ReadyPlanet.com
dot dot




ประเพณีอีสาน

 

 

ประเพณีอีสาน

 

     

 

 

 

 

 

  



เลาะเบิ่งพระธาตุแดนอีสานเหนือarticle

 

 

 

 

 

พระธาตุพนม

อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม

 

      พระธาตุพนม เป็นพระธาตุที่เก่าแก่ และเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทยทั้งประเทศ เป็นที่เคารพของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวลาวในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  ประวัติความเป็นมากล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 8 ในแต่ละปีจะมีประเพณีงานนมัสการระธาตุพนมจะมีขึ้นตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี และในตอนเช้าของวันออกพรรษาจะมีประเพณีการรำบรวงสรวงพระธาตุพนมที่บริเวณลานหน้าพระธาตุของประชาชนอำเภอต่างๆก่อนจะมีการไหลเรือไฟที่ลำแม่น้ำโขงจังหวัดนครพนมในตอนกลางคืน

 

 

 

 

 พระธาตุท่าอุเทน

อำเภอท่าอุเทน   จังหวัดนครพนม

             พระธาตุท่าอุเทน รูปทรงของพระธาตุคล้ายพระธาตุพนม สูงจากพื้นดินถึงยอด 33 วา ฐานกว้างด้านละ 6 วา 3 ศอก พระอาจารย์ ศรีทัตถ์เป็นผู้สร้างขึ้นเมืองปี พ.ศ. 2455 พระธาตุนี้เป็นศิลปกรรมและปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งองค์หนึ่ง บรรจุ พระธาตุของพระอรหันต์ซึ่งพระอาจารย์ศรีทัตถ์ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่าครับ การเดินทางไป นมัสการพระธาตุท่าอุเทนนี้ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 212 ไปยังอำเภอท่าอุเทน 26 กิโลเมตร ถึงที่ว่าการอำเภอ ท่าอุเทน ซึ่งอยู่ใกล้วัดพระธาตุท่าอุเทน และอยู่ตรงข้ามกับเมืองหินบูรณ์ แขวงคำม่วง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (เป็นเมืองประวัติศาสตร์ของอาณาจักรศรีโครบูรณ์ในอดีต)

   (ข้อมูลเพิ่มเติมคลิ๊กภาพด้านบน)

 

 

 

เลาะเบิ่งแดนอีสานarticle

                                                        

ทุ่งดอกกระเจียว

อำเภอเทพสถิตย์    จังหวัดชัยภูมิ

        เมื่อถึงเวลาเริ่มต้นแห่งการจำพรรษาของพระภิกษุในแต่ละปีจะมาถึงนั้นจะเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเริ่มต้นของชีวิตอันงดงามไปด้วยสีสันของดอกไม้ในตระกูล Curcuma ชื่อ C.parviflora wall ที่เมื่อเหง้าซึ่งหลับใหลอยู่ใต้ดินถูกปลุกให้ตื่นขึ้นด้วยสายฝนแห่งการเริ่มต้นพรรษา พืชชนิดนี้ก็จะแทงใบสีเขียวขึ้นเหนือพื้นสัก 3-4 ใบก่อนจะส่งช่อดอกสีเขียวไล่โทนหาชมพูสด อวดความงามตามออกมา นั่นคือ ดอกกระเจียว

 

 

 

                                 (ข้อมูลเพิ่มเติมคลิ๊กภาพด้านบน)

            

 

 

ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก

 แห่มาลัยข้าวตอก

         ชาวบ้านฟ้าหยาด (อำเภอมหาชนะชัย) แห่งเมืองบั้งไฟโก้ยโสธร จะนำ "ข้าวตอกสีขาว" มาร้อยเป็นมาลัยสายยาว แทน "ดอกมณฑารพ" แห่งสรวงสวรรค์ เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ใน "งานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก" ที่งดงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ของชุมชนลุ่มน้ำชี แห่งบ้านฟ้าหยาด ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ชาวบ้านจะนำข้าวตอกมาร้อยเป็นมาลัยสายยาวแทน "ดอกมณฑารพ" อันเป็นดอกไม้ทิพย์แห่งสรวงสวรรค์ แล้วจัดขบวนแห่ไปถวายเพื่อเป็นพุทธบูชาเนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสานที่สืบทอดต่อเนื่องกันมา เฉพาะที่ชุมชนบ้านฟ้าหยาดแห่งนี้ เท่านั้น

ประเพณีบุญเข้ากรรม

         ประเพณีบุญเข้ากรรม

       ภิกษุต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นอาบัติ ญาติโยมแม่ออกแม่ตน ผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทานรักษาศีลฟังธรรม เกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุ เรียกว่า บุญเข้ากรรม กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยม ทำเป็นส่วนมากคือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เพราะเหตุกำหนดให้ทำในระหว่างเดือนเจียงจึงเรียกว่า บุญเดือนเจียง นิมนต์สังฆเจ้าเข้ากรรมฯ ชาวบ้านเลี้ยงผีแถนและผีต่างๆ

ประเพณีการลำผีฟ้า (แถน)

ประเพณีการลำผีฟ้า (แถน)

    ประเพณีการลำผีฟ้า เป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติกันโดยทั่วไปในตำบลสระกำแพงใหญ่ โดยเฉพาะที่บ้านหนองม้า จะมีการจัดอย่างยิ่งใหญ่ มีความสวยงามและน่าเชื่อถือมาก การลำผีฟ้าชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าการลำข่วง มูลเหตุในการจัดพิธีก็เนื่องจากการลำบวงสรวงบูชาเพื่อความเป็นศิริมงคลและเพื่อปัดเป่าอาการเจ็บไข้ได้ป่วย

 

ประเพณีพิธีสู่ขวัญ

 ประเพณีพิธีบายศรีสู่ขวัญ

การสู่ขวัญ  ชาวอีสานของเราจะมีความเชื่อว่าในร่างกายของคนเรานั้นประกอบด้วยอวัยวะครบ 32 ส่วน  และแต่ละส่วนก็จะมีขวัญอยู่ประจำ หากเกิดเหตุเภทภัยอะไรขึ้นที่ได้รับความกระทบกระเทือนตกใจไม่ว่าดีใจหรือเสียใจก็จะทำให้ขวัญนั้นออกไปจากร่างกาย จะเกิดให้มีการเจ็บป่วยบางครั้งก็จะถึงกับเสียชีวิตในที่สุด

ประเพณีเลี้ยงผีปู่ตา

      ผีปู่ตา เป็นผีประจำหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่าผีปู่ตาจะเป็นผีที่ให้ความคุ้มครองชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ทั้งชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้าน และชาวบ้านที่จากไปทำงานนอกบ้านเป็นเวลานาน ๆ

ประเพณีถวายเทียนพรรษาarticle

      ประเพณีถวายเทียนพรรษา

    ประเพณีถวายเทียนพรรษา  เป็นประเพณีที่ชาวพุทธจะกระทำในวันเข้าพรรษาทั่วไปในท้องถิ่นอีสาน  แล้วแต่ความพร้อมในแต่ละชุมชน บางพื้นที่ก็จัดยิ่งใหญ่  แต่จุดประสงค์ก็คือการนำเทียนไปถวายพระสงฆ์เพื่อให้มีแสงสว่างในการศึกษาเล่าเรียนหรือทำกิจในช่วงจำพรรษา 3 เดือน

      งานแห่เทียนพรรษาที่ยืงใหญ่ในประเทศไทยก็คงเป็นงานแห่เทียนพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งจะมีต้นเทียนมากมายมาร่วมงานล้วนสวยงาม มี่ทั้งประเภท แกะสลัก  และติดพิมพ์  ตลอดจนต้นเทียนโบราณ  แต่คุ้มวัดหรืออำเภอที่เข้าร่วมงานก็จะมีขบวนแห่ที่สวยงาม นอกนั้นยังมีกิจกรรมหลากหลายให้ได้ชมอีกด้วย ไม่ซ้ำกันในแต่ละปี   จึงไม่ควรพลาดโอกาสดีๆอย่างนี้.

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง

          ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง

    ประเพณีปราสาทผึ้ง เป็นประเพณีในวันอออกพรรษา  ประเพณีที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสกลนคร

ประเพณีการผูกเสี่ยว

            ประเพณีการผูกเสี่ยว

เสี่ยว ภาษา อีสาน  มีความสำคัญมากสำหรับคนอีสาน เพราะเสี่ยว หมายถึงเพื่อนรัก เกลอ ที่รักกันมากๆ หากเป็นเสี่ยวกันแล้วจะรักสนิทสนมและช่วยเหลือกันแม้แต่ชีวิตก็สามารถสละแทนกันได้

ประเพณีกินดอง (การแต่งงาน)

               ประเพณีแต่งงานแบบอีสาน

 การเเต่งงาน ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “กินดอง” มีความหมายว่า จะดองเป็นวงศาคณาญาติต่อไปในกาลข้างหน้า ประเพณีนี้เป็นประเพณีรักระหว่างชายหนุ่มและฝ่ายหญิงสาวที่สมัครรักใคร่จะเป็นสามีภรรยากันคือเริ่มต้นแต่มี“ประเพณีกินดอง” การสู่ขอ การหมั้น และการแต่งงานประเพณีกินดอง เช่นในจังหวัดขอนแก่น พิธีนี้ฝ่ายชายจะขึ้นบนเรือนของหญิงตามลำพังสองต่อสองในยามค่ำคืน ในขณะที่กำลังสนทนากันอยู่นั้น ผู้หญิงจะถือโอกาสทำงานไปด้วย เช่น ปั่นฝ้าย กรอไหมและทอเสื่อเป็นต้น จนกระทั่งทั้งสองมีความพึงพอใจซึ่งกันและกัน จนถึงขั้นพิธีสู่ขอ 

ผาชะนะได

ผาชะนะได

อำเภอโขงเจียม   จังหวัดอุบลราชธานี

        ผาชะนะได เป็นหน้าผาที่มีความสูงชัน ซึ่งเป็นจุดที่เห็นตะวันขึ้นเป็นจุดแรกของประเทศไทย ทิวทัศน์เบื้องล่างจะเป็นแม่น้ำโขงกั้นแบ่งเขต ไทย - ลาว เบื้อง หน้าเป็นภูเขาแดนลาว ที่สลับซับซ้อนมองดูสวยงาม ฤดูหนาว นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับความสวยงามของทะเลหมอก เหนือลำน้ำโขง และด้วยเหตุที่เป็นจุดที่เห็นตะวันขึ้นเป็นจุดแรก การรายงานข่าวของสำนักข่าวแห่งประเทศไทยได้เอาเป็นจุดรายงานดวงอาทิตย์ขึ้น เป็นแห่งแรกของประเทศ ผาชะนะได จะมีความหมายว่า การลงชื่อด้วยฝ่ามือ (ชะนะ เป็นคำเพี้ยนมาจากภาษาถิ่นโบราณ ว่า ซะนาม แปลว่าการลงชื่อ ส่วน คำว่าได แปลว่า มือ หรือ ฝ่ามือ ซึ่งจะปรากฏหลักฐานจากสถานที่ใกล้เคียง เช่น ถ้ำฝ่ามือแดง โหง่นแต้ม

ประเพณีเข้ากรรม

ประเพณีบุญเข้ากรรม

ภูลังกา
พระธาตุเรืองรอง
พระธาตุเรืองรอง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
ประเพณีฮดสรง

ประเพณีการฮดสรง

      พิธีเถราภิเษกหรือฮดสรง งานประเพณีโบราณของชาวอีสาน กิจกรรมที่ชาวบ้านจัดขึ้นเพื่อยกย่องพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีคุณธรรม มีความสามารถในชุมชนขึ้นเป็น สำเร็จ ซา คู ฯลฯ การทำพิธีเถราภิเษกมอบถวายสมณศักดิ์กันในระดับชาวบ้านโดยชาวบ้าน เพื่อประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่ายในชุมชน...นิยมทำในเดือนเมษายน หรืออาจจัดทำพิธีขึ้นเองในงานบุญตามประเพณี...

        ฮางฮด(ภาษาอีสานออกเสียง รด เป็น ฮด) ฮางฮด ฮางรินหรือรางริน เป็นรางรดน้ำทำด้วยไม้เป็นรูปพญานาค บางแห่งก็เป็นรูปเหรา หรือมกร(มะ-กะ-ระ) ลำตัวเขียนหรือแกะสลักลวดลายให้สวยงาม หลังพญานาคทำราวเหล็กสำหรับติดเทียนกิ่งหรือเทียนหง่าและเทียนกาบ บูชา ๑ ราว บริเวณคอพญานาค มีใบคูณใบยอ หญ้าแพรกและใบตองรองพื้น เอาผ้าผืนบาง ๆ ห่อพันกล่องหลาบ ข้างในห่อด้วย เครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องนาก เขี้ยว งา พระเครื่อง เพื่อให้น้ำที่ฮดสรงไหลและรดลงมายังพระภิกษุผู้รับได้รับถวายการฮดสรง และที่สำคัญพระเถระบางรูปเป็นผู้ทรงพุทธวิทยาคมขั้นสูง น้ำที่สรงจะมีชาวบ้านน้ำไปพรมที่ศรีษะล้างหน้าล้างตาเพื่อความเป็นสิริมงคล…

         .การตั้งฮางฮด ให้ห่างจากศาลาโรงธรรมอย่างน้อยประมาณ ๑๐ วา ปลูกต้นกล้วยต้นอ้อยสองข้างทาง ใช้ผ้าขาวคาดเป็นเพดานจากโรงธรรมถึงฮางฮด หันหัวนาคฮางฮดไปทางทิศเหนือ หางนาคไปทางทิศใต้ ทำห้องสรงไว้ทางหัวนาค กั้นห้องสรงให้มิดชิด และให้หัวนาคอยู่ตรงบนห้องสรง หางนาคให้อยู่นอกห้องสรงปลูกศาลเพียงตาขึ้นที่สองข้างฮางฮด สำหรับตั้งบายศรีซ้ายขวา นำก้อนศิลามงคลไปวางไว้ใต้ฮางฮด รางรินหรือฮางริน รูปแบบการใช้งานเป็นรางยาวประมาณ3-4 เมตร บางแห่งอาจสั้นหรือยาวกว่านี้ก็มี.

 

ประเพณีแห่เทียนพรรษา

งานแห่เทียนพรรษา

      งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมบริจาคเทียนเอามาหลอม หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่คณะไปในตัว การสรรหาภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีฝีมือทางช่าง มีความรู้ ความชำนาญในเรื่อง การทำลวดลายไทย การแกะสลักลวดลายลงบน ต้นเทียน การทำเทียนให้เป็นลายไทย แล้วนำไปติดบนต้นเทียน การประดับด้วยผ้าฝ้าย ผ้าไหม ดอกไม้สด ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของช่างในท้องถิ่น ส่วนการจัดขวนแห่ก็ล้วนแต่ใช้ของพื้นเมือง เช่น เครื่องแต่งกายขอขบวนฟ้อน จะใช้ผ้าพื้นเมืองเป็นหลัก การฟ้อนรำจะใช้ท่ารำที่ดัดแปลงมาจาก วิถีชีวิต การทำมาหากินของชาวบ้าน เป็นท่ารำในรูปแบบของศิลปะที่งดงาม ดนตรีประกอบก็เป็น เครื่องดนตรีประจำถิ่น ผสมเข้ากับการขับร้องที่สนุกสนานเร้าใจ ทำให้งานประเพณีนี้ยิ่งใหญ่ ประชาชนต่างเฝ้ารอคอย

ทุ่งดอกกระเจียวarticle

ทุ่งดอกกระเจียว

อำเภอเทพสถิต  จังหวัดชัยภูมิ

          กระเจียวเป็นพืชล้มลุกประเภทหัว พบเป็นพันธุ์ไม้ประจำถิ่นที่ขึ้นมากที่สุดในประเทศไทย ณ แห่งนี้ ปกติจะพบขึ้นกระจายทั่วไปตั้งแต่ลานหินงามจนถึงจนชมวิวสุดแผ่นดิน 1 กิโลเมตร ดอกกระเจียวจะขึ้นและบานเป็นสีชมพูอมม่วง สวยงามในช่วงต้นฤดูฝนเท่านั้น คือ เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี

หม่องนั่งเซาเหมื่อย
วรรณกรรมอีสาน

เพลงกล่อมเด็กอีสาน

ธรรมชาติแดนอีสาน
น่ำตกสร้อยสวรรค์  อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุบลราชธานี
ก่อนหน้า1ถัดไป
[Go to top]



Copyright © 2010 All Rights Reserved.