ReadyPlanet.com
dot dot
bulletซอกมาเว้าสู่ฟัง




เครื่องดนตรีอีสาน

 

rพิณ
     พิณ

              พิณพื้นเมือง ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปเช่น ทางจังหวัดอุบลราชธานี เรียกพิณว่า "ซุง" น่าจะเรียกมาจากท่อนไม้ที่นำมาทำ ทางจังหวัดชัยภูมิเรียกว่า "เต่ง" หรือ "อีเต่ง" หนองคายเรียกว่า "ขยับปี่" นอกจากนั้นยังมีเรียกแตกต่างออกไปอีก เช่น ซึง หมากจับปี่ หมากตดโต่ง หมากตับเต่ง เป็นต้น พิณทำด้วยไม้ เช่น ไม้ขนุน (ไม้บักมี่) เพราะมีน้ำหนักเบาและให้เสียงทุ้มกังวานไพเราะกว่าไม้ชนิดอื่น มีรูปร่างคล้ายกีตาร์แต่ฝีมือหยาบกว่า พิณอาจจะมี 2 สาย 3 สาย หรือ 4 สายก็ได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 คู่ เป็นสายเอก 2 สาย และสายทุ้ม 2 สาย ดั้งเดิมใช้สายลวดเบรครถจักรยานเพราะคงทนและให้เสียงดังกว่าสายชนิดอื่น แต่ในปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์แทน การขึ้นสายไม่มีระบบแน่นอน นมหรือขั้น (Fret) ที่ใช้นิ้วกดบังคับระดับเสียงจะไม่ฝังตายตัวเหมือนกีตาร์หรือแมนโดลิน การเล่นก็เล่นเป็นเพลงเรียกว่าลาย โดยมากพิณจะเล่นคู่กันกับแคน 

           ลักษณะของพิณ

พิณอีสาน มีส่วนประกอบหลักๆ 7 ส่วนดังนี้

  1. ตัวพิณ หรือเต้าพิณ ส่วนใหญ่ทำจากไม้ที่มีน้ำหนักเบา เนื้อไม้ที่นิยมกันมากคือ ไม้ขนุน (ไม้บักมี่) เพราะให้เสียงที่ทุ้มกังวาน มีน้ำหนักเบา ถ้าเป็นแก่นที่นำมาจากต้นที่มีอายุมากจะให้สีสัน เมื่อเคลือบด้วยแชลแลคหรือยูรีเทนแล้วสวยงามดี ไม้ที่นำมาทำเต้าพิณจะขุดให้เป็นโพรงเพื่อให้เกิดการก้องกังวาลของเสียง เสียงที่ได้จากพิณขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาผลิต เต้าพิณที่มีขนาดใหญ่และลึกจะมีเสียงดังกว่าเต้าพิณที่มีขนาดเล็กและตื้น
  2. คอพิณ ทำจากไม้เนื้อแข็ง เหลาผิวให้เกลี้ยง คล้ายกับคอของกีตาร์ ส่วนต้นต่อเข้ากับตัวเต้าพิณ ตกแต่งให้เป็นเนื้อเดียวกัน (หากได้ไม้ที่เหมาะสม อาจทำเต้าพิณและคอพิณเป็นชิ้นเดียวกันตลอดได้) ส่วนปลายทำเป็นร่องสำหรับใส่ลูกบิดขึ้นสาย
  3. ขั้นแบ่งเสียง ทำจากซี่ไม้ไผ่แบน ๆ หันด้านติว (ด้านผิว) ขึ้นรองรับสาย ยึดติดคอพิณด้วยขี้สูด (เป็นขี้ผึ้งเหนียวสีดำ ได้จากรังของผึ้งป่าตัวเล็กๆ สีดำ มีปลายปีกสีขาว ทำรังในโพรงไม้ใต้ดิน รังผึ้งชนิดนี้มีน้ำหวานน้อยมาก แต่มีประโยชน์ในการทำแคนและทำโหวดมาก เพราะเหนียวไม่ติดมือและไม่แห้งกรอบแม้จะใช้เวลาสิบๆ ปีก็ตาม
  4. หย่อง ทำจากซีกไม้ไผ่เหลาให้แบน มีติวด้านหนึ่ง แต่งรูปให้โค้งนิดหน่อยและปาดความสูงให้พอเหมาะกับการพาดสาย ติดให้ห่างจากระดับคอพอที่ที่จะกดนิ้วได้สะดวก
  5. ลูกบิดขึ้นสาย ทำจากไม้เนื้อแข็งหรือไม้ไผ่ ปัจจุบันมีการนำเอาลูกบิดขึ้นสายของกีตาร์มาใช้แทนเพราะสะดวกในการขึ้นสายและปรับแต่งเสียงมากกว่า
  6. สายพิณ ทำจากลวดเส้นเล็กๆ แต่แข็ง เช่น สายเบรกจักรยาน สายคลัชรถยนต์ หรือลวดสลิงอ่อน ปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์เหล็กมาทำแทน ตามขนาดดังนี้
    1. สายที่ 1 ขนาด 009
    2. สายที่ 2 ขนาด 011 หรือ 012
    3. สายที่ 3 ขนาด 0016
    4. สายที่ 1 ขนาด 022 หรือ 024 (เฉพาะพิณ 4 สาย)
  7. ปิ๊ก หรือที่ดีดสายพิณ แต่ก่อนทำจากเขาควาย ปัจจุบันหายาก จึงใช้ขวดน้ำพลาสติกแทน โดยนำมาตัดตกแต่งให้เหมาะมือ มีปลายด้านหนึ่งแหลมมนและอ่อน มีปริงใช้สำหรับดีด (เพราะสายเบรกจักรยานจะแข็งมากๆ) เมื่อพัฒนามาใช้สายกีตาร์แทนก็เลยนำเอาปิ๊กดีดกีตาร์มาแทนด้วยเสียเลย

การขึ้นสายของพิณอีสาน
                    พิณอีสานนั้นมีทั้งแบบพิณ 2 สาย 3 สาย และ 4 สาย

  • พิณ 2 สาย
    • สาย 1 เป็นสายเอก ขึ้นสายเปล่าเป็นเสียง มี
    • สาย 2 เป็นสายทุ้ม ขึ้นสายเปล่าเป็นเสียง ลา
  • พิณ 3 สาย
    • สาย 1 เป็นสายเอก ขึ้นสายเปล่าเป็นเสียง มี
    • สาย 2 เป็นสายทุ้ม ขึ้นสายเปล่าเป็นเสียง ลา
    • สาย 3 จะขึ้นสายเป็นเสียงประสาน
  • พิณ 4 สาย
    • สองสายล่าง เป็นเสียง โด เป็นเสียงคู่แปด (สายแรก โดต่ำ สายสอง โดสูง)
    • สองสายบน ขึ้นเสียงเป็น ซอล เป็นเสียงคู่แปด (สายสอง ซอลต่ำ สายหนึ่ง ซอลสูง)

การติดขั้นแบ่งเสียงของพิณอีสาน
                    การติดขั้นแบ่งเสียงลงบนคอพิณ ทำได้หลายสเกล (Scale หมายถึง ขั้นของเสียง) ตามแต่ชนิดของเพลงที่จะใช้พิณบรรเลง เพราะขั้นของพิณนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้ เนื่องจากการใช้ขี้สูดติด ขั้นแบ่งเสียงเข้ากับคอพิณ แต่ส่วนใหญ่นักดนตรีอีสาน จะแบ่งสเกลเสียง โด เร มี ซอล ลา เป็นพื้นฐาน เพราะเพลงที่เล่นมักจะเป็นเพลงที่มาจากลายแคนเป็นส่วนใหญ่ มีช่างทำพิณหลายคนแบ่งสเกลเสียงตามแบบไมเนอร์อยู่บ้าง คือ ในชั้นเสียงที่ 3 และ 6 เป็นครึ่งเสียง นอกนั้นเต็มเสียงและเนื่องจากเครื่องดนตรีตะวันตกจำพวกกีตาร์เข้ามาได้รับความนิยมในหมู่นักดนตรีรุ่นใหม่ นักดนตรีเหล่านั้นปรับปรุงการแบ่งสเกลเสียงของพิณให้เหมือนสเกลของกีตาร์ไปเลยก็ย่อมได้เหมือนกัน ซึ่งจะทำให้เหมาะกับการเล่นเพลงสากล

วิธีดีดพิณอีสาน

  1. มือซ้ายคุมคอซอง ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางและนิ้วก้อย กดเสียงที่ต้องการตามลายพิณและการแบ่งเสียงตามแบบต่าง ๆ นิ้วโป้งออกแรงกดรับกับนิ้วทั้ง 4
  2. มือขวาดีดสายตรงลำโพงเสียง อาจดีดด้วยนิ้วโป้งหรือใช้ปิ๊กดีดก็ได้ เวลาดีดสาย 1 และสาย 2 เพื่อเล่นทำนอง ให้ดีดสาย 3 เป็นเสียงประสานด้วย ซึ่งเสียงของสาย 3 นี้ จะทำหน้าที่เหมือนกับการเคาะลูกเสิบของโปงลางหรือลูกติดสูดของแคน คือทำหน้าที่เป็นเสียงประสานไปตลอดเพลง

ลายพิณอีสาน
                    คำว่า ลาย หมายถึง ท่วงทำนองเพลงที่ใช้เป่าหรือบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีสาน ซึ่ง ลาย ก็คือ เพลง นั่นเอง เพลงที่ใช้กับพิณ เป็นเพลงที่มาจากลายแคน มีหลายลาย เช่น ลายใหญ่ ลายน้อย ลายลำเพลิน ลายนกไทรบินข้ามทุ่ง ลายแมลงภู่ตอมดอก ลายลมพัดไผ่ ลายกาเต้นก้อน ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายไล่งัวขึ้นภู ลายโป้ซ้าย ภูไทเลาะตูบ เต้ยหัวดอนตาล ลายสร้อยสีกซิ่น เซิ้งขิก มโนราห์ ศรีโคตบูรณ์ สังข์ศิลป์ชัย ลมพัดพร้าว เซิ้งกลองยาว ทองสร้อย เป็นต้น
                   
เพื่อให้ท่านได้รับฟังความงามของลายพิณอีสาน จึงได้นำเอาตัวอย่างของลายพิณที่ดีดโดยศิลปินพื้นบ้านมาทำเป็นไฟล์ MP3 ให้ท่านดาวน์โหลดไปฟัง ต้องขออภัยในคุณภาพเสียงครับเพราะเป็นแค่ระบบโมโนเท่านั้นแต่ก็ชัดเจนพอควรครับบันทึกจากคาสเซ็ทธรรมดา ณ ลานบ้าน (ไม่มีห้องอัดครับ) เลือกเอาที่โหลดได้นะครับผมเก็บไว้ 2 แห่ง (A หรือ B)

  • ลายกาเต้นก้อน A | B
  • ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก A | B
  • ลายโป๊ซ้าย A | B
  • ลายสร้อยฉีกซิ่น A | B
  • ลายแมงภู่ตอมดอก A | B
  • ลายภูไทเลาะตูบ A | B
  • ลายลมพัดไผ่ A | B
  • ลายไล่งัวขึ้นภู A | B
  • ลายเต้ยหัวดอนตาล A | B

การประยุกต์ใช้
                   พิณใช้เล่นกับวง ซอ โปงลาง แคน หมอลำ กลองยาวและจะมีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เช่น กลอง กรับ ฉิ่ง ฉาบและไหซอง เป็นต้น

 

 

การขึ้นสาย/ตั้งสายพิณ

        การขึ้นสายพิณ หรือการตั้งสายพิณ หรือการตั้งเสียงพิณ นั้นจะพบว่ามีความแตกต่างกันตามลักษณะของพิณว่า มีกี่สาย และใช้เล่นเพลงแบบใด พบว่ามีอยู่ 4 ลักษณะ ดังนี้

 

  1.  
  1.  
  1. แถบอีสานกลาง ในแถบบริเวณจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ จะใช้พิณแบบ 2-3 สาย โดยมีการตั้งสายดังนี้
  1.  

 

ตั้งเสียงพิณ 3 สายแบบอิสานกลาง
สายที่ 1 สายล่างเสียง ม (E) สายที่ 2 สายกลางเสียง ล (A) สายที่ 3 สายบนเสียง ม (E)

  1.  
  1.  
  1. แบบโบราณดั้งเดิม จะใช้พิณแบบ 2 สายหรือ 3 สาย จะมีการตั้งสายและเฟรตไม่ค่อยแน่นอน แล้วแต่ลายเพลงที่เล่น โดยมีการตั้งสายดังนี้

การตั้งสายพิณแบบโบราณดั้งเดิม
สายที่ 1 สายล่างเสียง ม (E) สายที่ 2 สายกลางเสียง ล (A) สายที่ 3 สายบนเสียง ล (A)

  1.  
  1.  
  1. แบบ 2 สายทางอุบลราชธานี จะใช้พิณแบบ 2 สายหรือ 3 สาย จะมีการตั้งสายครั้งเดียว นิยมเล่นกับขบวนแห่ หมอลำเพลิน หมอลำหมู่ ดนตรี หมอลำซิ่ง โดยมีการตั้งสายดังนี้

การตั้งพิณ 2 สายแบบทางอุบลราชธานี
สายที่ 1 สายล่างเสียง ร (D) สายที่ 2 สายกลางเสียง ล (A)

  1. แบบพิณ 4 สาย พิณชนิดนี้ประดิษฐ์ขึ้นโดยลูกหลานเมืองอุบลราชธานี นายคณาวิจก์ โถตะบุตร เมื่อปี 2524 ซึ่งสามารถเล่นได้หลายระดับเสียง รวมทั้งเล่นคอร์ดได้คล้ายกับกีตาร์ จึงสามารถเล่นร่วมกับเพลงลูกทุ่ง หมอลำ หรือเพลงสากลอื่นๆ โดยไม่ต้องใช้กีตาร์ มีการตั้งสายดังนี้
  2. การตั้งสายพิณแบบ 4 สาย

 


สายที่ 1 สายล่างเสียง ร (D) สายที่ 2 สายกลางเสียง ล (A) สายที่ 3 สายกลางบนเสียง ม (E) สายที่ 4 สายบนเสียง ล (A)

ซึ่งการตั้งสายพิณแบบ 4 สายนี้จะทำให้ได้เสียงที่ตรงกับเสียงเครื่องดนตรีสากล สามารถร่วมบรรเลงไปด้วยกันได้ มีเสียงครบตั้งแต่ โด (ด = C), เร (ร = D), มี (ม = E), ฟา (ฟ = F), ซอล (ซ = G), ลา (ล = A), ที (ท = B) และยังมีครึ่งเสียงทั้งสูงกว่าเสียงเดิม ชาร์ฟ (#) และที่มีเสียงต่ำกว่าเสียงเดิมครึ่งเสียง แฟท (b)

หลักการเล่นพิณ

  1. จับที่ดีด (หรือปิก) ตามถนัด แล้วฝึกดีดขึ้นลงในแต่ละสายให้คล่องโดยการสลัดข้อมืออย่างสม่ำเสมอ (ควบคุมจังหวะในการดีดให้สม่ำเสมอ)
  2. เมื่อดีดคล่องแล้วให้ใช้นิ้วกดสายลงบนเฟรตที่ดีดให้ตรงกับสายที่ดีด
  3. ฝึกไล่ลำดับเสียงตามตัวโน๊ตและตามชนิดของพิณ (ต้องทราบว่าพิณที่เราใช้ตั้งสายแบบใด)
  4. รายละเอียดลูกเล่นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือฝึกจากการฟังเสียงจากต้นฉบับต่างๆ ให้แม่นยำ
  5. ถ้าเป็นพิณไฟฟ้า สามารถต่อเข้ากับเครื่องปรับแต่งเสียง (Effect) ได้เหมือนกับกีตาร์ ให้ทดลองปรับแต่งเพื่อหาเอกลักษณ์ตามที่ต้องการ

โน๊ตพิณ

ลายเต้ยโขง

 

 

* / ล ซ ม ล / ซ ด ล ซ ล ม / ล ซ ม ล / ซ ด ม ล / ซ ด ล ซ ม ล / ซ ม ร ด ม / ร ซ ม ร ด ล /
ด ร ม / ร ด ซ ล / ด ร ม / ร ด ซ ล / (ซ้ำ * 5 รอบ)

 

 

 

 

ลายเต้ยพม่า

 

 

 

 

* / ล ท / ล ซ ล ซ / ล ซ ท ล / ซ ร ม / ล ท / ล ซ ล ซ / ล ซ ท ล / ซ ร ม / ม ซ ล ซ / ม ร /
ด ร ล ด / ร ม ร ด / ล ด ร ม / ซ ล ซ ม / ซ ร ร / ล ร / ล ท / ล ซ ล ล / ร ด ท ล /
ล ซ ล ล / ร ด ท ล / (ซ้ำ * 5 รอบ)

 

 

 

 

ลายโปงลาง

 

 

 

 

* / ม ซ ล ซ ล / ล ด ล ซ ล / ด ร ม ร ม / ล ซ ม ร ม / ม ซ ล ซ ล / ร ด ล ซ ล / ซ ม ล ซ ม /
ด ร ซ ม ร ม / ซ ม ล ซ ม / ด ร ซ ร ม / ม ร ด ล ซ ล / ด ร ม ร ด ล ซ ล / (ซ้ำ * 5 รอบ)

 

 

 

 

ลายเซิ้งบั้งไฟ

 

 

 

 

* / ล ด ล ด ล ด ล / ล ด ล ด ล ด ล / ล ด ล ด ร ด ล / ร ด ร ด ร ด ล / ร ด ร ด ร ด ล /
ม ร ม ร ม ด ร / ม ร ม ร ม ด ร / ม ร ม ล ด ร ม ร ม / ม ร ม ล ด ร ม ร ม / ม ร ม ด ม ร ล ด /
ม ร ม ด ม ร ล ด / ด ม ร ด ม ร ด ล ล / ด ม ร ด ม ร ด ล ล / ม ร ม ด ม ร ด ล ด / ม ร ม ด ม ร ด ล ด /
(ซ้ำ * 5 รอบ)

 

 

 

 

ลายลำเต้ย

 

 

 

 

* / ล ด ร ม ด / ม ด ม ร ล ด / ล ซ ล ด ร ม / ล ม ซ ล ซ ม ซ / ร ล ด ร ม ซ /
ด ร ม ซ ร ม ด / ซ ม ร ซ ร ม ด / ซ ม ร ด ล ซ / ซ ม ร ด ร ม ซ ล / (ซ้ำ * 5 รอบ)

 

 

 

 

ลายศรีโคตรบูรณ์

 

 

 

 

* / ด ล ด / ร ม ซ ม / ล ม ซ ด / ร ม ซ ม / ด ล ด / ร ม ซ ม / ล ม ซ ม / ร ม ซ ล /
ด ล ซ ม ล / ด ล ซ ม ล /ร ด ล / ซ ม ล / ด ล ซ ม ล / ด ล ซ ม ล / ด ซ ด ล / ซ ม ร ม /
ด ร ม / ซ ร ม / ด ร ม / ซ ร ม / ด ร ม / ร ล ด / ม ร ด ล / ม ร ด ร / ด ร ม ร ด ร /
ด ล ด ร ด ร / ม ซ ม / ร ด ท ล / ม ร ด ท ล / ม ร ด ท ล / ท ล ร / ล ด ท ล / ท ล ซ ล /
ท ล / ร ล ท ล / ซ ล ท ล / ท ล ซ ล ท ล / (ซ้ำ * 3 รอบ)

 

คัดมาจากคนอื่น ต้องขอขอบคุณสำหรับข้อมูล

 

 

 




เลาะเลียบแดนอีสาน

น้ำตกห้วยจันทร์ article
ปราสาทหินพิมาย article
;วัดภูพร้าว
หอโหวด
วัดถ้ำชาม
ปราสาทสร้างปี่
วัดป่าวิเวกวัฒนาราม
จุดชมวิวผาเสวย article
กู่คันทนาม
ปราสาททองหลาง article
สิมโบราณวัดแจ้ง
สะพานเทพสุดา
ส่องข้ามลำน้ำของ
พระธาตุยาคู
วัดทุ่งเศรษฐี



Copyright © 2010 All Rights Reserved.