้วยกระดาษสี เครื่องบนทำ เป็นหลังคาคล้ายหมากแต่งหน้าจั่วด้วยหยวกกล้วย ประดับดอกผึ้ง ปลายสุดหลังคามีไม้ไผ่เหลาให้ แหลมประดับหยวกกล้วยติดดอกผึ้งลดหลั่นขนาดตาม ลำดับ

     แม้ชาวอีสานจะเรียก "ต้นผึ้ง" แต่รูปทรงที่ทำขึ้นก็เป็นทรงปราสาทดังป รากฎในพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวไว้เมื่อเสด็จ มาถึงพระธาตุพนม เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2450 ว่า "มีราษฎรตำบลใกล้เคียงพากันมา หามากต่อมาก เหมือนอย่างมีนักขัตฤกษ์สำหรับปี และตระเตรียมกันแห่ปราสาทผึ้ง และจุดดอกไม้เพลิง ให้อนุโมทนาด้วยเวลาบ่าย 4 โมง ราษฎรแห่ปราสาท ผึ้งและบ้องไฟเป็นกระบวนใหญ่เข้าประตูชานชาลา พระเจดีย์ด้านตะวันตก แห่ประทักษิณองค์พระธาตุสาม รอบกระบวนแห่นั้น คือ ผู้ชายและเด็กเดินข้าง หน้าหมู่หนึ่ง แล้วมีพิณพาทย์ต่อไปถึงบุษบก แล้วมีรถบ้องไฟ ต่อมามีปราสาทผึ้งคือ แตกหยวกกล้วยเป็นรูปทรงปราสาทแล้วมีดอกไม้ ทำด้วยขี้ผึ้งเป็นเครื่องประดับ มีพิณพาทย์ ฆ้องกลอง แวดล้อมแห่มาและมีชายหญิง เดินตามเป็น ตอน ๆ กันหลายหมู่และมีกระจาดประดับประดาอย่าง กระจาดผ้าป่า ห้อยด้วยไส้เทียนและไหมเข็ด เมื่อ กระบวนแห่เวียนครบสามรอบแล้วได้นำปราสาทผึ้ง ไปตั้งถวายพระมหาธาตุ ราษฎรก็ยังนั่งประชุมกัน เป็นหมู่ ๆ ในลานพระมหาธาตุ คอยข้าพระพุทธ เจ้าจุดเทียนนมัสการ แล้วรับศีลด้วยกันพระสงฆ์ มีพระครูวิโรจน์รัตโนบลเป็นประธานเจริญพระพุทธ มนต์ เวลาค่ำมีการเดินเทียนและจุดบ้องไฟ ดอกไม้พุ่ม และมีเทศน์กัณฑ์หนึ่ง …"

     2.2 ปราสาทผึ้งทรงสิมหรือทรงศาลพระภูมิ 

      ปราสาทผึ้งทรงนี้ ลดความสูงลงไม่สูง เท่าชนิดแรก หลังคาเปลี่ยนไป มีเจ้าจั่วสี่ ด้านคล้ายเป็นทรงจตุรมุขเหมือนสิมของวิหารทั่ว ไป สันนิษฐานว่า ปราสาทชนิดนี้จะออกแบบตามลักษณะ ของสิมพื้นบ้านในภาคอีสาน การประดับตกแต่ง ยังใช้วิธีการแทงหยวกประดับป้านลม ช่อฟ้าใบระกา พร้อมดอกผึ้งตัดหยวกตามส่วนต่าง ๆ ทั้งส่วน บนและส่วนล่าง เช่น เสาฐาน ภายในตัวประสาท นอกจากนี้ยังวางเครื่องธรรมทานภายในปราสาท ช่างพื้นบ้านบางรายแทงกาบกล้วยเป็นพระธรรมจักร ประดับดอกผึ้งติดไว้แทนสัญลักษณ์พุทธศาสนา

     3. ยุคปราสาทผึ้งเรือนยอด

     พระมหาวารีย์ กล่าวใน "ประวัติการทำปราสาทผึ้ง" ตอนหนึ่งสรุปความ ว่าแต่เดิมเมื่อมีชุมชนเกิดขึ้น รอบ ๆ วัดพระธาตุเชิงชุม ประชาชนบางตำบล เช่น ตำบล งิ้วด่อน ได้รับหน้าที่เป็นผู้รักษาปฏิสังข รองค์พระธาตุเชิงชุม ที่เรียกว่า "ข้าพระ ธาตุ" ครัวเหล่านี้ไม่ต้องเสียเงินส่วนให้ หลวง ต่อมาพระเถระผู้เป็นเจ้าคณะตำบลงิ้ว ต่อนมีลูกศิษย์และประชาชนในตำบลใกล้เคียง เลื่อมใสมากขึ้น จึงได้รับชวนเจ้าอาวาสและประชา ชนที่อยู่ในตำบลใกล้เคียง คือ ตำบลดงชน ตำบลดงมะไฟ ตำบลห้วยยาง ตำบลโดนหอม ตำบลบึง ทะวาย ตำบลเต่างอย เข้ามาร่วมเป็นข้าพระธาตุ ด้วย และแม้ว่าในเวลาต่อมาได้มีการ ยกเลิกหมู่บ้านข้าพระธาตุให้ทุกคนเสีย ภาษีแก่ท้องถิ่นแล้วก็ตาม แตะชาวบ้านรอบ นอก ๆ ก็ยังมีประเพณีทำบุญถวายพระธาตุ ในช่วงข้างขึ้น เดือน 11ของทุกปี ในช่วง วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เป็นช่วง นำข้าวเม่าและต้นผึ้งมาถวายองค์พระธาตุเชิง ชุม โดยมีความหมายถึงการขอลาองค์พระ ธาตุไปอยู่ในนาเก็บเกี่ยวข้าว

    ในช่วง เวลาเดียวกันที่กลุ่มชาวนาคุ้มรอบนอก เทศ กาลทำต้นผึ้งถวายองค์พระธาตุ กลุ่มชาวเมือง ในเขตเทศบาลก็ทำปราสาทผึ้งเป็นทรงปราสาท ถวายเช่นเดียวกัน โดยกำหนดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันถวายปราสาทผึ้ง จึงดูคล้ายกับ เป็นการแข่งขันกัน จนถึงราว พ.ศ .2495-2496 จึงได้มีการประชุมที่วัด พระธาตุเชิงชุมให้จัดปราสาทผึ้งโครงไม้จตุร มุขแทนปราสาทผึ้งแบบเดิม และต้นผึ้งแบบโบราณ จึงทำให้การแข่งขันระหว่างชาวเมืองในเขต เทศบาลกับนอกเขตเทศบาลยุติลง

    ลักษณะรูปทรงปราสาทหรือยอด    รูปแบบปราสาทผึ้งที่ทำ ด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นเส้น หรืออาจทำด้วยโครง ไม้ระแนงมีดอกผึ้งประดับตามกาบกล้วย ซึ่งใช้ ศิลปะการแทงหยวกได้เปลี่ยนไปจากเดิมในราว พ.ศ. 2495-2496 โดยคณะกรรมการจัด งานประกวดปราสาทผึ้งเทศบาลสกลนคร เห็นว่าไม่สามารถ พัฒนารูปแบบลวดลายองค์ประกอบให้วิจิตรพิสดารได้ จึงได้เปลี่ยนเป็นการทำปราสาทผึ้งโดยทำปราสาท เป็นโครงไม้ เป็นทรงปราสาทจตุรมุขมีเรือนยอด เรียหรือที่เรียกวา "กุฎาคาร" ตัวอาคาร ทั้งสี่ด้านต่อเป็นมุขยี่นออกไปมี ขนาดเท่ากัน บางแห่งสร้างปราสาท 3 หลัง ติดกัน นอกจากนี้ยังเน้นความประณีต ในการตกแต่ง ลวดลายการทำปราสาทผึ้งโดยทำปราสาทเป็นโครง ไม้ เป็นทรงปราสาทจตุรมุขมีเรือนยอดเรียว หรือ ที่เรียกว่า "กุฎาคาร" ตัวอาคารทั้งสี่ ด้านต่อเป็นมุขยื่นออกไปมีขนาดเท่ากัน บางแห่งสร้างปราสาท 3 ปลังติดกัน นอกจากนี้ ยังเน้นความประณีต ในการตกแต่งลวดลายส่วน ประกอบตัวปราสาท เช่นกำแพงแก้ว หน้าบัน ช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง โดยใช้ศิลปกรรมไทย หรือศิลปะผสมระหว่าง ลายไทยและลวดลายในท้องถิ่นอีสาน

การทำ ปราสาทผึ้ง

     การทำปราสาทผึ้งชนิด กุฎาคาร หรือ ปราสาทเรือนยอดนั้น คือการสร้างปราสาทเลียนแบบที่ ประอับสำหรับพระมหากษัตริย์ ด้วยถือว่าเป็นของ สูงที่บุคคลธรราดาสามัญไม่พึงควรจะ สร้างเป็นที่อยู่อาศัย แต่พึงสร้างถวายเป็นกุศล แห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

     ด้วยเหตุ นี้ จึงได้หารูปแบบอาคารปราสาทพระที่นั่ง ในพระบรมมหาราชวังพระที่นั่งบางปะอิน หรือแม้แต่พระพุทธบาทสระบุรี มากเป็นแนวการ สร้างโดยคุ้มวัดต่าง ๆ หรือสาบันการศึกษา จะรับเป็นผู้ดำเนินการ กล่าวโดยย่อขั้นตอน ในปราสาทผึ้ง ประกอบด้วย

     1. การทำโครง ไม้ โดยการเลือกรูปแบบ ออกแบบ ให้โครงไม้ มีสัดส่วนสวยงามทั้งนี้โดยใช้ช่างไม้ ที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ โครงไม้เหล่านี้ มักใช้เพียง 4 - 5 ปีก็จะเปลี่ยนหรือ ขายให้ผู้อื่น

    2. การออกแบบลวด ลายที่ใช้ประดับส่วนต่าง ๆ พร้อมทั้งการใช้ สีซึ่งจะต้องคิดไว้อย่างพร้อมมูล

    3. การแกะลวดลาย และการพิมพ์จากดินน้ำมัน หรือวัสดุทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ก่อนทำแม่พิมพ์

     4. การหล่อขี้ผึ้ง - การแกะขี้ผึ้งตามแบบ ที่กำหนดไว้ในขั้นตอนนี้ อาจใช้ทั้งขี้ผึ้ง แท้ ขี้ผึ้งผสม หรือสารวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้แล้วแต่ ความชำนาญของช่างแต่ละแห่งแต่โดยทั้ง ๆ ไปมักใช้การหล่อขี้ผึ้งอ่อนลงในแม่พิมพ์ แล้วลอกออก ตกแต่งให้ขี้ผึ้งมีลวดลายเด่น ชัดหรือตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก

    5. การประดับตกแต่ง  ตามด้วยอาคารปราสาทด้วยการใช้ เข็มหมุด ให้หัวแร้งไฟฟ้าเชื่อมให้ยึดติด กัน

     ปัจจุบันการทำปราสาทผี้ง เป็นงานใหญ่ ที่มีการเตรียมการจัดไม่น้อยกว่า 3 เดือน สำหรับคุ้มวัดที่ลงมือทำทุกขั้นตอน แต่ ความสับสนวุ่นวายทางเศรษฐกิจทำให้ประกอบเอง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาที่เปลี่ยนไปจากเดิม ที่คุ้มวัดเป็นศูนย์รวมการทำปราสาทผึ้ง หรือ งานบุญต่าง ๆ

พิธีกรรม

      พิธีกรรมในประเพณี ปราสาทผึ้งของชาวจังหวัดสกลนคร กล่าวได้ว่า ขึ้นอยู่ กับ ความเชื่อของการทำปราสาทผึ้งแต่ละชนิด แต่ละยุคสมัย กล่าวคือ ในยุคที่มีการ ทำหอผึ้งทรงตะลุ่มด้วยโครงไม้ไผ่ กาบกล้วย ก้านกล้วยประดับดอกผึ้งนั้น เมื่อนำไปเพื่อถวาย พระสงฆ์ ตลอดจนการทำปราสาทผึ้งทรงหอผี และปราสาทผึ้งทรงจตุรมุข เมื่อนำไปถวายพระ สงฆ์ จะกล่าวคำถวายเป็นภาษาบาลีดังนี้

  "อิมานิ มะยังภัณเต มธุบุปยะ ปะ สาทัง"

       หลังจากนั้นจึงทิ้งปราสาทผึ้งไว้ ที่วัด 3 วัน 7 วัน แล้วจึงนำกลับ บาง แห่งก็มอบถวายทิ้งไว้ที่วัด ในปัจจุบันเมื่อ มีการทำปราสาทผึ้งจตุรมุขขนาดใหญ่ลงทุน มากเมื่อพระสงฆ์รับถวายปราสาทผึ้งแล้วจะตั้ง ไว้ให้ประชาชนชมระยะสั้น ๆ 1 คืน แล้ วจะนำกลับคุ้มวัดของตน

       อย่างไรก็ ดีในสมัยโบราณกล่าวว่า ประเพณีของชาวคุ้มวัด ก่อนทำปราสาทผึ้ง 3 วัน จะนิยมนิมนต์พระสงฆ์ มาสวดชัยมงคลคาถาที่หมู่บ้านบริเวณที่จะ ทำปราสาทผึ้ง 3 คืน เมื่อทำปราสาทผึ้งเสร็จก่อน นำไปถวายวัดจะฉลองคบงันอีก 1 วัน 1 คืน จึงนำไปถวายวัด ปัจจุบันพิธีกรรมดัง กล่าวไม่เหลือปรากฏให้เห็น แต่หากเริ่มทำปราสาท ผึ้งไปทีละขั้นตอนกว่าจะเสร็จใช้เวลา นานนับ 1 เดือนขึ้นไป ซึ่งต่างจากสมัยโบราณ ที่ชาวคุ้มช่วยกันทำภายในเวลา 3 วัน 7 วันก็เสร็จเรียบร้อย

 

สาระ

     ประเพณีปราสาทผึ้ง มีเนื้อหาสาระสำคัญอยู่ที่ความรู้สึก จิตใจที่ ได้ปฏิบัติงานตามจารีตประเพณีเกิดความมั้นคงทาง จิตใจเป็นสำคัญ ส่วนเนื้อหาสาระในด้านต้องการ ให้เกิดบุญกุศล ก็ถือว่าเป็นเรืองสำคัย เช่นเดียวกับในการทำปราสาทผึ้งถวายวัด ถือ ว่าได้บุญสูงสุดเพราะผึ้งเกี่ยวพันกับพระ พุทธศาสนา ดังปรากฏในพุทธประวัติตอนปาลิไลย กะเลิง นำรวงผึ้งมาถวายสมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้าตอนเทโวโลหนะ ที่พระพุทธเจ้า แสดงปาฏิหาริยะเปิดโลกให้แลเห็นซึ่ง กันและกันทั้ง 3 โลก ทำให้มนุษย์เห็นความ ทุกข์สุขของเทวดามนุษย์และใต้บาดาลตลอดจนตอ นอทิสทาน ซึ่งท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ มเหสี กษัตริย์ แข่งขันกันสร้างปราสาทหรือแม้แต่พระมาลัยก็ กล่าวดังปราสาทในสวรรค์ชั้นฟ้า

 

      อย่างไรก็ดีในสาระของความต้องการบุญกุศลส่วนตัวดัง กล่าวมาแล้วยังมีสาระที่ต้องการอุทิสส่วนกุศลให้แก่ฟู้วายชนม์ ซึ่งอาจได้มา จากคติของชาวจีนที่ทำมาหากินใน สกลนคร ที่ทำการตักเป็นรูปทรงบ้านเรือนอาคาร เผาอุทิศให้ผู้ตาม แต่หากดัดแปลงเป็นการ สร้างอาคารเป็นทรงหอผี ประดับด้วยดอกผึ้งถวาย พระสงฆ์อุทิศให้ผู้วายชนม์

คัดจากเวปไซด์ จังหวัดสกลนคร   www.sakonnakhon.go.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครพนม โทร. 0 4251 3490 -1 TAT Call Center โทร . 1672




ประเพณีอีสาน

เลาะเบิ่งพระธาตุแดนอีสานเหนือ article
เลาะเบิ่งแดนอีสาน article
ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก
ประเพณีบุญเข้ากรรม
ประเพณีการลำผีฟ้า (แถน)
ประเพณีพิธีสู่ขวัญ
ประเพณีเลี้ยงผีปู่ตา
ประเพณีถวายเทียนพรรษา article
ประเพณีการผูกเสี่ยว
ประเพณีกินดอง (การแต่งงาน)
ผาชะนะได
ประเพณีเข้ากรรม
ภูลังกา
พระธาตุเรืองรอง
ประเพณีฮดสรง
ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ทุ่งดอกกระเจียว article
หม่องนั่งเซาเหมื่อย
วรรณกรรมอีสาน
ธรรมชาติแดนอีสาน



Copyright © 2010 All Rights Reserved.