ReadyPlanet.com
dot dot




เลาะเบิ่งแดนอีสาน article

 

  

 ทุ่งดอกกระเจียว

     ทุก ๆ ปี ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงต้นเดือนสิงหาคม บรรดานักท่องเที่ยวและคนรักดอกไม้และนักถ่ายภาพจากทั่วประเทศ จะเดินทางไปรวมตัวกันที่ทุ่งดอกกระเจียว เพื่อชมความงามของดอกกระเจียวสีชมพูอมม่วงตัดใบสีเขียวสด และสัมผัสไอหมอกแห่งวสันต์ท่ามกลางประติมากรรมทางธรรมชาติของหินล้านปีรูปทรงต่าง ๆ ที่สวยงามตระการน่าพิศวง

  อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อ.เทพสถิต ตั้งอยู่บนรอยต่อ 3 แบบคือ แบบแรกตั้งอยู่บนรอยต่อของจังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดลพบุรี แบบที่สองตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นดินที่ราบสูงกับที่ราบลุ่ม และแบบที่สามตั้งอยู่บนรอยต่อของภาคกลางกับภาคอีสาน คือเทือกเขาพังเหย ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตอันชัดเจนของภาคกลางกับภาคอีสาน มีพื้นที่ 112 ตร.กม.หรือประมาณ 70,000 ไร่ ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2537 เป็นต้นมา สภาพป่า โดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรังหรือป่าโคกและหญ้าเพ็กมีป่าหินรูปร่างแปลก ๆ กระจายอยู่ตามทุ่งหญ้า เป็นบริเวณกว้างกว่า 1,000 ไร่ มีต้นไม้เล็กใหญ่ และกล้วยไม้ต่าง ๆ ขึ้นเต็มในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม มีดอกกระเจียวขึ้นอยู่เต็มบริเวณ ส่วนหน้าหนาวประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม มีดอกกล้วยไม้ป่าสีเหลืองขึ้นตามซอกหินนอกจากนี้บริเวณเหนือสุดของป่าหินงามและทุ่งดอกกระเจียวยังมีหน้าผาสูงชัน ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 846 เมตร เรียกว่า สุดแผ่นดินของที่ราบสูง

 

 

 

 

 

 

ภูกระดึง

อำเภอภูกระดึง  จังหวัดเลย

 

      อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อยู่ในท้องที่อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ประกอบด้วยภูเขา ที่มีธรรมชาติอันสวยสดงดงาม ที่ราบบนยอดภูกระดึงมีสังคมพืชเป็นสังคมของพืชเมืองหนาว ได้แก่ ป่าสนสองใบ ป่าสนสามใบ ป่าต้นเมเปิล (ไฟเดือนห้า) และพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงาม เช่น กุหลาบป่า ม้าวิ่ง เอื้องคำหิน ดอกม่วนดักหงาย เป็นต้น ตลอดจนมีธรรมชวยงามหลายแห่ง มีเนื้อที่ประมาณ 348.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 217,576.25 ไร่

 

 

 

 

       อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อยู่ในท้องที่อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ประกอบด้วยภูเขา ที่มีธรรมชาติอันสวยสดงดงาม ที่ราบบนยอดภูกระดึงมีสังคมพืชเป็นสังคมของพืชเมืองหนาว ได้แก่ ป่าสนสองใบ ป่าสนสามใบ ป่าต้นเมเปิล (ไฟเดือนห้า) และพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงาม เช่น กุหลาบป่า ม้าวิ่ง เอื้องคำหิน ดอกม่วนดักหงาย เป็นต้น ตลอดจนมีธรรมชาติ บรรยากาศ และทิวทัศน์ที่สวยงามหลายแห่ง มีเนื้อที่ประมาณ 348.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 217,576.25 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ ของภูกระดึง
สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายที่มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่สลับกับเนินเตี้ย ๆ ยอดสูงสุดคือ ภูกุ่มข้าว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,350 เมตร เป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น ยอดภูกระดึงประกอบไปด้วยป่าสนสลับป่าก่อและทุ่งหญ้า มีพันธุ์ไม้ดอก ไม้ใบ ขึ้นอยู่ทั่วไปตามบริเวณน้ำตก ลำธาร และลานหิน ซึ่งธรรมชาติได้สร้างสรรค์ไว้อย่างสวยงามยิ่ง
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า บนภูกระดึง
ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีหลายชนิด เช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบเขา และป่าสนเขา มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ได้แก่ เต็ง รัง พลวง แดง มะค่า ยมหอม มะเกลือ ตะแบก สมอ รกฟ้า พญาไม้ สนสามพันปี จำปีป่า ทะโล้ เมเปิ้ล สนสองใบ และสนสามใบ ก่อชนิดต่าง ๆ ใน ทุ่งหญ้ามีพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงาม ออกดอกบานสะพรั่งสลับกันไปตามฤดูกาล เช่น กุหลาบป่า เทียนน้ำ มณเฑียนทอง แววมยุรา กระดุมเงิน เทียมภู ส้มแปะ เง่าน้ำทิพย์ ดาวเรืองภู หยาดน้ำค้าง และกล้วยไม้ ซึ่งบางชนิดชอบขึ้นตามลานหิน ได้แก่ ม้าวิ่ง เอื้องคำหิน ส่วนไม้พื้นล่างมีเฟิร์น มอส โดยเฉพาะ ข้าวตอกฤาษี ซึ่งเป็นมอสขนาดใหญ่สวยงามที่สุดและมีอยู่เป็นจำนวนมาก
ภูกระดึงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุมเนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าภูกระดึงมีหลายชนิด เช่น ช้าง เสือโคร่ง หมีควาย เลียงผา เก้ง กวาง หมูป่า ชะนี บ่าง พญากระรอก หมาไน ส่วนนกชนิดต่าง ๆ ที่พบเห็นได้แก่ นกกางเขนดง นกจาบกินอกลาย นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกขมิ้นดง และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ เต่าหางเป็นเต่าที่หางยาว อาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และลาว
แหล่งท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
ผานกแอ่น อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 2 กิโลเมตร และห่างจากหลังแป 2.5 กิโลเมตร ผานกแอ่นเป็นลานหินเล็กๆมีสนขึ้นโดดเด่นริมหน้าผาต้นหนึ่ง เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่งดงามยิ่ง มองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างซึ่งเป็นท้องทุ่งและเทือกเขา เห็นผานกเค้าได้ชัดเจน ริมทางเดินใกล้ผานกแอ่นเป็นสวนหินมีดอกกุหลาบป่าขึ้นอยู่เป็นดงใหญ่ จะบานสะพรั่งเต็มต้นในเดือนมีนาคม - เมษายน
ผาหล่มสัก อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 9 กิโลเมตร เป็นลานหินกว้าง และมีสนต้นหนึ่งขึ้นชิดริมผาใกล้กับชะง่อนหินที่ยื่นออกไปในอากาศทางทิศใต้ บริเวณผาหล่มสักนี้มองเห็นทิวทัศน์เทือกเขาสลับซับซ้อนในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ และเป็นจุดหนึ่งที่จะชมพระอาทิตย์ตกได้อย่างชัดเจนที่สุด บรรดาช่างภาพ สื่อมวลชน นิยมไปถ่ายภาพ ณ จุดนี้กันมาก เพราะยามตะวันตกดินจะเกิดทัศนียภาพที่งดงามมาก
สระแก้ว อยู่ในส่วนต้นน้ำของลำธารสวรรค์ ธารสวรรค์ลักษณะเป็นวังน้ำลึกขนาดไม่กว้างนัก น้ำใสมากจนมองเห็นพื้นหินขาวสะอาด ต่อจากบริเวณสระแก้วมีทางเดินชมธรรมชาติผ่านลานหินซึ่งมีดอกหรีสีม่วงอมน้ำเงินเกสรสีเหลือง ขึ้นอยู่เป็นทุ่งไปจนถึงผาน้อยนาน้อย
สระอโนดาด เป็นสระน้ำขนาดใหญ่ที่มีต้นสนขึ้นเป็นแนวแน่นขนัด ตามริมสระตอนปากธารน้ำไหลมีลานหินโผล่ขึ้นมา ยามน้ำน้อยสามารถไปนั่งเล่น ได้จากบริเวณสระอโนดาดยังมีทางเดินไปต่อบรรจบกับเส้นทางเดินเท้าสู่ถ้ำสอและถ้ำน้ำได้
น้ำตกเพ็ญพบใหม่ เกิดจากลำธารวังกวาง น้ำตกผ่านผาหินรูปโค้ง ในหน้าหนาว ใบเมเปิ้ลที่อยู่บริเวณริมน้ำตกจะร่วงหล่นลอยไปตามผิวน้ำยามแดดสาดส่องผ่านลงมาจะเป็นสีแดงจัดตัดกับสีเขียวขจีของตะไคร่น้ำตามโขดหิน ลำธารวังกวางเป็นต้นกำเนิดน้ำตกที่มีชื่ออีกแห่งหนึ่ง คือ น้ำตกโผนพบ ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ โผน กิ่งเพชร นักชกแชมป์เปี้ยนโลกคนแรกของชาวไทยในฐานะเป็นผู้ค้นพบคนแรก เมื่อคราวที่ขึ้นไปซ้อมมวยให้ชินกับอากาศหนาว ก่อนเดินทางไปชกในต่างประเทศ
น้ำตกตาดร้อง เกิดจากลำน้ำพอง ซึ่งไหลลงมาจากภูกระดึงด้านหุบเขาตะวันตกเฉียงเหนือ สองฝั่งของตาดร้องเป็นผาหินสูงชันมาก เมื่อน้ำตกผ่านผาหินกว้างที่ลดหลั่นเป็นชั้น ๆ จึงทำให้เกิดเสียงดังกึกก้อง จากบริเวณน้ำตกมองเห็นแนวภูเขาเปลือยขวางอยู่ข้างหน้าน้ำตกตาดร้องอยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 20 กิโลเมตร
น้ำตกวังกวาง เป็นน้ำตกอยู่ใกล้กับที่พักมากที่สุดในบรรดาน้ำตกบนภูกระดึง ระยะทางเพียง 750 เมตร จากจุดเริ่มต้นตรงบริเวณบ้านพัก ลักษณะน้ำตกเป็นผาหินไม่สูงนัก ตัดขวางลำธาร ธารน้ำก็ไหลลดขึ้นลงยังวังน้ำเบื้องล่าง ซึ่งมีลักษณะคล้ายโพลงถ้ำมุดลงไปและบริเวณป่าใกล้ ๆ ก็เป็นที่อยู่อาศัยของฝูงกวางมักจะลงมากินน้ำอยู่เสมอ ๆ จึงเรียกน้ำตกอย่างน่าเอ็นดูว่า น้ำตกวังกวางสูง 7 เมตร บริเวณน้ำตกมีที่กว้างขวางให้ได้นั่งพักสบาย ๆ หลายมุม
น้ำตกถ้ำใหญ่ ห่างจากน้ำตกเพ็ญพบ ประมาณ 1 กิโลเมตร เส้นทางเดินไปสู่น้ำตกจะดูใกล้นิดเดียวสำหรับคนชอบธรรมชาติ ชมนกชมไม้ เพราะตลอดเส้นทางครอบคลุมไปด้วยป่าดิบเขาที่มีพรรณไม้ใหญ่และร่มครึ้มกว่าทุกเส้นทางน้ำตกอื่น ๆ อาจได้พบต้นส้มกุ้ง (Begonice sp.) ออกดอกเป็นสีชมพู เกสรกลางสีเหลือง ชอบขึ้นตามทางในพื้นที่สูงอย่างป่าดงดิบเขา ในเส้นทางถ้ำใหญ่นี้มีทางเดินบางช่วงที่เลียบข้างลำห้วยเล็ก ๆ มีต้นเมเปิ้ลอยู่เป็นระยะ ๆ หากช่วงต้นมกราคม เส้นทางนี้จะแดงฉานด้วยใบเมเปิ้ลที่ร่วงหล่นเกลื่อนพื้นป่า ความสวยงามของน้ำตกถ้ำใหญ่จะแปลกตาด้วยโขดหินมหึมาวางทับซ้อนไม่เป็นระเบียบ ลำธารนี้ขนาบข้างด้วยต้นเมเปิ้ล ยามเมเปิ้ลแดงล่วงหล่น ขัดสีให้ลำธารหินเขียวสวยงามมีสีสันและมีชีวิตชีวาขึ้นมามากนักเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยว
น้ำตกธารสวรรค์ จากน้ำตกถ้ำใหญ่เมื่อออกสู่ป่าสนไม่ไกลนักจะมีทางแยกบนลานหินสู่น้ำตกธารสวรรค์ ซึ่งอยู่ห่างจากที่พักตามเส้นทางป่าสนผ่านลานองค์พระพุทธเมตตาเพียง 1.6 กม. เท่านั้น เป็นน้ำตกขนาดเล็ก
น้ำตกโผนพบ เป็นหนึ่งในน้ำตกหลายจุดอันเกิดจากสายน้ำวังกวาง ห่างจากตัวน้ำตกเพ็ญพบใหม่เพียง 600 เมตรเท่านั้น ในส่วนของลำธารส่วนบนของน้ำตกโผนพบนี้ สามารถไปยืนชมตัวน้ำตกกลางลำธารซึ่งจะได้ชมทิวทัศน์ที่สวยงาม น้ำตกมี 8 ชั้น สูงประมาณ 30 เมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสวยงามไม่น้อยบนภูเขานี้ สำหรับชื่อ โผนพบเข้าใจว่า โผน กิ่งเพชร อดีตแชมป์โลกคนแรกของไทยเป็นผู้ค้นพบเมื่อครั้งขึ้นไปซ้อมร่างกายบนภูกระดึง จึงเรียกกันง่าย ๆ ว่า โผนพบ
น้ำตกพระองค์ คล้ายกับน้ำตกถ้ำใหญ่ แต่เป็นน้ำตกขนาดเล็กกว่า เกิดจากลำธารพระองค์ไหลเป็นลำธารเล็กๆ แล้วดิ่งตกลงหน้าผาที่ไม่สูงมากนักมุ่งสู่หินเบื้องล่าง ลำธารพระองค์นี้เป็นลำห้วยเล็ก ๆ ที่ไหลจากสระอโนดาด สระน้ำกลางป่าสนซึ่งไม่เคยเหือดแห้ง จึงมีน้ำไหลตลอดปี
น้ำตกสอเหนือ เป็นน้ำตกขนาดกลาง สูง 10 เมตร ชั้นเดียว เกิดจากการพังทลายของแผ่นดินขนาดใหญ่เช่นเดียวกับน้ำตกหลายแห่ง ผาหินคล้ายน้ำตกเพ็บพบใหม่ มีสายน้ำไหลกลายเป็นบริเวณกว้าง
น้ำตกสอใต้ อยู่ในลำธารสายเดียวกับน้ำตกสอเหนือและอยู่ไม่ไกลกันนัก เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดจากหน้าผาหินถล่มลงไป สภาพภูมิประเทศไม่ได้อำนวยให้เกิดเป็นชั้นน้ำตกเหมือนแห่งอื่น ๆ จึงอยู่นอกเหนือความนิยมของนักท่องเที่ยว
สิ่งอำนวยความสะดวก บนภูกระดึง
อุทยานแห่งชาติภูกระดึงได้จัดบ้านพักและเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง สู่ภูกระดึง
รถไฟ จากกรุงเทพมหานครโดยสารรถไฟไปลงที่ขอนแก่น จากนั้นโดยสารรถประจำทางสายขอนแก่น-เลย ไปยังหน้าตลาดที่ว่าการอำเภอภูกระดึง แล้วต่อรถเมล์เล็กเดินทางต่อไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นปีนเขาขึ้นยอดภู จากนั้นต้องเดินเท้าอีก 5 กิโลเมตร จึงจะถึงหลังแปแล้วเดินเท้าไปตามทุ่งหญ้าอีก 4 กิโลเมตร ก็จะถึงที่พักบนยอดภูกระดึงทางอุทยานฯ ได้จัดลูกหาบสัมภาระของนักท่องเที่ยวขึ้นไปบนยอดภูกระดึง คิดค่าบริการเป็นกิโลกรัม
รถประจำทาง โดยสารรถยนต์จากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) กรุงเทพมหานคร ไปลงที่ ผานกเค้า แล้วโดยสารรถประจำทางไปลงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จากนั้นก็เดินต่อขึ้นไปยอดภูกระดึง
การติดต่อ ที่พักภูกระดึง
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง  หมู่ 1 ตำบลศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย 42180 โทรศัพท์ : 042 - 871 333

 

 

 

 

น้ำตกวังใหญ่ 

อำเภอกันทรลักษ์    จังหวัดศรีสะเกษ

น้ำตกวังใหญ่  อยู่ใน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก บ้านก่อ หมู่ 7 ตำบลละลาย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษเส้นทางการคมนาคม ออกเดินทางจากจังหวัดศรีสะเกษ ถึงอำเภอกันทรลักษ์ระยะทาง 65 กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอกันทรลักษ์เดินทางโดยถนนสายเขาพระวิหาร แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนที่ไปอำเภอขุนหาญ เลี้ยวซ้ายเข้าน้ำตกวังใหญ่ ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร

สภาพของน้ำตก เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมาก รอบๆ บริเวณเติมแต่งเพิ่มความสวยงามทิวทัศน์ตามธรรมชาติ ท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี เป็นน้ำตกที่มีลำธารไหลมาจากเทือกเขาพนมดงรัก น้ำตกมีความสูงประมาณ 5 เมตร สามารถลงเล่นน้ำได้ตลอดแนวน้ำตก และยังสามารถศึกษาพืชสมุนไพร ซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิดในเขตเทือกเขาพนมดงรัก ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวจะน่าเที่ยวมากที่สุด เหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 

 

 

 

 

แก่งสะพือ

อำเภอพิบูลมังสาหาร   จังหวัดอุบลราชธานี

                แก่งสะพือ  เป็นแก่งที่สวยงามในแม่น้ำมูล ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวเมือง อุบลราชธานี

      ตามทางหลวงหมายเลข 217 ประมาณ 45 กม. คำว่า "สะพือ" เพี้ยนมาจากคำว่า "ซำฟืด" หรือ "ซำปึ้ด" ซึ่งเป็นภาษาส่วยแปลว่า งูใหญ่ หรืองูเหลือม แก่งสะพือเป็นแก่งที่มีหินน้อยใหญ่ สลับซับซ้อน เมื่อกระแสน้ำไหลผ่านกระทบหิน แล้วเกิดเป็นฟองขาวมีเสียงดังตลอดเวลา ช่วงที่เหมาะ สำหรับเที่ยวชมแก่งสะพือคือช่วงหน้าแล้ง ราวเดือนมกราคม-พฤษภาคม เพราะน้ำจะลดเห็นแก่งหินชัดเจน สวยงาม ส่วนหน้าฝนน้ำจะท่วมมองไม่เห็นแก่ง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เคยเสด็จพระราชดำเนินมาชมแก่งนี้ด้วย 2 ครั้ง ริมฝั่งแม่น้ำมีศาลาพักร้อน และร้าน ขายสินค้าพื้นเมือง ในวันหยุดมีประชาชนมาเที่ยวพักผ่อน กันเป็นจำนวนมาก

                ในเดือนเมษายนของทุกปี ช่วงเทศกาลสงกรานต์ เทศบาลตำบลพิบูลมังสาหาร ได้จัดงาน ประเพณีสงกรานต์แก่งสะพือ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและประเพณีอันดีงามด้วย

 

 

 

 

สามพันโบก  อำเภอโพธิ์ชัย 

 

จังหวัดอุบลราชธานี

           สามพันโบก ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งเป้า ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร เป็นแก่งหินขนาดใหญ่ในลำน้ำโขง ซึ่งจะปรากฏให้เห็นเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง  ที่เรียกว่า สามพันโบก เพราะบนแก่งหินมีแอ่งน้ำขนาดเล็กใหญ่จำนวนมาก นอกจากนี้ลักษณะของแก่งหินยังมีขนาดใหญ่มากคล้ายภูเขา ถูกกระแสน้ำกัดเซาะเว้าแหว่งมาเป็นเวลากว่าล้านปี มองเห็นเป็นลวดลายของชั้นหินอยู่ทั่วไป จนมีผู้ให้ฉายาที่นี่อีกอย่างหนึ่งว่า แกรนแคนย่อนเมืองไทย

       โบก หรือแอ่ง หมายถึง บ่อน้ำลึกในแก่งหินใต้ลำน้ำโขง  และคำว่า โบกเป็นภาษาของลาวที่มักนิยมเรียกกัน และ สามพันโบก  กลายเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด ในลำน้ำโขงตามธรรมชาติ   แหล่งใหญ่ที่สุด  รักษาระบบนิเวศน์และการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำในลำน้ำโขงให้อยู่ได้อย่างสมดุล  ในช่วงหน้าแล้ง  สามพันโบก  จะโผล่พ้นน้ำให้เห็นเป็นคล้ายภูเขากลางลำน้ำโขง  ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกน้ำเซาะมองเห็นเป็นภาพศิลปะ  บางแห่งใหญ่ขนาดเป็นสระว่ายน้ำ  บางแอ่งขนาดเล็ก  มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไปเช่น  รูปดาว  วงรี  และหินที่ถูกน้ำกัดเซาะจนดูคล้ายรูปหัวสุนัขพุดเดิ้ล  มีความสวยงาม

 

 

เสาเฉลียง (อุทยานผาแต้มอุบลราชธานี)

            ปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดจากการกระทำของอุณหภูมิน้ำและกระแสลม

                     เสาเฉลียงตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ถือว่าเป็นกรณีศึกษาของปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับชั้นหินเปลือกโลกซึ่งเป็นผลจากแรงกระทำของแรงภายนอก โดยเฉพาะปัจจัยร่วมระหว่างอุณหภูมิแรงจากการไหลของน้ำ และกระแสลม ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นมีลักษณะและกระบวนการของการเกิดตลอดจนลักษณะของพื้นที่ที่คล้ายกันของแหล่งอื่นๆดังนี้

สภาพโดยทั่วไป เสาเฉลียงจะมีลักษณะเป็น

แท่งหินรูปดอกเห็ดขนาดใหญ่  มีความสูงที่แตกต่างกัน   แท่งที่สูงที่สุดวัดจากระดับพื้นที่แท่งหินตั้งอยู่มีความสูงประมาณ 7 เมตรและแท่งที่เตี้ย   ที่สุดมีความสูงประมาณ 5 เมตร แท่งหินเหล่านี้จะเรียงตัวบนหินทางซ้ายของถนนที่จะไปยังผาแต้มซึ่งเป็นแหล่งภาพเขียนของมนุษย์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์

กระบวนการเกิดปรากฎการณ์ทางภูมิศาสตร์

    เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างของเสาเฉลียงที่ปรากฎจะพบว่า แท่งเสามีการเรียงตัวของชั้นหินออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วยชั้นล่างสุด เรียกว่า ชั้นฐาน จะมีความหนาจากพื้นที่ตั้งไปประมาณ 70 –100 เซนติเมตร ซึ่งเป็นชั้นหินทราย (sandstone) ในชั้นนี้มีแร่ควอร์ตซ์ (quartz) แร่เฟลดสปาร์ (fladspar) เป็นส่วนประกอบโดยมีซิลิกา(silica)เป็นเนื้อประสานทำให้มีความคงทนกัดกร่อน ชั้นที่ 2 ของเสาเฉลียงมีความหนาประมาณ 300-400 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายเสา ประกอบด้วยเม็ดทรายหยาบถึงหยาบมาก บางครั้งเรียกว่า หินกรวดขนาดเล็ก ซึ่งในชั้นนี้จะประกอบด้วยเม็ดทราย ซึ่งเป็นหินแปรหลายชนิด เช่น หินควอร์ตไซต์ (quartzite) หินดินดาน (shale) ซึ่งชั้นนี้จะมีความคงทนน้อยกว่าชั้นฐาน และชั้นบนสุดจะมีลักษณะคล้ายร่ม ประกอบด้วยหินทรายเป็นส่วนใหญ่ และมีความหนาประมาณ 100-120 เซนติเมตร ซึ่งเกิดจากการอัดและเรียงตัวของชั้นที่เป็นทรายละเอียด และมีความหนาแน่นทำให้ในชั้นนี้มีความคงทนมากที่สุด

    ขั้นตอนการเกิดเสาเฉลียง จะเริ่มจากการผุสลายของหินทรายโดยเริ่มจากชั้นหินถูกอิทธิพลของอุณหภูมิทำให้เกิดการหดตัวและขยายตัวซึ่งเป็นผลจากอากาศที่ร้อนในเวลากลางวัน และเย็นในเวลากลางคืน ซึ่งการหดและขยายตัวดังกล่าว เป็นสาเหตุทำให้เกิดรอยแตกและรอยแยกขึ้นทั้งแนวดิ่งและแนวราบโดยมีขนาดที่แตกต่างกัน ตัวการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อมา ได้แก่ น้ำและลม จะทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น โดยน้ำจะกัดเซาะชั้นหินส่วนที่บางกว่า และลมพัดพาชั้นหินที่ผุพังและสลายตัวออกไป โดยลมคอยพัดเศษทรายให้เกิดการหลุดร่วง ซึ่งปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นโดยใช้เวลานับล้านๆปี จนทำให้ชั้นหินของเปลือกโลกซึ่งเป็นชั้นหินทราย เกิดเป็นเสาเฉลียง ดังที่ปรากฎขึ้นในปัจจุบัน

 

 

 

ปฏิมากรรมหินภูผาเทิบ

       ปฏิมากรรมหินภูผาเทิบปฏิมากรรมหินภูผาเทิบ

ภูผาเทิบ ประติมากรรมธรรมชาติแห่งหินผาน่าอัศจรรย์ กำเนิดมาจากการกัดกร่อนของสายน้ำสายลมนานนับร้อยล้านปี มีรูปลักษณ์แตกต่างมากมายเรียงราย ราวภูผาแห่งงานศิลป์ ชิ้นเอก ใครจะเชื่อว่า ธรรมชาติสร้างให้ก้อนหินซ้อนทับกันได้ อย่างวิจิตรพิศดาร

ภูผาเทิบ

ภูผาเทิบ หรืออีกชื่อหนึ่ง คือกลุ่มหินเทิบ เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ภูมิประเทศเป็นช่วงปลายสุดของทิวเขาพูพานขนานแนวเหนือ-ใต้ ห่างจากแม่น้ำโขงประมาณ ๔ กิโลเมตร สภาพป่าที่โดดเด่นเป็นป่าเต็งรัง ผสมผสานกับป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้งอุดมสมบูรณ์ ลักษณะทางธรณีวิทยาของภูผาเทิบ คือกลุ่มหินทรายซ้อนทับกัน เกิดประติมากรรมหินรูปร่าง ประหลาดงดงาม ทั้งรูปหินจระเข้ มงกุฎ เก๋งจีน และจานบิน เป็นต้น หินทรงสวยเหล่านี้เกิดจากผลงาน การกัดเซาะนับล้านปีของแสงแดด ลม และฝน นานนับล้านปี นอกจากนี้ยังมีถ้ำฝ่ามือแดง ถ้ำพระ และถ้ำลอด ซึ่งปรากฎร่องรอยของภาพเขียนสี และถ้วยชามโบราณมากมาย

วันเวลาที่แนะนำ

 

      ภูผาเถิบสามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี โดยเฉพาะช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม อากาศจะเย็นและตามลานหินจะมีดอกไม้กินแมลงสีสวยขึ้นอยู่มากมาย 

 


 




ประเพณีอีสาน

เลาะเบิ่งพระธาตุแดนอีสานเหนือ article
ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก
ประเพณีบุญเข้ากรรม
ประเพณีการลำผีฟ้า (แถน)
ประเพณีพิธีสู่ขวัญ
ประเพณีเลี้ยงผีปู่ตา
ประเพณีถวายเทียนพรรษา
ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
ประเพณีการผูกเสี่ยว
ประเพณีกินดอง (การแต่งงาน)
ผาชะนะได
ประเพณีเข้ากรรม
ภูลังกา
พระธาตุเรืองรอง
ประเพณีฮดสรง
ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ทุ่งดอกกระเจียว article
วรรณกรรมอีสาน
ธรรมชาติแดนอีสาน



ก่อนหน้า1ถัดไป

ความคิดเห็นที่ 1 (136888)
น่าเที่ยวมาก
ผู้แสดงความคิดเห็น สงขลา วันที่ตอบ 2010-10-29 13:31:41


ความคิดเห็นที่ 2 (136889)
น่าเที่ยวมาก
ผู้แสดงความคิดเห็น สงขลา วันที่ตอบ 2010-10-29 13:32:52



ก่อนหน้า1ถัดไป


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.