ReadyPlanet.com
dot dot
bulletซอกมาเว้าสู่ฟัง




เลาะเบิ่งพระธาตุแดนอีสานเหนือ article

 

 

พระธาตุพนม

อำเภอธาคุพนม   จังหวัดนครพนม

                    พระธาตุพนม ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตำบล และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุ อยู่บนภูกำพร้า หรือดอยกำพร้า ภาษาบาลีว่า กปณบรรพตหรือ กปณคีรี ริมฝั่งแม่น้ำขลนที อันเป็นเขตแขวงนครศรีโคตบูรโบราณ

ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตบูร พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ

       พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา

       เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์  เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ  ตำนานตอนนี้ตรงกับตำนานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ซึ่งมีรายละเอียดอยู่แล้ว

       เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา

           จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา 1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า 5,000 พระวัสสา  เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน

        พระธาตุพนม ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตามลำดับ การบูรณะครั้งแรกและครั้งที่สอง ไม่ได้บันทึกปีที่บูรณะไว้  การบูรณะครั้งที่สามเมื่อปี พ.ศ. 2157  ครั้งที่สี่เมื่อปี พ.ศ. 2233  ครั้งที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2349  ครั้งที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2444 เป็นการบูรณะครั้งใหญ่ และต่อจากนั้นมาก็มีการบูรณะทั่วไป เช่น บริเวณโดยรอบพระธาตุ

ได้มีพิธียกฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐานไว้ที่ยอดองค์พระธาตุ และนำฉัตรเก่ามาเก็บไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2497 มีพุทธศาสนิกชนจากดินแดนสองริมฝั่งโขงทั้ง ไทยและลาว หลั่งไหลมาร่วมมงคลสันนิบาต และนมัสการองค์พระธาตุเป็นเวลาถึงหนึ่งเดือน

        เมื่อปี พ.ศ. 2518 องค์พระธาตุพนมชำรุดล้มลง ทางราชการได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่ ให้คงสภาพเดิม ภายในปีเดียวกัน และได้ยืนยงคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

         งานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3

คำนมัสการพระธาตุพนมมีดังนี้

        "กปณคิริสฺมิ ปพฺพเต มหากสฺสเปน ฐาปิตํ พุทฺธอุรงฺคธาตุ สิรสา นมามิ"

 

 

แปลว่า "ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระบรมอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระมหากัสสปเถระเจ้า นำมาฐาปนาไว้ ณ ภูกำพร้า ด้วยเศียรเกล้า"

 

 

 

 

 พระธาตุท่าอุเทน

อำเภอท่าอุเทน   จังหวัดนครพนม

             พระธาตุท่าอุเทน รูปทรงของพระธาตุคล้ายพระธาตุพนม สูงจากพื้นดินถึงยอด 33 วา ฐานกว้างด้านละ 6 วา 3 ศอก พระอาจารย์ ศรีทัตถ์เป็นผู้สร้างขึ้นเมืองปี พ.ศ. 2455 พระธาตุนี้เป็นศิลปกรรมและปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งองค์หนึ่ง บรรจุ พระธาตุของพระอรหันต์ซึ่งพระอาจารย์ศรีทัตถ์ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่าครับ การเดินทางไป นมัสการพระธาตุท่าอุเทนนี้ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 212 ไปยังอำเภอท่าอุเทน 26 กิโลเมตร ถึงที่ว่าการอำเภอ ท่าอุเทน ซึ่งอยู่ใกล้วัดพระธาตุท่าอุเทน และอยู่ตรงข้ามกับเมืองหินบูรณ์ แขวงคำม่วง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (เป็นเมืองประวัติศาสตร์ของอาณาจักรศรีโครบูรณ์ในอดีต)

 

 

 

 

วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร


ที่ตั้ง

วัดพระธาตุเชิงชุมตั้งอยู่ริมหนองหารในเขต เทศบาลสกลนคร มีพื้นที่ 18 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา อยู่ปลายสุดของถนนเจริญเมือง มี อาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดกับหนองหารหลวงและบ้านเรือนชาวคุ้มทิศ ตะวันตก ติดกับถนนเรืองสวัสดิ์ ทิศใต้ ติดกับ ถนนเจริญเมือง
ประวัติความเป็นมา

ตามอุรังค นิทาน กล่าวว่า วัดพระธาตุเชิงชุม เป็นสถานที่ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาโปรดชาวเมืองหนองหาร หลวง และกล่าวว่าบริเวณนี้เป็นที่บรรจุพระบาท ของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กุกสันโธ โกนาคมโน กัส สะโป และโคตมะ ซึ่งก่อนจะเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน ต้องไปประทับรอยพระบาทไว้ที่นั่นทุก พระองค์ นับว่าพระพุทธเจ้าพระนามว่า ศรี อาริยเมตตรัย องค์ที่ 5 ในภัทกัปป์นี้ ก็จะประทับรอยพระบาทไว้เช่นกัน ด้วยเห ตะนี้จึงถือกันว่าวัดพระธาตุเชิงชุม จึงเป็นวัดแรกที่พระยาสุวรรณภิงคาระ พระะ นางนารายณ์เจงเวง และเจ้าคำแดง อนุชาพระยา สิวรรณภิงคาร มาสร้างวัดขึ้นเมื่อย้ายราชธานี จากบริเวณซ่งน้ำพุและท่านางอายฝั่งตรงข้าม หนองหาร เมื่อครั้งหนองหารล่มเพราะการกระทำของ พญานาค

 

 

 

อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานเสมา หินที่พบอยู่รอบ ๆ วัดพระธาตุเชิงชุม และหลักฐานแท่านบูชารูปเคารพ ตลอดยนศิลาจารึกตัว อักษรขอมในพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 ซึ่งอยู่ ติดผนังทางเข้าภายในอุโมงค์พระธาตุเชิงชุม (ชั้นใน) ซึ่งก่อเป็นพระธานุหรือ สถูปขนาดเล็ก หลักฐานเหล่านี้บ่งบอกว่า บริเวณ วัดพระธาตุเชิงชุมได้มีชุมชนเกิดขึ้น ต่อเนื่องกันมา โดยเฉพาะศิลาจารึกที่กรอบประตู ทางเข้าปรางค์ขอมหรือสถูป ซึ่งมีความกว้าง 49 .. ยาว 52 .. เขียน เป็นตัวอักษรขอมโบราณ เนื้อความกล่าวถึงบุคคลจำนวน หนึ่ง ได้พากันไปชี้แจงแก่โขลญพล หัว หน้าหมู่บ้าน พระนุรพิเนาตามคำแนะนำ ของกำแสดงว่าที่ดินที่ราษฎรหมู่บ้านพะ นุรนิเนามอบให้โบลูญพลนี้มี 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่ดินในหลักเขต ให้ขึ้น กับหัวหน้าหมู่บ้านพะนุรพิเนา นอกจาก เรื่องการมอบที่ดินแล้ว ข้อความตอนท้ายของ จารึกได้กล่าวถึงการกัลปนาของโขลญพลที่ได้ อุทิศตน สิ่งของที่นา แด่เทวสถานและสงกรานต์

กล่าวโดยสรุปในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 บริเวณวัดพระธาตุเชิงชุมคงถูกปกครอง โดยคนกลุ่มขอมที่พากันสร้างวัด โดยอุทิศ ที่ดิน บริวาร ข้าทาส ให้ดูแลวัด หรือศา สนสถานแห่งนี้ ซึ่งอาจเป็นศาสนสถานตาม คติพราหมณ์หรือพุทธมหายานก็ได้
ความสำคัญต่อชุมชน

หลักฐานการตั้งชุมชนบริเวณวัดพระ ธาตุเชิงชุมในสมัยรัตนโกสินทร์ค่อนข้างเด่น ชัด โดยเฉพาะพงศาวดาร ฉบับพระยาประจันตประเทศธานี ( โง่นคำ) กล่าวว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดผ้าจุ)าโลกมหาคาช โปรด เกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมไพร่พลตัวเลก มาตั้งเมืองรักษาพระธาตุเชิงชุม เมื่อมีผู้ คนมากขึ้นก็โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุ เชิงชุม ขึ้นเป็นเมืองสกลทวาปี เมื่อปี พ ..2329 อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดศึก เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏใน พ. .2370 เมืองสกลนครต้องโทษเป็นกบฎขัดขืนอาญา ศึก เจ้าเมืองฝักใฝ่กับเจ้าอนุวงค์ไม่ได้เตรียม กำลังไพร่พล กระสุนดินดำ เว้ให้ทัพหลวงตาม คำสั่ง พระธานีเจ้าเมืองสกลทวาปีถูกประหาร ชีวิต ญาติพี่น้องเจ้าเมืองถูกกวาดต้อนไปอยู่ เมืองกบิลประจันตคาม จึงทำให้บริเวณวัดพระธาตุ เชิงชุม ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเมืองถูกทิ้งร้าง ชั่วคราวปล่อยให้หมู่บ้านรอบ ๆ 10 หมู่บ้าน เป็นข้าพระธาตุดูแลวัดแห่งนี้

หลังการกบฎของเจ้าอนุวงศ์ ราชวงศ์ (คำ) แห่งเมือง มหาชัยกองแก้วได้เข้ามาพึ่งบราโพธิสมภาร โปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นพระประเทศธานี(คำ ) เจ้าเมืองและให้ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์มาดำรงตำแหน่ง อุปฮาด ให้ท้าวอินน้องชายราชวงศ์(คำ)เป็น ราชวงศ์ ให้ท้าวบุตรเมืองกาฬสินธุ์เป็นราชวงศ์ มีการสร้าง กุฏิ ศาลาการเปรียญตั้งแต่นั้นมาวัดพระธาตุ เชิงชุมก็เจริญขึ้นตามลำดับ

จึงถือว่าวัดพระธาตุเชิงชุมเป็นศูนย์กลางของเมืองสกลนคร มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระธาตุเชิงชุม

วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร มีโบราณสถาน โบราณวัตถุสำคัญ ๆ นับแต่องค์พระธาตุเชิงชุม หลวงพ่อพระ พุทธองค์แสน พระอุโบสถ พระวิหาร หอจำศีล ( สิมหลังเล็ก) 90 ไตร ฯลฯ ในที่นี้ขอ อธิบายเฉพาะตัวสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุเท่านั้น

 

 

 

พระธาตุเชิงชุมเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนสี่ เหลี่ยม สูง 24 เมตรเศษ มีซุ้มประตู 4 ด้าน คือ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ลักษณะประตูเป็นประตู ปิด - เปิด ได้แต่เปิดไม่ได้มากเพราะติด องค์สถูปภายใน ซึ่งเจดีย์องค์ใหม่สร้างครอบไว้ ส่วนด้านตะวันออกเป็นประตูทางเข้าสถูปภายใน วิหาร

ทรวดทรงของพระธาตุเชิงชุม เป็นทรงเจดีย์ สี่เหลี่ยมลดชั้นจากฐานขึ้นไปสู่ยอดเป็น ช่วง ๆ 3 ช่วง จึงถึงเต้าระฆัง และรับด้วย ดวงปลีที่ทำเป็นทรงบัวเหลี่ยมปักยอดฉัตร ทองคำ ลักษณะการลดชั้นเจดีย์รับด้วยดวงปลี ทรงบัวเหลี่ยม ทำให้องค์พระธาตุเชิงชุมมี ความสวยงามกระทัดรัดไม่เทอะทะ เช่น เจดีย์ทรง ฐานกว้างเตี้ย นอกจากนี้สถาปนิกยังสร้างให้ซุ้ม ประตู 3 ด้าน เพื่อให้ประชาชนเห็นองค์พระธาตุ (สถูป) เดิมภายใน ต่อมาได้มีการ นำพระพุทธรูปปางห้ามญาติ อิทธิพลล้านช้าง มาติดไว้ในซุ้มทั้ง 3 ด้าน นับว่าเป็น ส่วนประกอบองค์สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ และเป็นประติมากรรม แบบล้านช้างที่แท้จริง

องค์ประกอบสำคัญขององค์พระธาตุเชิงชุมคือ ซุ้มประตูโขงทรงหอแก้วดอ เป็นลักษณะหอแก้วเฟื่อง คือ มีขนาดพองาม และ ในพื้นที่ครึ่งหนึ่งของปริมณฑล ทำให้พื้นที่ บริเวณฐานเจดีย์องค์พระธาตุสวยงาม ในส่วนราย ละเอียดของซุ้มประตูนั้นเป็นงานสถาปัตยกรรมฝีมือช่าง ชั้นครู โดยเฉพาะลายของก้นหอยซึ่งทำขนาด ใหญ่น้อยเรียงกันไป เพียงแต่มีปูนขาวทาบ ทับนนหนาปิดบังความคมชัดของลายก้นหอย อันวิจิตรบรรจง

 

ไหว้พระธาตุประจำวันเกิด (พระธาตุประสิทธิ์)

พระธาตุประสิทธิ์ 

ตำบลนาหว้า   อำเภอนาหว้า  จังหวัดนครพนม

            ก่อนที่จะเล่าต่อถึงการไปไหว้พระธาตุประจำวันเกิด ซึ่งผมได้เล่ามาแล้ว ๕ พระธาตุด้วยกันคือ
            พระธาตุศรีคุณ  หรือศรีคูณ  พระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันอังคาร ประดิษฐานอยู่ที่อำเภอนาแก
            พระธาตุพนม  พระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันอาทิตย์ ประดิษฐานอยู่ที่อำเภอธาตุพนม
             พระธาตูเรณู  พระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันจันทร์  ประดิษฐานอยู่ที่อำเภอเรณูนคร
             พระธาตุนคร  พระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์ ประดิษฐานอยู่ที่อำเภอเมืองนครพนม
             พระธาตุท่าอุเทน  พระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันศุกร์ ประดิษฐานอยู่ที่อำเภอท่าอุเทน
            พระธาตุประจำวันเกิดทุกองค์ประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดนครพนม ในภาคอีสาน แต่จะต่าาอำเภอกัน ดังได้กล่าวมาแล้ว ได้เล่ามาแล้ว ๕ พระธาตุ ๕ วันคือวันอาทิตย์, วันจันทร์, วันอังคาร, วันศุกร์ และวันเสาร์
            ผมจะเล่าต่ออีก ๒ วันคือ พระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันพฤหัส และเกิดวันพุธ แต่คงจะเล่าไม่จบในสัปดาห์เดียว เห็นจะต้องไปกันสัก ๒ ตอน เพื่อให้ได้ความละเอียดสมกับที่ท่านจะต้องเดินทางมา และเดินทางมาทั้งทีก็ใให้ได้นมัสการให้ครบทั้ง ๗ พระธาตุ แต่หากเกิดปีวอก ก็จะได้เปรียบเพราะ พระธาตุพนมนั้นเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีวอก และของคนเกิดวันอาทิตย์ การไปไหว้พระธาตุไม่ว่าจะเป็นไหว้พระธาตุประจำปีเกิด หรือวันเกิดย่อมได้รับอานิสงส์เหมือนกัน แม้ว่าคนนั้นจะไม่ได้เกิดตรงกับปี หรือวันของพระธาตุที่ไปไหว้ก็ตาม
            สำหรับเส้นทางที่ควรจะเดินทางไปไหว้พระธาตุประจำวันเกิดนั้น หากไม่เชื่อตามป้ายแบบที่ผมไปก็จะไปสะดวก และได้แหล่งกิน แหล่งท่องเที่ยวมากขึ้น ตอนที่ผมไปผมไปหลงเชื่อป้ายที่อำเภอเรณูนคร ที่บอกว่าไปอำเภอปลาปาก ไปพระธาตุมหาชัย บอกอย่างนี้แล้วไม่มีระยะทางกำกับ ผมรับรอง ไม่ว่าใครก็ต้องคิดว่าพระธาตุมหาชัยอยู่ที่ตัวอำเภอ หรือใกล้ ๆ กับอำเภอปลาปาก ผมไม่ได้ว่าอำเภอเรณูนคร ผมว่าหน่วยราชการที่ปักป้ายเอาไว้ ผมไปตามป้ายคือไปอำเภอเรณูนคร นมัสการพระธาตุเรณูแล้วก็ไปตามถนนที่ป้ายบอกว่าไปอำเภอปลาปาก วิ่งไป ๒๔ กิโลเมตร แล้วไปวอีก ๑๕ กิโลเมตร ถึงเหมือนกันถึงถนนสายหลักคือสาย ๒๒ สายสกลนคร - นครพนม เมื่อพบถนนสายวนี้ก็ต้องเลี้ยวซ้ายไปอีก ไปจนถึงหลักกิโลเมตรที่ ๒๐๕ ซึ่งตรงหลักนี้จะอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครพนม ๓๗ กโลเมตร ที่นี่จะพบป้ายชี้ทางให้เลี้ยวซ้ายไปอีก ๒ กิโลเมตร จึงจะถึงพระธาตุมหาชัยเรียกว่าวิ่งอ้อมโลกไปเลย จากพระธาตุมหาชัยจึงวิ่งกลับมานอนที่นครพนม
            ซึ่งเส้นทางนี้น่าจะอ้อม ขอเสนอเส้นทางเอาไว้ใหม่ ผมไปคราวหน้าผมจะไปตามเส้นทางดังนี้ ยังสนุกอยู่ครับกับการเที่ยวในจังหวัดนครพนม ผมจะไปทางนี้คือ
            จากขอนแก่น ไปกาฬสินธิ์ข้ามเทือกเขาภูพานแล้วไปสกลนคร เส้นนี้จะผ่านเทือกเขาสูงหรือ
            จากขอนแก่นไปตามถนนสาย ๒ ไปผ่านอำเภอเขาสวนกวางแวะกินไก่ย่างเขาสวนกวางเสียก่อนแล้ววิ่งต่อไปจนถึงกิโลเมตร ๘๒ ก็เลี้ยวขวาไปอีก ๑๐ กิโลเมตร จะถึงอำเภอกุมภวาปี จะนอนที่นี่เสียคืนหนึ่งก็ได้ จะได้แวะกินอาหารที่ผมย่องย่องว่าเป็นเพชรในป่าเลยทีเดียว จากกุมภวาปีไปผ่านอำเภอหนองหาน ไปบ้านเชียงมรดกโลก ไปพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น ที่อำเภอพรรณนานิคม แล้วไปสกลนครเที่ยวชม และนมัสการพระธาตุเชิงชุม พระองค์แสน พระธาตุดุม พระธาตุนารายณ์เจงเวง ไปวัดป่าสุธาวาส นมัสการพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต ในพิพิธภัณฑ์ของท่าน ไปชมหนองหาน หนองน้ำที่ใหญ่เป็นลำดับ ๓ รองจากกว๊านพะเยา และบึงบรเพ็ด กินข้าวกลางวันเสียที่สกลนคร เดินทางต่อไปยังอำเภอนาแก เพื่อไหว้พระธาตุศรีคุณ ที่นาแก แล้วเลยไปอีก ๘ กิโลเมตร ขึ้นไปไหว้พระบรมสารีริกธาตุที่วัดภูพานอุดมธรรม หรือวัดภูพานดาน สาวคอย จากนั้นวิ่งไปนอนเสียที่อำเภอธาตุพนมอีก ๑ คืน
           
รุ่งเช้า เที่ยวตลาดเช้าหน้าพระธาตุของธาตุพนม  ไหว้พระธาตุพนม ซื้อของดีธาตุพนม คือ เค็มสัปปะรด และกาละแม ที่หาใครสู้ยาก จากนครพนม ไปยังเรณูนคร เพื่อไหว้พระธาตุเรณู จะแวะซื้ออุ เป็นของฝากหรือเอาไว้ "ดูด" ยามเย็นให้เมาเล่นแทนเหล้า แทนเบียร์ก็ได้
           
จากเรณูนคร ขอแนะนำว่าไปอำเภอเมืองนครพนม พักที่โรงแรมที่ก่อนเข้าตัวเมือง มีโรงแรมใหญ่อยู่ ๒ แห่ง ที่อยู่ริมหาดทรายสีทองโคตรบูร และอยู่ริมแม่น้ำโขง วิวสวยงามนัก หากไปถึงยังมีเวลาก็ไปตามถนนสุนทรวิจิตร ที่เลียบแม่น้ำโขง ไปไหว้พระธาตุนคร พระธาตุของคนเกิดวันเสาร์ ตกค่ำกินอาหารร้านริมแม่น้ำโขง หรือไปที่ดงข้าวต้ม ผมชวนชิมเอาไว้ และมีเวลาเที่ยวในตัวเมืองอีกหลายแห่ง
           
วันรุ่งขึ้นหลังจากนอนพักมา ๓ คืนแล้ว ไปต่อ เที่ยวในตัวเมืองนครพนม ต่อให้จบภายในเวลาไม่ควรเกิน ๑๐.๐๐ น. จากนั้นเดินทางต่อไปอีก ๒๖ กิโลเมตร จะถึงพระธาตุท่าอุเทน ที่อำเภอท่าอุเทน ไหว้พระธาตุท่าอุเทนแล้ว ไปกินอาหารที่สวนอาหารปากน้ำสงคราม จากนั้นย้อนกลับมาเพื่อเลี้ยวไปอำเภอศรีสงคราม ต่อไปยังอำเภอนาหว้า ไหว้พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุของคนเกิดวันพฤหัสที่ผมจะพาไปไหว้ในวันนี้ เมื่อไหว้พระธาตุประสิทธิ์แล้ว จะไม่ย้อนกลับมา จะตัดไปออกถนนสาย ๒๒ ที่ตำบลท่าแร่ เมื่อถึงท่าแร่หากเลี้ยวขวาจะไปสกลนคร เราก็เลี้ยว "ซ้าย" มาจนถึงหลักกิโลเมตร ๒๐๕ จะพบป้ายชี้ให้ไปพระธาตุมหาชัย ก็เลี้ยวขวาไปอีก ๒ กิโลเมตร จะถึงวัดพระธาตุมหาชัย ไหว้พระธาตุมหาชัย พระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันพุธ เป็นอันว่าได้ไหว้พระธาตุครบทั้ง ๗ วัน แล้ววิ่งกลับมานอนที่นครพนมอีกหนึ่งคืน รวมใช้เวลา ๕ วัน ๔ คืน เรียกว่าไปอย่างสบาย   ได้อิ่มอร่อย สนุก ได้ซื้อของที่ตลาดอินโดจีน จ่ายกันสนุกนัก ได้ไหว้พระธาตุสำคัญถึง ๘ องค์ คือ พระธาตุดอนแก้ว ที่กุมภวาปี, พระธาตุศรีคุณ, พระธาตุพนม, พระธาตุเรณู,พระธาตุนคร, พระธาตุท่าอุเทน, พระธาตุประสิทธิ์ และพระธาตุมหาชัย และในตอนกลับจากพระธาตุมหาชัยนั้น ยังจะผ่านบ้านนาจอก บ้านที่โฮจิมินต์ เคยมาหลบพักอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านนี้ถึง ๗ ปี ตั้งแต่ ๒๔๖๖ - ๒๔๗๒  เพื่อเตรียมการกอบกู้เอกราชของเวียดนาม ผมขอเล่าตอนไปไหว้พระธาตุมหาชัย
           
พระธาตุประสิทธิ์  พระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันพฤหัสบดี มีคาถาบูชาพระธาตุว่า "ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ"  สวดบูชาวันละ ๑๙ จบ ชื่อคาถา พระนารายณ์ตรึงไตรภพ บูชาแล้วจะเกิดเมตตามหานิยม ประจำอยู่ทิศประจิม หรือตะวันตก
           
ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุประสิทธิ์ อำเภอนาหว้า ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๙๓ กิโลเมตร เดิมเป็นเจดีย์โบราณ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๓๖ จึงได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ โดยจำลองรูปทรงมาจากองค์พระธาตุพนม ลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยม วัดโดยรอบฐานได้ ๒๐.๘๐ เมตร สูง ๒๘.๕๒ เมตร พระธาตุประสิทธิ์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเอาไว้ถึง ๗ องค์ และยังบรรจุพระอรหันต์ธาตุเอาไว้อีก ๑๔ องค์ บรรจุจากสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง ในอุโมงค์พระธาตุยังได้มีการบรรจุพระพุทธรูปเก่าแก่หลายองค์ ซึ่งพบอยู่ในอุโมงค์พระธาตุ เมื่อครั้งบูรณะครั้งใหญ่ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธบาทจำลอง ที่อัญเชิญมาจากกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ไว้อีกด้วย
           
พระธาตุองค์นี้มีความสำคัญ และความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นพระธาตุองค์เดียวในประเทศไทย ที่มีการบรรจุสิ่งสำคัญแห่งพระพุทธศาสนาไว้ครบหมด เป็นโบราณวัตถุที่เก่าแก่เป็นปูชนียวัตถุ ที่ควรแก่การเคารพกราบไหว้สักการะเป็นอย่างยิ่ง เป็นหลักยึดเหนี่ยวของพระพุทธศาสนิกชนทั่วไป จัดว่าเป็นขุมทรัพย์อันประเสริฐของชาวพุทธโดยแท้
           
สิ่งของบูชาพระธาตุมีข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีส้ม ธูป ๑๙ ดอก เทียนขาว ๒ เล่ม
           
เส้นทาง หากไปจากตัวจังหวัดนครพนม ถ้าออกจากตัวเมืองตอนสาย ๆ สักหน่อย ก็จะได้ไปไหว้พระธาตุท่าอุเทนเสียก่อน จากนั้นก็กลับมาขึ้นถนนสายที่มาจากนครพนมคือสาย ๒๑๒ สายนี้จะไปยังหนองคาย พอขึ้นสาย ๒๑๒ ที่หลักกิโลเมตร ๒๖ แล้ว ให้เลี้ยวขวาไปทางหนองคาย ไปได้ ๑๒ กิโลเมตร จะมีถนนแยกซ้ายคือถนนสาย ๒๐๓๒ ให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายนี้ (หากไปกินอาหารกลางวันที่สวนอาหารปากน้ำสงคราม ก็ให้ตรงไปก่อนอีก ๖ กิโลเมตร แล้วจึงย้อนกลับมาเข้าสาย ๒๐๓๒) วิ่งไปตามถนนสาย ๒๐๓๒ ไปยังอำเภอศรีสงคราม จากสามแยกที่เลี้ยวขวาเข้ามานี้จนถึงอำเภอศรีสงคราม รยะทาง ๓๑ กิโลเมตร
           
ที่ศรีสงครามเป็นอำเภอที่แม่น้ำยมมาบรรจบกับแม่น้ำสงคราม ทำให้เกิดแหล่งปลาชุกชุม ชาวบ้านจึงหาวิธีถนอมอาหารด้วยการทำปลาร้า ปลาร้าที่บ้านปากยามขึ้นชื่อว่าอร่อย และสะอาดที่สุด ซื้อแล้วให้เขาห่อให้อย่างดีรับรองว่าเอากลับมาบ้านได้ ปลาที่ศรีสงครามบ้านปากยามนำมาทำปลาร้าคือ ปลาหนัง ซึ่งเป็นปลาที่ไม่มีเกล็ด หมักกับเกลือสินเธาว์ บวกกับสูตร และความชำนาญเฉพาะถิ่น ผลิตส่งออกขายทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีการแปรรูปเป็นแจ่วบองด้วย ปลาร้าที่บ้านปากยามนี้จะหมักในไหที่ปั้นจากบ้านโนนตาล ซึ่งบ้านโนนตาลนี้อยู่ในอำเภอท่าอุเทน เป็นหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเช่น โอ่ง ครก ไห ที่ปั้นจากดินคุณภาพดี
           
จากอำเภอศรีสงคราม เลี้ยวซ้ายเข้าถนน ๒๑๓๒ ตามป้ายตรงไปยังอำเภอนาหว้า ที่ตั้งของวัดพระธาตุประสิทธิ์ ระยะทาง ๒๔ กิโลเมตร
           
เมื่อเข้าไปในวัดแล้วทางด้านหน้าขององค์พระธาตุจะเห็นศาลาการเปรียญ บอกว่าสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๒ เริ่มชำรุดแล้ว แต่หากไม่มีการบูรณะเลยจะทำให้ภาพจิตรกรรมฝาผนังเสียหาย ซึ่งงภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นฝีมือของ ม.ล.มรกต  เขียนเอาไว้ สวยทีเดียว ปัจจุบันพื้น และหลังคาของศาลาการเปรียญเริ่มชำรุด วัดต้องการบูรณะแต่ขาดแคลนปัจจัย
           
เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ๒๕๔๘ เป็นภิกษุหนุ่ม จบปริญญาโทจากอินเดียแล้วไปอยู่ที่อเมริกา ช่วยสร้างวัดไทย ที่เวอร์จิเนีย อีก ๗ ปี เป็นชาวอำเภอนาหว้า พึ่งกลับมาก็พอดีได้เป็นเจ้าอาวาส เป็นพระที่มีความรู้ ที่วัดนี้มีเณรเรียนหนังสือนับร้อยองค์ จึงต้องใช้ปัจจัยมาก ใครไปนมัสการพระธาตุประสิทธิ์ ก็ช่วยทำบุญให้วัดด้วงย จะได้เหมือนช่วยนักเรียนให้มีทุนการศึกษา หรือจะติดต่อเจ้าอาวาส ก็ส่งจดหมายไปยังเจ้าอาวาส ผมไม่ได้ถามว่าท่านชื่ออะไร แต่ส่งถึงเจ้าอาวาสวัดธาตุประสิทธิ์ อำเภอนาหว้า ตำบลนาหว้า จังหวัดนครพนม ๔๘๑๘๐ รับรองว่าถึงแน่นอน
           
พอไปถึงที่วัดได้พบพระภิกษุรูปหนึ่ง  ท่านบอกว่า ท่านเป็นแฟนพันธุ์แท้ของผม อ่านหนังสือของผมหลายฉบับ ทำให้ผมได้รับข้อมูลต่าง ๆ จากพระสมชาย กตปุญโญ พอสมควร
           
จากพระธาตุประสิทธิ์ ก็ตัดออกไปบรรจบ ถนนสาย ๒๒ ที่ดอนเชียงบาน เพื่อไปยังพระธาตุมหาชัย
           
ผมไม่สามารถหาร้านอาหารอร่อย ๆ ในอำเภอนาหว้าได้ เพราะมีเวลาน้อย และผมเพิ่งหนักท้องมา จากสวนอาหารที่ปากน้ำสงคราม จึงต้องขอติดเอาไว้ก่อน ไปคราวหลังจะลองหาโอกาสตามชิมดู ที่ได้มาก็ปลาร้า จากบ้านปากยาม อำเภอศรีสงคราม ซึ่งหากฤดูน้ำจะมีจุดล่องเรือชมแม่น้ำ ยกป้ายเอาไว้ข้างถนน มองเห็นชัดเจน น่าจะสนุกดี เป็นการล่องเรือในลำน้ำสงคราม
           
ขอกลับมาชวนชิมอาหารในกรุงเทพ ฯ ชวนชิมร้านอาหารในปั๊มน้ำมัน ปตท. อย่าเพิ่งทำหน้าเบ้ ไปคิดว่าอาหารขายในปั๊มน้ำมันจะอร่อยได้อย่างไร ผมขอรับรองว่าอร่อยของปั๊มน้ำมัน ปตท. ปั๊มนี้แหละเป็นการทดลองของปั๊ม ปตท. เขาด้วย หลังจากเริ่มได้รับความสำเร็จจากการเปิดร้านกาแฟสด  ซึ่งเปิดไว้ตามปั๊มน้ำมัน ปตท. หลายร้อยปั๊มแล้ว เรียกว่า กะเปิดทั่วประเทศ ส่วนขายอาหารด้วย และมินิมาร์ทด้วย พึ่งทดลองที่ปั๊มนี้เป็นปั๊มแรก คือ ปั๊มที่ถนนวิภาวดีรังสิต
           
เส้นทาง หากมาจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ตรงมาทางดินแดง พอถึงทางด่วนก็เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิภาวดีรังสิต แล้วเข้าช่องคู่ขนานทันที วิ่งผ่านโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ผ่านกรมทหารราบที่ ๑ รักษาพระองค์ พอสุดรั้วของกรมทหารราบที่ ๑ รักษาพระองค์ ก็จะถึงปั๊มน้ำมัน ปตท. ที่ผมจะชวนไปชิมอาหาร มีร้านขายของโอท๊อป มีรถก๋วยเตี๋ยวชายสี่ ต่อจากนั้นเป็นร้านอาหาร มีที่นั่งข้างในเย็นสบาย เมนูอาหารจะดูจากรูปข้างฝาผนังก็ได้ จากเมนูก็ดี มากมายหลายสิบอย่าง คงจะเกินร้อย อาหารราคาพอสมควร บริการรวดเร็วมาก การตกแต่งร้านทันสมัย เป็นอาหารประเภทจานเดียวมากกว่าอาหารตามสั่ง
           
ออร์เดริฟ เช่น เกี๊ยวกรอบ ขนมจีน หมูมะกรูด ปอเปี๊ยะนึ่ง แฮ่กึ๊น ยังมีอีก ประเภทข้าว เช่น ข้าวหน้าหมูฮ่องกง ข้าวหน้าเป็ดตุ๋นหม้อดิน ข้าวหน้าพริกไทยดำ ข้าวผัดหมูมะกรูด ฯ ล้วนแต่อร่อย
           
จำพวกบะหมี่ - ก๋วยเตี๋ยว เช่น บะหมี่แห้ง น้ำ หมูอบต้นตำรับ
           
บะหมี่พริกเซี่ยงไฮ้
           
ก๋วยเตี๋ยวราดหน้ากระเพราหมู, ก๋วยเตี๋ยวคั่วหมูมะกรูด
           
ก๋วยเตี๋ยวหลอดทรงเครื่อง
           
ปีกไก่ทอดพริกเกลือ กับสลัดแอปเปิล
           
อาหารของเขายังมีอีกแยะ ที่ผมจารไนมามากมายนั้น สั่งมาชิมกันจริง ๆ แต่เอามาเป็นกองกลาง เพราะวันนี้ไปกันหลายคน เลยแย่งกันชิม สนุกไป
           
ปิดท้ายด้วยของหวาน โอนีแป๊ะก๊วย, ไอศกรีมนิวเชอรา โอนีแป๊ะก๊วยนั้น ไม่ควรข้ามไป เพราะแป๊ะก๊วยกินแล้วจะช่วยความจำ แต่โอนีนั้นเพิ่มน้ำหนักโรคจะตามมา แต่อร่อยเลยยอมสักวันหนึ่ง
           
จบแล้วยังไม่สะใจ ไปต่อที่ร้านกาแฟ แต่งร้านสวย เป็นป่า เพราะกาแฟคือ บราซิล ที่มีแม่น้ำอเมซอลไหลผ่าน และมีป่าใหญ่ ร้านนี้กาแฟอร่อย ที่อร่อยมาก ๆ คือ ขนมเค้ก
           
ขอยกย่องเป็นพิเศษ ถือว่าเป็นสุขาตัวอย่างได้ คือ มีทั้งห้องน้ำของคนพิการ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้ทั้งคนพิการ คนสูงอายุ คนอ้วน และชาวต่างประเทศ และยังมีดีอีก คือ มีที่สำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อม ของเด็กอ่อนที่ฝรั่งเขาเรียกว่า "BABY CORNOR"

 

 

พระธาตุกล่องข้าวน้อย

พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5x5 เมตรนอกจากนี้บริเวณด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น

พระธาตุก่องข้าวน้อยมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานแห่งอื่นๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของพระธาตุก่องข้าวน้อยกลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาที่ทำนาตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสายเกิดหิวข้าวจนตาลาย อารมณ์ชั่ววูบทำให้เขากระทำมาตุฆาตด้วยสาเหตุเพียงว่าข้าวที่เอามาส่งดูจะน้อยไปไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมดจึงได้สติคิดสำนึกผิดที่กระทำรุนแรงต่อมารดาของตนเองจนถึงแก่ความตาย จึงได้สร้างพระธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระทำมาตุฆาต นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียงซึ่งกรมศิลปากรกำลังดำเนินการจัดตั้งอุทยานก่อนประวัติศาสตร์ขึ้น

 

 

 

พระธาตุเรณูนคร

 

 

 

 

              

พระธาตุเรณูนคร ประดิษฐานอยู่ ณ บ้านเรณูนคร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2461 โดยจำลองมาจากองค์พระธาตุพนมสูง 35 เมตร กว้าง 8.37 เมตร มีซุ้มประตู 4 ด้าน ภายในเป็นโพรงบรรจุพระไตรปิฏก พระพุทธรูปทองคำภายในวัดพระ ธาตุเรณูนครนอกจากมีองค์พระธาตุเรณูนครแล้ว ยังมีพระพุทธรูปพระองค์แสน หน้าตักกว้าง 50 เซนติเมตร สูง 50 เมตร ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์วัพระธาตุเรณูนคร พระธาตุเรณูนครนี้ อยู่ห่างจากพระธาตุพนมประมาณ 15 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครพนมไปทางใต้ประมาณ 52 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 212 พอถึง กิโลเมตรที่ 44 เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2031 อีกประมาณ 7 กิโลเมตรครับ

 

 

พระธาตุท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

 

          พระธาตุท่าอุเทน อยู่ที่บ้านท่าอุเทน ใกล้กับที่ว่าการอำเภอท่าอุเทน องค์พระธาตุก่ออิฐถือปูนเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมคล้ายพระธาตุพนม สร้างเป็น ๓ ชั้น ชั้นแรกเป็นอุโมงค์บรรจุของมีค่าต่าง ๆ ชั้นที่ ๒ สร้างครอบอุโมงค์ ชั้นที่ ๓ คือ เจดีย์องค์ใหญ่ สูงประมาณ ๑๕ เมตร พระอาจารย์ศรีทัตถ์เป็นผู้สร้าง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๔ พระธาตุนี้เป็นศิลปกรรมและปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งองค์หนึ่ง บรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ ซึ่งพระอาจารย์ศรีทัตถ์ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง จะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ ถึงแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ของทุกปี การเดินทาง จากตัวเมืองนครพนมไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ประมาณ ๒๖ กิโลเมตร

นมัสการพระบรมสารีริกธาตุจากพม่า
                       เป็นพระธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์และมีความสำคัญของชาวนครพนมอีกแห่งหนึ่ง องค์พระธาตุมีลวดลายปูนปั้นที่สวยงาม ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากพม่า พระธาตุท่าอุเทนเป็นพระธาตุของคนเกิดวันศุกร์

สิ่งน่าสนใจ

             องค์พระธาตุมีลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม สูง 33 วา จำลองแบบมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า เรือนธาตุมีสองชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป แต่ละชั้นมีซุ้มประตูหลอกทั้งสี่ทิศ เหนือซุ้มประตูมีทับหลังเป็นปูนปั้นลายดอกบัวบาน รูปบุคคล และสัตว์ต่าง ๆ โดยมีลายพรรณพฤกษาเป็นพื้นหลัง ตามกรอบซุ้มประตูบนเรือนธาตุก็มีลายพรรณพฤกษาประดับอยู่เช่นกันภายในองค์ธาตุเป็นอุโมงค์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระอาจารย์สีทัตถ์ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า นอก จากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำและของมีค่าอื่น ๆ ที่ผู้ศรัทธานำมาถวาย บรรจุไว้ในองค์ธาตุด้วยบนกำแพงแก้วรอบองค์ธาตุมีประติมากรรมปูนปั้นฝีมือของพระอาจารย์สีทัตถ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุภาษิตคำพังเพยพื้นบ้าน ตลอดจนการจำลองนรก-สวรรค์

  

 

 




ประเพณีอีสาน

ซอกหามาเว่า article
ประเพณีอีสาน article
เลาะเบิ่งแดนอีสาน article
ผาชะนะได
ประเพณีเข้ากรรม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.