ReadyPlanet.com
dot dot
bulletซอกมาเว้าสู่ฟัง




อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ article

 

 

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ อำเภอสิรินธร จ.อุบลราชธานี

     อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ    มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ไร่ ในเขตอำเภอ  สิรินธรและอำเภอโขงเจียม ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขาเตี้ยๆ สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าแพะหรือป่าแดง ต้นไม้ในป่ามีลักษณะแคระแกรน บางส่วนเป็นทุ่งหญ้า ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2524 ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูลบริเวณแก่งตะนะ การเดินทางสามารถไปได้สองเส้นทางคือ ใช้ทางหลวงหมายเลข 217 (อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร-ช่องเม็ก ประมาณ 75 กิโลเมตร) แล้วแยกซ้ายไปตามเส้นทาง 2173 อีก 13 กิโลเมตร ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือใช้ทางหลวงหมายเลข 2222 ผ่านอ.โขงเจียมประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วข้ามแม่น้ำมูลไปอีก 12 กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางที่ข้ามสันเขื่อนปากมูลก็ได้(กรณีที่เขื่อนเปิด) ในเขตอุทยานฯ มีสถานที่ท่องเที่ยวดังนี้

 

    ดอนตะนะ เป็นดอนหรือเกาะที่เกิดขวางแม่น้ำมูล มีความกว้างประมาณ 450 เมตร ยาวประมาณ 700 เมตร มีสะพานแขวนทอดข้ามทั้ง 2 ด้านของเกาะทางตอนเหนือของดอนตะนะมีหาดทรายเหมาะแก่การพักผ่อน บนดอนตะนะยังมีป่าอยู่ทั่วไปเป็นสภาพป่าดงดิบแล้งมีต้นไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่นในช่วงเช้าและช่วงเย็นจะมีการทำประมงของชาวบ้านรอบๆเกาะ

 

     แก่งตะนะ เป็นแก่งกลางลำน้ำมูลที่ใหญ่ที่สุด กลางแก่งตะนะมีโขดหินมหึมาเป็นเกาะกลางลำน้ำมูลที่เกิดจากลำน้ำมูลทั้งสองสายที่เชี่ยวกรากและจะกัดเซาะลงในแนวหินสูงประมาณ 1 เมตร ถ้าสังเกตเกาะกลางแก่งตะนะจะเห็นสิ่งก่อสร้างรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยฝรั่งเศสยังล่าอาณานิคม เพื่อใช้เป็นเครื่องชี้ร่องน้ำในการเดินเรือ นอกจากนี้ยังมีโพรงถ้ำใต้น้ำหลายแห่งจึงทำให้มีปลามาอาศัยบริเวณแก่งตะนะชุกชุม ช่วงที่เหมาะในการไปเที่ยวคือเดือนมกราคม-พฤษภาคม จุดชมวิวแก่งตะนะที่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ นอกจากนี้ยังมีจุดชมวิวแก่งตะนะฝั่งซ้าย (อีกด้านหนึ่งของแม่น้ำมูล) ที่บริเวณทางไปถ้ำเหวสินธุ์ชัย

 

    สะพานแขวน เป็นสะพานที่เชื่อมจากฝั่งแม่น้ำมูลดอนตะนะโครงสร้างเป็นเหล็กยึดโยงด้วยลวดสลิงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นจุดชมวิวสองฟากฝั่งของแม่น้ำมูลเหนือแก่งตะนะและใช้เดินข้ามเข้าไปชมธรรมชาติบนดอนตะนะได้อย่างเพลิดเพลิน    ถ้ำพระหรือถ้ำภูหมาใน เป็นชะง่อนผายื่นออกจากฝั่งแม่น้ำมูล อดีตเคยมีพระพุทธรูปทองคำ เงินและไม้เป็นจำนวนมากแต่ใน ปัจจุบันได้หายไปแล้วมีแท่นศิวลึงค์ (ฐานโยนี)และแนวอิฐซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างในราวศตวรรษที่ 12-13     ลานผาผึ้ง เป็นพลาญหินทรายและเป็นหน้าผาชันโดยหน้าผาจะหันหน้าสู่ด้านทิศตะวันออกเหมาะแก่การชมวิวช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและสามารถมองวิวประเทศลาวได้ ลานผาผึ้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 1.5 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงหรือจะเดินเท้าตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติเลียบฝั่งแม่น้ำมูลได้เช่นกัน     เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกรากไทร อยู่บริเวณหน้าผาริมแม่น้ำมูล ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 500 เมตร มีเส้นทางเดินเลียบผาระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ผ่านจุดชมพืชพันธุ์ ไลเคนส์ มอส เฟิร์น ถ้ำพระและน้ำตกรากไทร เหมาะสำหรับการเดินป่าชมธรรมชาติในช่วงเวลาสั้นๆ    น้ำตกตาดโตน ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2173 ซึ่งแยกจากทางหลวงหมายเลข 217 เข้าไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง เกิดจากลำห้วยตาดโตน ไหลผ่านลานหินแล้วตกลงสู่ที่ลุ่ม เกิดเป็นแอ่งน้ำสามารถลงเล่นน้ำได้ มีน้ำเย็นใสสะอาด บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้และดอกไม้นานาพรรณ

     บริเวณที่ทำการอุทยานฯมีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยวรายละเอียดติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 หรือที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะโทร. 0 4524 9802, 0 4244 2002 www.dnp.go.th

ามออีแดง

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร  อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

         อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อยู่ริมชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขตอำเภอกันทรลักษณ์ ประกาศจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2531 มีพื้นที่ตามแนวชายแดนตั้งแต่อำเภอน้ำยืนถึงอำเภอกันทรลักษณ์ เนื้อที่ราว 8 หมื่นไร่ บริเวณชายแดนไทยมีจุดชมทัศนียภาพทิวเขาพนมดงรัก แผ่นดินเขมรต่ำ  สามารถมองเห็นปราสาท เขาพระวิหาร ซึ่งอยู่ห่างออกไป 1 กิโลเมตรได้ ใต้ลงไปบริเวณ ผามออีแดง มีภาพสลักหินนูนตํ่ารูปคล้ายนางอัปสรา 3 องค์ เป็นศิลปะเขมร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นรูปสลักซึ่งเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย    ผามออีแดง เป็นผาหินสีแดงตั้งอยู่ปลายสุดทางหลวงหมายเลข 221 จะมีถนนและบันไดสู่ เขาพระวิหาร มีลักษณะเป็นลานหินธรรมชาติ ริมหน้าผาสูงติดกับพื้นที่ประเทศกัมพูชา เป็นจุดชมทัศนียภาพ เขาพระวิหาร ในระยะ

เพียง 1,000 เมตร ซึ่งมีวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก

         ในบริเวณอุทยานฯ มีที่พักให้นักท่องเที่ยวได้พักแรมกันได้ ซึ่งสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดที่พักและสถานที่กางเต็นท์ได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 0 9522 4265, 0 1224 0779 หรือ อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตู้ ปณ. 14 อ. กันทรลักษณ์ จ. ศรีสะเกษ 33110 โทรศัพท์ 0 4561 9214, 0 4561 9214 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2562 0760

สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)

      ตะกร้าเถาวัลย์ เป็นผลิตภัณฑ์จากเถาวัลย์ มีให้เลือกมากแบบ เช่น กระเช้าดอกไม้ ตะกร้าใส่ผลไม้ ผลงานจากชาวบ้านใ

ชุมชนกุดหวาย เขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ

 

การเดินทาง

        จากศรีสะเกษใช้ทางหลวงหมายเลข 221(ศรีสะเกษ-กันทรลักษณ์) ผ่านตัวอำเภอกันทรลักษณ์ลงไปทางใต้ 36

กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 98 กิโลเมตร เป็นเส้นทางเดียวกับทางขึ้น เขาพระวิหาร

ข้อมูลการติดต่อ

             สำนักงาน ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 โทรศัพท์ 0 4524 3770 และ ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว ( Call Center) 1147



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




เลาะเล่นแดนอีสาน

พระธาตุนาดูน article
พระธาตุพนม article
วัดทุ่งศรีเมือง
ปราสาทจอมพระ
ปราสาทกู่กาสิงห์ article
กู่โพนระฆัง article
ปราสาทปรางค์กู่
ปราสาททองหลาง
ปราสาทบ้านพันนา
พระธาตุภูเพ็ก
ปราสาททามจาน
ปราสาทหนองหงส์
ปราสาทนางพญา
ปราสาทปรางค์กู่
พระธาตุบังพวน
ปราสาทตาเมือนธม
กู่สันตรัตน์ article
น้ำตกถ้ำบอน article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.