ReadyPlanet.com
dot dot
bulletซอกมาเว้าสู่ฟัง




ธรรมชาติแดนอีสาน

น้ำตกสร้อยสวรรค์

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม  อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

      ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จากแยกทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2112 อีกประมาณ 15 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกสร้อยสวรรค์ เป็นน้ำตกที่สวยงามมาก เกิดจากลำธาร 2 สาย คือ แซสร้อย และแซไผ่ ไหลตกลงมาบรรจบกันดูลักษณะคล้ายสายสร้อย บริเวณริมลำธารมีพลาญหินซึ่งในช่วงปลายฝนต้นหนาว จะมีดอกไม้หลากสีสันออกดอกงดงามเต็มลานหิน

กิจกรรม - ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ - ชมทิวทัศน์ - ชมพรรณไม้ - เดินป่าระยะไกล - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก      ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จากแยกทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2112 อีกประมาณ 15 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกสร้อยสวรรค์ เป็นน้ำตกที่สวยงามมาก เกิดจากลำธาร 2 สาย คือ แซสร้อย และแซไผ่ ไหลตกลงมาบรรจบกันดูลักษณะคล้ายสายสร้อย บริเวณริมลำธารมีพลาญหินซึ่งในช่วงปลายฝนต้นหนาว จะมีดอกไม้หลากสีสันออกดอกงดงามเต็มลานหิน

กิจกรรม - ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ - ชมทิวทัศน์ - ชมพรรณไม้ - เดินป่าระยะไกล - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก

เสาเฉลียง (อุทยานผาแต้มอุบลราชธานี)

ปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดจากการกระทำของอุณหภูมิน้ำและกระแสลม

                     เสาเฉลียงตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ถือว่าเป็นกรณีศึกษาของปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับชั้นหินเปลือกโลกซึ่งเป็นผลจากแรงกระทำของแรงภายนอก โดยเฉพาะปัจจัยร่วมระหว่างอุณหภูมิแรงจากการไหลของน้ำ และกระแสลม ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นมีลักษณะและกระบวนการของการเกิดตลอดจนลักษณะของพื้นที่ที่คล้ายกันของแหล่งอื่นๆดังนี้

สภาพโดยทั่วไป เสาเฉลียงจะมีลักษณะเป็น

แท่งหินรูปดอกเห็ดขนาดใหญ่  มีความสูงที่แตกต่างกัน        แท่งที่สูงที่สุดวัดจากระดับพื้นที่แท่งหินตั้งอยู่มีความสูงประมาณ 7 เมตรและแท่งที่เตี้ย   ที่สุดมีความสูงประมาณ 5 เมตร แท่งหินเหล่านี้จะเรียงตัวบนหินทางซ้ายของถนนที่จะไปยังผาแต้มซึ่งเป็นแหล่งภาพเขียนของมนุษย์                     ยุคก่อนประวัติศาสตร์

กระบวนการเกิดปรากฎการณ์ทางภูมิศาสตร์

 เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างของเสาเฉลียงที่ปรากฎจะพบว่า แท่งเสามีการเรียงตัวของชั้นหินออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วยชั้นล่างสุด เรียกว่า ชั้นฐาน จะมีความหนาจากพื้นที่ตั้งไปประมาณ 70 –100 เซนติเมตร ซึ่งเป็นชั้นหินทราย (sandstone) ในชั้นนี้มีแร่ควอร์ตซ์ (quartz) แร่เฟลดสปาร์ (fladspar) เป็นส่วนประกอบโดยมีซิลิกา(silica)เป็นเนื้อประสานทำให้มีความคงทนกัดกร่อน ชั้นที่ 2 ของเสาเฉลียงมีความหนาประมาณ 300-400 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายเสา ประกอบด้วยเม็ดทรายหยาบถึงหยาบมาก บางครั้งเรียกว่า หินกรวดขนาดเล็ก ซึ่งในชั้นนี้จะประกอบด้วยเม็ดทราย ซึ่งเป็นหินแปรหลายชนิด เช่น หินควอร์ตไซต์ (quartzite) หินดินดาน (shale) ซึ่งชั้นนี้จะมีความคงทนน้อยกว่าชั้นฐาน และชั้นบนสุดจะมีลักษณะคล้ายร่ม ประกอบด้วยหินทรายเป็นส่วนใหญ่ และมีความหนาประมาณ 100-120 เซนติเมตร ซึ่งเกิดจากการอัดและเรียงตัวของชั้นที่เป็นทรายละเอียด และมีความหนาแน่นทำให้ในชั้นนี้มีความคงทนมากที่สุด

ขั้นตอนการเกิดเสาเฉลียง จะเริ่มจากการผุสลายของหินทรายโดยเริ่มจากชั้นหินถูกอิทธิพลของอุณหภูมิทำให้เกิดการหดตัวและขยายตัวซึ่งเป็นผลจากอากาศที่ร้อนในเวลากลางวัน และเย็นในเวลากลางคืน ซึ่งการหดและขยายตัวดังกล่าว เป็นสาเหตุทำให้เกิดรอยแตกและรอยแยกขึ้นทั้งแนวดิ่งและแนวราบโดยมีขนาดที่แตกต่างกัน ตัวการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อมา ได้แก่ น้ำและลม จะทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น โดยน้ำจะกัดเซาะชั้นหินส่วนที่บางกว่า และลมพัดพาชั้นหินที่ผุพังและสลายตัวออกไป โดยลมคอยพัดเศษทรายให้เกิดการหลุดร่วง ซึ่งปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นโดยใช้เวลานับล้านๆปี จนทำให้ชั้นหินของเปลือกโลกซึ่งเป็นชั้นหินทราย เกิดเป็นเสาเฉลียง ดังที่ปรากฎขึ้นในปัจจุบัน

 




ประเพณีอีสาน

ซอกหามาเว่า article
ประเพณีอีสาน article
เลาะเบิ่งพระธาตุแดนอีสานเหนือ article
เลาะเบิ่งแดนอีสาน article
ผาชะนะได



Copyright © 2010 All Rights Reserved.