ReadyPlanet.com
dot dot
bulletซอกมาเว้าสู่ฟัง




ฮีตคองชาวอีสาน

 

 

ฮีตคองอีสาน

 

         เฮือน 3 น้ำ 4 เป็นคำสอนของคนโบราณอีสานได้อบรมสั่งสอนให้ลูกหลานได้ประพฤติปฏิบัติ เพื่อความเป็นอยู่ที่สะอาด สุขภาพอนามัยที่ดี ผู้ใดนำไปประพฤติปฏิบัติครอบครัวก็จะอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งปราชญ์โบราณท่านได้สอนเป็นคำกลอนดังนี้

    เฮือน  3

             เฮือน 1 นั้นได้แก่ เฮือนครัว ของในครัวให้เรียบร้อยบายเมี้ยนแจบจม อย่าประสมประเสบ่วงจองไหหม้อ ให้มีทอเก็บถ้วยสวยดีมีตู้ใส่ อย่าสุเก็บไขว่ไว้ดูได้บ่งาม ชามหรือหม้อเกลือไหปลาแดก หม้อแตกและบ่วงซ้อนบายได้ให้หม่อมือ อย่าให้ดำปื้อๆ ถ้วยบ่วงเป็นกะหลืน เวลากลืนอาหารโรคสิไหลลงท้อง ของแนวใช้ในครัวให้เกลี้ยงหมื่น อย่าให้ปลาแดกจื้นแมงวันสิแตกวื้นมาขี้ใส่ครัว อย่าให้หมาไก่กั้วเข้าอยู่เฮือนไฟ ถืกห่าหมาจังไฮสิคาบไหเลียซ้อน อย่าให้หนอนไปคั้วแมงวันเข้าคั่ว รักษาครัวให้เรียบร้อยดูละห้อยสู่ทาง อย่าให้มีกระดูกก้างค้างอยู่ในครัว คนสิหัวขวนนางว่าบ่เคยบายเมี้ยน เฮาต้องเพียรปัดแพ้วเฮือนครัวอย่าให้เก่า เป็นดั่งคำเพิ่นเว้า เบิ่งวัดให้เบิ่งฐานเบิ่งบ้านให้เบิ่งครัว หากว่าครัวสะอาดแล้ว ไผก็ย่องว่าดี

                เฮือน 2 นั้นได้แก่ เฮือนนอน ทั้งแพรหมอนเสื่อเตียงเพียงพื้น อย่าให้เฮือนเอาจื้นหมองมัวลั้วขี้ฝุ่น เฮาต้องปุนกวาดแผ้วทั้งพื้นนอกใน ให้เจ้าปัดหาดไว้เกลี้ยงหมื่นงามตา ทั้งแจฝานอกในใสเกลี้ยง เตียงหมอนมุ้งสนานอนฟูกเสื่อ เสื้อและผ้าบายเมี้ยนคล่องมือ ให้เจ้าเฮ็ดคู่มื้อปัดกวาดเฮือนนอน ตอนกลางคืนให้แต่งแปลงหมอนมุ้ง อย่าให้ผัวเฮายุ่งยามแลงแต่งบ่อน นอนตื่นแล้วบายเมี้ยนเช็ดถู โต๊ะตั่งตู้อย่าให้ไขว่เกะกะ อย่าให้ของเฮาซะทั่วเฮือนเบียนด้ง ให้เจ้าจงใจเมี้ยนเฮือนนอนให้สง่า สะอาดหูสะอาดตาหาอันใดกะได้ เวลาหายกะฮู้เวลาดูกะโก้เป็นน่านั่งนอน จ่อและแค่งม้อนอย่าให้กีดขวางเฮือน บุง เบียน เขิง ตาทอ บอเมี้ยน อย่าสิได้เอาสิ่นไปวางเทิงหัวบ่อน ผัวสินอนบ่ได้สิสูนขึ้นหยั่งคืน ของต่ำพื้นอย่าไปพาดเทิงหัว มันสิผิดครองคูบ่แม่นแนวเด้เจ้า ให้เจ้าเอาใจเมี้ยนจัดเฮือนนอนให้เป็นบ่อน จังสินอนฮอดแจ้งสิแฝงซอดเซ้าคันเจ้าแต่งดี

               เฮือน 3 นั้นได้แก่ เฮือนกาย ให้มีความละอายอย่าสิป๋านมโต้น คนสิเห็นผางฮ้ายเฮือนกายน้องฮั่ว รักษากายให้กุ้มกายหุ้มห่อแพร เสื้อกะอย่าสิแก้ปะปล่อยไว้หลาย ให้รักษาเฮือนกายอย่าให้เฮือนเฮาฮ้าง ให้เจ้าปุนปองล้างเฮือนกายให้สะส่วย ให้มันสวยอยู่เรื่อยดูได้สู่ยาม ให้เจ้าหมั่นอาบน้ำชำระตนโต หัวของนางให้หมั่นสระสรงน้ำ ให้มันงามเหลือล้ำดำดีอยู่คือเก่า ผมให้งามฮอดเฒ่าหวีเรื่อยอย่าเซา อย่าว่าเป็นผู้เฒ่าขายขาดมีผัว ปะให้หัวแดงหยองกะบ่งามเด้เจ้า ว่าโตมีผัวแล้วบ่สระหัวจักเถื่อ เกิดขี้คร้านนุ่งเสื้อแนวนั้นบ่ดี ครั้นพิถีพิถันไว้รักษากายให้โก้คล่อง ผัวกะมองอยู่เรื่อยเห็นหน้ากะว่างาม เฮือน 3 นี้ นารีควรฮ่ำ ธรรม 3 ข้อนี้ จำไว้อย่าหลง

           น้ำ 4 นั้นให้หมั่นเพียรทำ จำคำสอนฮ่ำฮอนเด้อเจ้า

 

       น้ำ 1 นั้นแม่น น้ำอาบสรงศรี อย่าให้มีทางอึดให้หมั่นหามาไว้ เมื่อเวลาเฮาใช้สระสีล้างส่วย อย่าให้มวยขาดแห้ง อย่าให้แอ่งขาดเกลี้ยง เมืองบ้านสิกล่าวขวัญ

       น้ำ 2 นั้นแม่น น้ำดื่มเฮากิน ขอให้ยินดีหาใส่เติมเต็มไว้ รักษาไห หรือหม้อ ถัง ออม อุแอ่ง อย่าให้แมงง้องแง้งลงเล่นแอ่งกิน ขัดให้เกลี้ยงอย่าให้เกิดมีไคล ดูให้ใสซอนแลนแอ่งกินดูเกลี้ยง อย่าให้มีกะหลึนเหมี่ยงสนิมไคลใต้ก้นแอ่ง อย่าให้น้ำขอดแห้งแลงเช้าให้เกื่อยขน ก้นแอ่งน้ำอย่าให้เกิดมีตม อย่าให้มีแนวจมอยู่เนาในน้ำ อย่าให้ไผเอาข้าว ของไปหว่านใส่ บาดมันไข่พุขึ้นสิปานน้ำฮากหมา ให้รักษาแอ่งน้ำยามดื่มอย่ามีอึด คึดอยากกินยามใด๋ก็เล่าตักกินได้ มีแขกไปไทยค้าคนมาเซาแหว่ ก็ได้แวใส่ได้เอาน้ำรับรอง

       น้ำ 3 นั้นได้แก่ น้ำเต้าปูน ผู้ที่เป็นแม่เฮือนให้เหล่าหามาพร้อม ให้คอยดอมเด้อหล่า หาปูนใส่กระบอก อย่าให้ซอกขาดแห้งหาไว้ใส่ขัน พันพลูพร้อมพันยาไว้ถ้าพี่ พันดีๆ ให้เรียบร้อยคอยต้อนแขกคน

        น้ำ 4 นั้นแม่น น้ำกลั่นอมฤต คือน้ำจิตน้ำใจแห่งนางหนูน้อย ให้เจ้าคอยหาน้ำในใจใสแจ่ม เพียงดั่งน้ำเต้าแก้วใสแล้วบ่ขุ่นมัว อย่าให้มีหมองมัว ผัวว่าอย่าโกรธา รักษาน้ำใจดีอย่าให้มีแข็งกระด้าง ขอให้นางคานน้อยใจดีอยู่อ่องต่อง คือดั่งน้ำหมากพร้าวบ่มีเปื้อนแปดตม อย่าให้มีคำขมต่อไผพอน้อย อย่าได้คอยหาข้องอแงฮ้อยแง่ เคียดข่อหล่อแข่แหล่แนวนั้นบ่ดี คันเฮ็ดได้จั่งสี้สิมีแต่ความสุข ผัวกะสุขเมียกะสุขสิค่อยมีเงินล้าน ผัวกะหวานเมียกะอ้อยออยกันเข้าบ่อน เมียกะนอนอยู่ใกล้ผัวได้ผ่างพา ขอให้นางคานหล้าทำตามโบราณเก่า จังสิมีขึ้นได้ความไฮ้บ่แล่นเถิง 

ฮีดสิบสองคลองสิบสี่

 

คลองสิบสี่ หมายถึง แนวทางปฎิบัติวิถีทางที่ดีที่นักปราชญ์บรรพบุรุษชาวอีสานวางไว้ เพื่อให้ผู้ปกครองนำไปเป็นแนวทางในการปกครอง พ่อแม่นำไป สอนลูกปู่ย่าตายายนำไปสอนหลาน พระนำไปสอนพุทธศาสนิกชนและประชาชนเพื่อนำไปปฏิบัติ และเป็นแนวทางปฏิบัติที่มีทั้งหมด ๑๔ ข้อซึ่งเป็น แนวปฏิบัติระดับบุคคลครอบครัวและส่งผลต่อส่วนรวม ซึ่งยกได้ ๒ แนวคือบุคคลทั่วไปและสำหรับท้าวพระยาข้าราชการผู้ปกครองบ้านเมือง ซึ่งความ เป็นจริงคลองสิบสี่มีความเป็นมาจากประเทศลาวเพราะกฎหมายมีคลองสิบปรากฎชัดเจนและชาวอีสานก็ใช้ภาษาอักษรลาวและคบประชนแก่ก็อ่านออก ได้มากทำให้คลองสิบสี่ถูกนำเข้าสู่อีสานได้ง่าย เป็นแบบอย่างฮีตคลองจนถึงปัจจุบัน คลองสิบสี่มีหลายประเภทต่างกันแต่สามารถแบ่งได้มี ๓ ประเภท ได้แก่ สำหรับประชาชนทั่วไป พระสงฆ์ และผู้ปกครองตั้งผู้ใหญ่บ้านจนถึงมหากษัตริย์

คลองสิบสี่ประเภทสอนผู้ปกครองเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ เป็นสิ่งที่ชาวลาวไทยนับถือเคารพเหมือนกันเป็นศูนย์รวมจิตใจ คือพระมหากษัตริย์ และชาวอีสาน จะให้ความเคารพเชื่อถือมาก หากผู้นำมีคุณธรรมยิ่งเคารพและนับถือมาก ดั้งนั้นจึงบัญญัติคลองสิบสี่ขึ้น เพื่อผู้ปกครองจะได้ปกครองจะได้ปกครองให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข

 

คลอง ๑ ผู้ปกครองต้องรู้จักแต่งตั้งอำมาตย์ราชมนตรีผู้มีความรู้ฉลาดและตั้งมั่นในพรหมวิหารธรรมคือ มีความซื่อสัตย์ สุจริตไม่คตโกงเป็นผู้ปกครองที่จะทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข

คลอง ๒ ผู้ที่เป็นเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ต้องตั้งมั่นในคุณธรรม10ประการ คือ ให้ทาน รักษาศีล บริจาค ซื่อตรง อ่อนโยน ความเพียร ไม่โกรธ ไม่เบียดเบียน อดทน ไม่ประพฤติผิด

คลอง ๓ ปีใหม่ผู้นำต้องนำน้ำอบน้ำหอมไปสรงพระตามประเพณี

คลอง ๔ เมือถึงสงกรานต์ต้องมีพิธี แห่พระสงฆ์ สรงน้ำพระและพิธีเลื่อนตำแหน่งพระ

 

คลอง ๕ ต้องทำพิธีสู่ขวัญเพื่อถวายพระพรแด่พระราชาและสงน้ำพระราชา

คลอง ๖ พอวันปีใหม่ประชาชนทำพิธีดื่มน้ำสาบานเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระราชา

คลอง ๗ ถึงเดือนเจ็ดทำพิธีบูชาถวายเครื่องสังเวยแด่เทพารักษ์หลักเมือง เป็นการแก้บน

คลอง ๘ จัดให้มีพิธีทำขวัญเมืองสะเดาะเคราะห์เมืองยิงปืนหว่านกรวดทรายไล่ภูตผี

คลอง ๙ ให้ทำบุญข้าวประดับดิน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ญาตเปรตผู้ล่วงลับไปแล้ว

คลอง ๑๐ ให้ทำบุญข้าวสากเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ปู่ย่าตายายและญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไป

คลอง ๑๑ ให้ทำบุญออกพรรษามีพิธีปวารณาประทีปโคมไฟตามสถานที่ต่างๆล่องเรือไฟ

คลอง ๑๒ ให้แข่งเรือเพื่อบูชาพระญานาคสิ่งสถิตใต้บาดาล

คลอง ๑๓ ให้มีพิธีสมโภสแห่แหนพระราชา ทำบุญให้ทาน ฉลองแสดงความจงรักภักดี

คลอง ๑๔ ให้พระราชาจัดหาสิ่งที่ทำให้บ้านเมืองอยู่ดีมีสุขเป็นปึกแผ่นและเจริญก้าวหน้า

 

คลองสิบสี่ ประเภทสอนพระสงฆ์ เพื่อเตือนพระสงฆ์ให้ปฏิบัติถูกต้องตามทำนองธรรม

คลอง ๑ ให้พระศึกษาพระธรรม๒๒๗ข้อ อย่าให้ขาด

คลอง๒ ให้ดูแลกุฏิวิหารปัดกวาดเช็ดถูอย่าให้เศร้าหมอง

คลอง ๓ ให้กระทำปฏิบัติและสนองศรัทธาประชาชน

คลอง ๔ ถึงเดือนแปดให้เข้าพรรษา ๓ เดือนและเดือน ๑๒ รับผ้ากฐินครบสี่เดือน

คลอง ๕ ออกพรรษาแล้วภิกษุต้องเข้าอยู่ปริวาสกรรม

คลอง ๖ ให้ถือบิณฑบาตรเป็นวัตร

คลอง ๗ ให้สวดมน ทำวัตรเจริญสมาธิทุกคืนอย่าขาด

 

คลอง ๘ วันพระประชุมลงอุโบสถทำสังฆกรรมไม่ขาด

คลอง ๙ ปีใหม่ให้นำน้ำสรงพระพุทะรูปพระเจดีย์

คลอง ๑๐ ถึงศักราชปีใหม่พระเจ้าแผ่นดินให้ไหว้พระสรงน้ำในพระราชวังและทำบายศรี

คลอง ๑๑ ให้ทำตามกิจนิมนต์ชาวบ้าน

คลอง ๑๒ ให้สร้างวัดวาอาราม พระธาตุเจดีย์

คลอง ๑๓ ให้รับสิ่งของทายกให้ทาน

คลอง ๑๔ พระมหากษัตริย์ ข้าราชการขั้นผู้ใหญ่มีศรัทธานิมนต์ให้มาประชุมกันในพระอุโบสถในวันเพ็ญเดือนสิบเอ็ดเป็นงานใหญ่อย่าขาด ชาวอีสาน และลาวได้ถือคลองร่วมกันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติทำให้พระสงฆ์ของอีสานในอดีตไม่มีปัญหาและมีพระอริยสงฆ์เกิดขึ้นมากมายเพราะท่านเคร่งครัดทำให้วัตรปฏิบัติท่านดีงามนามาซึ่งความสุขคุณธรรม คำสอนที่ดี

 

คลองสิบสี่ ประเภทสอนประชาชนทั่วไป

โดยสรุปได้เป็นแนวปฏิบัติ คือ เมื่อฤดูข้าวออกรวงเก็บผลผลิตอย่าพึ่งนำมารับประทานให้นำไปทำบุญก่อน อย่าเป็นคนโลภมาก เห็นแก่ตัว ให้สร้างหอ บูชาสี่มุมบ้าน รั้วกำแพงวัด ก่อนขึ้นบนบ้านให้ล้างเท้า เมื่อถึงวันพระให้คาราวะก้อนเส้า บันไดบ้านประตูบ้าน และนำดอกไม้ธูปเทียนคาราวะสามี และ วันอุโบสถให้ถวายพระสงฆ์ ก่อนนอนให้ล้างเท้าให้สะอาด และพอถึงวันดับขึ้นหรือแรม๑๕ค่ำให้นิมนต์พระมาเจริญพุทธมนต์และตักบาตรบ้าน เมื่อ พระมาใส่บาตรอย่าให้ท่านได้รอ และเมื่อพระเข้าปริวาสกรรมเสร็จให้ถวายดอกไม้ธูปเทียน ภิกษุเดินผ่านให้นั่งลงยกมือไหว้ก่อนพูดด้วย อย่าเยียบเงาพระสงฆ์ อย่าเอาอาหารเหลือกินไปถวายและอย่าให้สามีกินเพราจะบาปตลอดชาตินี้และหน้าและสำคัญเมื่อถึงวันพระ เข้าพรรษา ออกพรรษา วันมหาสงกรานต์ ห้ามเสพเมถุน(ร่วมเพศ)เพราะลูกหลานจะสอนยาก จากคลองคำสอนที่กล่าวมาถ้าปฏิบัติได้จะนำมาซึ่งความสงบสุข

คลองงสิบสี่ประเภทสอนทุกเพสทุกวัยทุกฐานะ ฮีตเจ้าคลองขุนคือแบบแผน คำสอน ที่ผู้ปกครองระดับสูงพึงนำไปปฏิบัติ เพื่อให้ไพร่ฟ้าประชาชนมีความสุข ปกครองด้วยความเท่าเทียมกันทุกคน มี ความเสมอภาค ฮีตท้างคลองเพีย คือเหตุร้ายทั้งหลายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะผู้ปกครองปล่อยปะละเลยห่างจากทศธรรมทำให้ประชาชนละเลย

ศีลธรรมปัญหาจึงเกิด ฮีตไพร่ คลองนาย คือผู้ปกครองอย่าอวดอ้าง อย่าลืมตัว เจ้านายจะดีคนเดียวไม่ได้ ได้ดีแล้วอย่าลืมตัว เป็นใหญ่แล้วให้รักผู้น้อยและใครทำดี ได้ดีก็ให้เคารพ

ฮีตบ้านคลองเมือง คือ มุ่งให้ทุกคนรู้จักอีตสิบสองคลองสิบสี่เพื่อทุกคนได้ปฏิบัติต่อกันอย่างมีความสุขและผู้ปกครองต้องมีใจเป็นธรรมและกล้าหาญ

ฮีตผัวคลองเมีย มุ่งให้สามีภรรยาปฏิบัติดีต่อกัน

ฮีตพ่อคลองเมีย มุ่งสอนพ่อแม่ให้อบรมเลี้ยงดูลูกให้ถูกทาง

ฮีตลูกคลองหลาน สอนลูกหลานให้ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี มี

ความยำเกรงต่อผู้ใหญ

ฮีตใภ้คลองเขย มุ่งสอนลูกสะใภ้และลูกเขยให้ปฏิบัติต่อพ่อตาแม่ยายปู่ย่าตายายให้ถูกต้องตามคลองธรรม

ฮีตป้าคลองลุง สอนให้ป้าลุงปฏิบัติต่อกันญาติพี่น้องให้ดี

ฮีตปู่คลองย่า ฮีตตาคลองยาย สอนให้ปู่ยาตายายปฏิบัติเป็นปูชนียบุคคลที่ดี

ฮีตเฒ่าคลองแก่มุ่งสอนคนแก่ทั่วไป

ฮีตปีคลองเดือน สอนชาวอีสานรักษาฮีตสิบสองคลองสิบสี่

ฮีตไฮ่คลองนา มุ่งสอนให้ชาวนารู้จักรักษาดูแลไร่นา

ฮีตวัดคลองสงฆ์ มุ่งสอนให้ปฏิบัติ วัตรฐาก ดูแลวัดวาอาราม บำรุงสงฆ์

คลองสิบสี่ เป็นแนวแบบแผนประพฤติปฏิบัติของบุคคลกลุ่มต่างๆที่ให้ผู้คนต้องปฏิบัติตามจึงทำให้สังคมอีสานมีความสุขสงบ ร่มเย็นตลอดมา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.m-culture.go.th/mahasarakham/ewt_news.php?nid=2267&filename=index

 

ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติพันธ์ลาว ซึ่งร่วมถึงชาวลาวอีสานที่ปฏิบัติ

สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นชาติเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมานาน เป็น

เอกลักษณ์ของชาติและท้องถิ่น และมีส่วนช่วยให้ชาติด ารงความเป็นชาติของตนอยู่ตลอดไป

ฮีตสิบสอง มาจากค าสองค า ได้แก่ ฮีต คือค าว่า จารีต ซึ่งหมายถึง ความประพฤติ ธรรมเนียม

ประเพณี ความประพฤติที่ดีและ สิบสอง หมายถึง สิบสองเดือน ดังนั้นฮีตสิบสองจึงหมายถึงประเพณีที่

ชาวลาวในภาคอีสานและประเทศลาวปฏิบัติกันมาในโอกาสต่างๆทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี เป็นการ

ผสมผสานพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผีและพิธีกรรมทางการเกษตร เข้ากับพิธีกรรมทางพุทธศาสนา นักปราชญ์

โบราณได้วางฮีตสิบสองไว้ดังนี้

เดือนอ้าย - บุญเข้ากรรม

เดือนยี่ - บุญคูณลาน

เดือนสาม - บุญข้าวจี่

เดือนสี่ - บุญผะเหวด

เดือนห้า - บุญสงกรานต์

เดือนหก - บุญบั้งไฟ

เดือนเจ็ด - บุญซ าฮะ

เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา

เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน

เดือนสิบ - บุญข้าวสาก

เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา

เดือนสิบสอง – บุญกฐิน

งานบุญประเพณีที่เกี่ยวข้องกับฮีตสิบสองที่ส าคัญของชาวอีสาน ได้แก่

- บุญเดือนสี่ จังหวัดร้อยเอ็ด (งานประเพณีบุญผะเหวด)

- บุญเดือนหก จังหวัดยโสธร (งานประเพณีบุญบั้งไฟ)

- บุญเดือนแปด จังหวัดอุบลราชธานี (งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา)

- บุญเดือนสิบเอ็ด จังหวัดนครพนม (งานประเพณีออกพรรษาไหลเรือไฟ) และจังหวัดสกลนคร (งาน

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง)

คองสิบสี่ เป็นค าและข้อปฏิบัติคู่กับฮีตสิบสอง คอง แปลว่า แนวทาง หรือ ครรลอง ซึ่งหมายถึง

ธรรมเนียมประเพณี หรือแนวทาง และ สิบสี่ หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิบัติสิบสี่ข้อ ดังนั้นคองสิบสี่จึง

หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางที่ประชาชนทุกระดับนับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง

พระสงฆ์ และคนธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติสิบสี่ข้อ อาจสรุปได้หลายมุมมองดังนี้

1. เป็นหลักปฏิบัติกล่าวถึงครอบครัวในสังคม ตลอดจนผู้ปกครองบ้านเมือง

2. เป็นหลักปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง และหลักปฏิบัติของประชาชนต่อ

พระมหากษัตริย์

3. เป็นหลักปฏิบัติที่พระราชายึดถือปฏิบัติ เน้นให้ประชาชนปฏิบัติตามจารีตประเพณี และคนใน

ครอบครัวที่ปฏิบัติต่อกัน

4. เป็นหลักปฏิบัติในการปกครองบ้านเมืองให้อยู่เป็นสุขตามจารีตประเพณี

แต่ละข้อมีค าว่าฮีตน าหน้าด้วย (ท าให้เกิดความสับสนกับฮีตสิบสอง) แต่ละคองจะมีสิบสี่ฮีต

ยกเว้น ฮีตปีคลองเดือน จะมีเพียงสิบสองฮีต ซึ่งนั่นก็คือฮีตสิบสองที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น คองประกอบด้วย

1. ฮีตเจ้าคองขุน

2. ฮีตท้าวคองเพีย

3. ฮีตไพร่คองนาย

4. ฮีตบ้านคองเมือง

5. ฮีตปูุคลองย่า

6. ฮีตตาคองยาย

7. ฮีตพ่อคองแม่

8. ฮีตใภ้คองเขย

9. ฮีตปูาคองลุง

10. ฮีตลูกคองหลาน

11. ฮีตเถ้าคองแก่

12. ฮีตปีคองเดือน (ฮีตสิบสอง)

13. ฮีตไฮ่คองนา

14. ฮีตวัดคองสงฆ์

ขณะที่การเปลี่ยนผ่านในวงรอบเล็กลงมาอย่างการเปลี่ยนผ่านของแต่ละเดือนนั้น หลายประเทศอาจ

ไม่ให้ความสนใจ แต่ส าหรับชาวอีสานโบราณแล้วนี่คือส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตวัฒนธรรม ซึ่งชาวอีสานได้บ่มเพาะ

ภูมิปัญญา ก่อก าเนิดเป็นประเพณีส าคัญๆขึ้นมาและได้ร่วมสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน โดยพวกเขาเรียกขาน

ประเพณีเหล่านี้รวมกันว่า "ฮีตสิบสอง"

ฮีตสิบสอง หมายถึง จารีตประเพณีประจ าสิบสองเดือน ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่ชาวบ้านจะได้มาร่วม

ชุมนุมและท าบุญในทุกๆเดือนของรอบปี และถือเป็นจรรยาของสังคม ผู้ที่ฝุาฝืนก็จะเป็นผู้ที่ผิดฮีต หรือ ผิด

จารีตนั่นเอง (หลายครั้งฮีตสิบสองมักจะกล่าวควบคู่ "คลองสิบสี่" (คองสิบสี่) ที่เป็นดังแบบแผนหรือแนวทาง

ด าเนินชีวิต (คลอง=ครรลอง) แต่จะมุ่งเน้นไปทางศีลธรรมมากกว่าด้านอาชีพ)

ส าหรับประเพณีหลักๆ 12 เดือนตามฮีตสิบสองของชาวอีสานโบราณนั้น ประกอบด้วย

1.เดือนเจียง (เดือนอ้าย) มีการประกอบพิธีบุญเข้ากรรม ซึ่งเป็นเดือนที่พระสงฆ์เข้ากรรม (ปริวาสกรรม)

เพื่อให้พระสงฆ์ผู้กระท าผิดได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ เป็นการฝึกจิตส านึกถึงความบกพร่องของตน และมุ่ง

ประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไป ชาวบ้านก็จะมีการท าบุญเลี้ยงผีต่างๆ

บุญเข้ากรรม หรือ บุญเดือนเจียง ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นจากอาบัติ ญาติ

โยม พ่อออก แม่ออก ผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทาน รักษาศีลฟังธรรมเกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุ

เรียกว่า บุญเข้ากรรม ก าหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาท า จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยมท าเป็น

ส่วนมากคือวันขึ้น 15 ค่ า เพราะเหตุมีก าหนดให้ท าในระหว่างเดือนเจียง จึงเรียกว่าบุญเดือนเจียง

อันว่าประเพณีพุทธศาสนาเราไว้เป็นธรรมประจ าชาติ เป็นความประพฤติดีเลิศล้น พระสงฆ์สร้างก่อ

บุญ ค าว่ากรรมคือกรรมของภิกษุสังฆาทิเสท 13 ข้อนั้น พระสงฆ์ต้องอยู่กรรม เพื่อความบกพร่องของศีล

ดังกล่าว พระภิกษุสงฆ์จึงเข้ากรรมเพื่อช าระความเศร้าหมองพวกนี้ แล้วจะเจริญขึ้นกว่าเดิม

ประเพณีบอกไว้ถือว่าเป็นส าคัญ ขึ้น 15 ค่ า เดือน 3 ก าหนดการไว้หรือว่าวันเพ็ญเดือนอ้าย ท าบุญ

ตักบาตร เรียกว่าบุญเดือนอ้าย

วิธีเข้ากรรมคือจัดเตรียมเครื่องใช้ที่จ าเป็น น้ ากินน้ าใช้ให้เพียงพอ เลือกที่สงัด บ่มีภิกษุมากด้วยคน

น้อยบ่หลาย ท าเป็นที่เข้าเป็นศาลากลางป่า จัดเป็นกระท่อมน้อยส าหรับอยู่ผู้เดียว แล้วก็เตรียมห่มผ้าเฉลียง

บ่าทั้งสอง ยอมือพบกล่าวยอมาลีเว้าว่า ปริวาสเข้ากรรมปลดแอกครั้นอยู่ปริวาสครบแล้วขอมานัต ๖ ราตรี

ครั้นว่าราตรีครบก็จริงขออัพภาน ต่อสงฆ์องค์เจ้า ครั้นว่าขออัพภาน แล้วเป็นคนใสสะอาด หมดเวรกรรมมายุต้อ

ใจนั้นซุ่มเย็น

ส าหรับฆราวาสนั้นให้ถวายจตุปัจจัย ไทยธรรม ครั้นว่าหมดกรรมแล้วบุญกุศลก็น าส่งให้ได้บุญ คน

โบราณถือว่าเป็นสิ่งที่น่ายกย่องสรรเสริญ

2.เดือนยี่ ในฤดูหลังการเก็บเกี่ยวชาวบ้านจะท าบุญคูณข้าวหรือบุญคูณลาน โดยนิมนต์พระสวดมนต์เย็น เพื่อ

เป็นมงคลแก่ข้าวเปลือก รุ่งเช้าเมื่อพระฉันเช้าแล้วจะมีการท าพิธีสู่ขวัญข้าว นอกจากนี้ชาวบ้านจะเตรียมเก็บ

สะสมฟืนไว้หุงต้มที่บ้าน

บุญคูนข้าวหรือบุญคูนลาน ส าหรับตีหรือนวดข้าว เรียกว่า ลาน การเอาข้าวที่ตีแล้วมากองให้สูงขึ้น

เรียกว่าคูนลานหรือที่เรียกกันว่าคูนข้าว ชาวนาที่ท านาได้ผลดี อยากได้กุศล ให้ทานรักษาศีลเป็นต้นก็จัดเอา

ลานข้าวเป็นสถานที่ท าบุญ การท าบุญในสถานที่ดังกล่าวเรียกว่าบุญคูนลานก าหนดเอาช่วงเดือนยี่เป็นเวลา

ท าบุญจึงเรียกว่าบุญเดือนยี่

อันว่าการคูณลานนั้นคือ คูณข้าวเปลือก ท าบุญในลานข้าวเปลือกเพื่อจัดเพิ่มบุญนั้นให้มากมูล เดือน

ปีที่ท านั้นเป็นส าคัญประจ าชาติ เรียกว่าบุญเดือนยี่ ตราบเท่าวันนี้กล่าวเถิง

มูลเหตุนั้นมีประวัติกล่าวในคัมภีร์ในสมัยองค์กัสสษะโปรดคนคราวนั้น ยังมีสองพี่น้องเป็นพวกชาวนา

รวมกันท าไรนาผาท้าง พอเมื่อเวลาข้าวเป็นน้ านมพอแก่ น้องใคร่คิดท าข้าวมธุปายาสนั้นถวายให้แก่พระองค์

ชวนพี่ชายเหล่าได้แบ่งที่นากัน น้องจึงมีกรรมสิทธิ์ทอดทานท าได้ มาก็ท านานข้าวในนาข้าว เถิง ๙ เทื่อ คือ

เวลาข้าวเป็นน้ านมนั้น ครั้งหนึ่งเป็นข้าวเหม้าก็จัดทานทอดให้พระสงฆ์เจ้าดั่งเดิม ครั้งที่สามนั้นเถิงเวลาเก็บ

เกี่ยว ครั้งที่ ๔ จัดตอกมัดข้าวมาไว้ใส่ลาน ครั้งที่เจ็ดรวมเข้าเป็นลอมไว้ก่อน ครั้งที่แปดท าการฟาดหรือว่านวด

ข้าวกองไว้อยู่ลาน ครั้งที่เก้าขนเอาขึ้นใส่ยังปิดแจมประตูอัด

การท าทานมาเถิงครบไปทั้ง ๙ ถวายให้องค์เจ้าสัพพัญญูตนเองกัสสปะพระพุทธเจ้าคราวนั้นเพียงจริง

น้องชายน้อยนั้นปรารถนานายยอดอรหันต์ ผลบุญกุศลส่งตามมาให้ในศาสนาพระโคดมนี้เขาลงมาเกิดพระโค

ดมแต่คราวกาลนั้น ทั้งเป็นพารหมณ์ดีได้เฉลียวเปรียวฉลาด คาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าเป็นเจ้าหน่อพุทธโธ ท่าน

ก็ได้รับเอตทัคคะได้เป็นยอดรัตตัญญู ผลบุญกุศลน าปรางนั้น

ส่วนว่าพี่ชายนั้นได้ถวายข้าวในนาครั้งหนึ่ง ผลก่อสร้างบุญนั้นต่อมา ในชาตินี้ได้มาเกิดเป็นสุภัททะ

ปริพาชกบ่มีได้พบพุทธองค์เนินช้า จนถึงปรินิพพานแล้วได้เคยมาฟังเทศน์ จนได้เป็นพระอนาคามีองค์สุดท้าย

แท้ๆ บุญนั้นส่งน า การถวายทานนี้ถือว่ามีอานิสงส์มาก จึงถือเป็นประเพณีบอกไว้เฮาได้อ่านดู

อันว่าวิธีท านั้น จัดเอาลานเป็นที่อยู่ บอกกล่าวญาติพี่น้องมาร่วมก่อบุญ นิมนต์พระสงฆ์ได้ตาม

ศรัทธา สามารถจัดสิ่งของหม้อน้ ามนต์ ใส่น้ าหอมตั้งไว้ตามไท้ธูปเทียน ครั้นถวายทานเสร็จแล้วสงฆ์พรม

น้ ามนต์ ฝูงวัวควายและกุ้มข้าวพระซ้ าสวดตาม

บุญคุ้มประจ า

หมู่บ้านนั้นจัดคุ้มใหญ่เป็นประจ า แต่ละเรือนชานเหล่ารวมเป็นคุ้มพิธีท าบุญมั้นจัดปร าคนละแห่ง ต่าง

ก็จัดของทานมีข้าว น้ าเอาไว้สู่เรือน แล้วไปรวมกันเข้าท าบุญร่วมตลอด ในเวลากลางคืนจัดปร าคนละแห่ง

ต่างก็จัดของทานมีข้าวน้ า เอาไว้สู่เรือนแล้วไปรวมกันเข้าท าบุญร่วมตลอด ในเวลากลางคืนจัดธูปเทียนดอกไม้

มาไหว้ท่านพระสงฆ์ แล้วเหล่ามีใจพร้อมรวมกันฟังเทศน์มีมหรสพพร่ าพร้อมงันซ้องสนั่นเมือง ตื่นฮูงเช้าตัก

บาตรถือศีล ถวายอาหารพระสงฆ์จบกระบวนถ้วน

บุญคุ้มข้าวใหญ่

อันว่าบุญแนวนี้น าเอาข้าวเปลือกมารวมกันเข้าแล้วถือศีล ฟังเทศน์ที่ศาลากลางหมู่บ้าน โรงกว้าง

สะดวกดี กลางคืนนั้นถือศีลฟังเทศน์มีมหรสพพร่ าพร้อมเพียรสร้างก่อบุญหลายครัวเรือนได้รวมกันเอา

ข้าวเปลือก ถือว่าเป็นบุญมากล้นโบราณเจ้าเหล่าถือ ข้าวเปลือกนั้นเอาไปจ่ายเป็นเงินมาท าสาธารณกุศล ก่อ

การได้ไว้หลายประการล้นบุญมีเหลือมาก ควรที่จ าจือไว้โบราณเจ้ากล่าวสอน

3.เดือนสาม ในมื้อเพ็งหรือวันเพ็ญเดือนสาม จะมีการท าบุญข้าวจี่และบุญมาฆบูชา การท าบุญข้าวจี่จะเริ่ม

ตอนเช้า โดยใช้ข้าวเหนียวปั้นใส่น้ าอ้อยน าไปจี่บนไฟอ่อนแล้วชุบด้วยไข่ เมื่อสุกแล้วน าไปถวายพระ

บุญข้าวจี่หรือบุญเดือนสาม ข้าวเหนียวปั้นโรยเกลือ ทาไข่ไก่แล้วจี่ไฟให้สุก เรียกว่าข้าวจี่ การท าบุญให้

ทานมีข้าวจี่เป็นต้น เรียกว่าบุญข้าวจี่ นิยมท ากันอย่างแพร่หลาย เพราะถือว่าได้กุศลเยอะ ท าในช่วงเดือนสาม

เรียกว่า บุญเดือนสาม

เอาข้าวมาปั้นทาน้ ามันไข่ไก่ ไฟแดงๆอยู่แล้วเอามาปั้นจีลง บุญข้าวจีนี้เรียกว่าบุญเดือนสาม มีประวัติ

มาแต่พุทธกาลคราวพุ้น ในพระธรรมมาเว้าบาลีมีบอกว่า มีนางปุณณะทาสิเจ้าเป็นสาวใช้บ่าว จัดแป้งสาลีเป็น

แป้งจี นั่งเฝ้าเรือนเจ้าบ่าวนาย คิดอยากจะถวายข้าวสาลีแป้งจีก็กลัวว่าพระพุทธเจ้าสิโยนทิ้งบ่อยากฉัน พระ

พุทธองค์ทรงได้โดยพระวรจิต จึงได้วานอานนท์ปูอาสนะลงบนพื้น พออานนท์ปูแล้วพระองค์เสด็จอาสน์ นาง

ปุณณาทาสิปราบปลื้มดีแท้มากหลายจึงถวายไท้พุทธบาทโคดม พระองค์จึงทรงเทศนาว่าเป็นทานเยี่ยม

จนกว่าปูณณะทาสีได้โสดาคุณพิเศษ เป็นพระอริยะบุคคลเพราะได้ทานแป้งจี่ผง เหตุดังนี้เฮาพวกชาวนาจึงพา

กันมาท าบุญดั่งปุณณะทาสีสู่ปีบ่มีเว้น

มีพิธีท านั้นบ่มีการล าบาก หาหลัวฟืนท่อนไม้มาไว้ก่อไฟ แล้วเหนียวมาปั้นเป็นแผ่นๆ เอาเกลือโรย

หน่อยแล้วทาด้วยไข่ไก่ นม เอาน้ าอ้อยใส่ด้วยหวานอ่อยหน่อยพอดี เอาลงไปอั่งไฟจี่พอสุกได้ทั้งนิมนต์เอาได้

พระสงฆ์มารวบสวดอาราธนาศีลรับศีลเสร็จเรียบร้อยแล้วถวายข้าวจี ถามค าถวายข้าวจี่นั้นมีแบบตามฉบับ

แล้วจึงน าไปถวายสงฆ์ใส่ลงในบาตร พระสงฆ์ท่านท าพิธีมนต์สูตร ฉันเรียบร้อยแล้วลงให้รดน้ ามนต์ แล้วก็ฟัง

เทศน์ได้ฉลองข้าวจี่ตามประเพณี ทั้งหนังสือล านิทานที่ญาติโยมขอไว้ หนังสือล านั้นเป็นการฉลองเทศน์

เรียกว่าบุญเดือนสามแท้ๆ บ่มีได้เปลี่ยนแปลง

บุญมาฆะบูชา ครั้นเมื่อมาฆะฤกษ์เดือนสามล่วงมาเถิง เป็นเวลาท าบุญมาฆาแต่โบราณนั้น ฝูงเฮา

ดอกไม้ฝูงเทียนทั้งธูปเข้าวัดอยู่ใกล้บ้านประสงค์บ้านประสงค์ตั้งต่อบุญ ท ามาฆะบูชาขึ้นยอมือล้นเกษ ระลึก

เถิงพระพุทธเจ้าคราวนั้นแต่เดิม

มูลเหตุของมาฆะบูชา

วันเพ็ญเดือนสามนั้นเป็นวันส าคัญพุทธศาสน์ เป็นวันที่พระภิกษุอรหันต์ 1,250 องค์ มาพร่ าพร้อมบ่

มีได้นัดหมาย ณ เวฬุวันมหาวิหารนั้น ประชุมสงฆ์หมู่ใหญ่แสดงโอวาทปาฏิโมกข์ไว้องค์นั้น 4 ประการ องค์

1 คือ

 1. พระสัพพะปขปัสสะ อกรณัง อย่าท าชั่วหลายประการเป็นบาป

 2. กุสลัสสู่ปสัมปทา ท าแต่ความดีไว้เป็นบุญอันประเสริฐ

 3. สจิตตปริโยทปนัง ช าระหัวใจสะอาดแล้วคงได้อยู่เย็น

องค์ 2 นั้นล้วนเป็นพระอุปสมบทจากพระพุทธเจ้ามาถ้วนคู่องค์

องค์ ๓ นั้น บ่มีการนัดหมายไว้มาเองทุกรูป

องค์ 4 นั้น มาพร่ าพร้อมวันนั้นสู่องค์ ทั้งเป็นวันเพ็ญเดือนสามแท้บ่มีเหลือเศษ แสงตะวันส่องแจ้งแสงเศร้า

แม่นบ่มี จัดเป็นจาตุรงค์สันนิบาตไว้ประชุมใหญ่ของสงฆ์ โบราณถือว่าเพ็ญเดือนสามก่อบุญ กุศล สร้าง

ท า พิธีนั้นจัดเตรียมน้ าดื่มทั้งน าใช้ไว้อาสนะ ตอนเวลาเช้าท าบุญตักบาตร อังคาสพระภิกษุสงฆ์พร่ าพร้อมฟัง

เจ้าเทศนา ตอนเวลาเย็นนั้นเวียนเทียนรอบโบสถ์ จุดเทียนดอกไม้บูชาแล้วเหล่าเดิน เวลาเวียนเทียนนั้นค า

บูชาต่างๆต้องกล่าว จะเอาอิติปิโส สวขาโต สุปฏิปันโนก็ได้ ตามแท้แต่ใจ ก่อนจะเวียนเทียนกับธูป ยืน

ประณมมือพร่ าพร้อมฟังเจ้าอ่านค า ปากก็ต้องเว่าต่อประธานสงฆ์

4. เดือนสี่ ท าบุญพระเวส ฟังเทศน์มหาชาติในงานบุญนี้มักจะมีผู้น าของมาถวายพระ ซึ่งเรียกว่า "กัณฑ์

หลอน" หรือถ้าจะถวายเจาะจงเฉพาะพระนักเทศน์ที่ตนนิมนต์มาก็จะเรียกว่า "กัณฑ์จอบ" เพราะต้องแอบซุ่มดู

ให้แน่เสียก่อนว่าใช่พระรูปที่จะถวายเฉพาะเจาะจงหรือไม่

บุญเผวสหรือบุญเดือนสี่ บุญที่มีการเทศน์พระเวส หรือ มหาชาติ เรียกว่าบุญเผวส (ผะ-เหวด)

หนังสือมหาชาติหรือพระเวสสันดรชาดกแสดงถึงจริยวัตรของพระพุทธเจ้าคราวพระองค์เสวยพระชาติเป็นพระ

เวสสันดร เป็นหนังสือเรื่องยาว 13 ผูก (13 กัณฑ์) และนิยมบวชภิกษุใหม่ในเดือนนี้ด้วยถือว่าได้กุศลแรงบุญเผวสนิยมท ากันในช่วงเดือนสี่

เวสสันดรชาดกนั้นเรียกว่าเพระเวสสันดร เคยท าประจ าเดือนสี่ ภาคอีสานนิยมไว้หรือว่าบุญเดือนสี่

แท้มีประจ าไว้แต่นาน เป็นชาดกกล่าวเรื่องเทศชาติชาดกเป็นบารมีสุดเพิ่มมูล เอาไว้มีทั้งก าหนดให้ท าบุญ

มหาชาติ ไว้ในเดือน 4 นั้นเป็นแท้แน่นอน การบุญใหญ่นี้ท าระหว่างยามหนาว ยามบ่มีการงานก่อน แต่

ท าบุญไว้เป็นการได้ท าบุญครั้งใหญ่ ท่านว่าพบพระศรีอาริยะเมตไตร เพราะฟังล ามหาชาตินี้เป็นได้แน่นอน

ทั้งเมื่อได้ฟังแล้วจ าจือปฏิบัติศีลทานธรรมดั่งพระองค์มีไว้ก็จักเถิงหนท้องนิระทานหมดชาติ บ่ต้องมาเวียนว่าย

ตายเกิดแท้เมืองนั้นอยู่เกษม

เหตุใดจึงท าบุญพระเวส

ในคัมภีร์กล่าวอ้างต้นเหตุการณ์ท าในกาลครั้งหนึ่งนั้น พระเถระเจ้าองค์เอกอรหันต์ขึ้นไปสวรรค์พิภพ

เขตพระอินทร์องค์ล้ า ท่านก็ประสงค์ไปไหว้จุฬามณีองค์พระธาตุ ได้พบองค์เอกเจ้าศรีอาริยะทวยเทพ อยู่

สวรรค์ชั้นฟ้าคราวนั้น สั่งมาว่าบุคคลใดคิดอยากพบยอดไท้องค์เอกพระศรีอารย์ ให้พากันท าบุญเทศน์

เวสสันดรเอาไว้ฟังธรรม 13 กัณฑ์ ได้วันเดียวให้หมดผูก อย่าพากันขี้คร้านจะเห็นหน้าแห่งเรา ทั้งอย่าให้ท า

อนันตริยะกรรมรายอันมีผลเป็นบาป 1.) อย่าท าลายสงฆ์ให้แตกกันแท้หมุนวาย 2.) อย่าท าการฆ่าบิดา

มารดา 3.) บ่ได้ท าโลหิตตุบาทแก่พระพุทธเจ้าองค์ใดบ่มี4.) บ่ได้มีการฆ่าพระอรหันต์ตนแห่งประเสริฐ แล้ว

ให้ฟังธรรมเรื่องพระเวสแล้วบ่มีแคล้วคลาดเถิงท่านเอย ท าสลากนิมนต์

พอเมื่อตกลงกันพร้อมสาธุการทุกฝ่าย จัดแบ่งกัณฑ์เรียบร้อย หามีพักเช้า พร้อมกันจัดท าซุ้มสถาน

เนาว์นอนนั่ง แล้วจึงบัตรด้วยติดใบลาน พร้อมพร่ าว่าวุฒิธรรมค าฝูงข้าทั้งหลาย ภายในมีอาชญธรรมเป็นเค้า

ภายนอกมีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน พวกข้าจัดการให้มีการฟังธรรมมหาชาติ ในวัน เดือน ปีก าหนดในหั้นสู่

แนว บอกวันแสดงให้ฟังธรรมแจ้ง เมื่อญาติโยมจักได้มาพร่ าพร้อมสมสร้างก่อบุญปลูกปะร าให้กว้างพออยู่ทั้ง

โยม นี้เป็นกิจการบุญหมู่เราเคยสร้าง

การเตรียมเครื่องสักการะ

เครื่องสักการะนั้น มีข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียนหอม อย่างละเป็น 1,000 พัน ใส่ในศาลากว้าง มีธงอัน

ใหญ่ไว้ 7 อัน ประดับแต่งมีรูปม้าลายเป็นประวัติพระเวสเจ้าคราวครั้งแต่หลัง มีทั้งหม้อน้ ามนต์ 4 หน่วย ทั้ง

หอพระอุปคุกเฝ้าไว้รักษาเจ้าหมู่มาร เพราะงานบุญเฮาสร้างเป็นผลบุญใหญ่ มักจะมีมารผจญเหตุฮ้าย ท าให้

ผ่านฟังหออุปคุตนั้นปลูกสูงได้ เพียงตายืนอยู่ เอาไม้ไผ่เป็นล ามาตัดทอนด้ามท่อกัน ฝาขัดแตะแจ้มสามด้าน

ท่อกัน หาซองใสไว้เช่นบาต กระโถน กาน้ า ทั้งจีวรผืนหนึ่ง ทั้งไม้เท่าเอาไว้ที่หอพอเถิงเวลาล้ าสามโมงตอน

บ่าย จัดเครื่องสักการะพร าพร้อมเชิญเจ้าสู่หอ สมมติว่าท่านเนาว์อยู่บ่มิไกล ตามเรื่องเดิมกล่าวมาเอาไว้ ตาม

ประวัติได้เป็นเชื้อแถวแนวสค เป็นผู้มีญาณแก่กล้าเนาว์ค้างระหว่างมหาสมุทรพุ้น ตามต านานมีกล่าว คราว

อโศกมหาราชเจ้ารวม-กลาง สร้างก่อบุญ เก็บพระธาตุมารวมอยู่หนเดียว มาบรรจุรวมกันแห่งเดียวเอาไว้จึง

เกรงกลัวไว้ศัตรูของพระพุทธบาท จึงนิมนต์พระอุปคุตอยู่ใต้น้ ามาไว้ดั่งหวัง ท่านอุปคุตนั้นจับพระยามารได้เอา

หนังหมามาผูก หนังหมาเน่าผูกคล้องคอไว้บ่ปล่อยไป ไผก็บ่อาจได้หมดสามารถวิชามารจึงเอาหนีไปไกลยอด

เขาสุเมรพุ้น การบุญเจ้าองค์พระยาอโศกราช จึงส าเร็จลุล่วงไปได้ดั่งยาม

ค าเชิญพระเถรอุปคุต

ค าเชื้อเชิญว่า อุกาสะ อุกาสะ ฝูงข้าทั้งหลายภายในมีพระสงฆ์เป็นเค้า ภายนอกมีออกตนเป็น

ประธาน พากันจัดเครื่องสักการะมากราบไหว้แก่ยอดให้พระอุปคุตเถร ตนมีฤทธิ์องอาจ นิรมิตรประสาท

แก้วกุฏิกลางนทีแม่น้ าใหญ่ มักใคร่ด้วยพรหมจารี อยู่สุขีบ่โศกเศร้า บัดนี้ฝูงข้าพเจ้าทั้งหลาย พร้อมกันฟัง

ยังล าพระเวสในบ่วงเขตอาราม ขอเชิญเจ้ากุตทรงคุณธรรมมาก เป็นอาชแพ้แก่ผิในจักรวาฬ ขอจงไปปราบ

มารทั้ง 5 อันจะมาเบียดเบียนฝูงข้าทั้งหลาย ให้หายโพยภัยอันตรายทุกส่ า พร้อมพร่ าถ้วนทุกประการ ก็ช้า

เทอญ พอแล้วตีฆ้องป่าวเดิน ถือของไตรจีวรทั้งบาตรเวียน 3 รอบแล้วลาล่ าต่าวคืน เอาสิ่งของถือนั่นวางใน

หอไว้ก่อน เถิงเวลาเพลจังหันก็ต้องจัดพร่ าพร้อมไปไว้ที่หอครั้นว่าเสร็จสรรพแล้วรวมกันไปแห่

กาลแห่พระเวสเข้าเมือง

เวลาได้เถิงบ่าย 4 โมงเย็น ทางอารามตีกลองบอกเตือนโยมไว้ ทางวัดจัดเอาได้กลองตีธรรมมาสน์ ใส่

พระพุทธรูปด้วยพระสงฆ์ซ้ านั่งน าพระสงฆ์ เทศนาเชิญพระเวส เทศน้อยบนธรรมมาสน์เสียงระห้อยอ่อนหู ว่า

เชิญยอ เชิญพระคืนเมื่อห้องเสวยเมืองเก่า ทั้งมะทีแจ่มเจ้ากุมารน้อย หน่อเมือง อย่าได้เคืองค าร้อนนอนดง

พงป่า ทั้งกัณหาชาลีสองหน่อเจ้าเชิญเข้าสู่เมือง แต่เทอญ

การเทศนานั้นพอไปเถิงพร้อมพร่ า พากันรับศีลก่อนแล้วพระสงฆ์ขึ้นเทศนา ขากลับมาเถิงห้องอาราม

หลวงวัดใหญ่ เวียนสามทีรอบศาลา จึงแล้วยอขึ้นสู่โรง เป็นอันเสร็จกระบวน รอการฟังเทศน์ตืนฮู่งพระสงฆ์

ขึ้นเป็นเทศนา ในวันเดือนเดียวแท้จบล ามหาเวสส์ มีกัณฑ์หลอนแห่ล้นหลายล้ าหลากกระตา ยูถ่างท าบุญ

สร้างศีลทานเททอด ชาติหน้าพุ้นบุญล้ ามากมาย จักได้พบพระเจ้าตนเอกพระศรีอารย์ ข้าขอยอมือนบฮอด

บุญของเจ้า

ท าบุญข้าวพันก้อน

เอาข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ เอาไม้เสียบ ท าให้ได้มากล้นพันก้อนจึงเซา แล้วจึงเอาไปไหว้คาถา

พันอันมีค่า เรียกว่าคาถาข้าว พันก้อนโบราณเค้าเว้าต่อมา พอเมื่อการกระท าเสร็จแล้วเถิงกลางคืนตี 4 พร้อม

กันโฮมแห่ได้ไปเข้าสู่อาราม พอเถิงวัดจอมเจ้าศาลาธรรมพักจอด หัวหน้าประณมมือพร่ าพร้อมพาเว้ากล่าวจา

ว่า นะโม นะโม จอมไตรปิฎกยกออกมาเทศนาธรรม ขันธีหมากเบิงงามสะพาท ข้าวพันก้อนอาจบูชา ข้า

บูชาสามดวงยอดแก้ว ข้าไหว้ถวายอาตม์บูชาสาธุ วนเวียนเว้าค าเดิม 3 รอบ แล้วจึงขึ้นศาลากว้างช่วงสงฆ์

ค าอาราธนาพระเวสส์ ดังนี้

สุณาตุ โภนโต เย สังฆา ดูราเทพเจ้าทั้งหลายอันยายยังอยู่ ทุกหมู่ไม้ไพรพะนอม ทุกเหวฮอมฮาว

ป่า ทุกประเทศท่าฮาวเขา ทุกแถวเถาว์เถือนก้ า ทุกท่าน้ าและวังปลา พรรณนาฝูงแผดและผีอันมีใจโหดร้าย

โทสา จงให้เจ้าทั้งหลายปะละใจอันเป็นบาป ให้ค่อยโสภาพ เงี่ยโสตฟังธรรม เดาดาจ าจือไว้เป็นประทีปใต้

ฮอดหลีผี ทางเหนือมีผาใดผาด่าง ทางข้างซ้ายกรุงศรีอยุธยา ทางฝ่ายเหนือมีแดนแถวเป็นเขตทุกประเทศด้าว

อันอยู่ห้องเทศพระสุธา กับนางธรณีทั้งแม่น้ าเป็นผู้ค้ าฝูงหมู่ปาณา ฝูงหมู่เทวดาเจ้าทั้งหลาย ภายบนมีพระยา

อินทร์พระยาพรหม จงลงมาโมทนาซึ่งธรรมอันฝูงข้าทั้งหลาย ภายในมีมหาราชครูเป็นเค้า ภายนอกมีมหาราช

ตนเป็นอาชญ์ในเมืองแก้วราชอุบล กับทั้งกัลยาเมียมิ่งลูกแก้วกิ่งชายา กับทั้งราชบิดามารดาพ่อแม่ เฒ่าแก่

พร้อมกันมาทั้งราชาและอุปราช ทั้งนักปราชญ์และอาจารย์ในคามชาวนิคมบ้านนอก อันอยู่ยงเขตเมืองแก้ว

ราชอุบล ชวนกันมาพร้อมแพ่ง แต่งเครื่องไหว้บูชา สหัสสาหลายปีมีมากดอกอุบลหลากพอพ้น บัวแดงบาน

ไขกาบ ดอกฝักตบอาจเขียวนีล ดอกกลางของหลายบ่น้อย พันหนึ่งค่อยขวนขวาย ช่อธมยายสะพาส ข้าว

พันก้อนอาขบูชา

5. เดือนห้า ประเพณีตรุษสงกรานต์หรือบุญสรงน้ า หรือบุญเดือนห้า ซึ่งมีขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ า เดือนห้า และ

ถือเป็นเดือนส าคัญ เพราะเป็นเดือนเริ่มต้นปีใหม่ไทย การสรงน้ าจะมีทั้งการรดน้ าพระพุทธรูป พระสงฆ์ และ

ผู้หลักผู้ใหญ่ ด้วยน้ าอบน้ าหอม เพื่อขอขมาและขอพรตลอดจนมีการท าบุญถวายทาน

บุญสรงน้ าหรือบุญเดือนห้า เมื่อเดือนห้ามาถึงอากาศก็ร้อนอบอ้าวท าให้คนเจ็บไข้ได้ปุวย การอาบน้ า

ช าระเนื้อกายเป็นวิธีการแก้ร้อนผ่อนให้เป็นเย็น ให้ได้รับความสุขกายสบายใจ อีกอย่างหนึ่งมีเรื่องเล่าว่า

เศรษฐีคนหนึ่งไม่มีลูกจึงไปบะบน(บนบาน)พระอาทิตย์และพระจันทร์เพื่อขอลูก เวลาล่วงเลยมาสามปีก็ยังไม่ได้

ลูกจึงไปขอลูกกับต้นไทรใหญ่ เทวดาประจ าต้นไทรใหญ่มีความกรุณาได้ไปขอลูกน าพระยาอินทร์ พระยาอินทร์

ให้ธรรมะปาละกุมาร (ท้าวธรรมบาล) มาเกิดในท้องภรรยาเศรษฐี เมื่อธรรมะปาละประสูติเจริญวัยวัยใหญ่ขึ้น

ได้เรียนจบไตรเภท เป็นอาจารย์สอนการท ามงคลแก่คนทั้งหลาย ครั้งนั้นท้าวกบิลพรหมลงมาถามปัญหา

ธรรมะปาละกุมาร (ถามปัญหาสามข้อคือ คนเราในวันหนึ่งๆ มีศรีอยู่ที่ไหนบ้าง ถ้าธรรมบาลตอบได้จะตัด

ศีรษะตนบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลเสีย โดยผลัดให้เจ็ดวัน ในชั้นแรกธรรมบาลตอบไม่ได้ ใน

วันที่หกธรรมบาลเดินเข้าไปในป่า บังเอิญได้ยินนกอินทรีย์สองผัวเมียพูดค าตอบให้กันฟัง ตอนเช้าศรีอยู่ที่หน้า

คนจึงเอาน้ าล้างหน้าตอนเช้า ตอนกลางวันศรีอยู่ที่อกคนจึงเอาน้ าหมดประพรหมหน้าอก ตอนกลางวันและ

ตอนเย็นศรีอยู่ที่เท้า คนจึงเอาน้ าล้างเท้าตอนเย็น ธรรมบาลจึงสามารถตอบค าถามนี้ได้) สัญญาว่าถ้าธรรม

บาลตอบปัญหาจะตัดหัวของตนบูชา ธรรมบาลแก้ได้เพราะศีรษะของกบิลพรหมมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ถ้าตกใส่

แผ่นดินจะเกิดไฟไหม้ ถ้าทิ้งขึ้นไปในอากาศฝนจะแล้ง ถ้าทิ้งลงมหาสมุทรน้ าจะแห้ง ก่อนตัดศีรษะกบิลพรหม

เรียกลูกสาวทั้งเจ็ดคนเอาขันมารองรับแห่รอบเขาพระสุเมรุหกสิบนาที แล้วน าไปไว้ที่เขาไกรลาสเมื่อถึงก าหนด

ปีนางเทพธิดาทั้งเจ็ดผลัดเปลี่ยนกันมาเชิญเอาศีรษะท้าวกบิลพรหมมาแห่รอบเขาพระสุเมรุแล้วกลับไปเทวโลก

๖. เดือนหก ประเพณีบุญบั้งไฟและบุญวันวิสาขบูชา การท าบุญบั้งไฟเป็นการขอฝน พร้อมกับงานบวชนาค

ซึ่งการท าบุญเดือนหกถือเป็นงานส าคัญก่อนการท านา หมู่บ้านใกล้เคียงจะน าเอาบั้งไฟมาจุดประชันขันแข่งกัน

หมู่บ้านที่รับเป็นเจ้าภาพจะจัดอาหาร เหล้ายามาเลี้ยง เมื่อถึงเวลาก็จะตั้งขบวนแห่บั้งไฟและร าเซิ้งออกไป ณ

ลานที่จุดบั้งไฟด้วยความสนุกสนาน ค าเซิ้งและการแสดงประกอบจะออกไปในเรื่องเพศ แต่จะไม่คิดเป็นเรื่อง

หยาบคายแต่อย่างใด ซึ่งประเพณีบุญบั้งไฟจะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทุกปีที่จังหวัดยโสธร ส่วนการท าบุญวิสาขบู-

ชานั้น จะมีการท าบุญเลี้ยงพระ ฟังเทศน์ ช่วงเย็นมีการเวียนเทียนเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ

บุญบั้งไฟหรือบุญเดือนหก การเอาขี้เจีย(ดินประสิว) มาประสมคั่วกับถ่าน โขลกให้แหลกเรียกว่าหมื่อ

(ดินปืน) เอาหมื่อใส่กระบอกไม้ไผ่อัดให้แน่น แล้วเจาะรูใส่หางเรียกว่าบั้งไฟ การท าบุญมีให้ทาน เป็นต้น

เกี่ยวกับการท าบ้องไฟ เรียกว่า บุญบั้งไฟ ก าหนดท ากันในเดือนหกเรียกว่าบุญเดือนหก เพื่อขอฟูาขอฝนจาก

เทวดาเมื่อถึงฤดูแห่งการเพาะปลูก ท าไร่ท านา

7. เดือนเจ็ด ท าบุญซ าฮะ (ล้าง) หรือบุญบูชาบรรพบุรุษ มีการเซ่นสรวงหลักเมือง หลักบ้าน ปูุตา ผีตาแฮก

ผีเมือง เป็นการท าบุญเพื่อระลึกถึงผู้มีพระคุณ

บุญซ าฮะ หรือ บุญเดือนเจ็ด การช าฮะ(ช าระ) สะสางสิ่งสกปรกโสโครกให้สะอาดปราศจากมลทิน

โทษหรือความมัวหมอง เรียกว่า การซ าฮะ สิ่งที่ต้องการท าให้สะอาดนั้นมี 2 อย่างคือ ความสกปรกภายนอก

ได้แก่ ร่างกาย เสื้อผ้า อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย และความสกปรกภายใน ได้แก่ จิตใจเกิดความความโลภ

โกรธ หลง เป็นต้น แต่สิ่งที่จะต้องช าระในที่นี้คือเมื่อบ้านเมืองเกิดข้าศึกมาราวีท าลาย เกิดผู้ร้ายโจรมาปล้น

เกิดรบราฆ่าฟันแย่งกันเป็นใหญ่ ผู้คนช้างม้าวัวควายล้มตาย ถือกันว่าบ้านเดือดเมืองร้อน ชะตาบ้านชะตา

เมืองขาด จ าต้องซ าฮะให้หายเสนียดจัญไร การท าบุญมีการรักษาศีลให้ทานเป็นต้น เกี่ยวกับการซ าฮะนี้

เรียกว่าบุญซ าฮะ มีก าหนดท าให้ระหว่างเดือนเจ็ดจึงเรียกว่าบุญเดือนเจ็ด

 8. เดือนแปด ท าบุญเข้าพรรษาซึ่งเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาโดยตรง ลักษณะการจัดงานจึงคล้ายกับทาง

ภาคอื่นๆ ของประเทศไทย เช่น มีการท าบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์สามเณร มีการฟัง

ธรรมเทศนาตอนบ่าย ชาวบ้านหล่อเทียนใหญ่ถวายเป็นพุทธบูชาและเก็บไว้ตลอดพรรษา การน าไปถวายวัดจะ

มีขบวนแห่ฟูอนร าเพื่อให้เกิดความคึกคักสนุกสนาน ประเพณีแห่เทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต้องเป็นที่จังหวัด

อุบลราชธานี

บุญเข้าวัดสา(เข้าพรรษา) หรือบุญเดือนแปด การอยู่ประจ าวัดวัดเดียวตลอดสามเดือนในฤดูฝน

เรียกว่าเข้าวัดสา โดยปกติก าหนดเอาวันแรมหนึ่งค่ าเดือนแปดเป็นวันเริ่มต้น เรียกว่าบุญเดือนแปด

9. เดือนเก้า ประเพณีท าบุญข้าวประดับดิน เป็นการท าบุญเพื่ออุทิศแก่ญาติผู้ล่วงลับ เพื่อบูชาผีบรรพบุรุษ

และผีไร้ญาติโดยชาวบ้านจะท าการจัดอาหาร ประกอบด้วยข้าว ของหวาน หมากพลู บุหรี่ห่อด้วยใบตอง

กล้วยร้อยเป็นพวง เตรียมไว้ถวายพระช่วงเลี้ยงเพล บางพื้นที่อาจจะน าห่อข้าวน้อย เหล้า บุหรี่ แล้วน าไป

วางหรือแขวนไว้ตามต้นไม้ และกล่าวเชิญวิญญาณของบรรพบุรุษและญาติมิตรที่ล่วงลับไปมารับส่วนกุศลใน

ครั้งนี้ ต่อมาใช้วิธีการกรวดน้ าหลังการถวายภัตตาหารพระสงฆ์แทนการท าบุญข้าวประดับดิน นิยมท ากันในวัน

แรม 14 ค่ า เดือนเก้า หรือที่เรียกว่าบุญเดือนเก้า

บุญข้าวห่อประดับดินหรือบุญเดือนเก้า การห่อข้าวปลาอาหารและของเคี้ยวของกินเป็นห่อๆ แล้วเอา

ไปถวายทานบ้าง ไปแขวนตามกิ่งไม้ในวัดบ้าง เรียกว่าบุญข้าวประดับดิน เพราะมีก าหนดท าบุญในเดือนเก้า

จึงเรียกว่าบุญเดือนเก้า

10. เดือนสิบ ประเพณีท าบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก (สลากภัตร) ตรงกับวันเพ็ญ เดือนสิบ ผู้ถวายจะเขียนชื่อ

ของตนลงในภาชนะที่ใส่ของทาน และเขียนชื่อลงในบาตร ภิกษุสามเณรรูปใดจับได้สลากของใคร ผู้นั้นจะเข้า

ไปถวายของ เมื่อพระฉันเสร็จแล้วจะมีการฟังเทศน์เพื่อเป็นการอุทิศให้แก่ผู้ตาย

บุญข้าวสากหรือบุญเดือนสิบ การเขียนชื่อใส่สลากให้พระภิกษุและสามเณรจับและเขียนชื่อใส่ภาชนะ

ข้าวถวายตามสลากนั้นและท าบุญอย่างอื่นมีรักษาศีลฟังธรรม เป็นต้น เรียกว่าบุญข้าสาก (สลาก ) เพราะ

ก าหนดให้ท าในเดือนสิบ จึงเรียกว่าบุญเดือนสิบ

11. เดือนสิบเอ็ด ประเพณีท าบุญออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ า เดือนสิบเอ็ด พระสงฆ์จะแสดงอาบัติ ท า

การปวารณา คือการเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ต่อมาเจ้าอาวาสหรือพระผู้ใหญ่จะให้โอวาทเตือน

พระสงฆ์ให้ปฏิบัติตนอย่างผู้ทรงศีล พอตกกลางคืนจะมีการจุดประทีป โคมไฟ น าไปแขวนไว้ตามต้นไม้ในวัด

หรือตามริมรั้ววัด จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบุญจุดประทีป ในจังหวัดนครพนมจะมีประเพณีการไหลเหลือไฟ ซึ่ง

ตกแต่งด้วยตะเกียงน้ ามันก๊าดเป็นรูปต่างๆ สวยงามกลางล าน้ าโขง และมีหลายจังหวัดที่จัดงานแห่ปราสาทผึ้ง

ขึ้น แต่ที่นับว่าเป็นต้นต ารับและมีความยิ่งใหญ่กว่าที่ใด ก็คือ จังหวัดสกลนคร

บุญออกวัดสา (ออกพรรษา) หรือบุญเดือนสิบเอ็ด การออกจากเขตจ ากัดไปพักแรมที่อื่นได้เรียกว่า

ออกวัดสา ค าว่าวัดสาหมายถึงฤดูฝน ในปีหนึ่งมี 4 เดือน คือตั้งแต่วันแรมสี่ค่ าเดือนแปดถึงขึ้น 15 ค่ าเดือน 12

ในระยะสี่เดือนสามเดือนต้นให้เข้าวัดก่อน พอครบก าหนดสามเดือนแล้วให้ออก อีกเดือนที่เหลือให้หาผ้าจีวร

มาผลัดเปลี่ยนการท าบุญมีให้ทานเป็นต้น เรียกว่าการท าบุญเดือนสิบเอ็ด และ

12. เดือนสิบสอง เป็นเดือนส่งท้ายปีเก่า ซึ่งจะมีการท าบุญกองกฐิน โดยเริ่มตั้งแต่วันแรมหนึ่งค่ า

เดือนสิบเอ็ดถึงกลางเดือนสิบสอง แต่ชาวอีสานในสมัยก่อนนิยมเริ่มท าบุญทอดกฐินกันตั้งแต่ข้างขึ้นเดือนสิบ

สอง จึงมักจะเรียกบุญกฐินว่า บุญเดือนสิบสอง ส าหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ าใหญ่ เช่น แม่น้ า

โขง แม่น้ าชี และแม่น้ ามูล จะมีการจัดส่วงเฮือ (แข่งเรือ) เพื่อระลึกถึงอุสุพญานาค บางแห่งจะมีการท าบุญ

ดอกฝูายเพื่อใช้ทอเป็นผ้าห่มกันหนาวถวายพระเณร มีการจุดพลุตะไล และบางแห่งจะมีการท าบุญโกนจุกลูก

สาว ซึ่งนิยมท ากันมากในสมัยก่อน

บุญกฐินหรือบุญเดือนสิบสอง ผ้าที่ใช้ไม้สดึงท าเป็นขอบซึ่งเย็บจีวร เรียกว่าผ้ากฐิน ผ้ากฐินนี้มี

ก าหนดเวลาในการถวายเพียงหนึ่งเดือนคือตั้งแต่แรมหนึ่งค่ าเดือนสิบเอ็ดถึงวันเพ็ญเดือนสิบสอง เพราะ

ก าหนดเวลาท าในเดือน 12 จึงเรียกว่าบุญเดือนสิบสอง

เพื่อให้ภิกษุสงฆ์มีโอกาสได้ผลัดเปลี่ยนไตรจีวรใหม่ เนื่องจากของเก่าใช้นุ่งห่มมาตลอดระยะเวลาสาม

เดือนที่เข้าพรรษาย่อมเก่า มีเรื่องเล่าว่าภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูปพากันไปเฝูาพระผู้มีพระภาคเจ้า

ณ พระเชตวันมหาวิหาร ไปไม่ทันวันเข้าพรรษาจึงพักจ าพรรษาที่เมืองสาเกตุ พอออกพรรษาแล้วพากันเดิน

กร าฝน จีวรเปียกชุ่มด้วยน้ าฝน พอไปถึงแล้วก็เข้าเฝูาพระองค์ทรงเห็นความล าบากของภิกษุเหล่านั้นจึง

อนุญาตให้รับผ้ากฐินได้ นางวิสาขาทราบความประสงค์จึงน าผ้ากฐินมาถวายเป็นคนแรก จึงถือเป็นประเพณี

สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

ชนิดของกฐินที่ท ามี2 ประเภท

1. กฐินเล็กหรือภาคกลางเรียกว่า "จุลกฐิน" ซึ่งเป็น "กฐินเล็ก" เป็นกฐินที่ต้องท าให้เสร็จภายในวัน

เดียว เริ่มตั้งแต่ปั่นด้าย ทอเป็นผืน ตัดเย็บเป็นผ้าไตรจีวรพร้อมทั้งย้อมสี ซึ่งกฐินประเภทนี้ต้องให้ความ

ร่วมมือร่วมแรงของผู้คนเป็นจ านวนมากจึงจะเสร็จทันเวลา จังหวัดอุบลราชธานีท าจุลกฐินที่วัดหนองปุาพง

ต าบลโนนผึ้ง อ าเภอวารินช าราบ จังหวัดอุบลราชธานี

2. มหากฐิน เป็นกฐินที่มีบริวารมาก ใช้เวลาเตรียมการนาน มีคนนิยมท ากันมากเพราะถือว่าได้บุญได้

กุศลมาก ขนาดผ้ากฐินมีก าหนดขนาดผ้าที่ใช้ท าเป็นผ้ากฐิน ดังนี้

ผ้าสบง ยาว 6 ศอก กว้าง 2 ศอก ผ้าจีวรและสังฆาฏิ มีขนาดเท่ากัน คือ ยาว 6 ศอก กว้าง 4 ศอก

ผ้ากฐินทั้ง 3 ผืนนี้เรียกว่า "ไตรจีวร"

องค์ประกอบส าคัญของกฐินประกอบด้วย "อัฐบริขาร" สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกน เข็มเย็บ

ผ้า ประคตเอว (ผ้ารัดเอว) กระบอกกรองน้ า องค์ประกอบทั้ง 8 อย่างนี้จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้

เพราะถือว่าเป็น "หัวใจ" ของกฐินหรือเป็น "บริขารกฐิน" จะมีหรือไม่มีก็ได้ เช่น ผ้าปูนั่ง ผ้าอาบน้ า ผ้าห่มกัน

หนาว เสื่อ หมอน ถ้วย จาน เป็นต้น

พระสงฆ์ที่จะรับกฐินได้ต้องเป็นผู้จ าพรรษาครบ 3 เดือน และมีจ านวนรวมกันไม่น้อยกว่า 5 รูป ถ้า

ไม่ถึง 5 รูปถือว่าใช้ไม่ได้ แม้จะนิมนต์ไปจากวัดอื่นให้ไปร่วมประชุมสงฆ์เพื่อรับกฐินก็ไม่สามารถรับกฐินได้

พิธีกรรม

 ผู้มีศรัทธาประสงค์จะท าบุญกฐินต้องไปติดต่อของจองวัดที่จะน ากฐินไปทอด เมื่อเจ้าอาวาสแจ้งว่าวัดนั้น

ยังไม่มีผู้ใดมาจองกฐินผู้มีศรัทธาที่จะท าบุญกฐิน จะเขียนสลาก (ใบจอง) บอกชื่อต้น ชื่อสกุล ต าแหน่งที่อยู่

ของตนให้ชัดเจนเพื่อประกาศให้คนทั้งหลายรู้ว่าตนเป็นผู้จอง และจะน ากฐินมาทอดที่วัดดังกล่าว สลากต้อง

ปิดไว้ในที่เปิดเผย เช่น ศาลาโรงธรรม โบสถ์ และต้องบอกวัน เวลาที่จะทอดด้วย เพื่อไม่ให้ผู้อื่นไปจองซ้ า

เพราะปีหนึ่งแต่ละวัดจะรับกฐินได้เพียงกองเดียว เมื่อจองแล้วก็จัดหาเครื่องบริขารและบริวารกฐินไว้บอกญาติ

และพี่น้องให้มาร่วมกันท าบุญ งานบุญกฐินถือว่าเป็นงานบุญอันยิ่งใหญ่ที่ชาวอีสานมีความเชื่อว่าถ้าผู้ใดท าบุญ

กฐินแล้วตายไปก็จะไม่ตกนรก มีแต่จะได้รับผลบุญที่ตนเองกระท าสะสมไว้ในชาตินี้ไว้เก็บกินในชาติหน้า

เมื่อถึงวันรวมก็จะตั้งองค์กฐินที่บ้านของตน โดยซื้อเครื่องอัฐบริขารและเครื่องบริวารกฐิน ซึ่งเครื่อง

บริวารกฐินส่วนมากจะเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนมาตั้งวางไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ญาติพี่น้อง หรือชาวบ้าน

ใกล้เคียงน าสิ่งของ เช่น เสื่อ หมอน อาสนสงฆ์ ผ้าห่ม ถ้วย จาน ฯลฯ มาร่วมสมทบกองกฐิน เมื่อถึงวัน

งานก็นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ฟังเทศน์ ตอนกลางคืนอาจจัดให้มีงานมหรสพต่างๆ เช่น หมอ

ล า ภาพยนตร์หรืออาจจัดเป็นงานเลี้ยงฉลองบุญกฐินก็แล้วแต่เจ้าภาพ

พอตอนรุ่งเช้าก็แห่กฐินจากบ้านไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เมื่อเดินทางไปถึงวัดจึงเริ่มแห่เครื่องกฐินทั้งหมด

รอบศาลาโรงธรรม โดยแห่เวียนขวา 3 รอบ แล้วจึงน ากฐินขึ้นตั้งบนศาลาโรงธรรม จากนั้นก็จะน าข้าวปลา

อาหารเลี้ยงพระ ถ้าถวายตอนเช้าก็เลี้ยงพระตอนฉันเพล เมื่อพระสงฆ์สามเณรฉันเสร็จแล้ว ผู้เป็นเจ้าภาพ

องค์กฐินจะจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย รับศีลแล้วกล่าวค าถวายกฐิน เป็นการเสร็จพิธีของฝุายญาติโยม

ส่วนพระสงฆ์เมื่อมีกฐินมาทอดที่วัดก็จะประชุมสงฆ์ทั้งวัด แล้วให้ภิกษุรูปหนึ่งถามที่ประชุมสงฆ์ว่าผ้ากฐินและ

เครื่องบริวารจะมอบพระสงฆ์รูปใด จะมีภิกษุรูปหนึ่งเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ว่าควรให้แก่ภิกษุรูปใด โดยเอ่ยนาม

ภิกษุที่สมควรจะได้รับกฐิน ส่วนมากก็จะเป็นเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ เมื่อที่ประชุมสงฆ์เห็นชอบตามที่มีผู้เสนอก็จะ

เปล่งค าว่า "สาธุ" พร้อมกัน จากนั้นญาติโยมก็จะพากันถวายเครื่องปัจจัยไทยทานแด่ภิกษุสามเณรอื่นๆทั้งวัด

พระสงฆ์รับแล้วจะอนุโมทนาและให้พรเป็นการเสร็จพิธี

มีเรื่องเล่าว่าในสมัยดึกด าบรรพ์ ครั้งพระศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า บุรุษชาวเมือง

พาราณสีคนหนึ่งเป็นคนเข็ญใจไร้ที่พึ่ง ไปอาศัยสิริธรรมเศรษฐีผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์ นับได้80 โกฏิ โดยยอมตน

เป็นคนรับใช้ อาศัยอยู่กินหลับนอนในบ้านท่านเศรษฐี ท่านเศรษฐีถามว่า "เธอมีความรู้อะไรบ้าง?" เขาตอบ

อย่างอ่อนน้อมว่า "กระผมไม่มีความรู้เลยขอรับ" ท่านเศรษฐีจึงถามว่า "ถ้าอย่างนั้นเธอจะรักษาไร่หญ้าให้เราได้

ไหม? เราจะให้อาหารวันละหม้อ" เพราะความที่เขายากจนบุรุษนั้นจึงตอบตกลงทันที แล้วเข้าประจ าหน้าที่ของ

ตนต่อไป และมีชื่อว่า ติณบาล เพราะรักษาหญ้าตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป

วันหนึ่งเป็นวันว่างงาน เขาจึงคิดว่า "ตัวเรานี้เป็นคนยากจนเช่นนี้เพราะไม่เคยท าบุญอันใดไว้ในชาติ

ก่อนเลย มาชาตินี้จึงตกอยู่ในฐานะผู้รับใช้คนอื่นไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีสมบัติติดตัวแม้แต่น้อย" เมื่อคิดดังนี้แล้ว

เขาได้แบ่งอาหารที่ท่านเศรษฐีให้ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งถวายแก่พระสงฆ์ผู้เที่ยวบิณฑบาต อีกส่วนหนึ่ง

เอาไว้ส าหรับตนเองรับประทาน ด้วยเดชกุศลผลบุญอันนั้นท าให้ท่านเศรษฐีเกิดสงสารเขา แล้วให้อาหารเพิ่ม

อีกเป็น 2 ส่วน เขาได้แบ่งอาหารเป็น 3 ส่วน ถวายแก่พระสงฆ์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งให้แก่คนจนทั้งหลาย

ส่วนที่สามเอาไว้บริโภคส าหรับตนเอง เขาท าอยู่อย่างนี้เป็นเวลาช้านาน

ต่อมาเป็นวันออกพรรษา เหล่าชนผู้มีศรัทธาต่างพากันท าบุญกฐินเป็นการใหญ่ แม้ท่านเศรษฐีผู้เป็น

นายของเขาก็เตรียมจะถวายกฐิน จึงประกาศให้ประชาชนทั้งหลายทราบโดยทั่วกันว่าสิริธรรมเศรษฐีจะได้

ท าบุญกฐิน เมื่อติณบาลได้ยินก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นในใจทันทีว่ากฐินทานนี้แหละจะเป็นทานอันประเสริฐ แล้ว

เข้าไปหาท่านเศรษฐีถามว่า "กฐินทานมีอานิสงฆ์อย่างไรบ้าง?" เศรษฐีตอบว่า "มีอานิสงฆ์มากมายหนักหนา

สมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรัสโถมนาการ สรรเสริญว่าเป็นทานอันประเสริฐ"

เมื่อเขาได้ทราบดังนี้แล้ว ก็มีความโสมนัสปลาบปลื้มเป็นอันมาก จึงพูดกับเศรษฐีว่า "ผมมีความ

ประสงค์ที่จะร่วมอนุโมทนาในการบ าเพ็ญทานครั้งนี้ด้วยท่านจะเริ่มงานเมื่อไรขอรับ?" ท่านเศรษฐีตอบว่า "เรา

จะเริ่มงานเมื่อครบ 7 วัน นับจากวันนี้ไป"

ติณบาลได้ฟังดังนั้นก็ดีใจยิ่งนัก ได้กลับไปยังที่อยู่ของตน แล้วเกิดความคิดว่าเราไม่มีอะไรเลย แม้ผ้า

ผืนเดียว เราจะท าบุญร่วมกับท่านเศรษฐีได้อย่างไร เขาครุ่นคิดอยู่เป็นเวลานาน ยิ่งคิดไปก็ยิ่งอัดอั้นตันปัญญา

หาสิ่งที่จะร่วมอนุโมทนากฐินกับท่านเศรษฐีไม่ได้ ในที่สุดเขาได้เปลื้องผ้านุ่งของตนออกพับให้ดี แล้วเย็บใบไม้

นุ่งแทน แล้วเอาผ้านั้นไปเร่ขายในตลาด

ชาวตลาดทั้งหลายเห็นอาการเช่นนั้นก็พากันหัวเราะกันออกลั่นไป เขาชูมือขึ้นแถลงว่า "ท่านทั้งหลาย

หยุดก่อน อย่าหัวเราะข้าพเจ้าเลย ข้าพเจ้ายากจนไม่มีผ้าจะนุ่ง จะขอนุ่งใบไม้แต่ในชาตินี้เท่านั้น ชาติหน้าจะ

นุ่งผ้าทิพย์"

ครั้นพูดชี้แจงแก่ประชาชนชาวตลาดดังนี้แล้ว เขาได้ออกเดินเร่ขายเรื่อยไป ในที่สุดเขาได้ขายผ้านั้นใน

ราคา 5 มาสก (1 บาท) แล้วน าไปมอบให้ท่านเศรษฐี ท่านเศรษฐีได้ใช้ซื้อด้ายส าหรับเย็บไตรจีวรในกาลครั้งนั้น

ได้เกิดโกลาหลทั่วไปในหมู่ชน ตลอดถึงเทวดาในฉกามาพจรสวรรค์

ฝ่ายพระเจ้าพาราณสีทรงทราบเหตุผล จึงรับสั่งให้น าติณบาลเข้าเฝ้า แต่เขาไม่ยอมเข้าเฝ้าเพราะ

ละอาย จึงได้ตรัสถามความเป็นไปของเขาโดยตลอดแล้ว ทรงให้ราชบุรุษน าผ้าสาฎกราคาแสนต าลึงไป

พระราชทานแก่เขา นอกจากนั้นได้พระราชทานบ้านเรือน ทรัพย์สมบัติ ช้าง ม้า วัว ควาย ทาสี ทาสา

เป็นอันมากแล้วโปรดให้ด ารงต าแหน่งเศรษฐีในเมืองพาราณสี มีชื่อว่าติณบาลเศรษฐี จ าเดิมแต่บัดนั้นเป็นไป

ครั้งต่อกาลนานมา ติณบาลเศรษฐีเมื่อด ารงชีวิตอยู่พอสมควรแก่อายุขัยแล้ว ก็ตายไปเกิดเป็น

เทพบุตรในดาวดึงส์พิภพ เสวยสมบัติทิพย์อยู่ในวิมานแก้ว สูงได้5 โยชน์ มีนางเทพอัปสรหมื่นหนึ่งเป็นบริวาร

ส่วนสิริธรรมเศรษฐีครั้นตายจากโลกมนุษย์แล้วได้ไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ มีนางฟ้าเป็นบริวารเช่นเดียวกันกับ

ติณบาลเศรษฐี

ประเพณีทั้งสิบสองเดือน ชาวอีสานโบราณถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง

ตั้งแต่เดือนอ้ายจนถึงเดือนสิบสอง ใครที่ไม่ไปช่วยงานบุญก็จะถูกสังคมตั้งข้อรังเกียจ และไม่คบค้าสมาคมด้วย

การร่วมประชุมท าบุญเป็นประจ าท าให้ชาวอีสานมีความสนิทสนมรักใคร่และสามัคคีกัน ทั้งภายในหมู่บ้านของ

ตนและในหมู่บ้านใกล้เคียง

ขอขอบคุณข้อมูล จาก เวปไซด์

https://www.kabinlocal.go.th/images/abt/pdf/Heath12canal14.pdf

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.