ReadyPlanet.com
dot dot




ประเพณีการลำผีฟ้า (แถน)

 ประเพณีการลำผีฟ้า (แถน)

      ประเพณีการลำผีฟ้า เป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติกันโดยทั่วไปในตำบลสระกำแพงใหญ่ โดยเฉพาะที่บ้านหนองม้า จะมีการจัดอย่างยิ่งใหญ่ มีความสวยงามและน่าเชื่อถือมาก การลำผีฟ้าชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าการลำข่วง มูลเหตุในการจัดพิธีก็เนื่องจากการลำบวงสรวงบูชาเพื่อความเป็นศิริมงคลและเพื่อปัดเป่าอาการเจ็บไข้ได้ป่วย

         ดังนั้นในการที่จะจัดพิธีในแต่ละครั้งจึงไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ดังนั้นจึงเป็นการยากการที่จะได้มีโอกาสชมการลำผีฟ้าจริง แต่หากนักท่องเที่ยวมีความต้องการที่จะชมการลำผีฟ้าจริงก็จะต้องมีการพูดคุยติดต่อกับชาวบ้านในพื้นที่ หรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลสระกำแพงใหญ่ก็จะเป็นการง่ายขึ้น

              ลำผีฟ้า หรือ หมอธรรมผีฟ้า หรือ ลำข่วง ลำผีฟ้า เป็นพิธีกรรมเพื่อให้ผู้มีความเชื่อถือดำรงชีวิตด้วยความเชื่อมั่น และเพื่อการรักษาโรค ตามความเชื่อที่ว่ามนุษย์ทุกคนต้องมีผีฟ้า (เทวดา) ปกปักรักษา โดยมีผู้ที่สามารถติต่อกับผีฟ้าได้คือ หมอธรรม จึงมีการประกอบพิธีเข้าธรรมหรือขึ้นธรรมเพื่อให้หมอธรรมครอบหรือฝากตัวผู้ นั้นเป็นสานุศิษย์ของหมอธรรมตลอดชีวิต การลำผีฟ้าจะจัดเป็นประจำปีหรือทุกปีหรือจักขึ้นเพื่อรักษาผู้ป่วยเป็นคราวๆ ไป การลำผีฟ้าเริ่มจาการกำหนดวัน การจัดสร้างปะรำ มีที่บวงสรวงบูชาผีฟ้าพร้อมกับมีผู้เป่าแคน ตีฉิ่ง ประกอบการลำ ผู้ที่ลำผีฟ้ามีพวงมาลัยดอกจำปาหลายสายสวมไว้ที่คอ

             ชาวศรีสะเกษในอดีตนิยมปลูกต้นจำปา (ลั่นทม-ยางใช้รักษาแผลที่ถูกสุนัขกัดได้) ไว้เกือบทุกบ้านเพื่อนำดอกมาร้อยมาลัยจำปาสำหรับคล้องคอผู้ลำผีฟ้า การลำผีฟ้าเริ่มด้วยการอัญเชิญผีฟ้ามาเข้าทรง ผู้ถูกเข้าทรงจะมีอาการสั่นเทิ้ม มือที่พนมอยู่จะขยับขึ้นลงอย่างรวดเร็ว ในที่สุดจะลุกขึ้นฟ้อนรำตามจังหวะแคน มักเรียกผู้เป่าแคนว่าม้า ซึ่งจะเป่าทำนองเร็วหรือช้าตามที่ผีฟ้าต้องการ การอัญเชิญผีฟ้า (เทวดา) แต่ละองค์มาเข้าทรงพกดาบไม้สมมติเป็นอาวุธประจำตัว ทำเรือไม้จำลองเป็นพาหนะ เมื่อผีฟ้าหรือเทวดามาเข้าทรงมีชื่อเพราะของผีฟ้าหรือเทวดาองค์นั้น ผู้ลำผีฟ้าฟ้อนและร้องรำด้วยทำนองที่โหยหวนโต้ตอบกันระหว่างผีฟ้าทั้งวันทั้งคืน หรือติดต่อกันหลายวันหลายคืน ผีฟ้าบางคนดื่มสุราพร้อมทั้งเคี้ยวหมากไปด้วย เชื่อกันว่าผีฟ้าจะมารักษาผู้ลำผีฟ้าให้มีความสุขความเจริญ หรือทำให้ผู้ป่วยนั้นหายป่วยหรือเพื่อความสุขในชีวิต ต่อมาเมื่อวัฒนธรรมภาคกลางแผ่ขยายเข้ามา จึงมีการโค่นต้นจำปา (ลั่นทม) ในบริเวณบ้านทิ้งเพราะมีความเชื่อใหม่จากวัฒนธรรมภาคกลางว่าจะทำให้เกิดความทุกข์ระทมความเชื่อในประเพณีเก่าๆที่ยังเหลืออยู่ในความทรงจำของชาวสณีสะเกษอีกอย่างหนึ่งคือของรักษา โดยชื่อว่าคนเราต้องมีของรักษาตัวอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ยึดเป็นหลักในการดำรงชีวิต เพื่อให้ชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย ไม่ปล่อยชีวิตอยู่อย่างเลื่อนลอย ของรักษาต่างกับปู่ตาคือไม่เกี่ยวกับผีสาง แต่หากเกี่ยวกับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ คนโบราณสอนกันว่าชีวิตคนๆหนึ่งต้องมีผู้คุ้มครองผู้คุ้มครองนั้นเรียกว่าธรรม สามารถคุ้มครองป้องกันความวิบัติได้ เหมือนกับเทวดาประจำถิ่นอย่างที่ชาวบ้านรู้จักกันทั่วไป

               ของรักษาแบ่งเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งเรียกว่า ธรรม อีกพวกหนึ่งเรียกว่าผีฟ้า ผู้ที่ขี้นอยู่กับธรรมก็มีหมอธรรมเป็นผู้คุ้มครอง เจ็บไข้ได้ป่วยก็ให้หมอธรรมรักษา หมอธรรมจะทำพิธีต่างๆเช่น รดน้ำมนต์ แต่งแก้ เสียเคราะห์ (สะเดาะเคราะห์) ปราบผี มีทั้งกันและแก้ ผู้ที่เป็นหมอธรรมโดยมากมาจากนักบวช แต่ต้องเรียนวิธีรักษาคนป่วยอีกต่างหาก มีทั้งหมอธรรมที่อยู่ในบ้านเดียวกันและอยู่หมู่บ้านหรืออำเภออื่นที่อยู่ ห่างออกไป แล้วแต่ความศักสิทธิ์ของผู้เป็นหมอธรรมจะมากน้อยเพียงใด คนศรัทธาเพียงใด หมอธรรมเป็นบุคคลจำพวกหนึ่งที่ปฏิบัติธรรมในศาสนาได้เป็นอย่างดี ถือศีลห้าอย่างเคร่งครัดมิฉะนั้นแล้วจะรักษาธรรมไว้ไม่ได้ และอาจเป็นผู้มีเมตตาอารีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน รักษาคนโดยไม่หวังลาภผลตอบแทน เป็นที่พึ่งของชาวบ้านได้ดี ธรรมที่ใช้ทำน้ำมนต์รักษาคนไข้ก็เป็นพุทธพจน์ ปราบผีก็ใช้พุทธมนต์น่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก แต่ปัจจุบันจิตใจหมอธรรมเปลี่ยนไปจากที่เป็นมาแต่เดิมคือ เป็นหมอธรรมที่แสวงหาโชคลาภมากเกินไป กลายเป็นนั่งธรรมขึ้นธรรมเพื่อบอกหวยบอกเลข สร้างเครื่องรางของขลังอยู่ยงคงกะพันไว้ขายผู้ป่วยที่ไปรักษา เรียกค่ายกครูเป็นเงินจำนวนพัน แล้วบอกผู้ป่วยว่า ผีต้องการเงินเท่านั้น ผ้าขาว ดอกไม้ ธูปเทียน ผลไม้ต่างๆ ผู้ป่วยอยากหายก็ยอมหาให้จึงทำให้หมอธรรมยึดเป็นอาชีพโดยผีแต่งตั้ง หมอธรรมบางคนรวยจนแปลกตาขึ้นเป็นจำนวนมาก และปรากฏว่ามีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากหมู่บ้านที่ไกลความเจริญ เพื่อหลอกลวงชาวบ้านด้วยวิธีการต่างๆโดยอ้างว่าผีบอกแล้วก็แสดงเลียนแบบกัน ในที่สุดก็ยึดเป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัวอย่างสบาย ดังปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ

                พวกที่สองคือ ผีฟ้า จะมีส่วนคล้ายกับหมอธรรม แต่จะแปลกออกไปคือ จะมีการลำล่อง (คือ ปากร้องรำพันไป มือทั้งสองข้างก็ฟ้อนไปด้วย) คนที่ลำเป็นหญิง ถ้าเป็นชายก็จะแต่งตัวเป็นหญิง จะมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประกอบด้วย ใช่ลำล่องรักษาผู้ป่วย บางคนฟ้อนรำไม่เป็น เมื่อผีฟ้าเข้าทรงก็จะรำได้เอง ผีที่มาเข้าทรงนั้นมาจากไหนไม่ทราบชัด เรียกกันแต่ว่าผีฟ้า แท้จริงแล้วเป็นพวกผีเชื้อ คือผีในตระกูลของหมอผีนั่นเอง บางครั้งหมอผีจะเรียกวิญญานของญาติผู้ป่วยที่ตายแล้วมาถามถึงอาการป่วยก็ได้ ผีฟ้าใช้รักษาผู้ป่วยด้วยการบนบานอ้อนวอนผีให้ช่วยให้หายป่วย ผีฟ้าไม่ค่อยมีคนศรัทธามากนักเพราะคนที่นับถือผีฟ้าส่วนมากจะเป็นญาติของผี ฟ้าที่เคารพนับถือมาแต่บรรพบุรุษ พวกนี้มักเป็นคนขวัญอ่อน เมื่อรักษาหายแล้วก็ต้องเป็นผีฟ้าสืบต่อไปอีก




ประเพณีอีสาน

เลาะเบิ่งพระธาตุแดนอีสานเหนือ article
เลาะเบิ่งแดนอีสาน article
ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก
ประเพณีบุญเข้ากรรม
ประเพณีพิธีสู่ขวัญ
ประเพณีเลี้ยงผีปู่ตา
ประเพณีถวายเทียนพรรษา article
ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
ประเพณีการผูกเสี่ยว
ประเพณีกินดอง (การแต่งงาน)
ผาชะนะได
ประเพณีเข้ากรรม
ภูลังกา
พระธาตุเรืองรอง
ประเพณีฮดสรง
ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ทุ่งดอกกระเจียว article
หม่องนั่งเซาเหมื่อย
วรรณกรรมอีสาน
ธรรมชาติแดนอีสาน



Copyright © 2010 All Rights Reserved.