ชมผามออีแดง
กันทรลักษ์ ศรีสะเกษ
ชมอาทิตย์ขึ้นยามเช้าที่ผามออีแดง
มออีแดง ชื่อนี้อาจจะฟังแล้วไม่คุ้นชินเท่าไหร่นัก แต่ถ้าบอกว่า “ผามออีแดง” ที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญของรอยต่อปราสาทพระวิหารที่หลายคนกล่าวขาน แล้วจะรู้ได้เลยว่าที่นี่มีความสำคัญอย่างไร
คำว่า “มอ” ภาษาอีสานแปลว่า โพนเล็กๆ ที่โนน ที่สูงเป็นหย่อมๆ ส่วนคำว่า “อีแดง” น่าจะเป็นชื่อเรียกคนละครับ รวมแล้วคงหมายความว่าผาที่มีโพนเล็กๆ มีอีแดงอาศัยอยู่ก็เป็นได้ครับผม ผามออีแดงตั้งอยู่ที่ชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นหน้าผาหินสีแดงที่มีทัศนียภาพกว้างไกลสุดตา และจากจุดนี้นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นปราสาทพระวิหารได้
นับเป็นจุดชมวิวในมุมสูงที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคอีสานเลยทีเดียว ผามออีแดงตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นหน้าผาสูงชันกั้นเขตแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ตลอดแนวผามออีแดงมีระยะทางประมาร 300 เมตร เป็นจุดชมวิวที่มองเห็นทัศนียภาพของแผ่นดินประเมสกัมพูชาที่อยู่ต่ำลงไปเป็นมุมกว้าง
บริเวณผามออีแดงมีภาพแกะสลักนูนต่ำเป็นภาพคน 3 คน ในเครื่องแต่งกายแบบชาวกัมพูชา สร้างขึ้นก่อนปราสาทเขาพระวิหาร ราวกลางศตวรรษที่ 11 อายุประมาณ 1,500 ปี มีโบราณวัตถุ พระพุทธรูปนาคปรก มีบันไดลงไปชมภาพแกะสลักนูนต่ำบนผนังหินทรายอยู่ใต้หน้าผา หันหน้าไปทางทิศตะวันออก บริเวณจุดสูงสุดของผามออีแดงสามารถมองเห็นทัศนียภาพของปราสาทเขาพระวิหารได้อย่างชัดเจน งานนี้ต้องมาสัมผัส
นอกจากจะเดินทัศนามุมสูงแล้ว ถ้ามีโอกาสขอแนะนำให้ไปเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารที่อยู่ไม่ไกลนัก เพราะว่าที่นี่ถ้าใครยังไม่เคยไปสัมผัสต้องไปให้ได้ เพราะสภาพภูมิประเทศทั่วไปส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาตามแนวทิวเขาพนมดงรัก กั้นชายแดนไทย-กัมพูชา พื้นที่ปกคลุมด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบญจฑรรณ และป่าเต็งรัง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าจำนวนมากที่อาศัยหากินข้ามไปมาในผืนป่าระหว่างสองประเทศ ผามออีแดงผ่านเรื่องราวต่างๆ จากเหตุการณ์ไม่สงบตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ที่สำคัญกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เจ้าหน้าที่ต้องพาเข้าไปชมพื้นที่อุทยานฯ เพราะที่นี่ไม่เหมือนใคร แล้วท่านจะประทับใจจริงๆ
การเดินทางไปผามออีแดง มีเส้นทางรถยนต์เข้าถึง เป็นสถานที่รองรับนักท่องเที่ยวในทุกฤดูกาล มีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการนำเที่ยวผามออีแดง เป็นให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดข้าราชการเท่านั้น
ค่าเข้าชม คนไทย อายุ 3-14 ปี นักเรียนและนักศึกษา 10 บาท คนไทย (ผู้ใหญ่) 20 บาท ชาวต่างชาติ อายุ 3-14 ปี 50 บาท ชาวต่างชาติ (ผู้ใหญ่) 100 บาท
ค่ายานพาหนะ ยานพาหนะ 8 ล้อ (เกิน 24 ที่นั่ง) 200 บาท ยานพาหนะ 6 ล้อ (ไม่เกิน 24 ที่นัง) 100 บาท ยานพาหนะ 4 ล้อ 30 บาท จักรยานยนต์ 20 บาท จักรยาน 10 บาท
ชมน้ำตก
น้ำตกห้วยวังใหญ่ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ(จะมีนำ้เฉพาะหน้าฝน)
น้ำตกห้วยวังใหญ่ มีพื้นที่โดยรอบเป็นต้นไม้ใหญ่และพันธุ์ไม้หายากปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น ต้นกำเนิดของสายน้ำมาจาก
เทือกเขาพนมดง ซึ่งความสูงประมาณ 5 เมตร กระแสน้ำที่ไหลมาจากชั้นบนจะตกกระทบสู่พื้นน้ำด้านล่างความแรงไม่มากทำให้
ไม่อันตราย นักท่องเที่ยวสามารถนั่งชมความงามและเล่นน้ำได้
น้ำตกห้วยวังใหญ่ อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตำบลละลาย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
การเดินทาง ออกจากตัวอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ไปตามถนนพระวิหาร ทางเดียวกันกับไปเขาพระวิหารหรือผามออีแดง ไปจะมีถนนเลี้ยวซ้ายไปบ้านโดนเอาว์ พอไปถึงบ้านโดนเอาว์ถึงสี่แยกให้เลี้ยวซ้าย ขับไปตามถนนถึงบ้านโนนมีชัย ให้สังเกตด้านซ้ายมือจะมีป้ายบอกให้เลี้ยวเข้าน้ำตก หรือจะขับต่อไปอีกจนถึงโรงเรียนบ้านสามเส้า แล้วจะพบถนนเลี้ยวซ้ายเข้าไปน้ำตก...เข้าถนนผ่านสวยยางพารา สวนปาล์ม..ไปถึงน้ำตกครับ
ชมน้ำตกห้วยจันทร์
อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
น้ำตกห้วยจันทร์ หรือ น้ำตกกันทรอม ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำตกห้วยจันทร์ ตำบลห้วยจันทร์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ห่างจากตัวอำเภอขุนหาญ 24 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวจังหวัด 85 กิโลเมตร แต่เดิมนั้นภายในบริเวณน้ำตกมีต้นจันทน์แดงและจันทร์ขาวขึ้นอยู่หนาแน่น จึงได้ชื่อว่า “น้ำตกห้วยจันทร์” น้ำตกแห่งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของจังหวัดศรีสะเกษ เนื่องจากสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพราะตั้งอยู่ริมถนนทางหลวงแผ่นดิน
น้ำตกห้วยจันทร์ มีต้นกำเนิดจากภูเสลา บนเทือกเขาบรรทัด ไหลลงสู่แม่น้ำมูลที่อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ น้ำตกห้วยจันทร์เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีน้ำตลอดทั้งปี แต่ถ้าต้องการสัมผัสสายน้ำได้อย่างจุใจแล้วล่ะก็ ขอแนะนำให้เดินทางมาในช่วงเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ บริเวณโดยรอบน้ำตกร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ป่านานาชนิด มีลมพัดเย็นสบายตลอดเวลา จึงเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ สำหรับกิจกรรมยอดนิยมคงหนีไม่พ้นการลงเล่นน้ำ ซึ่งที่นี่มีจุดที่สามารถเล่นน้ำได้อย่างสนุกสนาน ส่วนการนำอาหารเข้ามารับประทานภายในบริเวณน้ำตก ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ทั้งนี้นักท่องเที่ยวสามารถปูเสื่อนั่งรับประทานริมธารน้ำ หรือจะใช้บริการศาลาเล็กๆ ที่ตั้งเรียงรายอยู่เป็นระยะก็ได้เช่นกัน
การเดินทาง: ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2111 เข้าตัวอำเภอขุนหาญ แล้วแยกไปใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2128 ประมาณ 5 กิโลเมตร จนถึงบ้านกระเบา จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปประมาณ 12 กิโลเมตร เมื่อถึงโรงเรียนบ้านห้วยจันทร์ ให้เลี้ยวขวาไปอีก 1 กิโลเมตร
วันและเวลาทำการ: ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
ค่าเข้าชม: ฟรี
น้ำตกสำโรงเกียรต์
อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ชมภาพภูผาเทิบ
มุกดาหาร
ผาสุดแผ่นดิน
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อำเภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ
ทุ่งดอกกระเจียว
อุทยานแห่งชาติป่าหืนงาม อำเภิเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ
วัดสิรินธรวราราม (วัดภูพร้าว)
อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว หรือนิยมเรียกกันว่า วัดเรืองแสง ตั้งอยู่ที่ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง โดยจำลองสภาพแวดล้อมของวัดป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาศ บริเวณบนยอดเขาจะมองเห็นพระอุโบสถสีปัดทองตั้งเด่นเป็นสง่า จุดเด่นของวัดคือ การได้มาชมภาพเรืองแสงเป็นสีเขียวของของต้นกัลปพฤกษ์ที่เป็นจิตรกรรมที่อยู่บนผนังด้านหลังของอุโบสถในยามค่ำคืน ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการมาชมและถ่ายภาพคือ ตั้งแต่เวลา 6.00.19.30 น. ซึ่งหากโชคดีก็จะได้เห็นดวงดาวมากมายเต็มท้องฟ้า อีกด้วย แต่ภาพเรืองแสงนี้หากมองด้วยตาเปล่าจะเห็นเพียงเล็กน้อย จะไม่เห็นเป็นสีเขียวชัดเจนเท่ากับภาพที่ถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพ เพราะฉะนั้นนักท่องเที่ยวบางท่านที่มาเก็บภาพความงดงามผ่านสายตาต้องเผื่อใจไว้เล็กน้อย
น้ำตกผาหลวง
อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
น้ำตกภูละออ
อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
มอหินขาว
อุทยานแห่งชาติภูแลนคา อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
มอหินขาว
มอหินขาว ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูแลนคา บ้านวังคำแคน ตำบลท่าหินโงม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วยกลุ่มหินทรายสีขาววางเรียงรายคล้ายกับ “สโตนเฮนจ์” ในประเทศอังกฤษ มอหินขาว จึงได้รับการขนานนามอีกชื่อหนึ่งว่า “สโตนเฮนจ์เมืองไทย” เป็นสวนหินธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากการสะสมของตะกอนทรายและดินเหนียวแข็งตัวกลายเป็นหิน ลักษณะของหินกลุ่มต่างๆ เกิดจากเคลื่อนไหวของเปลือกโลกบีบอัดจนเกิดการคดโค้ง แตกหัก กัดเซาะทั้งแนวตั้งและแนวนอน สร้างสรรค์เป็นรูปต่างๆ ตามจินตนาการของผู้พบเห็น
น้ำตกทุ่งนาเมือง
อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
น้ำตกทุ่งนาเมือง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
“น้ำตกทุ่งนาเมือง” เป็นน้ำตกอีกแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีน้ำเฉพาะในช่วงฤดูฝน อยู่ห่างจาก “น้ำตกแสงจันทร์ (น้ำตกรู ,น้ำตกลงรู ,น้ำตกลอดรู )” เพียงแค่ประมาณ 2 กม. บางครั้งชาวบ้านในพื้นที่ก็เรียก “น้ำตกทุ่งนาเมือง” ว่า “น้ำตกลอดรู” ทำให้มีความสับสนกับ “น้ำตกแสงจันทร์” อยู่บ้าง สาเหตุที่ “น้ำตกทุ่งนาเมือง” มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “น้ำตกลอดรู” นั้นก็เนื่องมาจากสายน้ำของน้ำตกแห่งนี้จะไหลลัดตามลำห้วยลงสู่ซอกหินผา เลาะเรื่อยมาตามหลืบเร้นต่างๆ จนเผยออกมาปรากฏให้เห็นอีกครั้งใต้แผ่นหินขนาดใหญ่ซึ่งวางตัวอยู่ในลักษณะคล้ายโตรกถ้ำ แล้วจึงทิ้งตัวลงเป็นสายน้ำตกด้านหน้าภายใต้แผ่นหินนั้น (ใครจินตนาการภาพไม่ออกลองดูภาพประกอบด้านล่างครับ ถ้าจะให้อธิบายเปรียบเทียบง่ายๆถึงลักษณะของน้ำตกทุ่งนาเมือง ก็ขอบอกว่าคล้ายกับลักษณะของน้ำลายที่ไหลทะลักออกจากปากครับ)
พื้นที่โดยรอบน้ำตกทุ่งนาเมืองมีความงดงามชวนให้พิศวงอยู่ไม่น้อย ด้วยโบก(แอ่ง) บ่อจำนวนมากที่รายล้อมอยู่ทั่วบริเวณ บางโบกก็มีรูปร่างแปลกตา บางบ่อก็มีน้ำใสๆขังอยู่สะท้อนแสงสีของท้องฟ้าออกมาราวกับกระจกเงา หากใครที่ไม่มีโอกาสได้เดินทางมาท่องเที่ยว “สามพันโบก” แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของ จ.อุบลราชธานีในช่วงฤดูหนาว – ฤดูร้อน ลองมาเที่ยวน้ำตกทุ่งนาเมืองในช่วงฤดูฝนแทนก็จะได้บรรยากาศที่พอจะคล้ายคลึงกันบ้าง เพียงแต่ขนาดโบกของน้ำตกทุ่งนาเมืองนั้นจะไม่ยิ่งใหญ่อลังการงานสร้างเหมือน “สามพันโบก” เท่านั้น
น้ำตกตาดฟ้า
อุทยานแห่งชาติภูเวียง หมู่บ้านโนนสูง ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น
ที่ตั้ง : อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูเวียง หมู่บ้านโนนสูง ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น
การเดินทาง : จากตัวจังหวัดขอนแก่น ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ขอนแก่น-ชุมแพ) ผ่านอำเภอบ้านฝาง อำเภอหนองเรือ ระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2038 เป็นระยะทาง 18 กิโลเมตร ถึงอำเภอภูเวียง แล้วใช้เส้นทางภูเวียง-บ้านเมืองใหม่ ไปจนถึงกิโลเมตรที่ 30 เลี้ยวซ้ายตรงทางเข้าอ่างเก็บน้ำบ้านโพธิ์ เป็นระยะทาง 8 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเวียง จากนั้นเดินทางโดยรถยนต์ขึ้นเขาอีกประมาณ 6 กิโลเมตร และเดินเท้าเข้าตัวน้ำตกอีก 200 เมตร จะถึงตัวน้ำตก
ลักษณะเด่นของแหล่ง : น้ำตกตาดฟ้าเป็นน้ำตกชั้นเดียวที่มีความสูงประมาณ 30 เมตร ความกว้างประมาณ 30 เมตร ด้านล่างเป็นแอ่งน้ำและเนินทราย ช่วงฤดูที่น้ำน้อยเมื่อน้ำไหลผ่านหน้าผาน้ำตกลงมาสู่ด้านล่างน้ำจะซึมหายไปในรู บริเวณโดยรอบพบก้อนหินทรายขนาดใหญ่อยู่โดยทั่วไป
ธรณีวิทยา : บริเวณนี้เป็นหินของหมวดหินพระวิหาร ชั้นหินเอียงเทจากแนวระนาบ 100 วางตัวในทิศทางประมาณ 3440 (dip angle/dip direction) ประกอบด้วย หินทราย สีขาว สีขาวแกมเหลือง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแร่ควอตซ์ ขนาดเม็ดละเอียด การคัดขนาดดี ความกลมมนปานกลางถึงดี ชั้นหนาปานกลางถึงชั้นหนา แนวรอยเลื่อน (78/152, 85/106 บริเวณผาชันของน้ำตกเกิดจากรอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) ผนังพื้นจะเคลื่อนที่ไปทางขวาหรือไปทางด้านข้าง โดยที่มีการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งเพียงเล็กน้อยมาก การเคลื่อนที่ด้านข้างไปทางด้านขวาเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า รอยเลื่อน “dexstral” และ 75/144) แนวแตกเรียบ (75/138, 80/194, 85/132 และ 86/130) หมวดหินนี้มีอายุอยู่ในยุคครีเทเชียสหรืออายุประมาณ 140 ล้านปีมาแล้ว
การเกิดน้ำตกตาดฟ้าบริเวณนี้ ในช่วงยุคจูแรสซิกถึงยุคครีเทเชียสตะกอนที่สะสมตัวในสภาวะแวดล้อมทางน้ำโบราณบนแผ่นดิน โดยการพัดพาตะกอนของแม่น้ำประสานสายและแม่น้ำโค้งตะวัด ตะกอนที่ทับถมและจมตัวลงผ่านกระบวนการทางธรณีวิทยากลายเป็นหินให้หินชั้นหรือหินตะกอน (ส่วนใหญ่เป็นหินทราย) ต่อมาเกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นอนุทวีปชานไทยชนกับแผ่นอนุทวีปอินโดจีน ทำให้ชั้นหินทรายบริเวณนี้ (ตั้งอยู่ในแผ่นอนุทวีปอินโดจีน) เกิดยกตัวเกิดเป็นภูเขาเมื่อประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว ทำให้พบโครงสร้างในชั้นหิน ได้แก่ การคดโค้ง รอยแตก และรอยเลื่อน เป็นต้น ซึ่งเป็นช่องทางให้น้ำไหลผ่านพร้อมทั้งกัดเซาะหินทีละน้อย ๆ ส่วนที่ถูกกัดเซาะจะถูกทำลายและพัดพาออกไปตามทางน้ำ ทำให้ชั้นหินเกิดการพังทลายลงมาเป็นหน้าผาชันปรากฏเป็นชั้นน้ำตกสวยงามดังที่เห็นในปัจจุบัน ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเวลาของยุคควอเทอร์นารี (ประมาณ 1.8 ล้านปีมาแล้ว – ปัจจุบัน)