ReadyPlanet.com
dot dot




เลาะเลียบแดนอีสาน

 

 

ปราสาทหินพนมวัน

              ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลโพธิ์ จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ประมาณ 15 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางด้านขวามือ แยกเข้าไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร

 

           ปราสาทหินพนมวัน ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลโพธิ์ ถนนสายโคราช-ขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา เป็นโบราณสถานสถาปัตยกรรมในคติความเชื่อของเขมรโบราณ สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นเทวสถาน ต่อมาภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธสถาน เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย ตัวปราสาทหินพนมวันสร้างเป็นปรางค์มีฉนวน (ทางเดิน) ติดต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว 25.50 เมตร กว้าง 10.20 เมตร พระปรางค์มีประตูซุ้ม 3 ด้าน ซุ้มประตูด้านทิศเหนือ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประธานอภัย 1 องค์ ลักษณะศิลปะแบบอยุธยา รอบปราสาทเป็นลานกว้างมีระเบียงคดก่อด้วยหินกว้าง 54 เมตร ยาว 63.30 เมตร ประกอบด้วยประตูทางเข้า 4 ทิศ ทางด้านทิศตะวันออกมี "บาราย" หรือสระน้ำขนาดใหญ่ประจำชุมชน เรียกว่า "สระเพลง" ซึ่งยังคงสามารถใช้ประโยชน์ได้ถึงปัจจุบัน ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปรางค์มีอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงเรียกว่า "ปรางค์น้อย" ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินขนาดใหญ่ บริเวณโดยรอบปราสาทมี ระเบียงคต สร้างด้วยหินทรายและศิลาแลงล้อมเป็นกำแพงอยู่ ประตูทางเข้าเทวสถาน มีซุ้มประตูสลักหินทรายขนาดเล็กก่อสร้างเป็นรูปหอสูงทั้งสี่ทิศ บริเวณรอบนอก ปราสาททางด้านทิศตะวันออกห่างจากโบราณสถานเกือบ 300 เมตร มีร่องรอยของคู น้ำและเนินดิน เรียกกันแต่เดิมว่า "เนินนางอรพิมพ์" หรือ "เนินอรพิม" นอกจากนี้ยังพบศิลาแลงจัดเรียงเป็นแนวคล้ายซากฐานอาคารบนเนินแห่งนี้ด้วย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น "พลับพลาลงสรง" ในรูปแบบพิเศษที่ไม่เคยพบในที่อื่น ๆ ของประเทศไทย อาจใช้เป็นเรือนสำหรับรับรองเจ้านายหรือเป็นวังของผู้ปกครองเมืองพนมวัน แล้วก็เป็นพลับพลาพระตำหนักรับเสด็จพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หรือผู้แทนพระองค์ที่น่าจะเดินทางมาถึงปราสาทพนมวันในยุคพุทธศตวรรษที่ 18 เพื่อถวายพระพุทธรูปพระชัยพุทธมหานาถ และจากการขุดค้นทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากร ทำให้เรารู้ว่าปราสาทหินพนมวันสร้างขึ้นเป็นจนเป็นยอดปราสาทโดยสมบูรณ์แต่ก็พังทลายแบบถล่มลงมาอย่างรุนแรงทำให้ชิ้นส่วนรูปสลักที่มีอยู่ไม่มากนักกระทบกันจนแตกหัก เรือนยอดปราสาทแตกละเอียดเป็นชิ้นเล็กจนยากที่จะซ่อม ส่วนหน้าบันก็มีหลงเหลือจนเกือบครบทุกด้าน มีทั้งที่ยังไม่เริ่มแกะสลักไปจนถึงแกะสลักเสร็จแล้ว สิ่งที่น่าสนใจของปราสาทหินพนมวัน - เป็นศาสนสถานที่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ ถูกสร้างในแบบศาสนาพราหมณ์ แต่มีการค้นพบพระพุทธรูป - แผนผังของปราสาทหินพนมวันมีรูปแบบเดียวกันกับปราสาทหินพิมาย ใน ศิลปะร่วมแบบบาปวน - การก่อสร้างลำบากเพราะแถบนี้ไม่มีภูเขาหินทราย จึงต้องไปเอาหินทรายมา จากที่ไกลแล้วขนมา จึงใช้หินทรายแดงที่มีคุณภาพต่ำผสมกับหินทรายสีขาวเทาเพราะ แหล่งวัตถุดิบที่ใกล้สุดมีหินทรายทั้งสองสีผสมกัน



ปราสาทสระกำแพงใหญ่

อำเภออุทุมพรพิสัย   จังหวัดศรีสะเกษ

 

             ชื่อปราสาทสระกำแพงใหญ่ เป็นชื่อที่คนในสมัยปัจจุบันเรียกกัน ความจริงแล้วปราสาทหินเหล่านี้มีชื่อเรีกอันวิจิตรพิสดารซึ่งบรรพบุรุษผู้สร้างได้ตั้งขึ้น แต่เพราะเวลาที่ผ่านไปนาน และความรกร้างที่คืบคลานมาปกคลุมทำให้เราไม่อาจทราบชื่อที่แท้จริงของปราสาทได้ ดังนั้นจึงเรียกชื่อตามที่ตั้งหรือลักษณะทางกายภาพที่พบเห็น เช่น ปราสาทที่มีกำแพงสูงล้อมรอบ และมีสระน้ำอยู่ใกล้ๆก็เรียกว่าปราสาทสระกำแพงใหญ่

          ปราสาทหินทรายสีขาวแซมด้วยอิฐแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 500 ปีที่แล้ว เพื่อเป็นเทวาลัยถวายแด่พระศิวะ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นวัดในศาสนาพุทธนิกายมหายานเมื่อ 200 ปีต่อมา ลักษณะเป็นปรางค์ 3 หลัง ศิลปะบาปวน ปรางค์องค์กลางก่อด้วยหินทรายแซมด้วยอิฐ ส่วนปรางค์ 2 องค์ที่ขนาบข้างเป็นปรางค์อิฐ ในสมัยโบราณจะตกแต่งปรางค์ทั้ง3ด้วยหินทรายแกะสลักความงดงามของปราสาทหินแต่ละหลังมักหลงเหลืออยู่ที่ทับหลัง ปราสาทสระกำแพงใหญ่ก็เช่นกัน ที่นี่มีหน้าบัน และทับหลังหินทรายแกะสลักเรื่องราวของเทพเจ้าในศาสนาพรามหณ์อย่างละเอียดลอองดงาม บริเวณเดียวกันนั้นมีวัดสมัยปัจจุบันตั้งอยู่ด้วย

 



;วัดภูพร้าว

            วัดภูพร้าว

อำเภอสิรินธร   จังหวัดอุบลราชธานี

หอโหวด

           หอโหวด 

อำเภอเมืองฯ  จังหวัดร้อยเอ็ด

วัดถ้ำชาม

             วัดถ้ำขาม

       ตำบลนาหัวบ่อ  อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนค

ปราสาทสร้างปี่

                          ปราสาทช่างปี่   

       อำเภอศีขรภูมิ   จังหวัดสุรินทร์

วัดป่าวิเวกวัฒนาราม

 วัดป่าวิเวกวัฒนาราม

จุดชมวิวผาเสวยarticle

                                        จุดชมวิวผาเสวยภูพาน

กู่คันทนาม

 กู่คันทนาม อำเภอโพนทราย  จังหวัดร้อยเอ็ด

ปราสาททองหลางarticle

 ปราสาททองหลาง   ปราสาทแห่งเดียวในอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

สิมโบราณวัดแจ้ง

 สิม(อุโบสถ) วัดแจ้ง   อำเภอเมืองฯ   จังหวัดอุบลราชธานี

สะพานเทพสุดา

 สะพานเทพสุดา  จังหวัดกาฬสินธุ์

ส่องข้ามลำน้ำของ

 ส่องข้ามลำน้ำของ

พระธาตุยาคู

 พระธาตุยาคู    กาฬสินธุ์

วัดทุ่งเศรษฐี

 วัดทุ่งเศรษฐี

ปราสาทโดนตรวล

 ปราสาทโดนตรวล

ปราสาทสระกำแพงใหญ่

ปราสาทสระกำแพงใหญ่

 

 

สะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 3

    สะพานมิตรภาพไทยลาวแห้งที่ 3   อ.เมือง จ.นครพนม   

  สะพานที่ข้าแม่น้ำโขงระหว่างจังหวัดนครพนม ประเทสไทย กับแ แขวงคำม่วน ประเทศสาธารณรัฐประธิปไตยประชาชนลาว

เถาวัลย์ยักษ์article

เถาวัลย์ยักษ์

บ้านทุ่งนาเมือง ต.นาโพธิ์กลาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

เถาวัลย์ยักษ์ เป็นเถาวัลย์ที่มีขนาดใหญ่อายุราว 400 ปี มีความยาวกว่า 1 กิโลเมตร และมีตำนานเล่าขานที่น่าศึกษา ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเครือไม้ต้องห้าม อยู่ใกล้กับน้ำตกทุ่งนาเมือง ราว 50 เมตร ซึ่งจะเห็นน้ำตกอยู่ด้านหลัง

น้ำตกภูละออarticle

 

น้ำตกภูลออ

อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ

          เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติที่น้ำตกภูละออ อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 221 (กันทรลักษ์-ผามออีแดง) ระยะทางประมาญ 23 กิโลเมตร ถึงบ้านภูมิซรอล เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางบ้านภูมิซรอล - น้ำตกสำโรงเกียรติ ประมาณ 8 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายสู่น้ำตกภูละอออีก 2.5 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดสาย

 

เครื่องดนตรีอีสาน

ประวัติความเป็นมาของแคน

         แคน เป็นชื่อเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ แคนเป็น เครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป่าให้เป็นเพลง ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้ แต่ก็มีประวัติที่เล่า เป็นนิยายปรัมปราสืบต่อกันมา ดังต่อไปนี้ หญิงหม้ายผู้คิดประดิษฐ์ทำแคน

เครื่องดนตรีอีสาน

 

                                       พิณ

            พิณพื้นเมือง ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปเช่น ทางจังหวัดอุบลราชธานี เรียกพิณว่า "ซุง" น่าจะเรียกมาจากท่อนไม้ที่นำมาทำ ทางจังหวัดชัยภูมิเรียกว่า "เต่ง" หรือ "อีเต่ง" หนองคายเรียกว่า "ขยับปี่" นอกจากนั้นยังมีเรียกแตกต่างออกไปอีก เช่น ซึง หมากจับปี่ หมากตดโต่ง หมากตับเต่ง เป็นต้น พิณทำด้วยไม้ เช่น ไม้ขนุน (ไม้บักมี่) เพราะมีน้ำหนักเบาและให้เสียงทุ้มกังวานไพเราะกว่าไม้ชนิดอื่น มีรูปร่างคล้ายกีตาร์แต่ฝีมือหยาบกว่า พิณอาจจะมี 2 สาย 3 สาย หรือ 4 สายก็ได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 คู่ เป็นสายเอก 2 สาย และสายทุ้ม 2 สาย ดั้งเดิมใช้สายลวดเบรครถจักรยานเพราะคงทนและให้เสียงดังกว่าสายชนิดอื่น แต่ในปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์แทน การขึ้นสายไม่มีระบบแน่นอน นมหรือขั้น (Fret) ที่ใช้นิ้วกดบังคับระดับเสียงจะไม่ฝังตายตัวเหมือนกีตาร์หรือแมนโดลิน การเล่นก็เล่นเป็นเพลงเรียกว่าลาย โดยมากพิณจะเล่นคู่กันกับแคน

[Go to top]



Copyright © 2010 All Rights Reserved.