ReadyPlanet.com
dot




พระธาตุเรืองรอง

 

พระธาตุเรืองรอง

    พระธาตุเรืองรอง ตั้งอยู่ที่วัดบ้านสร้างเรือง ต.หญ้าปล้อง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ ประมาณ 7.5 กิโลเมตร เป็นพระธาตุที่สร้างขึ้นโดยศิลปะอีสานใต้สี่เผาไทยได้แก่ ลาว ส่วย เขมร เยอมีความสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์อย่างลงตัว

    องค์พระธาตุ มีความสูง 49 เมตร แบ่งออกเป็น 6 ชั้น ชั้นที่ 1 ใช้สำหรับประกอบพิธีทางศาสนา ชั้นที่ 2-3 เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ชั้นที่ 4 เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ ชั้นที่ 5 ใช้สำหรับการทำสมาธิ ชั้นที่ 6 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นที่ชมทัศนียภาพของพื้นที่โดยรอบ 

        วัตถุประสงค์ในการสร้าง เพื่อเป็นที่ประดิษฐานสิ่งที่ชาวพุทธถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระบรมสารีริกธาตุ (กระดูกพระพุทธเจ้าหรือของพระอรหันต์สาวก) พระบรมเกษาธาตุ เป็นต้น เป็นที่บูชา กราบไหว้สักการะ เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจของชาวพุทธทั่วๆ ไป และเป็นที่เก็บวัตถุโบราณทุกชนิดเท่าที่จะหามาได้ เป็นที่ศึกษาค้นคว้าทางวัฒนธรรมประเพณีชาวอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ "อีสานใต้" รวมถึงเป็นสถานที่ประชุมทั้งชาววัด ชาวบ้าน ทั้งราชการ และสาธารณชน เป็นที่ศึกษาอบรมธรรมวินัยแก่ชาวพุทธทั่วๆ ไป ฯลฯ

         สาเหตุที่มาสร้างที่จังหวัดศรีสะเกษ เนื่องจากว่าชาวพุทธในถิ่นอีสานใต้ส่วนมากมีฐานะค่อนข้างยากจน บางคนจะเดินทางไปนมัสการปูชนียสถาน เช่น พระธาตุพนม จังหวัดนครพนมก็ห่างไกลถึง ๔๐๐ กิโลเมตร จะไปที่พระเจดีย์นครปฐมก็ไกลจากที่นี่ถึง ๗๐๐ กิโลเมตร จะไปที่พระพุทธบาทสระบุรีก็ไกลถึง ๕๐๐ กว่ากิโลเมตร ถ้าจะไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพที่เชียงใหม่ก็ยิ่งไกลออกไปอีกประมาณ ๑ พันกิโลเมตรเศษ คิดแล้วคิดอีกก็ไปไม่ได้ เนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เพียงพอนั่นเอง ตายไปหลายชั่วคนแล้วก็ไม่มีโอกาส ฉะนั้น จึงได้ตัดสินใจสร้างขึ้นที่อีสานใต้คือที่จังหวัดศรีสะเกษแห่งนี้ และที่สำคัญอีกอันหนึ่งก็คือ ณ บ้านสร้างเรืองแห่งนี้เป็นบ้านเกิดเมืองนอน ของข้าพเจ้าผู้ริเริ่มสร้างพระธาตุองค์นี้ (พระธัมมา พระมหาธัม จิตตปัญโญ หลวงปู่ธัมมา พิทักษา พระครูวิบูล ธรรมภาณ (พ.ศ.๒๕๔๕)

พระธาตุเรืองรอง  วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๒๔   ลงมือสร้างวันที่ ๑๐ มกรา๒๕๒๕  

 




ประเพณีอีสาน

เลาะเบิ่งพระธาตุแดนอีสานเหนือ article
เลาะเบิ่งแดนอีสาน article
ประเพณีแต่งงานแบบอีสาน
ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก
ประเพณีบุญเข้ากรรม
ประเพณีการลำผีฟ้า (แถน)
ประเพณีพิธีสู่ขวัญ
ประเพณีเลี้ยงผีปู่ตา
ประเพณีถวายเทียนพรรษา
ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
ประเพณีการผูกเสี่ยว
ประเพณีกินดอง (การแต่งงาน)
ผาชะนะได
ประเพณีเข้ากรรม
ภูลังกา
ประเพณีฮดสรง
ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ทุ่งดอกกระเจียว article
วรรณกรรมอีสาน



Copyright © 2010 All Rights Reserved.