ReadyPlanet.com
dot dot




เลาะเลียบแดนอีสาน

 

 

ปราสาทหินพนมวัน

              ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลโพธิ์ จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ประมาณ 15 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางด้านขวามือ แยกเข้าไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร

 

           ปราสาทหินพนมวัน ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลโพธิ์ ถนนสายโคราช-ขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา เป็นโบราณสถานสถาปัตยกรรมในคติความเชื่อของเขมรโบราณ สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นเทวสถาน ต่อมาภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธสถาน เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย ตัวปราสาทหินพนมวันสร้างเป็นปรางค์มีฉนวน (ทางเดิน) ติดต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว 25.50 เมตร กว้าง 10.20 เมตร พระปรางค์มีประตูซุ้ม 3 ด้าน ซุ้มประตูด้านทิศเหนือ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประธานอภัย 1 องค์ ลักษณะศิลปะแบบอยุธยา รอบปราสาทเป็นลานกว้างมีระเบียงคดก่อด้วยหินกว้าง 54 เมตร ยาว 63.30 เมตร ประกอบด้วยประตูทางเข้า 4 ทิศ ทางด้านทิศตะวันออกมี "บาราย" หรือสระน้ำขนาดใหญ่ประจำชุมชน เรียกว่า "สระเพลง" ซึ่งยังคงสามารถใช้ประโยชน์ได้ถึงปัจจุบัน ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปรางค์มีอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงเรียกว่า "ปรางค์น้อย" ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินขนาดใหญ่ บริเวณโดยรอบปราสาทมี ระเบียงคต สร้างด้วยหินทรายและศิลาแลงล้อมเป็นกำแพงอยู่ ประตูทางเข้าเทวสถาน มีซุ้มประตูสลักหินทรายขนาดเล็กก่อสร้างเป็นรูปหอสูงทั้งสี่ทิศ บริเวณรอบนอก ปราสาททางด้านทิศตะวันออกห่างจากโบราณสถานเกือบ 300 เมตร มีร่องรอยของคู น้ำและเนินดิน เรียกกันแต่เดิมว่า "เนินนางอรพิมพ์" หรือ "เนินอรพิม" นอกจากนี้ยังพบศิลาแลงจัดเรียงเป็นแนวคล้ายซากฐานอาคารบนเนินแห่งนี้ด้วย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น "พลับพลาลงสรง" ในรูปแบบพิเศษที่ไม่เคยพบในที่อื่น ๆ ของประเทศไทย อาจใช้เป็นเรือนสำหรับรับรองเจ้านายหรือเป็นวังของผู้ปกครองเมืองพนมวัน แล้วก็เป็นพลับพลาพระตำหนักรับเสด็จพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หรือผู้แทนพระองค์ที่น่าจะเดินทางมาถึงปราสาทพนมวันในยุคพุทธศตวรรษที่ 18 เพื่อถวายพระพุทธรูปพระชัยพุทธมหานาถ และจากการขุดค้นทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากร ทำให้เรารู้ว่าปราสาทหินพนมวันสร้างขึ้นเป็นจนเป็นยอดปราสาทโดยสมบูรณ์แต่ก็พังทลายแบบถล่มลงมาอย่างรุนแรงทำให้ชิ้นส่วนรูปสลักที่มีอยู่ไม่มากนักกระทบกันจนแตกหัก เรือนยอดปราสาทแตกละเอียดเป็นชิ้นเล็กจนยากที่จะซ่อม ส่วนหน้าบันก็มีหลงเหลือจนเกือบครบทุกด้าน มีทั้งที่ยังไม่เริ่มแกะสลักไปจนถึงแกะสลักเสร็จแล้ว สิ่งที่น่าสนใจของปราสาทหินพนมวัน - เป็นศาสนสถานที่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ ถูกสร้างในแบบศาสนาพราหมณ์ แต่มีการค้นพบพระพุทธรูป - แผนผังของปราสาทหินพนมวันมีรูปแบบเดียวกันกับปราสาทหินพิมาย ใน ศิลปะร่วมแบบบาปวน - การก่อสร้างลำบากเพราะแถบนี้ไม่มีภูเขาหินทราย จึงต้องไปเอาหินทรายมา จากที่ไกลแล้วขนมา จึงใช้หินทรายแดงที่มีคุณภาพต่ำผสมกับหินทรายสีขาวเทาเพราะ แหล่งวัตถุดิบที่ใกล้สุดมีหินทรายทั้งสองสีผสมกัน



ปราสาทสระกำแพงใหญ่

อำเภออุทุมพรพิสัย   จังหวัดศรีสะเกษ

 

             ชื่อปราสาทสระกำแพงใหญ่ เป็นชื่อที่คนในสมัยปัจจุบันเรียกกัน ความจริงแล้วปราสาทหินเหล่านี้มีชื่อเรีกอันวิจิตรพิสดารซึ่งบรรพบุรุษผู้สร้างได้ตั้งขึ้น แต่เพราะเวลาที่ผ่านไปนาน และความรกร้างที่คืบคลานมาปกคลุมทำให้เราไม่อาจทราบชื่อที่แท้จริงของปราสาทได้ ดังนั้นจึงเรียกชื่อตามที่ตั้งหรือลักษณะทางกายภาพที่พบเห็น เช่น ปราสาทที่มีกำแพงสูงล้อมรอบ และมีสระน้ำอยู่ใกล้ๆก็เรียกว่าปราสาทสระกำแพงใหญ่

          ปราสาทหินทรายสีขาวแซมด้วยอิฐแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 500 ปีที่แล้ว เพื่อเป็นเทวาลัยถวายแด่พระศิวะ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นวัดในศาสนาพุทธนิกายมหายานเมื่อ 200 ปีต่อมา ลักษณะเป็นปรางค์ 3 หลัง ศิลปะบาปวน ปรางค์องค์กลางก่อด้วยหินทรายแซมด้วยอิฐ ส่วนปรางค์ 2 องค์ที่ขนาบข้างเป็นปรางค์อิฐ ในสมัยโบราณจะตกแต่งปรางค์ทั้ง3ด้วยหินทรายแกะสลักความงดงามของปราสาทหินแต่ละหลังมักหลงเหลืออยู่ที่ทับหลัง ปราสาทสระกำแพงใหญ่ก็เช่นกัน ที่นี่มีหน้าบัน และทับหลังหินทรายแกะสลักเรื่องราวของเทพเจ้าในศาสนาพรามหณ์อย่างละเอียดลอองดงาม บริเวณเดียวกันนั้นมีวัดสมัยปัจจุบันตั้งอยู่ด้วย

 



น้ำตกห้วยจันทร์article

                       น้ำตกห้วยจันทร์ 

 ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะ

ปราสาทหินพิมายarticle

 

 

 

 

ปราสาทหินพิมาย

ปราสาทนางบัวตูมarticle

 ปราสาทนางบัวตูม   อำเภอท่าตูม   จังหวัดสุรินทร์

   ตำนานปราสาทนางบัวตูมเล่าว่า มีฤาษีตนหนึ่งได้ไปเก็บดอกบัว บังเอิญพบทารกอยู่ในดอกบัว จึงได้นำมาเลี้ยงให้ชื่อว่า บัวตูม

วัดทุ่งศรีเมือง

 วัดทุ่งศรีเมือง   อำเภอเมือง    จังหวัดอุบลราชธานี

วัดทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วัดทุ่งศรีเมือง ตามประวัติระบุว่าตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๖

วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่)

            วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง (วัดป่าใหญ่)

           อำเภอเมืองฯ   จังหวัดอุบลราชธานี

วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง (วัดป่าใหญ่) พระอารามหลวงแห่งแรก ใน อุบลราชธานี

      วัดมหาวนาราม เดิมชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสสดี นิยมเรียกว่า วัดป่าใหญ่ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่บน ถ.หลวง ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี

วัดป่าแสงอรุณ

       วัดป่าแสงอรุณ

        อำเภอเมืองฯ   จังหวัดขอนแก่น

    วัดป่าแสงอรุณ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ในตำบลพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

วัดมหาพุทธาราม

                วัดมหาพุทธาราม (วัดพระโต) 

            อำเภอเมืองฯ  จังหวัดศรีสะเกษ

    วัดมหาพุทธาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ[1] สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ถนนขุขันธ์ ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

หาดชมดาว แก่งหินงาม

 หาดชมดาว หรือ แก่งชมดาว จ.อุบลราชธานี

        หาดชมดาว หรือ แก่งชมดาว อยู่ในบริเวณหมู่บ้านโนนตาล อำเภอนาตาล อุบลราชธานี

น้ำตกถ้ำโสดา

              น้ำตกถ้ำโสดา

อำเภอหนองพอก  จังหวัดร้อยเอ็ด

         น้ำตกถ้ำโสดา อยู่ใน ตำบลภูเขาทอง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด 

สามพันโบก

              สามพันโบก

      อำเภอโพธิ์ไทร   จังหวัดอุบลราชธานี

       แก่งสามพันโบก ตั้งอยู่บริเวณบ้านสองคอน เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขงซึ่งเกิดจากแรงน้ำที่กัดเซาะในช่วงฤดูน้ำหลากกลายเป็นแอ่งจำนวนมาก

สะพานดำศรีสะเกษ

     สะพานดำศรีสะเกษ

  อำเภอเมืองฯ    จังหวัดศรีสะเกษ

        จังหวัดศรีสะเกษห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 571 กิโลเมตร การเดินทางสะดวกทั้งทางรถยนต์และทางรถไฟ 

วัดสว่างภูมิกาวาส

         วัดสว่างภูมิกาวาส 

         อำเภอปลาปาก   จังหวัดนครพนม

ที่ตั้ง

           วัดสว่างภูมิกาวาสตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินสาย ๒๒๗๖ บ้านกุงโกน หมู่ที่ ๖ ตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

วัดกลางมิ่งเมือง

     วัดกลางมิ่งเมือง

    อำเภอเมือง    จังหวัดร้อยเอ็ด

     วัดกลางมิ่งเมือง  ตั้งอยู่เลขที่  ๔๒๙  ตำบลในเมือง  อำเภอเมืองร้อยเอ็ด  จังหวัดร้อยเอ็ด  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  มีเนื้อที่  ๗  ไร่  ๓  งาน  ๔๘  ตารางวา  อาณาเขตทิศเหนือจดถนนสุขบูรพา  ทิศใต้จดถนนผดุงพานิช  ทิศตะวันออกจดถนนเจริญพานิช  ทิศตะวันตกจดถนนดำรงราษฎร์วิถี 

วัดสระเกตุ

                 วัดสระเกตุ

     อำเภอสุวรรณภูมิ   จังหวัดร้อยเอ็ด

     ตั้งอยู่ตำบลน้ำคำ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2469 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร วิหารและอุโบสถได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ อาคารที่สำคัญ โดยกรมศิลากรได้เข้าบูรณะซ่อมแซมสิมและวิหารของวัดสระเกตุเมื่อปี พ.ศ. 2543 ได้แก่ วิหาร (อาฮาม)และอุโบสถ (สิม)รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นอีสานที่สร้างขึ้นภายใต้อิทธิพลของศิลปะลาวและศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

     อุททยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

       อำเภอบ้านผือ   จังหวัดอุดรธานี

ประวัติและความสำคัญ

    พุทธศักราช 2478 ราชบัณฑิตยสภาประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า “พระพุทธบาทบัวบก” อำเภอบ้านผือ ตำบลเมืองพาน

วัดภูมโนรมณ์

    วัดภูมโนรมย์

     อำเภอเมืองมุกดาหาร  จังหวัดมุกดาหาร

อลังการพญานาคองค์ใหญ่

อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ

                                         อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ

                       อำเภอดอนตาล  จังหวัดมุกดาหาร

เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา 

  ข้อมูลทั่วไป

ประติมากรรมหมู่หินถิ่นอีสาน

      อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ (มุกดาหาร) อยู่ในท้องที่อำเภอเมืองและอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีป่าเต็งรังบริเวณลานหินหรือภูเขาหิน และในฤดูฝนต่อฤดูหนาวจะเต็มไปด้วยไม้ดอกงดงามนานาชนิด ป่าเบญจพรรณบริเวณหุบเขา มีปรากฏการณ์และธรรมชาติที่สวยงาม หินมีลักษณะหรือรูปทรงแปลกๆ ถ้ำที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ น้ำตกและน้ำซับตลอดปี ตลอดจนมีสัตว์ป่านานาชนิด มีเนื้อที่ประมาณ 30,312.5 ไร่ หรือ 48.5 ตารางกิโลเมตร

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (ปราสาทเขาพนมรุ้ง)

           อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

     อำเภอเฉลมพระเกียรติ  จังงหวัดบุรีรัมย์

     อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศไทยภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่

วัดเหนือ

                                                         วัดเหนือ

                     อำเภอเมืองร้อยเอ็ด    จังหวัดร้อยเอ็ด

ประวัติวัดเหนือ

         เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่บนถนนเสนาเริ่มคิด  ย่านเก่าแก่ของเมืองวัดเหนือเป็นวัดที่ปรากฏหลักฐานชุมชนโบราณที่มีอายุกว่า 1000 ปีล่วงมาแล้ว 

วัดพระพุทธบาทภูพานคำ

 วัดพระพุทธบาทภูพานคำ

อำเภออุบลรัตน์    จังหวัดขอนแก่น

ก่อนหน้า123ถัดไป
[Go to top]



Copyright © 2010 All Rights Reserved.