ReadyPlanet.com
dot dot
bulletซอกมาเว้าสู่ฟัง




หลักธรรมนำชีวิต

 

หลักธรรมนำชีวิต

 

 

 

 อริยสัจ 4

             อริยสัจ 4  มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4

          1. ทุกข์

คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์

           2. สมุทัย

คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง

           3. นิโรธ

คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน

            4.มรรค

คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้

 

มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )

 

..(มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)

 แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์

.....เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับ

.....ตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือด

.....แห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสาย

.....กลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว

 คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย

 อำนาจของอวิชชา ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือกฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-

..........1. สัมมาทิฏฐิ ิคือความเข้าใจถูกต้อง

..........2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง

..........3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง

..........4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง

..........5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง

..........6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง

..........7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง

..........8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง

.....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกัน

.....แล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ

...............การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค

          สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา).....คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและ

.....ทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็น

.....การเห็นอริยสัจจ์นั้นย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง

.....คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร อย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆ เป็นอย่างไร

.... อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิท

.....ของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้

.....อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่

.....และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้น

.....เรียกเป็นวิชชาไปและไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว

สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา)

.....คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้ว

.....ข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การ

.....ไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อ

.....ความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์

สัมมาวาจา (ศีล)

.....คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น

สัมมากัมมันตะ (ศีล)

.....คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น

สัมมาอาชีวะ (ศีล)

.....คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น

สัมมาวายามะ (สมาธิ)

.....คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทาง

.....ดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า

สัมมาสติ (สมาธิ)

.....คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอด

.....อวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ โดยเฉพาะได้แก่กายนี้ และธรรมอันเนื่องเกี่ยวกับกายนี้ เมื่อ

.....พบความจริงของกายนี้ อวิชชาหรือหัวหน้าแห่งมูลทุกข์ก็สิ้นไป

.สัมมาสมาธิ (สมาธิ)

.....คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็น

.....อาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญา

.....ทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้ อ

.....แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ

องค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจา

.....สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จเป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศล

.....เจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับ

.....มรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่นสัมมาทิฏฐิ-สติ-สมาธิ

..... ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิก

.....อยู่อย่างเดียวกัน รอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมกัน

.....เป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของ

.....ตน อาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า "การอบรมทำให้มาก"

.....สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นตามส่วน

.....องค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้

 

 

อิทธิบาท 4

       อิทธิบาท 4 หมายถึง หลักธรรม 4 ประการ สำหรับการทำงานหรือทำสิ่งใดๆ เพื่อให้งานประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวังไว้ ซึ่งประกอบด้วย

1. ฉันทะ (ความรัก และความพอใจ)

2. วิริยะ (ความเพียร)

3. จิตตะ (ความเอาใจจดจ่อ ความเอาใจใส่)

4. วิมังสา (การใช้ปัญญาไตร่ตรอง ตรวจสอบ)

        1. ฉันทะ หมายถึง ความรัก และความพอใจในสิ่งนั้นๆ คือ เมื่อทำสิ่งใดก็ทำด้วยความพอใจ ด้วยความรักในสิ่งนั้น ทำสิ่งนั้นด้วยความเต็มใจ ไม่เบื่อหน่ายในกิจที่ทำ (การเต็มใจ )

       2. วิริยะ หมายถึง ความเพียรในการกระทำสิ่งนั้นๆ คือ เมื่อทำสิ่งใดก็ทำด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วยความพยายาม และมีมานะอุตสาหะ ไม่ทอดทิ้งกิจที่ทำนั้น (การแข็งใจ )

       3. จิตตะ หมายถึง ความเอาใจใส่ ความเอาใจจดจ่อในสิ่งที่ทำ ไม่วางธุระในสิ่งนั้นๆ คือ เมื่อทำสิ่งใดก็ทำด้วยความรู้จักไตร่ตรอง ทำด้วยปัญญา รู้จักพิจารณาใคร่ครวญ รู้จักพินิจพิเคราะห์ ทดลอง ทดสอบ ตรวจหาสาเหตุด้วยความรอบคอบ (การเข้าถึง)

       4. วิมังสา หมายถึง การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง ตรวจสอบในสิ่งนั้นๆ คือ เมื่อทำสิ่งใดก็ทำด้วยความรู้จักไตร่ตรอง ทำด้วยปัญญา รู้จักพิจารณาใคร่ครวญ รู้จักพินิจพิเคราะห์ ทดลอง ทดสอบ ตรวจตราหาสาเหตุด้วยความรอบคอบ (การเข้าใจ )

 

อิทธิบาท” มาจากคำว่า

อิทธิ หมายถึง ความสำเร็จ

บาท หมายถึง วิถีทางที่จะนำไปสู่

       ดังนั้น คำว่า “อิทธิบาท” หากแปลตามคำจึงหมายความว่า วิถีทาง หรือ หลักการ ที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทางหรือไปสู่ความสำเร็จได้ ซึ่งมี 4 ประการ หรือเรียกว่า อิทธิบาท 4

        อิทธิบาท ถือเป็นแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้ประสบความสำเร็จตามความประสงค์ 4 อย่าง ซึ่งเป็นหลักใกล้เคียงกับหลักการพึ่งตนเอง แต่แสดงให้เห็นว่าพึ่งตนเองอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ ซึ่งคำว่า อิทธิ นอกจากจะแปลว่า สำเร็จแล้ว ยังแปลว่า ฤทธิ์ของมนุษย์ที่แสดงได้ จะโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์หรือจิตศาสตร์ก็ตาม ซึ่งต้องอาศัยหลักอิทธิบาท 4

         พุทธทาสภิกขุ อธิบายว่า การทำงานแบบใดๆ โดยไม่รู้สึกตัว มีระดับมากน้อยแตกต่างกัน คนที่ทำงานด้วยความพอใจ ขยันขันแข็ง เอาใจใส่ใคร่ครวญอยู่เสมอนั้น เรียกว่า มีอิทธิบาท 4 ประการ มีการปฏิบัติโดยไม่ได้ตั้งตัว ซึ่งอิทธิบาททั้ง 4 ประการนี้ ถ้าปฏิบัติได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม ย่อมที่จะประสบความสำเร็จดังประสงค์

 

อิทธิบาท 4

1. ฉันทะ (aspiration)

ฉันทะ แห่งอิทธิบาท 4 คือ ความพอใจ รักใคร่ เต็มใจ และฝักใฝ่ในงานอยู่เสมอ ทุ่มเทความสามารถ และปรารถนาเพื่อที่จะทำงานนั้นให้ดีที่สุด ด้วยการรักในงานของตน ชอบในงานของตน งานในที่นี้หมายถึง สิ่งที่เราทำ ผู้ใดมีงานอะไรแล้วมีความรักใคร่พอใจในงานนั้น เรียกว่า มีฉันทะ คนที่ขาดฉันทะ ไม่พอใจในงานของตน มักจะทำงานด้วยความเหน็ดเหนื่อยใจ และชอบทิ้งงานให้จับจดและคั่งค้าง

 

ความอยากหรือความฝักใฝ่ที่เกิดจากฉันทะนี้ มิได้มีความหมายเหมือนกับความอยากได้เพื่อให้ได้มาซึ่งการเสพเสวยแก่ตนในทุกสิ่งทุกอย่าง หรือที่เรียกว่า ตัณหา เพราะความอยากที่เกิดจากฉันทะนั้น เป็นความอยากในทางสุจริตที่ต้องมีการทุ่มเทกำลังกาย และกำลังใจเพื่อให้สิ่งนั้นสำเร็จตามความมุ่งหมาย ภายใต้พื้นฐานของคุณธรรม และความดี

องค์ประกอบของฉันทะ

1. ความยินดีในสิ่งที่ทำ นั้นๆ

2. ความพอใจในสิ่งที่ทำ นั้นๆ

3. ความเต็มใจในขณะที่ทำสิ่งนั้นๆ

4. ความมีใจรักในขณะที่ทำสิ่งนั้นๆ

5. ความอยากหรือฝักใฝ่ที่จะทำสิ่งนั้นๆให้บรรลุถึงจุดหมาย

 

ทั้งนี้ ลักษณะของฉันทะที่เกิดขึ้นมิได้เพียงใช้สำหรับการกระทำในการงานเพียงอย่างเดียว แต่สามารถนำไปใช้เป็นหลักการดำเนินชีวิตในด้านอื่นๆได้ด้วยเช่นกัน ได้แก่

ความยินดี และพอใจในฐานะทางครอบครัว

ความยินดี และพอใจในทรัพย์สินที่ตนมี

ความยินดี และพอใจในความสามารถของตน

ความยินดี และพอใจในคู่ครองของตน

ความยินดี และพอใจในตำแหน่ง และหน้าที่ของตนในสังคม

ความยินดี และพอใจในศาสนาหรือลัทธิที่ตนนับถือ

ฯลฯ

 

ฉันทะ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตภายใต้หลักธรรม คือ โยนิโสมนสิการ คือ การรู้จักคิด วิเคราะห์ หรือคิดในทางที่ถูก และเหมาะสมเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ภายใต้สภาวะแห่งเหตุ และผล ดังนั้น เมื่อเกิดฉันทะ คือ ความพอใจหรือยินดีในสิ่งนั้นแล้ว ย่อมทำให้เป็นผู้ที่รู้จักใช้โยนิโสมนสิการ คือ การคิดวิเคราะห์หาแนวทางที่จะดำเนินต่อไป ซึ่งจะนำมาสู่การเกิดวิริยะ คือ ความเพียรในแนวทางนั้น ต่อไป

 

2. วิริยะ (exertion)

วิริยะ แห่งอิทธิบาท 4 คือ ความเพียรพยายาม ความอุตสาหะ และมานะบากบั่น ที่จะทำงานหรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีที่สุด ไม่ท้อถอยเมื่อเกิดอุปสรรค และความยากลำบากต่างๆ ด้วยการมองปัญหาหรืออุปสรรคที่ขัดขวางต่อการทำสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ท้าทาย และต้องเอาชนะให้สำเร็จ

 

วิริยะ เป็นความเพียรที่ประกอบความดี มีความขยันหมั่นเพียร ไม่ทอดธุระ เป็นเครื่องพยุงความพอใจไม่ให้ท้อถอยในการทำงาน เพราะว่างานทุกชนิดมักจะง่ายตอนคิด แต่มักจะติดตอนทำจึงจำเป็นต้องใช้ความพยายามเรื่อยไปจนกว่าจะสำเร็จตามความพอใจที่ปลูกไว้

 

วิริยะ หรือ ความเพียรนี้ มีความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานหรือการกระทำต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขณะนั้น เพราะหากต้องการความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ก็ต้องจำเป็นต้องมีความพยายามเป็นสำคัญ แต่ความพยายามนี้ มิใช่หมายครอบคลุมถึง การปฏิบัติหรือการกระทำที่ไม่มีวันหยุด หรือ ไม่รู้ซึ่งพื้นฐานของตนเอง ที่มาจากหลักธรรมแห่งโยนิโสมนสิการ คือ การรู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุ และผลในคันรองคลองธรรม เช่นกัน

ประเภทของวิริยะ

1. สังวรปธาน หมายถึง เพียรระวัง คือ การกระทำสิ่งใดๆจะต้องรู้จักพึงระวังรอบคอบด้วยการรู้จักเหตุ และผล ไม่ตั้งอยู่ในความประมาทหรืออกุศลกรรมทั้งปวง

2. ปหานปธาน หมายถึง เพียรละ คือ การรู้จักละ ลด หรือหลีกเลี่ยงจากอกุศลกรรมทั้งปวงที่จะเป็นเหตุทำให้การกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ประสบความสำเร็จ

3. ภาวนาปธาน หมายถึง เพียรบำเพ็ญ คือ การรู้จักเพียรตั้งมั่น และอุทิศตนต่อการกระทำในสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างเสม่ำเสมอ

4. อนุรักขนาปธาน หมายถึง เพียรตามรักษาไว้ คือ รู้จักรักษาหรือทำให้ความเพียรในสิ่งนั้นๆคงอยู่กับตนเป็นนิจ

 

องค์ประกอบของวิริยะ

1. ความเพียรในการทำสิ่งนั้นๆในทางที่ถูกตามเหตุ และผล ภายใต้พื้นฐานตามหลักคุณงามความดี

2. การมีความกล้า และความแน่วแน่ที่จะทำในสิ่งนั้นๆ

3. การไม่ละทิ้งซึ่งการงานหรือสิ่งที่กำลังทำอยู่

4. การความอุตสาหะ และอดทนต่อความยากลำบากอย่างเป็นนิจ

 

ทั้งนี้ ลักษณะของวิริยะที่เกิดขึ้น มิได้อยู่ในกรอบสำหรับการงานเท่านั้น แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นหลักการดำเนินชีวิตในด้านอื่นๆ ได้แก่

ความเพียรในการเจริญธรรม การเจริญภาวนา หรือการรักษาศีล

ความเพียรในการศึกษาเล่าเรียน

ฯลฯ

 

ด้วยเหตุนี้ วิริยะจึงเป็นหลักที่มีความสำคัญอันจะนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติในการงานหรือการกระทำต่อสิ่งใดๆ ภายใต้พื้นฐานของหลักการเหตุ และผลที่เกิดจากโยนิโสมนสิการ เพื่อมุ่งให้สิ่งนั้นๆดำเนินไปสู่จุดหมาย และสำเร็จตามที่ได้ตั้งไว้ โดยมีความเพียรที่ดำเนินไปในลักษณะของการปฏิบัติตามหลักปธาน 4 ในข้างต้น

 

แต่ทั้งนี้ ความเพียรที่มีมากเกินไป มักจะทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน ความไม่มีสติ ความเหน็ดเหนื่อย จนนำไปสู่การการเกิดอุปสรรค และปัญหาในสิ่งนั้น ส่งผลต่อความท้อแท้ตามมาได้ นอกจากนั้น หากมุ่งเพียรต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป มักจะทำให้เกิดการลืมที่จะกระทำต่อสิ่งอื่นได้ง่ายเช่นกัน

 

3. จิตตะ (thoughtfulness)

จิตตะ แห่งอิทธิบาท 4 คือ การเอาใจใส่ และให้ใจจดจ่ออยู่กับอยู่กับสิ่งที่ทำ มีสมาธิมั่นคงอยู่กับงาน ไม่ปล่อยปละละเลยในงานที่ทำ และทำงานด้วยความตั้งใจที่จะให้งานนั้นสำเร็จ แต่หากใครทำการสิ่งใดด้วยความเป็นคนประมาท ไม่เอาใจใส่กับงานที่ตนทำ ทำอะไรทิ้งๆ ขว้างๆ งานนั้นย่อมไม่สำเร็จตามเป้าประสงค์หรือหากสำเร็จ แต่ก็เป็นความสำเร็จที่ไม่มีประสิทธิผลในงาน

 

ทั้งนี้ จิตตะ หมายถึง จิตใจ คือ ส่วนที่ทำหน้าที่รู้สำนึก รู้คิด ซึ่งความรู้ที่เกิดมาจากจิตนั้น เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อดีตกาล หรือกำลังจะเกิดในอนาคต ล้วนเป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในจิต หรือที่ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น หมายถึง จิตสั่งสมความรู้ให้เกิดขึ้นในกาลทั้ง 3 นั่นเอง ส่วนจิตตะในที่นี้ หมายถึง สภาวะทางอารมณ์ที่สะท้อนมาจากจิต อาทิ ความแข้มแข็ง ความมั่นคง ความมุ่งมั่น และความจดจ่อ ต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ทำอยู่นั้น

 

องค์ประกอบของจิตตะ

1. มีความสนใจในสิ่งที่จะทำนั้นอย่างจริงจัง

2. การเอาใจใส่ในขณะที่กระทำสิ่งนั้นๆ

3. การมีใจที่เป็นสมาธิในขณะที่กระทำสิ่งนั้นๆ

4. การที่มีจิตใจมุ่งมั่น และแน่วแน่ในขณะที่กระทำสิ่งนั้นๆ

 

ทั้งนี้ ลักษณะของจิตตะที่เกิดขึ้น มิได้อยู่ในกรอบสำหรับการงานเท่านั้น แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันด้านอื่นๆ ได้แก่

การเอาใจใส่ และมุ่งมั่นในการเจริญธรรม

การเอาใจใส่ และมุ่งมั่นในการศึกษาเล่าเรียน

ฯลฯ

 

จิตตะ มีความสัมพันธ์กับสมาธิ คือ หมายถึง จิตเป็นเครื่องผลักดัน และควบคุมการเกิดของสมาธิ โดยสภาวะจิตที่มีความแน่วแน่ และจดจ่อต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ภาวะที่เกิดขึ้นกับจิตนี้จึงเรียกว่า สมาธิ ซึ่งเป็นเครื่องเสริมประสิทธิภาพในการจะกระทำสิ่งใดๆให้ประสบความสำเร็จ เพราะจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่กำลังทำ อยู่ โดยไม่เกิดความฟุ้งซ่าน ย่อมทำให้งานประสบความสำเร็จได้ดี ไม่ผิดพลาด และมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่วางไว้

 

4. วิมังสา (investigation)

วิมังสา แห่งอิทธิบาท 4 คือ การสอบสวน ไตร่ตรอง และพิจารณาตรวจสอบในสิ่งที่กำลังทำนั้นๆ รวมถึงการรู้จักค้นคว้า ทดลอง คิดค้น และรู้จักคิดแก้ไขปรับปรุงงาน ให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ

 

ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำสิ่งใดๆ ย่อมเกิดจากปัจจัยจากข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการใช้วิมังสา คือ การคิด วิเคราะห์ อย่างมีเหตุ และผล ย่อมทำให้เข้าใจต่อกระบวนการ วิธีการ และแนวทางในการดำเนินงานที่ถูกต้อง เหมาะสม รวมถึงย่อมรู้จักแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ดี แต่หากไม่มีการใช้ปัญญาก่อนทำหรือขณะทำสิ่งใดๆแล้ว ย่อมนำมาซึ่งปัญหา และอุปสรรคในสิ่งนั้นๆ ส่งผลต่อการท้อแท้ การทำสิ่งนั้นไม่สำเร็จ หรือหากสำเร็จก็จะไม่เกิดประสิทธิผลอย่างเต็มที่

องค์ประกอบของวิมังสา

1. การใช้ปัญญาคิด วิเคราะห์ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติหรือระหว่างปฏิบัติในสิ่งนั้นๆ

3. การใช้ปัญญาคิดวิเคราะห์ในสิ่งนั้นๆ ตามคันรองคลองธรรม

2. การแก้ไข ปรับปรุงข้อบกพร่อง และพัฒนาในสิ่งนั้นๆด้วยปัญญา

 

ทั้งนี้ ลักษณะของวิมังสาที่เกิดขึ้น มิได้เหมาะสำหรับนำไปใช้ในการงานเท่านั้น แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันด้านอื่นๆ ได้แก่

การรู้จักคิด วิเคราะห์ในการเจริญธรรม

การรู้จักคิด วิเคราะห์ในบทเรียน

การรู้จักคิด วิเคราะห์ก่อนที่จะพูดหรือทำในสิ่งใดๆ

ฯลฯ

 

วิมังสา คือ การรู้จักคิด วิเคราะห์ ที่มักคู่กับคำว่า ปัญญา คือ ความรู้ หรือ ความรู้แจ้ง เป็นความรู้ ความเข้าใจ ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในเหตุ และผล รวมถึงองค์ประกอบ และพื้นฐานของสิ่งๆนั้น สามารถตัดสิน และบ่งชี้สิ่งนั้นได้เป็นมาอย่างไร มีลักษณะอย่างไร รวมถึงรู้แยกแยะสิ่งต่างๆว่าถูกผิด ดีชั่ว ดังนั้นแล้ว การมีปัญญาจึงเป็นการรอบรู้ในทุกๆด้าน และพึงใช้ปัญญาก่อนที่จะทำเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และลึกซึ้งก่อน เพื่อให้การนั้นๆดำเนินไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และไม่เกิดปัญหาอุปสรรค พร้อมยังประสิทธิภาพในสิ่งนั้นให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์

 

ประโยชน์ของอิทธิบาท 4

1. ประโยชน์ของฉันทะ คือ ทำให้เป็นผู้มีความพอใจ และมีใจรักต่องาน ทำให้เกิดความรู้สึกเต็มใจในการทำงาน เกิดการทำงานด้วยความสุข ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายง่าย ไม่เกิดอาการท้อแท้ ช่วยให้งานดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง และเกิดการสร้างสรรค์ในงาน

2. ประโยชน์ของวิริยะ คือ ทำให้เป็นคนมั่นเพียร และขยันในการทำงาน ไม่มีความเกียจคร้าน มุ่งมั่นที่จะทำงานให้เสร็จ ผู้ที่ขาดความขยัน ย่อมทำงานขาดๆเกินๆหรือมักทำงานนั้นไม่สำเร็จ หรือหากสำเร็จก็สำเร็จล่าช้า และไม่มีประสิทธิภาพ

3. ประโยชน์ของจิตตะ คือ ทำให้เป็นคนมีความมุ่งมั่น และจดจ่อกับงานที่ทำ จิตมีความแน่วแน่ และมั่นคงต่อปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ช่วยให้งานดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องตามกระบวนการ ทราบความเป็นไปของงานอยู่เสมอ

4. ประโยชน์ของวิมังสา คือ ทำให้เป็นผู้ที่รู้จักคิด วิเคราะห์ในงาน ช่วยทำให้ทราบ และเข้าใจในกระบวนการของงาน และหากเกิดปัญหาก็ย่อมเกิดแนวทางในการแก้ปัญหานั้นได้อย่างง่ายดาย งานไม่ผิดพลาด และทำงานตามกรอบที่วางไว้ให้ประสบความสำเร็จ ถ้าขาดวิมังสาจะทำให้เป็นคนทำงานไม่มีหลักการ ทำงานไม่มีแนวทาง ไม่มีแบบแผน ซึ่งยากที่จะเกิดความสำเร็จได้โดยง่าย

 

 

ดังนั้น ฉันทะ และวิริยะ เป็นหลักปฏิบัติที่ช่วยให้บุคคลมีความมั่นใจในการที่จะเผชิญหน้ากับปัญหา และอุปสรรคในการทำงาน และมีจิตตะ และวิมังสา เป็นหลักปฏิบัติที่ช่วยในการเอาชนะปัญหา และอุปสรรคในการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


สังคหวัตถุ 4

       สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการได้แก่

        1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

        2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

 

             เว้นจากการพูดเท็จ                        เว้นจากการพูดส่อเสียด

            เว้นจากการพูดคำหยาบ                   เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

         3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

         4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

 

อบายมุข

เส้นทางนำไปสู่ความฉิบหาย(เสื่อม)

          อบายมุข  คือ  เส้นทางนำไปสู่ความเสื่อม เป็นสิ่งที่ไม่ดีหากผู้ใดเข้าใกล้หรือหลงมัวเมาจะทำให้ชีวิตอับเฉา จะพบแต่ปัญหามากมายไม่มีความสุขในชีวิตและจะเสื่อมสูญไปทุกอย่าง อาทิ มีลาภ เสื่อลาภ มียศเสื่อมยศ มีทรัพย์สินเงินทองก็จะหมดไปในที่สุด  มีแต่คนติฉินนินทาว่าร้ายไม่เป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป  จึงควรละเว้นอย่าพึงกระทำ  มีดังนี้คือ

       .ดื่มน้ำเมา 1      เที่ยวกลางคืน 1       เที่ยวดูการละเล่น 1     เล่นการพนัน 1

คบคนชั่วเป็นมิตร 1      เกียจคร้านการทำงาน 1

     ดื่มน้ำเมา มีโทษ 6  ประการคือ

           1.ทำให้เสียทรัพย์,                             2. ทำให้ก่อการทะเลาะวิวาท,

            3. ทำให้เกิดโรค,มีสุขภาพไม่ดี             4. ทำให้ต้องติเตียน ขาดความเชื่อถือของคนทั่วไป

             5. ขาดสติ ไม่รู้จักยั้งคิด ไม่รู้จักอาย,

              6.บั่นทอนกำลังปัญญา มึนงง

       เที่ยวกลางคืน มีโทษ 6 ประการคือ

            1.ได้ชื่อว่าไม่รักษาตัว,            2.ได้ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย,

              3 ได้ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ,      4.เป็นที่ระแวงของคนทั่วไป,

               5.มักถูกใส่ความ,                        6.ได้รับความลำบากมาก

        เที่ยวดูการละเล่น  มีโทษไปตามวัตถุที่ไปดู 6 ประการ คือ

               1.รำที่ไหนไปที่นั่น,           2.ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น

              ,3. ดีดสีตีเป่าที่ไหนไปที่นั่น    ,4. เสภาที่ไหนไปที่นั่น,

               5. เพลงที่ไหนไปที่นั่น,        6. เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น

         เล่นการพนัน  มีโทษ 6 ประการ คือ

              1.เมื่อชนะย่อมก่อเวร             ,2. เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป,

              3.ทรัพย์ย่อมฉิบหาย              ,4. ไม่มีใครเชื่อถ้อยคำ,

              5. เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน      ,6. ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย

          คบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษตามบุคคลที่คบ 6 ประการคือ

               1.นำให้เป็นนักเลงการพนัน                  2.นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู

               3.นำให้เป็นนักเลงเหล้               4.นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม

                5.นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้า      6.นำให้เป็นคนหัวไม้

 

       เกียจคร้านการทำงานมีโทษ 6   ประการคือ

 

            1.มักให้อ้างว่าหนาวนัก แล้วไม่ทำงาน

                 2.มักให้อ้างว่าร้อนนัก แล้วไม่ทำงาน

                 3.มักให้อ้างว่าเวลาเย็นแล้ว ไม่ทำงาน

                 4.มักให้อ้างว่า เวลายังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำงาน

                  5.มักให้อ้างว่า หิวนัก แล้วไม่ทำการงาน

                  6.มักให้อ้างว่าระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน

 

อบายมุข 4

        อบายมุข ทางแห่งความเสื่อม ( อบาย = เสื่อม ไม่เจริญ + มุข = ทางหรือปากทาง ) โดยพิสดารมี 6 โดยย่อมี 4 ในที่นี้กล่าวถึง 4 ประการ คือ

         1. เป็นนักเลงหญิง  ผู้ที่ทำอะไรเป็นประจำหรือทำบ่อยๆ ผู้นิยมชมชอบในทางนั้นๆ เช่น นักเลงกลอน นักเลงการพนัน นักเลงหญิง นักเลงหญิง หมายถึง ชายที่นิยมชมชอบ หรือพอใจในการคลุกคลีกับหญิง คบผู้หญิงโดยไม่เลือกว่าเป็นใคร สำส่อนกับผู้หญิงทุกจำพวก

            2. เป็นนักเลงสุรา  สิ่งของมึนเมาหรือสิ่งเสพย์ติดต่างๆ เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา บุหรี่ เหล้า เบียร์  สิ่งเสพย์ติดเหล่านี้จะทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตยังจะเป็นบ่อเกิดแห่งโรคต่างๆ อีกมากมาย

            3. เป็นนักเลงการพนัน  การพนันมีหลายประเภทและสามารถพนันกันได้ทุกอย่างสำหรับผู้ชอบการพนัน เช่น โป ถั่ว ไพ่ ชนไก่ กัดปลา ม้า มวย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้เสียเวลาในการทำมาหากินโดยสุจริต เบียดเบียนตนและผู้อื่น สร้างนิสัยให้เป็นคนมักได้ไม่ปรารถนาลงทุนลงแรงทำงานให้เป็นล่ำเป็นสัน อันเป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม

            4. คบคนชั่วเป็นมิตร   เพราะคนชั่วย่อมชักนำไปในทางที่ชั่ว เช่นชักชวนเป็นนักเลงประเภทต่างๆ คือ นักเลงหญิง นักเลงสุรา นักเลงพนัน นักเลงหัวไม้ เหล่านี้แต่ละอย่างล้วนเป็นปากทางแห่งความเสื่อมทั้งสิ้น สุภาษิตโบราณท่านว่า คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคนชั่วอัปราชัย

   

พรหมวิหาร 4

          ธรรมสำหรับผู้เป็นใหญ่ ผู้ปกครอง พ่อแม่ จำเป็นต้องมีไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับดำเนินชีวิต ได้แก่

    1. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข

    2. กรุณา ความสงสาร ต้องการที่จะช่วยบุคคลอื่น สัตว์อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์

    3. มุทิตา ความชื่นชมยินดีเมื่อเห็นบุคคลอื่นเขาได้ดี

    4. อุเบกขา ความวางเฉยไม่ดีใจไม่เสียใจ เมื่อบุคคลอื่นประสบความวิบัติ

ฆราวาสธรรม 4

    หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน...หากผู้ใดมีจะทำให้ครอบครัวมีความสุข  มี 4 ประการ คือ

          1. สัจจะ การมีความซื่อตรงต่อกัน

          2. ทมะ การรู้จักข่มจิตของตน ไม่หุนหันพลันแล่น

          3. ขันติ ความอดทนและให้อภัย

       4. จาคะ การเ สียสละแบ่งปันของตนแก่คนที่ควรแบ่งปัน

 

ขันติโสรัจจะ

ธรรม ที่ทำให้งาม

หลักธรรมที่ทำให้งาม...บุคคลที่ต้องการจะงามต้องปฏิบัติตามหลักธรรมนี้    ขันติและโสรัจจะ  เป็นหลักธรรมอันทำให้บุคคลเป็นผู้งาม  (ธรรมทำให้งาม)

     1.  ขันติ  คือ  ความอดทน  มีลักษณะ 3  ประการ

           1.1   อดใจทนได้ต่อกำลังแห่งความโกรธแค้นไม่แสดงอาการ กาย  วาจา  ที่ไม่น่ารักออกมาให้เป็นที่ปรากฏแก่ผู้อื่น

           1.2   อดใจทนได้ต่อความลำบากตรากตรำหรือความเหน็ดเหนื่อย

     2.  โสรัจจะ  ความสงบเสงี่ยม  ทำจิตใจให้แช่มชื่นไม่ขุนหมอง

 

สติสัมปชัญญะ

สติสัมปชัญญะ  เป็นหลักธรรมอันอำนวยประโยชน์แก่ผู้ประพฤติเป็นอันมาก

      1.สติ   คือ  ความระลึกได้ก่อนทำ  ก่อนบูชา  ก่อนคัด  คนมีสติจะไม่เลินเล่อ  เผลอตน

      2.สัมปชัญญะ  คือ  ความรู้ตัวในเวลากำลังทำ  กำลังพูด  กำลังคิด

 

หิริโอตัปปะ

ธรรมคุ้มครองโลก

หลักธรรม  คุ้มครองโลก..หากทุกคนมีหลักธรรมข้อนี้จะทำให้โลกสงบสุข

        หิริ ความละอายต่อบาปกรรมที่ตนกระทำนั้นยิ่งกว่าคนที่เป็นโรคร้ายแต่งตัวเรียบร้อยเข้าไปในที่สาธารณะ ย่อมมีความละอายแก่ใจตนเสมอ คนอื่นจะรู้เห็นหรือไม่ก็ตาม แต่ใจของตนรู้เห็นด้วยใจตนเองอยู่ตลอดเวลา

      โอตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาปกรรมที่ตนกระทำด้วยกาย วาจา และใจ อันจะเกิดมีขึ้นแก่ตน กลัวยิ่งกว่าเห็นอสรพิษ ย่อมไม่สามารถเข้าไปใกล้ได้ ความกลัวบาปที่เห็นด้วยใจ และกลัวด้วยใจนั้น ย่อมสะดุ้งหวาดเสียวอยู่เป็นนิจ เหมือนเป็นแผลที่หัวใจ ใครจะเจ็บปวดด้วยหรือไม่ก็ตาม ผู้นั้นย่อมเจ็บปวดอยู่คนเดียว ความละอายและความกลัวเหล่านี้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้ละอายและกลัวบาปกรรมที่ละเมิดล่วงเกินศีลข้อนั้น ๆ เมื่อมีความละอายและความกลัวบาปกรรมอยู่อย่างนี้แล้ว ผู้นั้นย่อมมีสติระวังตัวอยู่ทุกเมื่อ แล้วมันจะล่วงละเมิดศีลข้อนั้น ๆ ได้อย่างไร

  

   

 

   

 

  

จักร 4

หลักธรรมที่นำพาไปสู่ความเจริญ รุ่งเรือง..หากผู้ใดยึดถือปฎิบัติหลักธรรมนี้จะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง

        จักร 4 หลักธรรม 4 ประการที่นำบุคคลไปสู่ความเจริญ ประกอบด้วย

             1. ปฏิรูปเทสวาสะ หมายถึง การอยู่ในประเทศอันเหมาะสม

             2. สัปปุริสูปสังเสวะ หมายถึง การคบสัตบุรุษ การเข้าไปคบกับคนดี ผู้มีสัปปุริสธรรม7

             3. อัตตสัมมาปณิธิ หมายถึง การตั้งตนไว้ชอบ ตั้งอยู่ในสุจริต 3 ได้แก่ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต

             4. ปุพเพกตปุญญตา หมายถึง ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้ก่อน

       1. ปฏิรูปเทสวาสะ     แปลว่า การอยู่ในประเทศอันสมควร หมายถึง การอยู่ในท้องถิ่นที่เหมาะสมกับกิจกรรมที่ต้องกระทำ เช่น การศึกษา การประกอบอาชีพ การปฏิบัติธรรม การบำเพ็ญสมณธรรม เป็นต้น ผู้ต้องการศึกษาวิชาการสาขาใด ควรอยู่ในท้องถิ่นที่มีความพร้อมทุกๆ ด้าน เช่น ครู อาจารย์ ตำราเรียน การคมนาคมสะดวก และสิ่งอื่นๆ ที่จะอำนวยให้การเรียนมีประสิทธิภาพ ผู้ต้องการประกอบอาชีพเพาะปลูก ควรอยู่ในท้องถิ่นที่มีพื้นดินดี มีน้ำอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชนั้นๆ ผู้ต้องการประกอบอาชีพค้าขาย ควรอยู่ในท้องถิ่นที่มีประชากรหนาแน่น มีสาธารณูปโภคและเส้นทางคมนาคมสะดวก ผู้ต้องการปฏิบัติธรรม ควรอยู่ในท้องถิ่นที่มีพระสงฆ์ผู้รู้ธรรมและเคร่งครัดในพระวินัย มีผู้สนใจปฏิบัติธรรมกันมาก ส่วนภิกษุผู้ต้องการบำเพ็ญสมณธรรม คือเจริญภาวนา พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ไปในที่อันเหมาะสม คือ ป่า โคนไม้ กระท่อมร้าง เป็นต้น ที่กล่าวข้างต้น หมายถึง ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆ แต่ความหมายโดยตรงของจักรข้อที่ ๑ ได้แก่ การอยู่ในท้องถิ่นที่สามารถศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรมได้ดี คือ ท้องถิ่นที่มีคนดีผู้รู้ธรรม

       2. สัปปุริสูสังเสวะ   (การเข้าไปคบหาคนดี) แปลว่า การคบสัตบุรุษ สัตบุรุษ เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า คนดี คนสงบ ตรงกับภาษาบาลีว่า สัปปุริสะ ผู้ที่เป็นสัตบุรุษหรือสัปปุริสะ ย่อมมีสัปปุริสธรรม 7 ประการประจำตน ได้แก่

       1. รู้เหตุ         2. รู้ผล    3. รู้ตน          4. รู้ประมาณ      5. รู้กาล         6. รู้ชุมชน

       7. รู้บุคคล การเข้าไปคบหา ได้แก่ การเข้าไปสนทนาไต่ถาม มอบตัวเป็นศิษย์ รับโอวาทของสัตบุรุษ เมื่ออยู่ในท้องถิ่นที่มีสัตบุรุษ คือ คนดีตามจักรข้อ 1 แล้ว ก็เข้าไปคบหาสมาคมกับสัตบุรุษนั้น เป็นจักรข้อที่ 2 สัตบุรุษย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ ให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ ให้รู้จักเว้นชั่วประพฤติดี ละสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์กระทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างเดียว

        3. อัตตสัมมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบ) แปลว่า การตั้งตนไว้ชอบ ตน หมายถึง ร่างกายและจิตใจ การตั้งตนไว้ชอบจึงหมายถึง การตั้งอยู่ในสุจริต 3 คือ

          •  กายสุจริต ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ การไม่ลักทรัพย์ การไม่ประพฤติผิดในกาม

          •  วจีสุจริต ได้แก่ การไม่พูดเท็จ การไม่พูดส่อเสียด การไม่พูดคำหยาบ การไม่พูดเพ้อเจ้อ

          •  มโนสุจริต ได้แก่ การไม่อยากได้ของผู้อื่น การไม่คิดพยาบาทผู้อื่น การเห็นชอบตามคลองธรรม อีกนัยหนึ่ง หมายถึง

          •  การตั้งอยู่ในประโยชน์ปัจจุบัน ได้แก่ การหมั่นหาทรัพย์ การรักษาทรัพย์ไว้ การมีเพื่อนดี การเลี้ยงชีวิตพอเหมาะพอดี

          •  การตั้งอยู่ในประโยชน์ในอนาคต ได้แก่ ความสมบูรณ์ด้วยศรัทธา ความสมบูรณ์ด้วยศีล ความสมบูรณ์ด้วยจาคะ ความสมบูรณ์ด้วยปัญญา เมื่อเข้าไปคบหาสมาคมกับสัตบุรุษ และสัตบุรุษแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำตามจักรข้อที่ 2 แล้ว ผู้เข้าไปคบหาสัตบุรุษนั้น ปฏิบัติตนตามคำแนะนำของสัตบุรุษ ย่อมเป็นผู้ตั้งตนไว้ชอบ

      4. ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้ก่อน) แปลว่า ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้ก่อน หมายความว่า ได้ทำบุญไว้ในอดีต บุญนั้น

         •  กล่าวโดยเหตุ ได้แก่ กุศลกรรมหรือความดี

        •  กล่าวโดยผล ได้แก่ ความสุข มีความหมายว่า  คนทำความดีในอดีตย่อมได้รับความสุขในปัจจุบัน   ทำความดีในปัจจุบันย่อมได้รับความสุขในอนาคต และผู้ที่ทำบุญหรือกระทำความดีนั้นยังได้รับความสุข ได้รับผลดีตอบแทนในขณะที่ทำนั้นด้วยความปิติยินดี ความสุขใจสบายใจที่ได้กระทำความดี การได้รับคำยกย่องสรรเสริญว่าเป็นคนดีมีคุณธรรม การได้รับการปฏิบัติตอบที่ดี ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้ก่อน อุปมาด้วยการเรียนหนังสือจนสำเร็จ ได้ประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตร อันเป็นเครื่องแสดงคุณวุฒิให้เข้าทำงานได้ เมื่อทำงานเจริญก้าวหน้า มีตำแหน่งสูงขึ้น มีหลักฐานมั่นคง ก็ได้รับความสุขตามสมควรแก่อัตภาพ ความสุขนั้นเป็นผลของความดี คือการเรียนหนังสือที่ได้กระทำไว้ในอดีต สำหรับความสุขที่ได้รับตามจักรข้อ 4 นี้ เกิดจากการตั้งตนไว้ชอบตามจักรข้อ 3 จักร 4 มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ข้อแรกๆ เป็นเหตุให้เกิดข้อหลังๆ กล่าวคือ การอยู่ในประเทศอันสมควร ได้แก่ ท้องถิ่นที่มีสัตบุรุษเป็นให้คบกับท่าน การคบกับสัตบุรุษเป็นเหตุให้ได้ฟัง ได้ศึกษา รู้จักบาปบุญ และละบาปบำเพ็ญบุญเป็นการตั้งตนไว้ชอบ ซึ่งจะได้รับความสุขอันเป็นผลของบุญในกาลต่อมา ได้ชื่อว่าเป็นผู้ได้ทำบุญไว้แล้วในกาลก่อน

สัปปุริสธรรม  7

สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของคนดี ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี

            1. ธัมมัญญุตา = รู้จักเหตุ

         ความรู้จักธรรม หรือ รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล รู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล อาทิ นักเรียนรู้ว่าจะเรียนอย่างไร ต้องปฏิบัติอย่างไร ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้น เป็นต้น

        2. อัตถัญญุตา = รู้จักผล

         ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้างดังนี้เป็นต้น

       3. อัตตัญญุตา = รู้จักตน

         ความรู้จักตน คือ รู้ว่าตัว เรานั้น ว่ามีสถานภาพเป็นอะไร ฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น ว่าขณะนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป

       4. มัตตัญญุตา = รู้จักประมาณ

         ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ นักเรียนรู้จักประมาณ กำลังของตนเองในการทำงาน รัฐบาลรู้จักประมาณการเก็บภาษีและการใช้งบประมาณในการบริหารประเทศ เป็นต้น

       5. กาลัญญุตา = รู้จักกาล

         ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น

       6. ปริสัญญุตา = รู้จักชุมชน

         ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักกลุ่มบุคคล รู้จักหมู่คณะ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา ต้องทำกิริยาหรือปฏิบัติแบบนี้ จะต้องพูดอย่างไร ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างไร เป็นต้น

       7. ปุคคลปโรปรัญญุตา = รู้จักบุคคลความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า มีอัธยาศัย มีความสามารถ มีคุณธรรม เป็นต้น ผู้ใดหยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้ จะตำหนิ หรือยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น

อกุศลมูล ๓ กุศลมูล ๓

        อกุศลมูล ๓อกุศลมูล ๓    (อกุศล=ความไม่ฉลาด, มูล=รากเหง้า)แปลตามตัวอักษรว่า รากเหง้าของความไม่ฉลาด หมายถึง รางเหง้าหรือต้นตอของความชั่วทั้งปวง เมื่อกำเริบจะแสดงออกมาเป็นทุจริตทางกาย วาจา ใจ รวมเป็นเหตุให้เกิดกิเลส มี ๓ ประการ คือ

       ๑.โลภะ ความอยากได้ โลภะ คือ ความอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน อยากให้ตนมีเหมือนคนอื่น หรือมีมากกว่าผู้อื่น ความอยากมีหลายรูปแบบซึ่งจะก่อให้เกิดรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง เช่น อิจฉา ความอยาก ปาปิจฉา ความอยากอย่างชั่วช้าลามก มหิจฉา ความอยากรุนแรง อภิชฌาวิสมโลภะ ความอยากได้ถึงขั้นเพ่งเล็ง ความอยากจะเกิดมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความชั่วในตัวเอง

วิธีแก้ไขความอยากคือ    การใช้สติ ระลึกรู้ในตน

         ๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย   โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย ได้แก่ การอยากฆ่า การอยากทำลายผู้อื่นๆ ความคิดประทุษร้ายเป็นรากเหง้าให้เกิดกิเลสได้หลายอย่าง เช่น ปฏิฆะ ความหงุดหงิด โกธะ ความโกรธ อุปนาหะ ความผูกโกรธ พยาบาท ความคิดปองร้าย ถ้าปล่อยให้มีโทสะมาก ผู้นั้นจะเป็นคนชั่ว คนพาล และเป็นภัยต่อสังคม

      วิธีแก้ไขโทสะ คือ     การใช้สติระงับตน และฝึกตนให้เป็นผู้มีอโทสะ

          ๓. โมหะ ความหลงไม่รู้จริง   โมหะ คือ ความหลงไม่รู้จริง ได้แก่ ความไม่รู้ไม่เข้าใจ ความมัวเมา ความประมาท เป็นรากเหง้าให้เกิดกิเลสได้ต่างๆมากมาย เช่น   มักขะ    ลบหลู่คุณท่าน    ปลาสะ ตีเสมอ  มานะ  ถือตัว มทะ มัวเมา ปมาทะ เลินเล่อ     โมหะ    ทำให้ขาดสติ ไม่รู้ผิดชอบร้ายแรงกว่า  โลภะ และโทสะ รวมทั้งส่งเสริมให้โลภะและโทสะมีกำลังมากขึ้นยิ่งด้วย

       วิธีที่จะทำให้โมหะลดลงนั้นจะต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มี   อโมหะ ความไม่หลงงมงาย

กุศลมูล ๓

              กุศลมูล ๓ หมายถึง รากเหง้าหรือต้นตอของความดีทั้งปวง ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ตรงกันข้ามกับ อกุศลมูล     มี ๓ ประการดังนี้

                   ๑. อโลภะ ความไม่อยากได้       อโลภะ คือ ความเป็นผู้ไม่มีความทะยานอยาก เป็นผู้ที่มีสติระลึกรู้ตัวอยู่เสมอไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดๆ มีแต่ความยินดี และพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่เท่านั้น

         การปฏิบัติตนเป็นผู้มี อโลภะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโลภะ เช่น สันโดษ ความพอใจ ทาน การบริจาค จาคะ การเสียสละ อนภิชฌา ความไม่โลภไม่อยากได้ของผู้อื่น เป็นต้น

                  ๒. อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย  อโทสะ คือ ความไม่คิดประทุษร้าย ไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท จะทำอะไรก็มีสติรู้สึกตัวอยู่เสมอใช้ปัญญาในการประกอบการตัดสินใจต่างๆ

        การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโทสะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น   เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข กรุณา ความสงสาร  อโกธะ ความไม่โกรธ อพยาบาท ความไม่ปองร้ายผู้อื่น อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน ตีติกขาขันติ ความอดทนต่อความเจ็บใจ เป็นต้น

                  ๓. อโมหะ ความไม่หลง    อโมหะ คือ ความไม่หลงงมงาย ไม่ประมาทอันเป็นสาเหตุให้เกิดความชั่วทั้งปวง ให้เป็นผู้มีสติปัญญามั่นคงใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองโดยยึดหลักเหตุผล เมื่อมี   อโมหะเกิดขึ้นกับตัวแล้ว โลภะ โทสะ และโมหะ ก็มิอาจเกิดขึ้นได้

      การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโทสะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษารับฟังมาก วิมังสา หมั่นตรึกตรองพิจารณา สัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ โยนิโสมนสิการ การรู้จักตรึกตรองให้รู้จักดีชั่ว ปัญญา รอบรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ เป็นต้น 

 

อกุศลกรรมบถ ๑๐

 

      อกุศลกรรมบถ   คือ  ความชั่วที่นำชีวิตเข้าสู่ความเสื่อม ไม่เป็นมงคลสำหรับชีวิต  หากผู้ใดหลงใหลตกเข้าไปในบ่วงแห่งอกุศลกรรม คือการกระทำที่ไม่เป็นมงคล การกระทำที่ไม่ประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่น  จะทำให้ชีวิตตนเองและผู้ใกล้ชิดได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำ  จึงเป็นสิ่งที่ต้องหลีกหนีไปให้พ้น สิ่งที่นำไปสู่ความชั่ว  ๑๐ ประการ  คือ

         ความชั่วทางกาย ๓ ประการ

๑. ปาณาติบาต ( ฆ่าสัตว์ , เบียดเบียนสัตว์ ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ

         ๑. สัตว์นั้นยังมีชีวิตอยู่จริง                            ๒. เราก็รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิตอยู่

         ๓. มีจิตหรือเจตนาที่จะฆ่าสัตว์นั้นให้ตาย

         ๔. ทำความเพียรเพื่อจะฆ่าสัตว์นั้น ( ความเพียรพยายามเพื่อฆ่าแบ่งออกเป็น ๖ ประการ )

               ๔.๑ ทำการฆ่าด้วยตนของตนเอง       ๔.๒ ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า หรือใช้วาจาทำการฆ่า

               ๔.๓ ใช้อาวุธเป็นเครื่องทำการฆ่า

                ๔.๔ ฆ่าด้วยหลุมพราง ( มีการวางแผนนานาประการเพื่อให้สัตว์นั้นตาย )

                ๔.๕ สังหารด้วยวิชาคุณ ( พิธีทางไสยศาสตร์ )

                ๔.๖ สังหารด้วยฤทธิ

          ๕. สัตว์นั้นก็ตายเพราะความเพียรนั้น

ผลของ ปาณาติบาต

          ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน

ปวัตติกาล

          ๑. ทุพพลภาพ                   ๒. รูปไม่งาม

          ๓. กำลังกายอ่อนแอ            ๔. กำลังกายเฉื่อยชา

          ๕. กำลังปัญญาไม่ว่องไว      ๖. เป็นคนขลาดหวาดกลัว

          ๗. ฆ่าตนเอง หรือถูกผู้อื่นฆ่า     ๘. โรคภัยเบียดเบียน

          ๙. ความพินาศของบริวาร        ๑๐. อายุสั้น

๒. อทินนาทาน ( ลักทรัพย์ ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ

         ๑. ทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ของผู้อื่น

         ๒. ผู้กระทำการลักทรัพย์ก็รู้โดยชัดแจ้งว่าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ของผู้อื่น

         ๓. มีจิตหรือมีเจตนาพยายามที่จะลักทรัพย์นั้นให้ได้

        ๔. มีความเพียรพยายามที่จะลักทรัพย์นั้น ( ความเพียรที่จะลักทรัพย์แบ่งออกเป็น ๖ ประการ )

             ๔.๑ ทำการลักทรัพย์นั้นด้วยตนของตนเอง

             ๔.๒ ใช้ให้ผู้อื่นทำการลักทรัพย์นั้น

             ๔.๓ ทำการลักทรัพย์นั้นโดยใช้อาวุธเป็นเครื่องประกอบ

             ๔.๔ ทำการลักทรัพย์โดยใช้เครื่องปกปิดไม่ให้จำหน้าตาได้

             ๔.๕ ทำการลักทรัพย์โดยใช้วิชาคุณ ( ไสยศาสตร์ เช่น สะกดให้เจ้าของทรัพย์หลับ )

             ๔.๖ ทำการลักทรัพย์ด้วยฤทธิ์เดช ( เช่น ดำดินไปลักทรัพย์ )

      ๕. ได้ทรัพย์มาสำเร็จเพราะความเพียรที่จะลักทรัพย์นั้น

ผลของ อทินนาทาน

     ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน

      ปวัตติกาล

          ๑. ด้อยทรัพย์             ๒. ยากจนค่นแค้น

          ๓. มีความอดอยาก       ๔. ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา

           ๕. พินาศในการค้า การขาย

           ๖. ทรัพย์ของตนพินาศเพราะอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย และโจรภัย เป็นต้น

๓. กาเมสุมิจฉาจาร ( ผิดประเวณี ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ

            ๑. วัตถุที่ไม่ควรไป ( ผู้ที่ไม่สมควรเสพตามกฏหมายหรือตามประเพณี )

            ๒. มีจิตคิดที่จะเสพ

             ๓. มีความพากเพียรพยายามที่จะเสพ ( กระทำเองด้วยความเพียรเพื่อได้เสพรสกามคุณ )

             ๔. พอใจในการทำมัคคให้ล่วงมัคค ( พอใจในการเดินทางที่ผิด )

ผลของ กาเมสุมิจฉาจาร

ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน

ปวัตติกาล

             ๑. มีผู้เกลียดชังมาก          ๒. มีผู้ปองร้ายมาก

             ๓. ขัดสนในทรัพย์              ๔. ยากจนอดอยาก

              ๕. เป็นผู้หญิง                   ๖. เป็นกะเทย

              ๗. เป็นชายในตระกูลต่ำ      ๘. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ

              ๙. ร่างกายไม่สมประกอบ    ๑๐. มากไปด้วยความวิตกห่วงใย

             ๑๑. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก

การดื่มสุรา หมายถึงการเสพของมึนเมา จัดอยู่ในอกุศลกรรมประเภท " กาเมสุมิจฉาจาร "

องค์ประกอบของการดื่มสุรา

         ๑. สิ่งนั้นเป็นของมึนเมา      ๒. มีเจตนาเพื่อที่จะดื่มหรือเสพหรือกิน

         ๓. กระทำการดื่ม การเสพ การกิน     ๔. สุรานั้นล่วงลำคอลงไปแล้ว

ผลของ การดื่มสุรา หรือการเสพของมึนเมา

     ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน

ปวัตติกาล

           ๑. ทรัพย์ถูกทำลาย        ๒. เกิดวิวาทบาดหมาง

           ๓. เป็นบ่อเกิดของโรค      ๔. เสื่อมเกียรติ

            ๕. หมดยางอาย             ๖. ปัญญาเสื่อมถอย

ความชั่วทางวาจา ๔ ประการ

๔. มุสาวาท ( พูดโกหก ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ

          ๑. เรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องที่ไม่จริง ( วัตถุเทียม )

          ๒. มีจิตหรือเจตนาที่คิดจะพูดโกหก

           ๓. ประกอบด้วยความเพียรที่โกหกให้คนเชื่อ ( โดยหลักการที่จะให้คนเชื่อ ๓ ประการ )

                   ๓.๑ พูดมุสาด้วยตนของตนเอง       ๓.๒ ให้ผู้อื่นกล่าวคำโกหกแทนตัว

                  ๓.๓ พูดหรือโฆษณาคำโกหกออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

          ๔. ผู้ที่ได้ฟังหรืออ่านลายลักษณ์อักษรแล้วก็มีความเชื่อตามนั้น

ผลของ มุสาวาท

ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน

ปวัตติกาล

      ๑. พูดไม่ชัด                    ๒. ฟันไม่มีระเบียบ

       ๓. ปากเหม็นมาก            ๔. ไอตัวร้อนจัด

       ๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ    ๖. พูดด้วยปลายลิ้น หรือปลายปาก

       ๗. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย     ๘. จิตไม่เที่ยงคล้ายวิกลจริต

๕. ปิสุณาวาท ( พูดส่อเสียด ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ

      ๑. มีคนหมู่มากหรือน้อยที่ต้องการให้เขามีความแตกแยกซึ่งกันและกันเกิดขึ้น

      ๒. มีความปรารถนาหรือเจตนาต้องการให้คนหมู่นั้นแตกแยกกัน

       ๓. เพียรพยายามที่ให้เขาแตกแยกกัน ( โดยหลักการทำได้ ๒ ประการ )

            ๓.๑ วจีปโยค คือ กล่าวด้วยวาจาให้เขามีความแตกแยกกัน

             ๓.๒ กายปโยค คือ การแสดงกิริยาบุ้ยใบ้ให้เขาแตกแยกกันโดยไม่ออกเสียง

       ๔. คนในหมู่คณะนั้นก็ปักใจเชื่อใน " วจีปโยค หรือ กายปโยค " ที่แสดงออกไป

ผลของ ปิสุณาสวาท

ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน

ปวัตติกาล

     ๑. ตำหนิตนของตนเอง                      ๒. แตกมิตรสหาย

     ๓. มักถูกลือโดยไม่มีความจริง              ๔. ถูกบัณฑิตตำหนิติเตียน

๖. ผรุสวาท ( กล่าวคำหยาบ ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ

     ๑. มีคนอื่นที่จะพึงด่าว่าให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจ

     ๒. เหตุที่จะกล่าวให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจนั้น เพราะเหตุว่ามีจิตโกรธเคืองเขา

     ๓. จึงแสดงคำหยาบหรือแสดงอาการหยาบ เพื่อให้เขาเจ็บช้ำใจ ( โดยหลักการทำได้ ๒ ประการ )

          ๓.๑ วจีปโยค คือ การกล่าวทางวาจาให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจ

          ๓.๒ กายปโยค คือ การแสดงอาการกิริยาบุ้ยใบ้ให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจ

ผลของ ผรุสวาท

     ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน

ปวัตติกาล

       ๑. พินาศในทรัพย์                            ๒. มีกายวาจาหยาบ

       ๓. ได้ยินเสียง เกิดความไม่พอใจ           ๔. ตายด้วยอาการงงงวย

๗. สัมผัปปลาปะ ( กล่าวคำเพ้อเจ้อ )ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ

        ๑. มุ่งกล่าวคำที่ไร้แก่นสารไม่มีประโยชน์ หรือเจตนานั่นเอง

        ๒. กล่าวคำที่ไม่มีประโยชน์นั้นออกไป

ผลของ สัมผัปปลาปะ

     ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน

ปวัตติกาล

      ๑. เป็นอธัมมวาทบุคคล                   ๒. ไม่มีอำนาจ

      ๓. ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูด                  ๔. จิตไม่เที่ยง คือวิกลจริต

ความชั่วทางใจ ๓ ประการ

๘. อภิชฌา ( อยากได้ของผู้อื่น ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ

      ๑. ทรัพย์หรือของเหล่านั้นเป็นของผู้อื่น

       ๒. มีความเพ่งเล็งที่จะให้ได้ทรัพย์หรือของเหล่านั้นมาเป็นของตน

ผลของ อภิชฌา

     ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน

ปวัตติกาล

         ๑. ปฏิสนธิในตระกูลต่ำ                       ๒. มักได้รับคำติเตียน

         ๓. ขัดสนในลาภสักการะ                 ๔. เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี

๙. พยาบาท ( ผูกใจเจ็บ )ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ

          ๑. มีสัตว์อื่นเพื่อทำลาย     ๒. มีจิตหรือเจตนาคิดทำลายเพื่อให้สัตว์นั้นประสพความพินาศ

ผลของ พยาบาท

      ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน

ปวัตติกาล

          ๑. มีรูปทราม                                  ๒. อายุสั้น

          ๓. มีโรคภัยเบียดเบียน                        ๔. ตายโดยถูกประทุษร้าย

๑๐. มิจฉาทิฏฐิ ( ความเห็นผิด )ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ

        ๑. มีความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่ผิด         ๒. เชื่อและยินดีพอใจในอารมณ์ที่ผิดนั้น

ผลของ มิจฉาทิฏฐิ

      ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน

ปวัตติกาล

      ๑. มีปัญญาทรา                     ๒. เป็นผู้มีฐานะไม่เทียมคน

      ๓. ปฏิสนธิในพวกคนป่าที่ไม่รู้อะไร      ๔. ห่างไลกแห่งรัศมีแห่งพระธรรม

มงคลชีวิต

มงคล  คือ ความก้าวหน้า ความสุข ความเจริญ

         มงคลชีวิต คือ เหตุแห่งความสุขและความเจริญก้าวหน้าในชีวิต เป็นสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่ 38 ประการ

ความเจริญก้าวหน้ามี 4 ประการ คือ

      1.ความเจริญก้าวหน้าด้วยสรรพสมบัติทั้งหลาย

      2.ความเจริญก้าวหน้าด้วยปัญญา

       3.ความเจริญก้าวหน้าด้วยความดีงาม

       4. ความเจริญก้าวหน้าด้วยประโยชน์ทั้ง 3 คือ  ประโยชน์ในโลกนี้   ประโยชน์ในโลกหน้า  และประโยชน์อย่างยิ่ง

                  มงคลชีวิต  38 ประการ  มีดังนี้

1.อเสวนา จะ พาลานัง        ไม่คบคนพาล   2.ปัณฑิตานัญ จะ เสวนา  คบบัณฑิต

3. ปูชา จะ ปูชะนียานัง        บูชาบุคคลที่ควรบูชา   4.ปฏิรูปะเทสะวาโส จะ   อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม

5.ปุพเพ จะ กะตะปุณญะตา    มีบุญวาสนามาก่อน      6.อัตตะสัมมาปะณิธิ    ตั้งตนชอบ

7.พาหุสัจจัณ จะ    เป็นพหูสูต                       8. สิปปัณ จะ         มีศิลปะ

9.วินโญ จะ สุสิกขิโต    มีวินัย                        10.สุภาษิตา จะ ยา วาจา    มีวาจาสุภาษิต

 

    11.มาตาปิตุอุปัฏฐานัง   บำรุงอุปการะบิดามารดา  12.ปุตตะ สังคะโห   เลี้ยงดูบุตร

     13.ทาระสสะ สังคะโห     สงเคราะห์ภรรยาสามี    14.อะนากุสา จะ กัมมันตา    ทำงานไม่คั่งค้าง ไม่เกียจคร้าน    15.ทานัญ จะ     บำเพ็ญทาน        16.อัมมะจะริยา จะ    ประพฤติธรรม ประพฤติดี ประพฤติชอบ   17.ญาตะกานัญ จะ สังคะโห    สงเคราะห์ญาติ      18.อะนะวัชชานิ  กัมมานิ    ทำงานที่ไม่มีโทษ   19.อาระตี วิระตี ปาปา    งดเว้นการทำบาป  ไม่ทำความชั่ว

20.มัชชะปานา จะ สัญญะโม  สำรวมจากการดื่มน้ำเมา  ไม่ทำลายสติของตนด้วยของมึนเมาทุกชนิด

21.อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ  ไม่ประมาทในธรรม ดำรงตนอย่ามีเหตุผล ไม่ประมาท

22.คาระโว จะ    มีความเคารพ รู้จักสัมมาคารวะ  อ่อนน้อม      23.นิวาโต จะ    มีความถ่อมตน

24.สันตุฏฐี จะ   มีความสันโดษ รู้จักประมาณ ไม่โลภ       25.กะตัญญุตา     มีความกตัญญูกตเวที สำนึกในบุญคุณ  26.กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง    ฟังธรรมตามกาล ฟังไตร่ตรอง พิจารณานำมาปฏิบัติ    27.ขันตี จะ    มีความอดทน อดกลั้น ทนต่อความยากลำบาก     28. โสวะจัสสะตา    เป็นคนคบง่าย ไม่ถือตน    29.สะมะญานัญ จะ ทัสสะนัง   เห็นสมณะ  30.กาเลนะ ธัมมัสสากัจฉา    สนทนาธรรมตามกาล  รู้จักสนทนารับฟัง เคารพ แนวคิดเหตุผลของคนอื่น  31.ตะโป  จะ   บำเพ็ญตบะ ดำรงตน กระทำตนอย่างมีสติ พินิจพิจารณาอย่างมีเหตุผลถึงประโยชน์โทษอยู่เนืองๆ

 

32.  พรหมมะจริยัญ จะ  ประพฤติพรรมจรรย์ สำรวมในกาม ไม่ลุ่มหลงในรูป รสกลิ่นเสียง สัมผัส ไม่มั่วเมาในอบายมุขซึ่งจะนำไปสู่ทางเสื่อม  33.อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง     เห็นอริยสัจ   มองไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล ยอมรับในความจริง ไม่ฝืนความจริง รู้จักเหตุรู้จักผล รู้จักการแก้ไขปัญหาด้วยการนำเอาเหตุผลมาพินิจพิจารณา ให้เข้าใจว่าเหตุนั้นเป็นบ่อเกิดของการเกิดผล ก็คือผลเกิดจากเหตุ หากเหตุดีดีปัจจัยดีผลก็ย่อมดี  ต้องแก้ไขปัญหาที่เหตุก่อน ก็คือรู้จักการป้องกันไว้ก่อนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเสมอ นำหลักธรรมอริสัจ 4 มาพิจารณาประพฤติปฏิบัติ  เช่น การนับถือศาสนาให้นำหลักธรรมคำสอนมาประพฤติปฎิบัติไม่ใช่นับถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิเพื่อดลบันดาลเท่านั้น34. นิพพานะสัจฉิกิรกยา จะ   ทำพระนิพพานให้แจ้ง   มีความเข้าใจในนิพพาน  ต้องมีการศึกษา วิเคราะห์สังเคราะห์ ให้รู้แจ้งเข้าใจในการประพฤติปฏิบัติที่ดี รู้และเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในผลของการกระทำดี  ไม่หลงยึดติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยขาดซึ่งเหตุผลตามหลักของอริสัจ 4 35. ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ  จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ   จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม    มีความเข้าใจยอมรับในการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนที่ถูกต้อง  36. อะโสกัง  จิตไม่โศก   ไม่โศกเศร้าจนเกินไปเมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ดีในชีวิต ไม่สมหวัง  พลัดพรากจากสิ่งที่รักจนขาดสติ ไร้เหตุผล จนลืมถึงหลักแห่งความเป็นจริงว่าเมื่อเวลาพลัดพราก หรือถึงความจากก็ต้องจากเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน แม้จะโศกเศร้าก็ไม่สามารถจะเรียกกลับคืนมาได้ ต้องรู้จักทำใจ คิดในมุมกลับบ้าง  37.วิระชัง  จิตปราศจากธุลี                

38. เขมัง     จิตเกษม    ทำใจให้เป็นสุข

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.