ReadyPlanet.com
dot





ปราสาทเมืองต่ำ

 ปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่บริเวณบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากปราสาทพนมรุ้งมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร

              ปราสาทเมืองต่ำ เป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะ มีลักษณะเป็นศาสนสถานประจำเมืองหรือชุมชน จากการศึกษาทางโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณในละแวกนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่ เช่น ชุมชนบ้านโคกเมือง โคกยายคาน โคกสลองตอง เป็นต้น โบราณวัตถุที่ขุดพบ ได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ภาชนะดินเผาเนื้อดิน เครื่องถ้วยชามเคลือบสีน้ำตาลและเคลือบสีเขียว เป็นจำนวนมาก

   

หลักฐานเหล่านี้แสดงถึงการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่มีอายุใกล้เคียงกับการสร้างปราสาท ซึ่งเป็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบคลัง และบาปวน กำหนดอายุประมาณครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 หรือราว 1,000 ปีมาแล้ว

 

   ตำแหน่งที่ตั้งของปราสาทเมืองต่ำ อยู่บนเส้นทางอารยธรรมขอมจากเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา ขึ้นสู่ทางเหนือผ่านเทือกเขาพนมดงรัก ผ่านกลุ่มปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์ ผ่านปราสาทเมืองต่ำสู่ปราสาทพนมรุ้ง ไปยังปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อาจกล่าวได้ว่าชุมชนโบราณที่ปราสาทเมืองต่ำมีความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณใกล้เคียง บนเส้นทางอารยธรรมขอมจากเมืองพระนคร สู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

 

  

 

           ปราสาทหินเมืองต่ำ  ตั้งอยู่ที่ตำบลจระเข้มาก  เป็นปราสาทขอมที่มีสถาปัตยกรรมสวยงามโดดเด่นน่าชมอีกแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์  ประวัติความเป็นมาของปราสาทหินเมืองต่ำยังไม่ทราบชัดเพราะไม่พบหลักฐานที่แน่นอนว่าสร้างขึ้นเมื่อใด หรือใครเป็นผู้สร้าง มีลักษณะของศิลปะขอมแบบบาปวน ซึ่งมีอายุอยู่ในราว พ.ศ. 1550-1625 และมีลักษณะของศิลปะขอมแบบคลังซึ่งมีอายุราว พ.ศ. 1508-1555 ปะปนอยู่ด้วย ภาพสลักส่วนใหญ่เป็นภาพเทพในศาสนาฮินดู จึงอาจกล่าวได้ว่า ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-17 เพื่อใช้เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู 

             ตัวปราสาท ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างหลัก คือ ปรางค์อิฐ 5 องค์ สร้างอยู่บนฐานเดียวกัน ก่อด้วยศิลาแลง องค์ปรางค์ทั้ง 5 ตั้งเรียงกันเป็น 2 แถว แถวหน้า 3 องค์ แถวหลัง 2 องค์ ปรางค์ประธานซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ตรงกลางแถวหน้า ปัจจุบันคงเหลืออยู่เพียงส่วนฐาน ส่วนองค์อื่น ๆ ที่เหลืออยู่ก็มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ ปรางค์ทุกองค์มีประตูเข้าสู่ภายในปรางค์ได้ด้านเดียว คือ ด้านทิศตะวันออก ด้านอื่นทำเป็นประตูหลอก แต่ปรางค์ประธานมีมุขหน้าอีกชั้นหนึ่ง การขุดแต่งบริเวณปรางค์ประธานได้พบทับหลังประตูมุขปรางค์ สลักเป็นภาพเทพถือดอกบัวขาบประทับนั่งเหนือหน้ากาล แวดล้อมด้วยสตรีเป็นบริวาร หน้าบันสลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ส่วนทับหลังประตูปรางค์สลักเป็นเทพนั่งชันเข่าเหนือหน้ากาล และยังได้พบชิ้นส่วนลวดลายปูนปั้นประดับฐานอีกด้วย แสดงว่าปรางค์เหล่านี้ได้เคยมีปูนฉาบและปั้นปูนเป็นลวดลายประดับตกแต่งอย่างงดงาม สำหรับปรางค์บริวารอีก 4 องค์นั้นยังคงมีทับหลังติดอยู่เหนือประตูทางเข้า 2 องค์ คือ องค์ที่อยู่ทางทิศเหนือของแถวหน้า และองค์ทิศใต้ของแถวหลัง สลักภาพพระศิวะอุ้มนางอุมาบนพระเพลา ประทับนั่งอยู่บนหลังโคนนทิ และภาพพระวรุณทรงหงส์ ตามลำดับ จากการขุดแต่งได้พบยอดปรางค์ทำด้วยหินทรายสลักเป็นรูปดอกบัว ตกอยู่ในบริเวณฐานปรางค์ หน้ากลุ่มปรางค์ยังมีวิหารเป็นอาคารก่ออิฐ 2 หลัง ตั้งหันหน้าตรงกับปรางค์ที่อยู่ด้านข้างทั้งสององค์ สิ่งก่อสร้างดังกล่าว ล้อมรอบด้วยกำแพงสองชั้น กำแพงชั้นในก่อด้วยหินทรายเป็นห้องแคบ ๆ ยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม ที่เรียกว่า ระเบียงคด กำแพงชั้นนอกเป็นกำแพงศิลาแลง กำแพงทั้งสองชั้นมีซุ้มประตูอยู่ในแนวตั้งตรงกันทั้ง 4 ด้าน ซุ้มประตูทั้งหมดยกเว้นซุ้มประตูของประตูชั้นในด้านทิศตะวันตกก่อด้วยหินทราย สลักลวดลายในส่วนต่าง ๆ อย่างงดงาม ตั้งแต่หน้าบัน ทับหลัง เสาติดผนัง ฯลฯ เป็นภาพเล่าเรื่องในศาสนาฮินดูและลวดลายที่ผูกขึ้นจากใบไม้ ดอกไม้ที่มักเรียกรวม ๆ ว่า ลายพันธุ์พฤกษา

 ระหว่างกำแพงชั้นในและกำแพงชั้นนอก เป็นลานกว้างปูด้วยศิลาแลง มีสระน้ำขุดเป็นรูปหักมุมตามแนวกำแพงอยู่ทั้ง 4 มุม กรุขอบสระด้วยแท่งหินแลงก่อเรียงเป็นขั้นบันไดลงไปยังก้นสระ ขอบบนสุดทำด้วยหินทรายเป็นลำตัวนาคซึ่งชูคอแผ่พังพานอยู่ที่มุมสระ เป็นนาค 5 เศียรเกลี้ยง ๆ ไม่มีเครื่องประดับศีรษะ  ปราสาทหินเมืองต่ำ เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา 06.00-18.00  น. ค่าเข้าชม คนไทย 20 บาท  ชาวต่างประเทศ 100 บาท สอบถามรายละเอียด โทร. 0 4478 2715 โทรสาร 0 4478 2717

 การเดินทาง  จากบุรีรัมย์ใช้ทางหลวงหมายเลข  219  จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข  24  และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหมายเลข  2117  ก็จะสังเกตเห็นปราสาทเมืองต่ำ (อยู่ห่างจากปราสาทพนมรุ้งประมาณ  8  กิโลเมตร)

 

สมาชิก Travel MThai ทราบกันดีว่า บนที่ราบสูงของปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เป็นหนึ่งจุดท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในจังหวัดบุรีรัมย์ แต่ ณ บริเวณอีกฝากของเขาพนมรุ้ง ยังมีแดดอุ่นนวลทาบไล้ลวดลายจำหลักบนหินทรายอันวิจิตรตระการตาของ ปราสาทหินเมืองต่ำ ที่รอให้นักท่องเที่ยวไปสัมผัสความงดงามอยู่เช่นกันครับ

 

  



สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่3

          สะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 3 

         ข้ามลำน้ำโขง ที่จังหวัดนครพนม

วัดล้านขวด

 

วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว(วัดล้านขวด)

อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ

              ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านดอน ต.โนนสูง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ได้ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยมีพระครูวิเวกธรรมจารย์ (รอด) ถิรคุโณ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกจนถึงปัจจุบัน พื้นที่บริเวณวัด 18 ไร่ พระภิกษุ 8 รูป สิ่งปลูกสร้างมีอุโบสถ (ริมน้ำ) 1 หลังศาลาการเปรียญ  1 หลัง กุฎิ 8 หลัง  ศาลาเอนกประสงค์ 1 หลังเป็นศาสนสถาน และสิ่งก่อสร้าง ในบริเวณวัดประดับตกแต่งด้วยขวดแก้ว หลากสีหลายแบบนับล้าน ๆ ขวด ในแต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม และร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก

 

 

เว้านัวหัวหม่วน

เว้าอีสานสัปดาห์ละควม

                                                                                      อ.ประสม  บุญป้อง

          “เมื่อยังมีชีวิต ก็ยังมีความหวัง” สวัสดีครับพบกันอีกครั้ง  แต่ก็ยังต้องสู้อดทนต่อไป ไหนๆก็เกิดมาแล้ว ท้อไปก็ไร้ความหมายไม่มีอะไรจะดีขึ้น มาสู้กันดีกว่า มีชีวิตก็ต้องสู้ สู้เท่านั้นจึงจะได้ในสิ่งที่คาดหวัง ปัญหาก็คือปัญหา ทุกชีวิตเกิดเพื่อแก้ปัญหาไม่ใช่หนีปัญหา  ข้าวของราคาแพงในวันนี้ดีที่ทำให้ได้ฝึกความอดทนและปรับตัว ขอเป็นเพื่อนร่วมสู้ชีวิตและเป็นกำลังใจกับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันหนึ่งต้องไปถึงจุดหมายแน่ อขเพียงแต่อย่าท้อ

            ครับทิ้งปัญหาไปมาพบคำอีสานใหม่ในสัปดาห์นี้    คำว่า “เต๊ะเซะ”

คำว่า “เต๊ะเซะ” เป็นคำที่บอกลักษณะของการหย่อนหรือยานของสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ห้อยย่อนยานลง  เช่นเชือกเส้นหนึ่งมีขนาดใหญ่ปลายเชือกทั้งสองข้างพาดอยู่บนราวไม้และเชือกส่วนกลางหย่อนยานลงมา เรียกว่า ยานเต๊ะเซะ หรือลักษณะหน้าอกผู้หญิงที่มีขนาดใหญ่หย่อนยาน เรียกว่า นมยานเต๊ะเซะ หากขนาดเล็ก เรียกว่า ยานแต๊แซะ

             วันนึ่งหนุ่มเจ้าสาวอีสาน ออกจากบ้านไปเที่ยวทุ่งนา ขณะที่ทั้งคู่กำลังเดินเคลียร์คลอกันไปตามถนนที่สองข้างทางล้อมรอบด้วยต้นไม่น้อยใหญ่ ได้มองไปเห็นเถาวัลย์ขนาดใหญ่ทอดหย่อนยานข้ามช่องทางจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่งอยู่เบื้องหน้า สาวเจ้าจึงชี้มือไปข้างพร้อมพูดกับหนุ่มขึ้นว่า  “นั่นเคืออี่หยังยานเต๊ะเซะขวางทางอยู่นั่น ไผมาดึงลงหนอ”  นั่นเถาว์อะไรหย่อนยานลงมาขวางถนน ใครมาดึงมันลงมาหนอ  สัปดาห์หน้าพบกันใหม่ครับ.

             

          สัปดาห์นี้ก็เช่นเคยมารู้คำอีสาน กับคำว่า  “เซกเลก”

      เซกเลก    หมายถึง  ขี้เหร่, ลักษณะรูปร่างไม่สมส่วน ผอมสูง ใบหน้าเหลี่ยมเบี้ยว คางแหลมยื่นยาว ฟันเยิ่น เก้งก้าง สรุปก็คือลักษณะของความขี้เหร่ ใช้ทั้งผู้หญิงผู้ชาย อีสานเรียกว่า “ขี้ล้ายแฮง” ขี่เหร่มากๆ

      วันหนึ่งหนุ่มหน้ามลเห็นสาวเดินผ่านก็แซวออกไปว่า “สาวๆเจ้าสิไปไสข่อยไปนำได้บ่” สาวจะไปไหนขอไปด้วยได้ไหม ?   สาวไม่ยอมพูดด้วย หนุ่มโมโหบ่นตามหลังว่า “เพิ่นหว่าเพิ่นงามคักตี๊นอ   แหนมเบิ่งเฮ็ดเซกเลก สูงปานเสาโทรเลขพู้น” คิดว่าตนเองสวยสิท่า มองดูแล้วขี้เหร่ สูงเหมือนเสาโทรเลขก็ไม่ปาน  สัปดาห์หน้าพบกันใหม่ครับผม.

 

ก่อนหน้า1ถัดไป
[Go to top]



Copyright © 2010 All Rights Reserved.